ทริปสำรวจตาดห้วยเซียง แขวงอัตตะปือ ลาวใต้#1 พักก่อนที่แซป่องไล น้ำตกยักษ์แห่งสายน้ำเซเปียนหลังเขื่อนแตก
ทริปสำรวจตาดห้วยเซียง แขวงอัตตะปือ ลาวใต้#2 ตาดห้วยเซียง เมื่อสายน้ำไหลเป็นน้ำตกและสายหมอก
https://ppantip.com/topic/39977192
ทริปสำรวจตาดห้วยเซียง แขวงอัตตะปือ ลาวใต้#3 แซพะ น้ำตกยักษ์อีกแห่งของสายน้ำเซเปียนหลังเขื่อนแตก
https://ppantip.com/topic/39977272
ทริปสำรวจตาดห้วยเซียง แขวงอัตตะปือ ลาวใต้#4 นอนโฮมสเตย์บ้านหนองหลวงที่คุ้นเคย เดินชมตาดนกมูม (ตาด 7 ชั้น)
https://ppantip.com/topic/39977283
ทริปสำรวจตาดห้วยเซียง แขวงอัตตะปือ ลาวใต้#5 ตาดย้อย ตาดใหญ่ที่หลุดลอดสายตา ปากซอง
https://ppantip.com/topic/39979871
*** ใครหารถตู้และรถกะบะ 4x4 อุบล ใครอยากเช่าเที่ยวจังหวัดใกล้เคียงหรือออกลาวก็ได้แนะนำครับ ลองดูและติดต่อตามรีวิว
https://ppantip.com/topic/39952301
หรือจะจ้างเหมารถในลาวก็มีข้อมูลให้นะครับ
https://ppantip.com/topic/39085234
ทริปนี้เป็นทริปสำรวจ(ตาดห้วยเซียง) และเป็นพื้นที่ยังไม่เปิดให้ท่องเที่ยว ผมเลยไม่มีข้อมูลให้นะครับ เพราะการติดต่อและประสานงานยาก ถึงจะติดต่อหมู่บ้าน(ผู้ใหญ่บ้าน)ได้ก็ต้องติดต่อห้องการให้ได้ก่อนถึงจะไม่มีปัญหา และถ้าคิดจะลองลุยดู ผมบอกไว้เลยว่า ทุกการเดินทางของเราอยู่ในสายตาของสายลับ ถ้าไปเองไม่ติดต่อให้ดีจะมีปัญหาได้ ถูกจับขึ้นมาเรืองยุ่งเลยนะ รอเขาเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวก่อนแล้วค่อยไปนะครับ เตือนด้วยความหวังดี
ทริปนี้ตั้งใจไปสำรวจน้ำตกตาดห้วยเซียง (13 17 กค 2562) เส้นทางที่ต้องผ่านแซปองไลและหมู่บ้านที่ถูกมวลน้ำจากเขื่อนเซเปียนถล่มเมื่อครั้งเขื่อนแตก ทริปนี้เป็นทริปตรงกับช่วงวันหยุดเข้าพรรษา ไปกัน 10 กว่าคน และทีมงานบ้านหนองหลวงอีก 2 คน
ก่อนไปเที่ยวกัน ขอระลึกถึงความเสียหายจากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้อย แตก เมื่อ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซะหน่อย
เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้อย มีมูลค่าโครงการ 3.24 หมื่นล้านบาท มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 410 เมกกะวัตต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนพัฒนาประเทศ ให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย คือการผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับประเทศใกล้เคียง ภายใต้การก่อสร้างในแขวงจำปาศักดิ์ ตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศลาว ชื่อเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ได้เกิดแตกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เนื่องด้วยสันเขื่อนปิดช่องเขาต่ำ โดยก่อสร้างสันเขาเพื่อเชื่อมระหว่างภูเขากับภูเขาให้ได้ปริมาณน้ำมากขึ้น การออกแบบเขื่อน ซึ่งไม่สามารถรับมือกับสภาพอากาศที่เลวร้ายและอุบัติภัยได้ อย่างกรณีที่เกิดฝนตกหนักมากๆ ปัจจุบันความผันผวนด้านสภาพอากาศที่ยากต่อการพยากรณ์และรุนแรง เกิดขึ้นบ่อยครั้งมากในลาวและในภูมิภาคนี้ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศ นำไปสู่ผลกระทบโดยกว้าง และประชากรท้องถิ่นในแขวงอัตตะปือที่อยู่ใกล้เคียงไม่มีที่อยู่อาศัย ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม มีการยืนยันยอดผู้เสียชีวิต 27 ราย, สูญหายอย่างน้อย 130 ราย และ 6,600 คนต้องพลัดถิ่น
ข้อมูลจาก
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2561
------------------------------------------------------------
กรณีเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยในประเทศลาวแตก มีผู้สูญหายจำนวนมาก และชาวบ้านราว 6,600 ครอบครัวได้รับผลกระทบ โดยองค์กรแม่น้ำนานาชาติ ( International Rivers) อธิบายรายละเอียดเขื่อนแห่งนี้
เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเขื่อนขั้นบันไดเซเปียน-เซน้ำน้อย ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 5 เขื่อน เป็นเขื่อนลักษณะที่เรียกว่า เขื่อนดินปิดช่องเขาต่ำ (saddle dam) หมายถึงเป็นเขื่อนเสริมพิเศษที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรวบรวมน้ำในอ่างเก็บน้ำที่เกิดจากเขื่อนหลัก เพื่อให้สามารถยกระดับน้ำให้สูงขึ้นและเก็บน้ำได้
โครงการนี้ตั้งอยู่บนลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง จุดที่แม่น้ำเซเปียนบรรจบกับแม่น้ำโขง ที่ปากเซ จากข้อมูลที่เรามีอยู่ บริเวณเขื่อนดินปิดช่องเขาต่ำ D ของโครงการเซเปียน-เซน้ำน้อย ได้แตกออกประมาณ 20.00 น.คืนวันที 23 ก.ค.ที่ผ่านมา
เขื่อนแห่งนี้ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างและมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2562 คาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ 410 เมกะวัตต์ โดยจะขายให้ประเทศไทย 370 เมกะวัตต์ เป็นโครงการที่มีสัญญาก่อสร้างในลักษณะ “สร้าง-โอนให้-ให้บริการ” โดยมีอายุสัมปทาน 27 ปี
เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างกลุ่มบริษัทจากเกาหลีใต้และไทย ได้แก่ บริษัท SK Engineering and Construction (SK E&C) – จากเกาหลีใต้; บริษัท Korea Western Power (KOWEPO) – จากเกาหลีใต้; บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (RATCH) – จากไทย และ Lao Holding State Enterprise (LHSE)
ภาพ : องค์กรแม่น้ำนานาชาติ
ภาพ : องค์กรแม่น้ำนานาชาติ
ย้อนเหตุการณ์หลังพบรอยเขื่อนแตก
ข้อมูลระบุว่าเมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมาหัวหน้าโครงการจัดสรรที่อยู่ใหม่ให้ประชา ชนของโครงการนี้ส่งจดหมายไปถึงหัวหน้าแผนกจัดสรรที่อยู่ใหม่ของโครงการที่แขวงจำปาสักและแขวงอัตตะปือ โดยระบุว่าสภาพการณ์อันตรายอย่างมาก เนื่องจากมีน้ำหลากจากแนวสันเขื่อน และเขื่อนดินปิดช่องเขาต่ำ D ใกล้จะแตกออก
จดหมายระบุว่า หากเขื่อนแตก น้ำปริมาณห้าพันล้านตันจะไหลไปด้านท้ายน้ำเข้าสู่แม่น้ำเซเปียน ในจดหมายระบุให้มีการเร่งเตือนฉุกเฉินแจ้งให้หมู่บ้านด้านท้ายน้ำอพยพและย้ายไปอยู่ในที่สูง
ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังมีการออกจดหมาย เขื่อนได้แตกออก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมทะลักในปริมาณมหาศาลไปด้านท้ายน้ำ
การแตกของเขื่อนเป็นผลมาจากฝนที่ตกหนักตามฤดูอย่างต่อเนื่อง และฝนที่ตกหนักโดยเฉพาะในพื้นที่นี้ส่งงผลให้กว่า 4,000 ครอบครัว และบางตัวเลขระบุว่ากว่า 6,600 ครอบครัว ต้องสูญเสียบ้านเรือนและทรัพย์สินเนื่องจากถูกน้ำท่วม และมีผู้สูญหายกว่า 200 คน
มีหมู่บ้านที่ถูกน้ำท่วมอย่างน้อย 7 แห่งประกอบด้วย บ้านท่าบก หินลาด สมอใต้ ท่าแสงจัน ท่าหินใต้ ท่าบก ท่าม่วง เขต สนามชัย แขวงอัตตะปือ
ชาวบ้านจำนวนมากเหล่านี้ได้ถูกอพยพมาที่อยู่ใหม่ก่อนหน้านี้หรือที่ผ่านมาได้รับผลกระทบด้านการทำมาหากินเนื่องจากการสร้างเขื่อนมาในคราวนี้ยังต้องได้รับผลกระทบอย่างใหญ่หลวง ต้องสูญเสียบ้านเรือน ทรัพย์สิน และสมาชิกในครอบครัวไป
การแตกของเขื่อนเผยให้เห็นบทเรียนที่ชัดเจนหลายประการ กล่าวคือ มีความเสี่ยงที่สำคัญจากการออกแบบเขื่อน ซึ่งไม่สามารถรับมือกับสภาพอากาศที่เลวร้ายและอุบัติภัยได้ อย่างกรณีที่เกิดฝนตกหนักมาก ๆ ปัจจุบันความผันผวนด้านสภาพอากาศที่ยากต่อการพยากรณ์และรุนแรง เกิดขึ้นบ่อยครั้งมากในลาวและในภูมิภาคนี้ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศ
ทั้งยังแสดงให้เห็นข้อบกพร่องของระบบเตือนภัยสำหรับการสร้างและการเดินเครื่องเขื่อน เนื่องจากมีการเตือนภัยที่ดูเหมือนจะล่าช้ามากและไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนไม่ได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้ามากเพียงพอเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อตนเองและครอบครัว
ทั้งสองประเด็นต่างทำให้เกิดคำถามสำคัญเกี่ยวกับมาตรฐานของเขื่อนและความปลอดภัยของเขื่อนในประเทศลาว รวมทั้งความเหมาะสมของโครงการเหล่านี้ในการรับมือกับสภาพภูมิอากาศและความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
ทั้งยังมีคำถามเกี่ยวกับบทบาทและความรับผิดชอบ การตรวจสอบได้และความสามารถในการบริหารจัดการและรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ในโครงการที่เป็นของและดำเนินการโดยเอกชนร่วมกับหน่วยงานของรัฐบาล
เนื่องจากปัจจุบันมีการก่อสร้างหรือมีแผนที่จะก่อสร้างโครงการพลังงานไฟฟ้ากว่า 70 แห่งตลอดทั่วสปป.ลาว โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการของและดำเนินการโดยบริษัทเอกชน ในรูปแบบสัญญา “สร้าง-โอนให้-ให้บริการ” เหตุการณ์ครั้งนี้จึงทำให้เกิดคำถามสำคัญเกี่ยวกับการวางแผนและการบริหารจัดการเขื่อน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบโดยทันที
ข้อมูลจาก
https://news.thaipbs.or.th/content/273575
----------------------------------------------------
พื้นที่โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เซเปียน-เซน้ำน้อย สปป.ลาว มีเขื่อนหลัก ประตูน้ำใกล้สร้างเสร็จ ส่วนเขื่อนแตกร้าวทำน้ำท่วม จำปาสัก-อัตตะปือ เป็นเขื่อนดินย่อย จึงไม่กระทบเขื่อนหลัก
บริเวณพื้นที่นี้ ตามแผนที่ของบริษัท เซเปียน-เซน้ำน้อย พาวเวอร์ จำกัด นั้น จะเห็นว่ามีเขื่อนหลักคือ เขื่อนเซน้ำน้อย เขื่อนเซเปียน และมีประตูน้ำห้วยหมากจัน ที่ผันน้ำไปยังเขื่อนเซเปียน ส่งต่อทางอุโมงค์น้ำไปยังเขื่อนเซน้ำน้อย
อีกจุดหนึ่งคือเขื่อนดินย่อยกั้นช่องเขาส่วน D หรือที่เรียกว่า Saddle Dam D ที่ตามแถลงการณ์ของบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ระบุว่า จุดนี้เองที่ทรุดตัว จนสันเขื่อนดินย่อยเกิดรอยร้าว และน้ำไหลออกสู่ลำน้ำเซเปียน แม่น้ำสาขาย่อยของแม่น้ำโขง ที่ห่างจากเขื่อน 5 กม. จนท่วมพื้นที่ชุมชน และมีประชาชนสูญหายนับร้อยราย ซึ่งราชบุรีโฮลดิ้งระบุเบื้องต้นว่า เขื่อนดินส่วน D ที่แตกร้าวนี้ไม่กระทบต่อเขื่อนหลักแต่อย่างใด
โครงการนี้ดำเนินการภายใต้บริษัท เซเปียน-เซน้ำน้อย พาวเวอร์ จำกัด ที่ร่วมทุนระหว่าง เอสเค เอนจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 26, โคเรีย เวสเทิร์น พาวเวอร์ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 25, ลาวโฮลดิ้ง สเตท เอนเตอร์ไพร์ส ร้อยละ 24 และราชบุรีโฮลดิ้ง ถือหุ้นร้อยละ 25 ขณะนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จไปแล้วร้อยละ 90 คาดว่าจะดำเนินการผลิตไฟฟ้าในปี 2562 และจะขายไฟฟ้าให้ไทยร้อยละ 90 ของกำลังการผลิต ตามสัญญา 27 ปี ส่วนที่เหลือใช้ในพื้นที่ลาวทางใต้
ข้อมูลจาก
https://www.thairath.co.th/news/local/1341798
[CR] ทริปสำรวจตาดห้วยเซียง แขวงอัตตะปือ ลาวใต้#1 พักก่อนที่แซป่องไล น้ำตกยักษ์แห่งสายน้ำเซเปียนหลังเขื่อนแตก
ทริปสำรวจตาดห้วยเซียง แขวงอัตตะปือ ลาวใต้#2 ตาดห้วยเซียง เมื่อสายน้ำไหลเป็นน้ำตกและสายหมอก
https://ppantip.com/topic/39977192
ทริปสำรวจตาดห้วยเซียง แขวงอัตตะปือ ลาวใต้#3 แซพะ น้ำตกยักษ์อีกแห่งของสายน้ำเซเปียนหลังเขื่อนแตก
https://ppantip.com/topic/39977272
ทริปสำรวจตาดห้วยเซียง แขวงอัตตะปือ ลาวใต้#4 นอนโฮมสเตย์บ้านหนองหลวงที่คุ้นเคย เดินชมตาดนกมูม (ตาด 7 ชั้น)
https://ppantip.com/topic/39977283
ทริปสำรวจตาดห้วยเซียง แขวงอัตตะปือ ลาวใต้#5 ตาดย้อย ตาดใหญ่ที่หลุดลอดสายตา ปากซอง
https://ppantip.com/topic/39979871
*** ใครหารถตู้และรถกะบะ 4x4 อุบล ใครอยากเช่าเที่ยวจังหวัดใกล้เคียงหรือออกลาวก็ได้แนะนำครับ ลองดูและติดต่อตามรีวิว
https://ppantip.com/topic/39952301
หรือจะจ้างเหมารถในลาวก็มีข้อมูลให้นะครับ
https://ppantip.com/topic/39085234
ทริปนี้เป็นทริปสำรวจ(ตาดห้วยเซียง) และเป็นพื้นที่ยังไม่เปิดให้ท่องเที่ยว ผมเลยไม่มีข้อมูลให้นะครับ เพราะการติดต่อและประสานงานยาก ถึงจะติดต่อหมู่บ้าน(ผู้ใหญ่บ้าน)ได้ก็ต้องติดต่อห้องการให้ได้ก่อนถึงจะไม่มีปัญหา และถ้าคิดจะลองลุยดู ผมบอกไว้เลยว่า ทุกการเดินทางของเราอยู่ในสายตาของสายลับ ถ้าไปเองไม่ติดต่อให้ดีจะมีปัญหาได้ ถูกจับขึ้นมาเรืองยุ่งเลยนะ รอเขาเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวก่อนแล้วค่อยไปนะครับ เตือนด้วยความหวังดี
ทริปนี้ตั้งใจไปสำรวจน้ำตกตาดห้วยเซียง (13 17 กค 2562) เส้นทางที่ต้องผ่านแซปองไลและหมู่บ้านที่ถูกมวลน้ำจากเขื่อนเซเปียนถล่มเมื่อครั้งเขื่อนแตก ทริปนี้เป็นทริปตรงกับช่วงวันหยุดเข้าพรรษา ไปกัน 10 กว่าคน และทีมงานบ้านหนองหลวงอีก 2 คน
ก่อนไปเที่ยวกัน ขอระลึกถึงความเสียหายจากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้อย แตก เมื่อ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซะหน่อย
เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้อย มีมูลค่าโครงการ 3.24 หมื่นล้านบาท มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 410 เมกกะวัตต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนพัฒนาประเทศ ให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย คือการผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับประเทศใกล้เคียง ภายใต้การก่อสร้างในแขวงจำปาศักดิ์ ตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศลาว ชื่อเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ได้เกิดแตกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เนื่องด้วยสันเขื่อนปิดช่องเขาต่ำ โดยก่อสร้างสันเขาเพื่อเชื่อมระหว่างภูเขากับภูเขาให้ได้ปริมาณน้ำมากขึ้น การออกแบบเขื่อน ซึ่งไม่สามารถรับมือกับสภาพอากาศที่เลวร้ายและอุบัติภัยได้ อย่างกรณีที่เกิดฝนตกหนักมากๆ ปัจจุบันความผันผวนด้านสภาพอากาศที่ยากต่อการพยากรณ์และรุนแรง เกิดขึ้นบ่อยครั้งมากในลาวและในภูมิภาคนี้ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศ นำไปสู่ผลกระทบโดยกว้าง และประชากรท้องถิ่นในแขวงอัตตะปือที่อยู่ใกล้เคียงไม่มีที่อยู่อาศัย ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม มีการยืนยันยอดผู้เสียชีวิต 27 ราย, สูญหายอย่างน้อย 130 ราย และ 6,600 คนต้องพลัดถิ่น
ข้อมูลจาก
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2561
------------------------------------------------------------
กรณีเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยในประเทศลาวแตก มีผู้สูญหายจำนวนมาก และชาวบ้านราว 6,600 ครอบครัวได้รับผลกระทบ โดยองค์กรแม่น้ำนานาชาติ ( International Rivers) อธิบายรายละเอียดเขื่อนแห่งนี้
เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเขื่อนขั้นบันไดเซเปียน-เซน้ำน้อย ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 5 เขื่อน เป็นเขื่อนลักษณะที่เรียกว่า เขื่อนดินปิดช่องเขาต่ำ (saddle dam) หมายถึงเป็นเขื่อนเสริมพิเศษที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรวบรวมน้ำในอ่างเก็บน้ำที่เกิดจากเขื่อนหลัก เพื่อให้สามารถยกระดับน้ำให้สูงขึ้นและเก็บน้ำได้
โครงการนี้ตั้งอยู่บนลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง จุดที่แม่น้ำเซเปียนบรรจบกับแม่น้ำโขง ที่ปากเซ จากข้อมูลที่เรามีอยู่ บริเวณเขื่อนดินปิดช่องเขาต่ำ D ของโครงการเซเปียน-เซน้ำน้อย ได้แตกออกประมาณ 20.00 น.คืนวันที 23 ก.ค.ที่ผ่านมา
เขื่อนแห่งนี้ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างและมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2562 คาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ 410 เมกะวัตต์ โดยจะขายให้ประเทศไทย 370 เมกะวัตต์ เป็นโครงการที่มีสัญญาก่อสร้างในลักษณะ “สร้าง-โอนให้-ให้บริการ” โดยมีอายุสัมปทาน 27 ปี
เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างกลุ่มบริษัทจากเกาหลีใต้และไทย ได้แก่ บริษัท SK Engineering and Construction (SK E&C) – จากเกาหลีใต้; บริษัท Korea Western Power (KOWEPO) – จากเกาหลีใต้; บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (RATCH) – จากไทย และ Lao Holding State Enterprise (LHSE)
ภาพ : องค์กรแม่น้ำนานาชาติ
ภาพ : องค์กรแม่น้ำนานาชาติ
ย้อนเหตุการณ์หลังพบรอยเขื่อนแตก
ข้อมูลระบุว่าเมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมาหัวหน้าโครงการจัดสรรที่อยู่ใหม่ให้ประชา ชนของโครงการนี้ส่งจดหมายไปถึงหัวหน้าแผนกจัดสรรที่อยู่ใหม่ของโครงการที่แขวงจำปาสักและแขวงอัตตะปือ โดยระบุว่าสภาพการณ์อันตรายอย่างมาก เนื่องจากมีน้ำหลากจากแนวสันเขื่อน และเขื่อนดินปิดช่องเขาต่ำ D ใกล้จะแตกออก
จดหมายระบุว่า หากเขื่อนแตก น้ำปริมาณห้าพันล้านตันจะไหลไปด้านท้ายน้ำเข้าสู่แม่น้ำเซเปียน ในจดหมายระบุให้มีการเร่งเตือนฉุกเฉินแจ้งให้หมู่บ้านด้านท้ายน้ำอพยพและย้ายไปอยู่ในที่สูง
ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังมีการออกจดหมาย เขื่อนได้แตกออก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมทะลักในปริมาณมหาศาลไปด้านท้ายน้ำ
การแตกของเขื่อนเป็นผลมาจากฝนที่ตกหนักตามฤดูอย่างต่อเนื่อง และฝนที่ตกหนักโดยเฉพาะในพื้นที่นี้ส่งงผลให้กว่า 4,000 ครอบครัว และบางตัวเลขระบุว่ากว่า 6,600 ครอบครัว ต้องสูญเสียบ้านเรือนและทรัพย์สินเนื่องจากถูกน้ำท่วม และมีผู้สูญหายกว่า 200 คน
มีหมู่บ้านที่ถูกน้ำท่วมอย่างน้อย 7 แห่งประกอบด้วย บ้านท่าบก หินลาด สมอใต้ ท่าแสงจัน ท่าหินใต้ ท่าบก ท่าม่วง เขต สนามชัย แขวงอัตตะปือ
ชาวบ้านจำนวนมากเหล่านี้ได้ถูกอพยพมาที่อยู่ใหม่ก่อนหน้านี้หรือที่ผ่านมาได้รับผลกระทบด้านการทำมาหากินเนื่องจากการสร้างเขื่อนมาในคราวนี้ยังต้องได้รับผลกระทบอย่างใหญ่หลวง ต้องสูญเสียบ้านเรือน ทรัพย์สิน และสมาชิกในครอบครัวไป
การแตกของเขื่อนเผยให้เห็นบทเรียนที่ชัดเจนหลายประการ กล่าวคือ มีความเสี่ยงที่สำคัญจากการออกแบบเขื่อน ซึ่งไม่สามารถรับมือกับสภาพอากาศที่เลวร้ายและอุบัติภัยได้ อย่างกรณีที่เกิดฝนตกหนักมาก ๆ ปัจจุบันความผันผวนด้านสภาพอากาศที่ยากต่อการพยากรณ์และรุนแรง เกิดขึ้นบ่อยครั้งมากในลาวและในภูมิภาคนี้ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศ
ทั้งยังแสดงให้เห็นข้อบกพร่องของระบบเตือนภัยสำหรับการสร้างและการเดินเครื่องเขื่อน เนื่องจากมีการเตือนภัยที่ดูเหมือนจะล่าช้ามากและไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนไม่ได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้ามากเพียงพอเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อตนเองและครอบครัว
ทั้งสองประเด็นต่างทำให้เกิดคำถามสำคัญเกี่ยวกับมาตรฐานของเขื่อนและความปลอดภัยของเขื่อนในประเทศลาว รวมทั้งความเหมาะสมของโครงการเหล่านี้ในการรับมือกับสภาพภูมิอากาศและความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
ทั้งยังมีคำถามเกี่ยวกับบทบาทและความรับผิดชอบ การตรวจสอบได้และความสามารถในการบริหารจัดการและรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ในโครงการที่เป็นของและดำเนินการโดยเอกชนร่วมกับหน่วยงานของรัฐบาล
เนื่องจากปัจจุบันมีการก่อสร้างหรือมีแผนที่จะก่อสร้างโครงการพลังงานไฟฟ้ากว่า 70 แห่งตลอดทั่วสปป.ลาว โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการของและดำเนินการโดยบริษัทเอกชน ในรูปแบบสัญญา “สร้าง-โอนให้-ให้บริการ” เหตุการณ์ครั้งนี้จึงทำให้เกิดคำถามสำคัญเกี่ยวกับการวางแผนและการบริหารจัดการเขื่อน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบโดยทันที
ข้อมูลจาก
https://news.thaipbs.or.th/content/273575
----------------------------------------------------
พื้นที่โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เซเปียน-เซน้ำน้อย สปป.ลาว มีเขื่อนหลัก ประตูน้ำใกล้สร้างเสร็จ ส่วนเขื่อนแตกร้าวทำน้ำท่วม จำปาสัก-อัตตะปือ เป็นเขื่อนดินย่อย จึงไม่กระทบเขื่อนหลัก
บริเวณพื้นที่นี้ ตามแผนที่ของบริษัท เซเปียน-เซน้ำน้อย พาวเวอร์ จำกัด นั้น จะเห็นว่ามีเขื่อนหลักคือ เขื่อนเซน้ำน้อย เขื่อนเซเปียน และมีประตูน้ำห้วยหมากจัน ที่ผันน้ำไปยังเขื่อนเซเปียน ส่งต่อทางอุโมงค์น้ำไปยังเขื่อนเซน้ำน้อย
อีกจุดหนึ่งคือเขื่อนดินย่อยกั้นช่องเขาส่วน D หรือที่เรียกว่า Saddle Dam D ที่ตามแถลงการณ์ของบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ระบุว่า จุดนี้เองที่ทรุดตัว จนสันเขื่อนดินย่อยเกิดรอยร้าว และน้ำไหลออกสู่ลำน้ำเซเปียน แม่น้ำสาขาย่อยของแม่น้ำโขง ที่ห่างจากเขื่อน 5 กม. จนท่วมพื้นที่ชุมชน และมีประชาชนสูญหายนับร้อยราย ซึ่งราชบุรีโฮลดิ้งระบุเบื้องต้นว่า เขื่อนดินส่วน D ที่แตกร้าวนี้ไม่กระทบต่อเขื่อนหลักแต่อย่างใด
โครงการนี้ดำเนินการภายใต้บริษัท เซเปียน-เซน้ำน้อย พาวเวอร์ จำกัด ที่ร่วมทุนระหว่าง เอสเค เอนจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 26, โคเรีย เวสเทิร์น พาวเวอร์ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 25, ลาวโฮลดิ้ง สเตท เอนเตอร์ไพร์ส ร้อยละ 24 และราชบุรีโฮลดิ้ง ถือหุ้นร้อยละ 25 ขณะนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จไปแล้วร้อยละ 90 คาดว่าจะดำเนินการผลิตไฟฟ้าในปี 2562 และจะขายไฟฟ้าให้ไทยร้อยละ 90 ของกำลังการผลิต ตามสัญญา 27 ปี ส่วนที่เหลือใช้ในพื้นที่ลาวทางใต้
ข้อมูลจาก
https://www.thairath.co.th/news/local/1341798
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้