[CR] ทริปสำรวจตาดห้วยเซียง แขวงอัตตะปือ ลาวใต้#2 ตาดห้วยเซียง เมื่อสายน้ำไหลเป็นน้ำตกและสายหมอก

เดินทางออกจากแซป่องไล ตอน 8:30 น. เพื่อไปยังบ้านท่าแสงจันทร์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดน้ำตก ตาดห้วยเซียง โดยระหว่างทางจะผ่าน 4 หมู่บ้านหลักคือ บ้านใหม่ บ้านหินลาด ท่าหินและท่าแสงจัน ที่ถูกน้ำท่วมจากเขื่อนแตก
 
ทริปสำรวจตาดห้วยเซียง แขวงอัตตะปือ ลาวใต้#1 พักก่อนที่แซป่องไล น้ำตกยักษ์แห่งสายน้ำเซเปียนหลังเขื่อนแตก
https://ppantip.com/topic/39977152
 
ทริปสำรวจตาดห้วยเซียง แขวงอัตตะปือ ลาวใต้#3 แซพะ น้ำตกยักษ์อีกแห่งของสายน้ำเซเปียนหลังเขื่อนแตก
https://ppantip.com/topic/39977272
 
ทริปสำรวจตาดห้วยเซียง แขวงอัตตะปือ ลาวใต้#4 นอนโฮมสเตย์บ้านหนองหลวงที่คุ้นเคย เดินชมตาดนกมูม (ตาด 7 ชั้น)
https://ppantip.com/topic/39977283
 
ทริปสำรวจตาดห้วยเซียง แขวงอัตตะปือ ลาวใต้#5 ตาดย้อย ตาดใหญ่ที่หลุดลอดสายตา ปากซอง
https://ppantip.com/topic/39979871



คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ




ออกจากแซป่องไล แวะบ้านหินลาด เพื่อรับเพื่อนร่วมทางอีกคน



บ้านหินลาด เป็นหมู่บ้านที่ได้รับผมกระทบจากเขื่อนแตก บ้านหินลาด เป็นหมู่บ้านชาวประมง อยู๋ในเมืองมูนละปะโมก แขวงจำปาศักดิ์ ภาคใต้ของประเทศลาว ใกล้ชายแดนประเทศกัมพูชา

หลังจากเขื่อนแตก หมู่บ้านราบเป็นหน้ากอง เป็นหาดทราย มีต้นไม้ใหญ่น้อย มากมายที่ไหลมากับกระแสน้ำแทนที่บ้านที่พักและลอยไปตามน้ำ
ข้อมูลจากนักข่าวท้องถิ่น

 "บ้านหินลาด"เหลือแต่ "ควาย" กับ "รถ" เมื่อ 30 ก.ค. เจ้าของเพจ Yai Lao Pstv เป็นนักข่าวสถานีโทละพาบป้องกันความสงบ (สถานีโทรทัศน์ตำรวจลาว) ได้ติดตามคณะกู้ภัยบุกเข้าไปยังบ้านหินลาด เมืองสะหนามไช

ช่วงหนึ่งของคลิปนี้ นักข่าวลาว เล่าว่า ควายที่ยังอยู่ในหมู่บ้าน เพราะชาวบ้านปล่อยให้เอาตัวรอดเอง
ส่วนที่มองเห็นรถอยู่บนเนินสูง หลังได้รับคำเตือนจาก "นายบ้าน" ให้ยกสิ่งของขึ้นที่สูง เขื่อนจะปล่อยน้ำ ชาวบ้านก็นำรถไปไว้บนที่สูง
เมื่อเขื่อนแตก ต่างคนต่างก็เอาชีวิตรอด ไม่มีใครสนใจรถ และควาย
ลองดูคลิปหลังน้ำท่วมใหม่ๆได้ที่

https://web.facebook.com/yailaostar.seeviengkham/videos/2083031781768775/?_rdc=1&_rdr

อีกกรณี
27 ก.ค.61 ผู้ใช้เพชบุ๊กว่า "Ola Phum Ma Sang" ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอคำบอกเล่าของชาวลาวบ้านหินลาด แขวงอัตตะปือ ซึ่งเขาสูญเสียลูกไปทั้ง 2 คน ในเหตุการณ์น้ำท่วมจากกรณีเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ใน สปป.แตก โดยชายผู้นี้ ได้เล่านาทีชีวิตว่า ตอนเกิดเหตุประมาณ 9 โมงเช้า เอาอะไรก็ไม่ทัน ในชีวิตตนไม่เคยคาดคิดว่าจะเจอกับเหตุการณ์แบบนี้ ที่ผ่านมาก็เคยเห็นน้ำท่วมแรง แต่ก็ไม่เท่ากับครั้งนี้ที่มีทั้งต้นไม้ ขอนไม้ไหลมาด้วยกันเสียงดังสนั่นหวั่นไหว
 
เมื่อถามว่า แล้วลูกอยู่กันอย่างไรขณะที่น้ำไหลทะลักมา ชายคนดังกล่าว ตอบว่า ลูกก็อยู่กับตนและภรรยา ตอนที่น้ำเริ่มมา ตนกับภรรยาก็รีบลงมาจากบ้านของตัวเอง พาลูกไปอยู่ที่บ้านของแม่ยายเพราะลูกกำลังนอนหลับอยู่ โดยคนโตอายุ 3 ขวบ ส่วนคนเล็กอายุ 1 ขวบ 8 เดือน
"น้ำมาเร็วมาก วินาทีแรกสูงเท่าเอว วินาทีที่สองท่วมถึงคอ ผมคว้าเอาอะไรก็ไม่ทันแล้ว ต้องโดดออกจากเรือนเพราะตอนนั้นเสียงดังโครมๆพังไปหมดแล้ว ส่วนลูกอยู่ในอ้อมกอดของผม แต่ก็ต้องพลัดพรากกันไปเพราะน้ำพัดมาแรงมาก ผมก็จมน้ำก่อนลอยไปติดอยู่บนต้นไม้ เจอต้นไหนก็คว้าไว้ถึง 4 ต้น แทบเอาชีวิตไม่รอด มารู้สึกอีกทีก็ไม่รู้ว่าลูกอยู่ไหนแล้ว เจอแต่เมียอยู่ข้างๆ ไม่เจอลูกแล้ว ถูกน้ำพัดหายไปหมดเลย" ชายผู้นี้กล่าวด้วยสีหน้าหมดอาลัยตายอยาก
https://www.naewna.com/likesara/354252
-----------------------------------------------------------------------------
ลาวเตรียมพัฒนาหมู่บ้านเขื่อนแตกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
เว็บไซต์อัตปือมีเดียรายงานว่า เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 ได้มีการประชุมร่วมเพื่อการวางแผนพัฒนาหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนเซเปียนเซน้ำน้อย โดยมีรองแผนกแถลงข่าวและวัฒนธรรมแขวงอัตตะปือ เจ้าเมืองสนามไซยและหน่วยงานส่วนที่เกี่ยวข้องของเมือง รวมทั้งชาวบ้านหินลาด ซึ่งจัดขึ้นที่บ้านหินลาดเก่าเมืองสนามไซย การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการวางแผนการพัฒนาการท่องการท่องเที่ยวที่อยู่ในเขตภัยพิบัติน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม โดยผู้ร่วมประชุมมีความเห็นสอดคล้องกันและมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจเก็บข้อมูลให้ละเอียดเพื่อใช้ในการวางแผนการพัฒนาใน 4 หมู่บ้านหลักคือ บ้านใหม่ บ้านหินลาด ท่าหินและท่าแสงจัน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ขอบเขตพื้นที่บางจุดของกบ้านเก่า(หินลาด)ที่ได้รับผลกระทบและจะอนุรักษ์สิ่งปลูกสร้างของรัฐ วัด โรงเรียน สำนักงานหมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนที่หลงเหลือจากเหตุการณ์เขื่อนแตกในระยะที่ผ่านมาให้คงไว้เช่นเดิม
ทั้งนี้เหตุการณ์เขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อยแตกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2561 ได้สร้างความเสียหายแก่ประชาชนจำนวนมากและยังเป็นบาดแผลในใจของผู้สูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างไปกับตา จากเหตุการณ์ดังกล่าว หน่วยงานภาครัฐและองค์การจัดตั้งที่เกี่ยวข้องได้มีการตรวจสอบถึงสาเหตุของเขื่อนแตกในครั้งนั้นและชี้ว่าเป็นความผิดพลาดทางด้านเทคนิคและปัญหาของการก่อสร้าง ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย เรื่องในระยะที่ผ่านมา
เมื่อปลายปี 2562 บริษัทประกันภัยและรัฐบาลลาวได้ตกลงค่าชดเชยแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นั้นจำนวน 54 ล้านดอลล่าร์สหรัฐโดยมีระยะชดเชยตั้งแต่ปี 2562 -2564 และช่วงเดือนเมษายน 2563 ทางแขวงอัตตะปือและบริษัทเขื่อนเซเปียนเซน้ำน้อยได้มีการลงนามบันทึกรับรองแผนการเจรจาเกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นจำนวน 828พันล้านกีบ อย่างไรก็ตามล่าสุดมีรายงานข่าวว่า ชาวบ้านจำนวนมากยังไม่ได้รับค่าชดเชยความเสียหายดังกล่าวและบางรายต้องหนีออกจากที่พักชั่วคราวที่ทางบริษัทสร้างให้ไปสร้างบ้านใหม่ในที่ดินที่รัฐจัดสรรให้และบางรายกลับไปอยู่ยังหมู่บ้านเดิมที่ได้รับผลกระทบ
อนึ่ง เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563 ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติออกแถลงการณ์เรียกร้องให้บริษัทเอกชนเจ้าของโครงการ รัฐบาลที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาและเยียวยาผลกระทบแก่ผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วนตามหลักความรับผิดชอบของธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ของสหประชาชาติ โดยแถลงการณ์ดังกล่าวมีการส่งอย่างเป็นทางการไปยังบริษัทที่ถือหุ้นในโครงการเขื่อนเซเปียนเซน้ำน้อย คือ บริษัท SK Engineering and Construction จำกัด บริษัท Korean Western power จำกัด สัญชาติเกาหลี บริษัท ราชกรุ๊ป จำกัด สัญญาติไทย บริษัทลาวโฮลดิ้ง สัญญาติลาว และส่งไปยังรัฐบาลที่เกาหลีใต้ ไทย และลาว
ข้อมูลจาก
https://transbordernews.in.th/home/?p=25181

โดยหลังจากได้รับการช่วยเหลือและปรับปรุงพื้นที่ ทางรัฐบาลได้นำบ้านแบบสำเร็จมาปลูกสร้างให้ 

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ




นี่คือวัดที่เหลือรอดจากน้ำท่วมจากเขื่อนแตก น่าจะเป็นสิ่งเดียว ส่วนบ้านนั้นจะพักน่าจะเกือบหมด



จากบ้านหินลาด รับคน และซื้อของเพิ่มแล้ว ก็เดินทางต่อ ทางก็เป็นทางลูกรัง หน้าฝนก็จะลื่นพอควร ระหว่างทางก็จะเห็นบ้านเรือนที่โดนน้ำท่วม และทางรัฐบาลยังไม่ให้เข้าพื้นพี่ ปล่อยร้างไว้















เศษซากมากมายระหว่างทาง ทั้งบ้าน รถ บ้านบางหลังถึงไม่พังทลายแต่ก็ยังมีความเสียหาย เห็นรอยน้ำไว้เตือนความทรงจำ












บางหลังผนังทะลุ หรือหายไปครึ่งก็มี ด้วยแรงกระแทกของต้นไม้ใหญ่ และกระแสน้ำ










ถนนบางช่วงก็ปรับปรุงดีขึ้น






ไปช่วงหน้าฝน ก็จะได้เห็นทุ่งนาเขียว สายหมอกและขุนเขา บางช่วงก็จะเห็นตาดห้วยเซียงระยะไกลตกจากหน้าผาสูง







บางช่วงรถลืนไม่มากแค่เสียวๆ เพราะผมอยู่ในรถคันนั้น 555




ขอบคุณคลิปความทรงจำจากพี่ปู ช่วงที่ลุ้นๆ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ชื่อสินค้า:   ตาดห้วยเซียง
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่