มาดูแลสุขภาพเลือดให้ดีกันเถอะ!
การดูแลสุขภาพนั้น ถ้าจะให้ดีก็ควรจะต้องครอบคลุมทุกอย่างทั้งภายในและภายนอก รวมถึงสิ่งที่เราอาจจะมองข้ามไปอย่าง ’เลือด’ ด้วย
‘เลือด’ ประกอบไปด้วยของเหลวหรือพลาสมา 55% และอีก 45% คือเซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด โดยเซลล์เม็ดเลือดแดงจะคอยลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ส่วนเซลล์เม็ดเลือดขาวจะมีหน้าที่ในการจัดการกับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมทั้งหลาย รวมถึงช่วยปกป้องเราจากการติดเชื้อต่างๆ ด้วย ส่วนเกล็ดเลือดนั้นจะช่วยทำให้เลือดแข็งตัวและลดการเสียเลือดเวลาที่เราเกิดบาดแผลขึ้น
และเนื่องจากวันที่ 14 มิถุนายนของทุกปีนั้นถือเป็น ‘วันผู้บริจาคโลหิตโลก’ หรือ ‘World Blood Donor Day’ วันนี้พี่หมอก็เลยอยากจะชักชวนทุกคนให้มาดูแลสุขภาพเลือดของเรากันบ้าง เพราะถ้าเลือดของเราดี ก็แน่นอนว่าสุขภาพของเราก็ย่อมจะดีตามไปด้วย
ความผิดปกติของเลือดที่พบได้บ่อย
· โลหิตจางหรือภาวะซีดที่เกิดจากเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ มีสาเหตุมาจาก
- การสร้างเม็ดเลือดแดงลดลงจากโรคที่เกี่ยวกับการทำงานของไขกระดูก โรคไตวาย โรคมะเร็ง โรคข้ออักเสบ หรือเกิดจากการขาดสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 และกรดโฟลิก เป็นต้น
- มีการทำลายเม็ดเลือดแดงมากขึ้น ซึ่งเกิดจากโรคในกลุ่มที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรค G-6PD (หรือภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี ซึ่งเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายขาดเอนไซม์ที่ช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดงทำงานได้อย่างเป็นปกติ) โรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง หรือโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น มาลาเรีย เป็นต้น
- มีการเสียเลือดอย่างฉับพลัน เช่น การเกิดอุบัติเหตุ ประจำเดือน หรือเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
· ลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งเกิดขึ้นได้กับอวัยวะภายในทุกส่วนของร่างกาย โดยอาจมีสาเหตุมาจาก การผ่าตัดที่ทำให้ต้องนอนนิ่งๆ เป็นเวลานาน โรคมะเร็งบางชนิด การใช้ยาบางประเภท และโรคทางพันธุกรรม เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ถ้าลิ่มเลือดไปอุดตันในอวัยวะสำคัญ เช่น ปอด หัวใจ หรือสมอง นอกจากนี้ งานวิจัยในนิวซีแลนด์พบว่า 31% ของผู้ที่ป่วยเป็นโรคโควิด-19 มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมด้วย
· มะเร็งเม็ดเลือดชนิดต่างๆ ซึ่งเกิดจากการที่เซลล์เม็ดเลือดกลายพันธุ์ และแบ่งตัวอย่างรวดเร็วจนร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว
แร่ธาตุและวิตามินที่ช่วยบำรุงให้เลือดมีสุขภาพดี
·
ธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงเลือดและป้องกันโรคโลหิตจาง ซึ่งคุณผู้หญิงควจะรับประทานให้มากกว่าคุณผู้ชาย โดยเฉพาะในช่วงที่มีประจำเดือน โดยธาตุเหล็กสามารถพบได้ในเนื้อสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะเนื้อแดงและเครื่องในสัตว์ อาหารประเภทธัญพืช ผักใบเขียว เช่น คะน้า ผักบุ้ง ใบแมงลัก ผักกูด ผักแว่น รวมทั้งถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ แต่เนื่องจากธาตุเหล็กที่มาจากพืชนั้นร่างกายจะดูดซึมไปใช้ได้น้อยกว่าธาตุเหล็กที่มาจากสัตว์ ดังนั้น เราจึงควรรับประทานสลับกันระหว่างเนื้อสัตว์และพืชผัก เพื่อให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กในปริมาณที่เพียงพอ
·
ทองแดง มีส่วนช่วยในการนำธาตุเหล็กเข้าสู่เลือด และยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะโลหิตจางได้อีกด้วย โดยทองแดงสามารถพบได้ใน หอยนางรม อัลมอนด์ ช็อกโกแล็ต วอลนัท เห็ด รวมถึงถั่วและธัญพืชชนิดต่างๆ
·
วิตามินบี 12 มีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง รวมถึงการสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่ ดังนั้น การขาดวิตามินบี12 จะทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ และอาจทำให้เม็ดเลือดแดงเจริญเติบโตผิดปกติจนนำไปสู่ภาวะโลหิตจางแบบที่ทางการแพทย์เรียกว่า megaloblastic ได้ วิตามินบี 12 พบมากใน ไข่ เนื้อสัตว์ ตับ ปลา นม โยเกิร์ต และชีส
·
วิตามินบี 9 หรือกรดโฟลิก ช่วยเพิ่มการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งอาหารที่มีกรดโฟลิกสูง ได้แก่ ตับ ถั่ว ไข่ มะละกอ กล้วย อะโวคาโด และผักใบเขียว เช่น ปวยเล้ง และบร๊อคโคลี่
·
วิตามินซี จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้มากขึ้น ซึ่งผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี ได้แก่ พริกหวาน คะน้า ใบมะรุม มะขามป้อม ฝรั่ง ลิ้นจี่ สตรอเบอร์รี่ ส้ม
·
วิตามินเอ ช่วยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น และสามารถพบได้ใน น้ำมันตับปลา ตับ แครอท ตำลึง ชะอม กระถิน ฟักทอง ไข่ และมาการีน
นอกจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แล้ว การลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำก็มีส่วนช่วยในการละลายลิ่มเลือด และยังทำให้เลือดของเราสุขภาพดีขึ้นอีกด้วย ที่สำคัญ ถ้าเรามีสุขภาพเลือดที่ดี เราก็อาจจะมีโอกาสได้นำเลือดของเราไปทำประโยชน์ด้วยการบริจาคเพื่อช่วยชีวิตผู้อื่นได้อีกด้วยนะครับ
รู้อย่างนี้แล้วก็อย่าลืมดูแลและบำรุงเลือดของเรากันด้วยนะครับ แล้วพบกับเรื่องราวน่ารู้จากพี่หมอได้ใหม่ในสัปดาห์หน้าครับ
มาดูแลสุขภาพเลือดให้ดีกันเถอะ!
การดูแลสุขภาพนั้น ถ้าจะให้ดีก็ควรจะต้องครอบคลุมทุกอย่างทั้งภายในและภายนอก รวมถึงสิ่งที่เราอาจจะมองข้ามไปอย่าง ’เลือด’ ด้วย
‘เลือด’ ประกอบไปด้วยของเหลวหรือพลาสมา 55% และอีก 45% คือเซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด โดยเซลล์เม็ดเลือดแดงจะคอยลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ส่วนเซลล์เม็ดเลือดขาวจะมีหน้าที่ในการจัดการกับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมทั้งหลาย รวมถึงช่วยปกป้องเราจากการติดเชื้อต่างๆ ด้วย ส่วนเกล็ดเลือดนั้นจะช่วยทำให้เลือดแข็งตัวและลดการเสียเลือดเวลาที่เราเกิดบาดแผลขึ้น
และเนื่องจากวันที่ 14 มิถุนายนของทุกปีนั้นถือเป็น ‘วันผู้บริจาคโลหิตโลก’ หรือ ‘World Blood Donor Day’ วันนี้พี่หมอก็เลยอยากจะชักชวนทุกคนให้มาดูแลสุขภาพเลือดของเรากันบ้าง เพราะถ้าเลือดของเราดี ก็แน่นอนว่าสุขภาพของเราก็ย่อมจะดีตามไปด้วย
ความผิดปกติของเลือดที่พบได้บ่อย
· โลหิตจางหรือภาวะซีดที่เกิดจากเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ มีสาเหตุมาจาก
- การสร้างเม็ดเลือดแดงลดลงจากโรคที่เกี่ยวกับการทำงานของไขกระดูก โรคไตวาย โรคมะเร็ง โรคข้ออักเสบ หรือเกิดจากการขาดสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 และกรดโฟลิก เป็นต้น
- มีการทำลายเม็ดเลือดแดงมากขึ้น ซึ่งเกิดจากโรคในกลุ่มที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรค G-6PD (หรือภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี ซึ่งเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายขาดเอนไซม์ที่ช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดงทำงานได้อย่างเป็นปกติ) โรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง หรือโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น มาลาเรีย เป็นต้น
- มีการเสียเลือดอย่างฉับพลัน เช่น การเกิดอุบัติเหตุ ประจำเดือน หรือเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
· ลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งเกิดขึ้นได้กับอวัยวะภายในทุกส่วนของร่างกาย โดยอาจมีสาเหตุมาจาก การผ่าตัดที่ทำให้ต้องนอนนิ่งๆ เป็นเวลานาน โรคมะเร็งบางชนิด การใช้ยาบางประเภท และโรคทางพันธุกรรม เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ถ้าลิ่มเลือดไปอุดตันในอวัยวะสำคัญ เช่น ปอด หัวใจ หรือสมอง นอกจากนี้ งานวิจัยในนิวซีแลนด์พบว่า 31% ของผู้ที่ป่วยเป็นโรคโควิด-19 มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมด้วย
· มะเร็งเม็ดเลือดชนิดต่างๆ ซึ่งเกิดจากการที่เซลล์เม็ดเลือดกลายพันธุ์ และแบ่งตัวอย่างรวดเร็วจนร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว
แร่ธาตุและวิตามินที่ช่วยบำรุงให้เลือดมีสุขภาพดี
· ธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงเลือดและป้องกันโรคโลหิตจาง ซึ่งคุณผู้หญิงควจะรับประทานให้มากกว่าคุณผู้ชาย โดยเฉพาะในช่วงที่มีประจำเดือน โดยธาตุเหล็กสามารถพบได้ในเนื้อสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะเนื้อแดงและเครื่องในสัตว์ อาหารประเภทธัญพืช ผักใบเขียว เช่น คะน้า ผักบุ้ง ใบแมงลัก ผักกูด ผักแว่น รวมทั้งถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ แต่เนื่องจากธาตุเหล็กที่มาจากพืชนั้นร่างกายจะดูดซึมไปใช้ได้น้อยกว่าธาตุเหล็กที่มาจากสัตว์ ดังนั้น เราจึงควรรับประทานสลับกันระหว่างเนื้อสัตว์และพืชผัก เพื่อให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กในปริมาณที่เพียงพอ
· ทองแดง มีส่วนช่วยในการนำธาตุเหล็กเข้าสู่เลือด และยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะโลหิตจางได้อีกด้วย โดยทองแดงสามารถพบได้ใน หอยนางรม อัลมอนด์ ช็อกโกแล็ต วอลนัท เห็ด รวมถึงถั่วและธัญพืชชนิดต่างๆ
· วิตามินบี 12 มีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง รวมถึงการสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่ ดังนั้น การขาดวิตามินบี12 จะทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ และอาจทำให้เม็ดเลือดแดงเจริญเติบโตผิดปกติจนนำไปสู่ภาวะโลหิตจางแบบที่ทางการแพทย์เรียกว่า megaloblastic ได้ วิตามินบี 12 พบมากใน ไข่ เนื้อสัตว์ ตับ ปลา นม โยเกิร์ต และชีส
· วิตามินบี 9 หรือกรดโฟลิก ช่วยเพิ่มการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งอาหารที่มีกรดโฟลิกสูง ได้แก่ ตับ ถั่ว ไข่ มะละกอ กล้วย อะโวคาโด และผักใบเขียว เช่น ปวยเล้ง และบร๊อคโคลี่
· วิตามินซี จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้มากขึ้น ซึ่งผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี ได้แก่ พริกหวาน คะน้า ใบมะรุม มะขามป้อม ฝรั่ง ลิ้นจี่ สตรอเบอร์รี่ ส้ม
· วิตามินเอ ช่วยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น และสามารถพบได้ใน น้ำมันตับปลา ตับ แครอท ตำลึง ชะอม กระถิน ฟักทอง ไข่ และมาการีน
นอกจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แล้ว การลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำก็มีส่วนช่วยในการละลายลิ่มเลือด และยังทำให้เลือดของเราสุขภาพดีขึ้นอีกด้วย ที่สำคัญ ถ้าเรามีสุขภาพเลือดที่ดี เราก็อาจจะมีโอกาสได้นำเลือดของเราไปทำประโยชน์ด้วยการบริจาคเพื่อช่วยชีวิตผู้อื่นได้อีกด้วยนะครับ
รู้อย่างนี้แล้วก็อย่าลืมดูแลและบำรุงเลือดของเรากันด้วยนะครับ แล้วพบกับเรื่องราวน่ารู้จากพี่หมอได้ใหม่ในสัปดาห์หน้าครับ