ต่อเติมครัวไทยหลังบ้าน ครบทุกฟังก์ชันกับโฮมโปร


โดยปกติการซื้อบ้านภายในโครงการจัดสรร ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม ทาวน์เฮาส์และบ้านแฝด ทางโครงการ จะมุ่งเน้นออกแบบครัวเบาในบ้านมาให้ แต่การใช้งานจริงของคนไทย จำเป็นต้องทำอาหารที่มีกลิ่นฉุน เจ้าของบ้านจึงจำเป็นต้องต่อเติมครัวไทยภายหลัง เหตุผลหลักๆ ที่โครงการไม่ได้ทำครัวไทยมาให้ เพราะ จะทำให้ราคาบ้านสูงขึ้น ย่อมส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ อีกทั้งบางครอบครัวอาจไม่ได้ทำอาหารบ่อย การใช้ครัวเบาก็อาจเพียงพอต่อความต้องการ
สำหรับพ่อบ้าน แม่บ้านกระทะเหล็กไม่ต้องกังวลใจไปครับ โดยปกติทางโครงการต่างๆ จะเว้นพื้นที่ หลังบ้านไว้ให้ประมาณ 2-3 เมตร ตาม พรบ. ควบคุมอาคาร จุดที่น่ากังวลใจมากกว่าคือวิธีการต่อเติมที่ ถูกต้อง ทั้งถูกกฎหมาย พรบ. ควบคุมอาคาร และถูกต้องตามหลักวิศวกรรมโครงสร้าง เนื้อหานี้ “HomeGuru” พาไปดูวิธีการต่อเติมอย่างถูกต้อง พร้อมกับแนะนำบริการต่อเติมครัวไทยโดยโฮมโปร มาฝากกันครับ


2 ส่วนสำคัญ ต่อเติมครัวไทยให้ถูกต้อง
การต่อเติมครัวไทยหลังบ้านดูเหมือนจะไม่ยาก เจ้าของบ้านบางท่านจึงเรียกช่าง พร้อมกับวาดๆ เขียนๆ เพื่อให้ช่างได้ทราบว่าภายในครัวไทยจะมีอะไรบ้าง จัดวางไว้ตำแหน่งใด หลังจากนั้นอีกไม่นานกลับพบว่า ครัวไทยทรุดตัว อีกทั้งยังโดนเพื่อนบ้านใกล้เคียงตำหนิ เพราะไปทำผิดระยะร่น นอกจากจะต้องตาม แก้ปัญหาครัวทรุดแล้ว อาจจะต้องถูกสั่งรื้อถอนภายหลัง หากเพื่อนบ้านแจ้งให้ทางเขตหรือเทศบาลมา ตรวจสอบ หากไม่อยากเจอปัญหาเหล่านี้ ทำตาม 3 แนวทาง ดังนี้

1. เว้นระยะร่นให้ถูกกฎหมาย
เหตุผลที่ทางโครงการนิยมเว้นพื้นที่หลังบ้านไว้ประมาณ 2 เมตร เนื่องด้วย พรบ. ควบคุมอาคารกำหนดไว้ ว่า หากผนังส่วนใดมีช่องแสง ช่องเปิด ให้เว้นระยะร่น 2 เมตรขึ้นไป แต่หากเป็นผนังปิดทึบ สามารถชิด ขอบเขตที่ดินได้ 50 เซนติเมตร หรือกรณีต้องการชิดขอบรั้ว เจ้าของบ้านจำเป็นต้องแจ้งเพื่อนบ้านที่ดิน ใกล้เคียง เพื่อเซ็นยินยอมก่อนครับ มิเช่นนั้นจะมีความผิดตาม พรบ. ควบคุมอาคาร

สรุปโดยรวม ฝั่งรั้วบ้านหลังบ้านจึงต้องออกแบบให้ผนังปิดทึบ และเว้นระยะร่นไว้ 50 เซนติเมตร หรือชิด รั้วได้กรณีได้ตกลงกับเพื่อนบ้านแล้ว ส่วนด้านข้างทั้ง 2 ด้าน ให้ต่อเติมครัวมาถึงระยะผนังข้างบ้าน ซึ่งจะ เป็นระยะที่เท่ากับระยะร่นประมาณ 2 เมตร จึงสามารถออกแบบให้เปิดโปร่งเพื่อระบายอากาศได้ครับ แต่หากแสงสว่างไม่เพียงพออาจเลือกใช้วัสดุหลังคาโปร่งแสงมาช่วยเพิ่มความสว่างให้กับครัวไทยได้

2. แยกโครงสร้างครัวออกจากบ้าน
ปัญหาที่พบหลังจากต่อเติมครัวไทยกว่า 50% คือปัญหาครัวทรุดเอียง มีรอยร้าวของผนังโครงสร้าง อาคารเดิม ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักเกิดขึ้นจากการเชื่อมยึดส่วนต่อเติมเข้ากับตัวบ้าน เมื่อระยะเวลาผ่านไป ส่วนต่อเติมจะเกิดการดึงรั้งให้ผนังและหลังคาแยกออกจากตัวบ้าน วิธีการแก้ไขคือต้องแยกโครงสร้าง ส่วนของต่อเติม ออกจากบ้านโครงสร้างหลักของบ้าน และเลือกใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา เช่น โครงสร้างเสา และโครงหลังคาเหล็ก วัสดุมุงหลังคาเลือกเป็นกระเบื้องลอนคู่ ไวนิลหรือหลังคาโปร่งแสง เพื่อลดภาระ การแบกรับน้ำหนักซึ่งเป็นอีกหนึ่งต้นเหตุของปัญหาทรุดเอียง





HomeGuru by HomePro
อุ่นใจทุกเรื่องบ้านไปกับโฮมโปร และติดตามเคล็ดลับดีๆ เพื่อบ้านได้ทาง http://bit.ly/HomeGuru_Homepro
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่