ทำไมรถยนต์ผลิตในประเทศ ถึงราคาแพงกว่าต่างประเทศเยอะมาก

ผมพยายามลองหาข้อมูลดู ก็ไม่มีที่ไหนบอกได้เคลียร์ๆเลยว่าเพราะอะไรกันแน่
เท่าที่ผมดูราคา ยกตัวอย่างอย่างเช่น Camry Hybrid ตัว Top
    - USA: 1,050,000 บาท
    - Japan: 1,080,000 บาท
    - Spain: 1,330,000 บาท
    - Thailand: 1,809,000 บาท

ถ้าดูจากราคาที่ต่างประเทศแล้ว แปลว่าราคาต้นทุนจริงๆในการผลิตรถหนึ่งคันมันน่าจะไม่เกิน 800,000 บาทด้วยซ้ำ (เมกาก็เลยขายเอา margin ซัก 25% เป็น 1 ล้านบาท)
จากราคา 800,000 บาทมันบวกไปบวกมาเป็น 1.8 ล้านได้ยังไง ในเรทภาษีสรรพาสามิตรถยนต์ไฟฟ้าก็แค่ 4-10% ประกอบก็ประกอบในประเทศ
นี่ยังไม่ได้พูดถึงสเปคว่าของเมกานั้นจัดเต็มกว่าของเราอีกด้วยซ้ำ

เข้าใจว่าภาษีทั้งหมดของรถหนึ่งคันมันมี 4 ส่วน คือ
(สมมติว่าราคา CIF ตั้งต้นคือ 1.1 ล้าน (ตามเมกา))
1. อากรนำเข้า ... รถผลิตในประเทศก็ 0% 
2. สรรพสามิต ... รถไฮบริดตีซะว่า 10% = 1,100,000 x 10% = 110,000 บาท
3. มหาดไทย ... 10% ของข้อ 2 = 11,000 บาท
4. มูลค่าเพิ่ม ... 7% ของราคารถที่รวมภาษี 1-3 แล้ว = (1,100,000 + 110,000 + 11,000) x 1.07 = 1,310,000 บาท

เต็มที่ Camry Hybrid ก็ควรจะแค่ 1.4 ล้านบาทไม่เกินนี้ .... อีกสี่แสนบาท มาจากไหน ?
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 16
ตัดเรื่องภาษีออกไป
ปัจจัยสำคัญที่จะดูว่ารถคันนั้นควรจะราคาเท่าไหร่
ก็จะมี
ค่า Material
ค่าแรงงาน
ค่าเครื่องจักร
สามหัวข้อนี้ จะต่างกันไม่มากนัก เมื่อเทียบในแต่ล่ะประเทศ
ค่าแรงอาจจะต่างมากหน่อยระหว่างยุโรปกับเอเชีย
แต่ก็ไม่กระทบราคาต้นทุนเท่ากับอีกเรื่องหนึ่ง

นั่นคือ จำนวนการผลิตครับ

เพราะต้นทุนในการออกแบบ Mold , ค่าทำ Mold สำหรับขึ้นรูปชิ้นงาน
ค่าปรับเครื่องจักรในโรงงานให้รองรับ Mold ตัวใหม่
ค่าจัด Line ประกอบใหม่ สำหรับผลิต
ส่วนนี้ราคาจะค่อนข้างเท่ากันครับ แม้จะอยู่คนล่ะประเทศก็ตาม
และเมื่อคิดออกมาเป็นต้นทุนต่อคันแล้ว จะมากน้อยอย่างไร
ก็อยู่ที่จำนวนการผลิตครับ

อธิบายเพิ่มเพิ่มอีกนิด เช่น
สมมติค่า Mold ฉีดชิ้นงานขนาดเล็ก ราคา 400,000 บาท ฉีดได้ 200,000 Shot
ค่า Mold ฉีดชิ้นงานขนาดใหญ่ แบบประตูห้องโดยสาร อาจจะราคา 1,000,000 บาท
และฉีดได้ 200,000 Shot เท่ากัน
แต่ถ้าโรงงานไทย ต้องการฉีด แต่ 50,000 ชิ้น
และโรงงานที่อเมริกา จะฉีด 150,000 ชิ้น
ก็จะเห็นว่าต้นทุนค่าชิ้นงานของรถที่ทำในอเมริกา มันถูกว่าใช่ไหมครับ
เพราะตัวหารมันเยอะกว่า
ยิ่งคุณผลิตเยอะ ต้นทุนการผลิตก็จะยิ่งน้อย

จากข้างบน สมมติว่า Camry Hybrid ตัวนี้
แพลนขายไทย 5 ปี 50,000 คัน
แพลนขายอเมริกา 5 ปี 150,000 คัน
ต้นทุน ค่า Material ค่าแรงงาน ค่าเครื่องจักร เท่ากัน
แต่ค่า Mold ไม่เท่ากัน ต้นทุนต่อชิ้นของไทยแพงกว่าเยอะ เพราะผลิตน้อย

เห็นแล้วใช่ไหมครับ ว่ารถรุ่นเดียวกันแต่ผลิตคนล่ะประเทศกัน
ยอดจำหน่ายตามการคาดการณ์ไม่เท่ากันนั้น ไม่มีทางจะขายราคาเดียวกันได้
และบางประเทศอาจต่างกันถึง 2 เท่าเลยครับถ้ายอดขายในประเทศนั้น ๆ ต่างกันเยอะ

อย่างกรณีที่เจ้าของกระทู้ถาม
ก็ต้องมาดูว่า รถที่ขายในแต่ล่ะประเทศนั้น
ผลิตจากที่ไหนบ้าง แต่ล่ะโรงงานมียอดผลิตเท่าไหร่บ้าง
แล้วเอาข้อมูลส่วนนี้มาคิดด้วยครับ

แต่ถ้ารถรุ่นนั้นผลิตจากที่เดียวกันแล้วส่งขายหลายประเทศ
ราคาที่ต่างกันส่วนใหญ่จะมาจากภาษีและค่าขนส่งครับ

อย่างหนึ่งที่ต้องเข้าใจคือ
ผู้ผลิตไม่ได้ต้องการให้รถตัวเองแพงจนคนไม่ซื้อหรอกครับ
เขาอยากขายจะตาย แต่เมื่อต้นทุนมาแบบนี้ ก็จำเป็นต้องขายแบบนี้
หลาย ๆ ครั้ง เมื่อคำนวณแล้วว่าถ้าผลิตในประเทศ
ค่าเปิด Mold ใหม่ จะทำให้รถราคาสูงแน่
พวกเขาเลยใช้วิธีนำเข้า แล้วราคาค่าขนส่ง ภาษี ก็อาจจะทำให้ราคาสูงขึ้นอีก
สุดท้าย User ก็ด่า ว่าทำไมไม่ผลิตเองจะได้ถูกว่านี้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 18
ภาษีรถผลิตในไทยมีตัวเลขอยู่ลองหาดูซึ่งไม่แพง ผมว่าหลักๆ มาจากการตั้งราคามากกว่า รวมทั้ง economy of scale ก็มีส่วน

ผมถึงรอดูวันที่รถจีนจะตีตลาดเมืองไทย น่าจะสนุกขึ้นอีกเยอะ
ความคิดเห็นที่ 23
เรื่องนี้ทำให้ผมคิดถึงหนังเรื่อง beautiful mind เลยครับ
John Nash นักคณิตศาสตร์ ผู้คนพบทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์
ถ้าผู้บริโภคเป็น ผู้เล่น ค่ายรถยนต์เป็นทางเลือกของผู้เล่น
ผู้เล่นยังมีความพึงพอใจกับสินค้าที่ได้รับแลกกับเงินที่จ่าย ถึงแม้ค่ายรถเจ้าตลาดจะอัพราคาตลอด และ ตัดออปชั่นออกมากมาย แต่คนก็ยังพึงพอใจที่จะจ่าย เราก็จะยังอยู่ในวังวนนี้ไปเรื่อยๆ
วิธีแก้คือเราต้องตัดวงจรนี้ เหมือนในหนังคือ พระเอกเลือกจีบสาวที่สวยรองลงมา ทำให้สาวสวยสุดต้องหันมามอง

ภาษีเป็นปัจจัยหลักก็จริง แต่ผู้บริโภคเองก็เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญมากๆ ผู้บริโภคประเทศที่ จขกท กล่าวมาล้วนแข็งแกร่งและมีทางเลือกมากมาย ค่ายรถจะขายได้ ราคาต้องไม่แพง ออปชั่นต้องจัดเต็ม ผลสุดท้ายก็เป็นอย่างที่เห็น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่