Leave No Trace (Debra Granik, 2018)
พ่อและลูกสาวพยายามใช้ชีวิตในป่า ปลีกวิเวกออกจากสังคมเมือง คือพล็อตเรื่องทั้งหมดของ Leave No Trace หนังพาเราสังเกตพ่อลูกคู่หนึ่งที่อาศัยอยู่ในป่าอย่างโดดเดี่ยว ท่ามกลางพื้นป่ากว้างใหญ่ แม้ว่าสองพ่อลูกคู่นี้จะเดินทางไปเมืองใกล้ ๆ ป่าแห่งนี้เพื่อซื้อน้ำ อาหาร สำหรับดำรงชีพ แต่อะไรคือจุดมุ่งหมายของการหลีกหนีความวุ่นวายในเมืองมาอยู่ในป่า? หนังไม่ได้เฉลยหรือบอกถึงที่มาที่ไปของสองพ่อลูกคู่นี้ว่าอะไรทำให้พวกเขาตัดสินใจเลือกมาอาศัยอยู่ในป่า แน่นอนว่า เราเกิดคำถามขณะดูว่าเหตุและผลของการเลือกมาอยู่ในป่าแทนที่จะอยู่บ้านหรือมีงานทำอย่างคนปกติทั่วไปคืออะไรกันแน่? ซึ่งเราสามารถตีความนัยยะการกระทำของตัวละครพ่อที่พยายามให้ลูกเรียนรู้จักการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ฟังเสียงธรรมชาติ หรืออาจจะไม่ได้ใส่ใจอะไรในแง่มุมนั้น เพียงแค่พ่อพยายามหนีอะไรบางอย่างในใจ แต่ไม่สามารถผลักภาระในการดูแลลูกสาวให้ใครได้ จึงพาลูกสาวมาทุกข์ทนความลำบากด้วยกัน นัยยะทั้งสองทางสามารถให้น้ำหนักได้ในระดับหนึ่ง หรือมีนัยยะอะไรที่มากกว่านั้น?
ความน่าสนใจคือตัวละครทอม ในฐานะลูกสาววัย 13 ปี เปรียบเสมือนหญิงสาวผู้ไม่เคยเข้าใจโลกภายนอกอย่างแท้จริง และไม่เคยได้เลือกชีวิตที่ต้องการจะอยู่หรือไปได้ด้วยตัวเอง การอยู่ในป่ากับพ่อตามลำพังทำให้ทอมรับรู้ข้อมูลเพียงด้านเดียวคือชีวิตในป่า แต่เมื่อกฎหมายไม่อนุญาตให้คนทั่วไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าได้ ทำให้ทอมได้รับรู้โลกอีกด้านหนึ่งซึ่งคือวิถีชีวิตความเป็นเมืองทั่วไป เส้นทางของทอมจึงไม่ได้มีแค่ทางเดียวอีกต่อไป ทอมสามารถเลือกและกำหนดชีวิตของเขาได้เองว่าจะเดินทางไปที่ไหนหรือจะอยู่ในที่ใหน เมื่อมีทางเลือกที่มากกว่าหนึ่งทาง จึงเกิดคำถามว่าจะเลือกทางไหน? คำถามจากความไม่รู้? คือแรงขับเคลื่อนให้มนุษย์ค้นหาคำตอบ ความหมายในชีวิตของทอมจึงไม่ได้ถูกกำหนดด้วยพ่อของเขาอีกต่อไปและไม่จำเป็นต้องเหมือนพ่อเช่นเดียวกัน แน่นอนว่า พ่อของทอมรับรู้ความรู้สึกนี้และเข้าใจรวมถึงรอคอยให้ทอมเติมโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีโลกที่กว้างขึ้น และเรียนรู้เข้าใจเรื่องราวที่ติดอยู่ในใจหรือบาดแผลอะไรที่อยู่ในใจก็ควรที่จะรักษาเยียวยาด้วยตัวเอง
ในขณะเดียวกันตัวละครพ่อก็มีความเจ็บช้ำอยู่ในใจก็รอการรักษาด้วยตัวเองเช่นกัน ความสับสนของตัวละครตัวนี้ในทางเลือกของชีวิต หรือกระทั่งความโศกเศร้าในอดีตที่เกาะกุมรอคอยวันรักษา ถูกนำเสนอผ่านการแสดงของ เบน ฟอสเตอร์ ได้อย่างยอดเยี่ยม และเราไม่ต้องรับรู้เบื้องลึกเบื้องหลังอะไรเลยว่าตัวละครตัวนี้มีเรื่องราวอะไรที่ทำให้เขาเจ็บปวด เราจึงไม่สามารถที่จะตัดสินตัวละครตัวนี้ได้เลยว่าสิ่งที่เขาเลือกทำแบบนี้เพราะมีสาเหตุมาจากแบบนี้ ซึ่งการที่เราไม่รู้สาเหตุของตัวละครกลับกลายเป็นข้อดีเพราะทำให้เราเป็นผู้สังเกตการณ์และมองดูตัวละครทั้งสองตัวด้วยความเรียบง่าย และซึมซับความรู้สึกที่ตัวละครส่งมาให้เราที่เป็นผู้สังเกตการณ์อย่างแท้จริง
ท้ายสุด หนังมีความเศร้าซ่อนตัวอยู่ในหลายแง่มุม เพียงแต่อาการของหนังไม่ได้พยายามเรียกร้องให้เราร้องไห้หรือฟูมฟายไปกับความทุกข์นั้น และหนังเองก็พยายามตั้งคำถามว่าทางเลือกในชีวิตของเรามันมีทางแยกอยู่ เรานี่แหละที่เป็นคนกำหนดเลือกมันเอง และความสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์มันไม่ได้แยกจากกันอย่างมีนัยสำคัญ ความเป็นเรื่องเดียวกันมันซ้อนทับกันอยู่ในมิติความสัมพันธ์ซึ่ง Leave No Trace ได้ดึงประเด็นนั้นออกมานำเสนอ จนแล้วจนรอด ธรรมชาติก็คือแม่และพ่อเรา ในขณะที่ลูกก็คือมนุษย์ ที่สักวันหนึ่งลูกก็ต้องออกเดินทางด้วยวิถีทางของตัวเอง แต่ลูกต้องไม่ลืมพ่อและแม่ซึ่งนัยยะนี้คือธรรมชาตินั่นเอง...
ขอให้มีความสุขกับการรับชมภาพยนตร์ครับ
ตัวอย่าง
ติดตามรีวิวภาพยนตร์ได้ที่
Page:
https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog:
http://moviesdelightclub.blogspot.com/
Review: Leave No Trace (Debra Granik, 2018)
พ่อและลูกสาวพยายามใช้ชีวิตในป่า ปลีกวิเวกออกจากสังคมเมือง คือพล็อตเรื่องทั้งหมดของ Leave No Trace หนังพาเราสังเกตพ่อลูกคู่หนึ่งที่อาศัยอยู่ในป่าอย่างโดดเดี่ยว ท่ามกลางพื้นป่ากว้างใหญ่ แม้ว่าสองพ่อลูกคู่นี้จะเดินทางไปเมืองใกล้ ๆ ป่าแห่งนี้เพื่อซื้อน้ำ อาหาร สำหรับดำรงชีพ แต่อะไรคือจุดมุ่งหมายของการหลีกหนีความวุ่นวายในเมืองมาอยู่ในป่า? หนังไม่ได้เฉลยหรือบอกถึงที่มาที่ไปของสองพ่อลูกคู่นี้ว่าอะไรทำให้พวกเขาตัดสินใจเลือกมาอาศัยอยู่ในป่า แน่นอนว่า เราเกิดคำถามขณะดูว่าเหตุและผลของการเลือกมาอยู่ในป่าแทนที่จะอยู่บ้านหรือมีงานทำอย่างคนปกติทั่วไปคืออะไรกันแน่? ซึ่งเราสามารถตีความนัยยะการกระทำของตัวละครพ่อที่พยายามให้ลูกเรียนรู้จักการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ฟังเสียงธรรมชาติ หรืออาจจะไม่ได้ใส่ใจอะไรในแง่มุมนั้น เพียงแค่พ่อพยายามหนีอะไรบางอย่างในใจ แต่ไม่สามารถผลักภาระในการดูแลลูกสาวให้ใครได้ จึงพาลูกสาวมาทุกข์ทนความลำบากด้วยกัน นัยยะทั้งสองทางสามารถให้น้ำหนักได้ในระดับหนึ่ง หรือมีนัยยะอะไรที่มากกว่านั้น?
ความน่าสนใจคือตัวละครทอม ในฐานะลูกสาววัย 13 ปี เปรียบเสมือนหญิงสาวผู้ไม่เคยเข้าใจโลกภายนอกอย่างแท้จริง และไม่เคยได้เลือกชีวิตที่ต้องการจะอยู่หรือไปได้ด้วยตัวเอง การอยู่ในป่ากับพ่อตามลำพังทำให้ทอมรับรู้ข้อมูลเพียงด้านเดียวคือชีวิตในป่า แต่เมื่อกฎหมายไม่อนุญาตให้คนทั่วไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าได้ ทำให้ทอมได้รับรู้โลกอีกด้านหนึ่งซึ่งคือวิถีชีวิตความเป็นเมืองทั่วไป เส้นทางของทอมจึงไม่ได้มีแค่ทางเดียวอีกต่อไป ทอมสามารถเลือกและกำหนดชีวิตของเขาได้เองว่าจะเดินทางไปที่ไหนหรือจะอยู่ในที่ใหน เมื่อมีทางเลือกที่มากกว่าหนึ่งทาง จึงเกิดคำถามว่าจะเลือกทางไหน? คำถามจากความไม่รู้? คือแรงขับเคลื่อนให้มนุษย์ค้นหาคำตอบ ความหมายในชีวิตของทอมจึงไม่ได้ถูกกำหนดด้วยพ่อของเขาอีกต่อไปและไม่จำเป็นต้องเหมือนพ่อเช่นเดียวกัน แน่นอนว่า พ่อของทอมรับรู้ความรู้สึกนี้และเข้าใจรวมถึงรอคอยให้ทอมเติมโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีโลกที่กว้างขึ้น และเรียนรู้เข้าใจเรื่องราวที่ติดอยู่ในใจหรือบาดแผลอะไรที่อยู่ในใจก็ควรที่จะรักษาเยียวยาด้วยตัวเอง
ในขณะเดียวกันตัวละครพ่อก็มีความเจ็บช้ำอยู่ในใจก็รอการรักษาด้วยตัวเองเช่นกัน ความสับสนของตัวละครตัวนี้ในทางเลือกของชีวิต หรือกระทั่งความโศกเศร้าในอดีตที่เกาะกุมรอคอยวันรักษา ถูกนำเสนอผ่านการแสดงของ เบน ฟอสเตอร์ ได้อย่างยอดเยี่ยม และเราไม่ต้องรับรู้เบื้องลึกเบื้องหลังอะไรเลยว่าตัวละครตัวนี้มีเรื่องราวอะไรที่ทำให้เขาเจ็บปวด เราจึงไม่สามารถที่จะตัดสินตัวละครตัวนี้ได้เลยว่าสิ่งที่เขาเลือกทำแบบนี้เพราะมีสาเหตุมาจากแบบนี้ ซึ่งการที่เราไม่รู้สาเหตุของตัวละครกลับกลายเป็นข้อดีเพราะทำให้เราเป็นผู้สังเกตการณ์และมองดูตัวละครทั้งสองตัวด้วยความเรียบง่าย และซึมซับความรู้สึกที่ตัวละครส่งมาให้เราที่เป็นผู้สังเกตการณ์อย่างแท้จริง
ท้ายสุด หนังมีความเศร้าซ่อนตัวอยู่ในหลายแง่มุม เพียงแต่อาการของหนังไม่ได้พยายามเรียกร้องให้เราร้องไห้หรือฟูมฟายไปกับความทุกข์นั้น และหนังเองก็พยายามตั้งคำถามว่าทางเลือกในชีวิตของเรามันมีทางแยกอยู่ เรานี่แหละที่เป็นคนกำหนดเลือกมันเอง และความสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์มันไม่ได้แยกจากกันอย่างมีนัยสำคัญ ความเป็นเรื่องเดียวกันมันซ้อนทับกันอยู่ในมิติความสัมพันธ์ซึ่ง Leave No Trace ได้ดึงประเด็นนั้นออกมานำเสนอ จนแล้วจนรอด ธรรมชาติก็คือแม่และพ่อเรา ในขณะที่ลูกก็คือมนุษย์ ที่สักวันหนึ่งลูกก็ต้องออกเดินทางด้วยวิถีทางของตัวเอง แต่ลูกต้องไม่ลืมพ่อและแม่ซึ่งนัยยะนี้คือธรรมชาตินั่นเอง...
ขอให้มีความสุขกับการรับชมภาพยนตร์ครับ
ตัวอย่าง
ติดตามรีวิวภาพยนตร์ได้ที่
Page: https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog: http://moviesdelightclub.blogspot.com/