https://www.skyscrapercity.com/threads/new-proposals-and-projects-thread.298030/page-160
ตัวเลขช่องซ้าย กลาง ขวาครับ ที่เขียว แดง เปอร์เซ็นเปลี่ยนแปลงคือจากอะไรครับ
LPN Wisdom สำรวจ 29 บิ๊กแบรนด์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซัพพลายสะสมเพิ่ม 6.74% ดันมูลค่าเหลือขายทะลุ 5.8 แสนล้าน เทรนด์การแข่งขันเน้นระบายสต๊อก-ชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ จับตาโค้งสุดท้ายรายใหญ่-รายเล็กดัมพ์แคมเปญเดือนมิถุนายน ชิงดำลูกค้าก่อนปิดไตรมาส 2/63 แจกโปรโมชั่นส่วนลดหลักล้าน-ปลอดดอก-ผ่อนให้-0% ท่วมตลาด “โนเบิล” sold out 2 คอนโดฯทำเลสีลม-พญาไท
จากผลประกอบการไตรมาส 1/63 ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯที่ลดลงทั้งรายได้และกำไร ในขณะที่มีการประเมินว่าไตรมาส 2/63 จะเป็นช่วงพีกที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งหมายถึงแนวโน้มสถิติจะลดต่ำกว่าไตรมาสแรก ในขณะที่เหลือเวลาสร้างยอดขายเดือนมิถุนายนเพียง 1 เดือนก็จะต้องทำการปิดยอดรายไตรมาส ส่งผลให้เพิ่มดีกรีการแข่งขันจัดโปรโมชั่นระบายสต๊อกสร้างเสร็จพร้อมอยู่และสต๊อกที่อยู่ระหว่างก่อสร้างออกไปให้ได้มากที่สุด
สต๊อกท่วม-ขายนานขึ้น 36 เดือน
นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพีนี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LPN Wisdom หรือ LWS) ในเครือ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN เปิดเผยว่า ผลดำเนินงานไตรมาส 1/63 ของ 29 บริษัทอสังหาฯในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีรายได้รวม 59,207.66 ล้านบาท ลดลง -30.43% กำไรสุทธิ 8,176.88 ล้านบาท ลดลง -40.68% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/62 ไฮไลต์อยู่ที่แม้รายได้ภาพรวมลดลงแต่ยังรักษาระดับความสามารถในการทำกำไรเฉลี่ย 13.81% ถือว่าสูงเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น
นอกจากนี้ สัดส่วนหนี้สินต่อทุน (debt to equity ratio) ณ 31 มีนาคม 2563 เฉลี่ยต่ำกว่า 2 : 1 เท่า สะท้อนถึงความแข็งแกร่งทางการเงินซึ่งแตกต่างจากวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ที่มีหนี้ต่อทุนเกิน 2 : 1 ทำให้มีความเสี่ยงในการทำธุรกิจเมื่อเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจหดตัว ในขณะที่กำลังซื้อไตรมาส 1/63 ยังมีดีมานด์ต่อเนื่องทั้งแนวราบและอาคารชุด รายได้ที่ลดลงเฉลี่ย -30.43% ในไตรมาสแรกเป็นผลมาจากไม่สามารถโอนให้กับลูกค้าต่างชาติกับลูกค้านักลงทุนที่ชะลอการซื้อเพื่อลงทุน
ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยมีแนวโน้มคลี่คลาย คาดว่าปลดล็อกได้สิ้นไตรมาส 2/63 แนวโน้มอสังหาฯจะค่อย ๆ ฟื้นตัวในไตรมาส 3/63-4/63 ประเมินมีการเปิดตัวโครงการใหม่ 50,000-55,000 ยูนิต มูลค่า 175,000-190,000 ล้านบาท ลดลง 50-55% เทียบกับปี 2562 ภายใต้เงื่อนไขไม่มีการระบาดโควิดระลอกสอง
“แม้ภาพรวมอสังหาฯฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง แต่ 29 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯมีสินค้าคงเหลือและโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ณ วันที่ 31 มีนาคม 2562 สูงถึง 576,406 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.74% จากปี 2562 ต้องใช้เวลาในการขายไม่น้อยกว่า 36 เดือน ทำให้แนวโน้มผู้ประกอบการเร่งขายโครงการเดิมแทนการเปิดโครงการใหม่”
ค่าเปอร์เซ็น ตัวเลขต่างๆในตารางนี้ของอสังหา หมายถึงอะไรของอะไรหรอครับ
ตัวเลขช่องซ้าย กลาง ขวาครับ ที่เขียว แดง เปอร์เซ็นเปลี่ยนแปลงคือจากอะไรครับ
LPN Wisdom สำรวจ 29 บิ๊กแบรนด์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซัพพลายสะสมเพิ่ม 6.74% ดันมูลค่าเหลือขายทะลุ 5.8 แสนล้าน เทรนด์การแข่งขันเน้นระบายสต๊อก-ชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ จับตาโค้งสุดท้ายรายใหญ่-รายเล็กดัมพ์แคมเปญเดือนมิถุนายน ชิงดำลูกค้าก่อนปิดไตรมาส 2/63 แจกโปรโมชั่นส่วนลดหลักล้าน-ปลอดดอก-ผ่อนให้-0% ท่วมตลาด “โนเบิล” sold out 2 คอนโดฯทำเลสีลม-พญาไท
จากผลประกอบการไตรมาส 1/63 ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯที่ลดลงทั้งรายได้และกำไร ในขณะที่มีการประเมินว่าไตรมาส 2/63 จะเป็นช่วงพีกที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งหมายถึงแนวโน้มสถิติจะลดต่ำกว่าไตรมาสแรก ในขณะที่เหลือเวลาสร้างยอดขายเดือนมิถุนายนเพียง 1 เดือนก็จะต้องทำการปิดยอดรายไตรมาส ส่งผลให้เพิ่มดีกรีการแข่งขันจัดโปรโมชั่นระบายสต๊อกสร้างเสร็จพร้อมอยู่และสต๊อกที่อยู่ระหว่างก่อสร้างออกไปให้ได้มากที่สุด
สต๊อกท่วม-ขายนานขึ้น 36 เดือน
นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพีนี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LPN Wisdom หรือ LWS) ในเครือ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN เปิดเผยว่า ผลดำเนินงานไตรมาส 1/63 ของ 29 บริษัทอสังหาฯในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีรายได้รวม 59,207.66 ล้านบาท ลดลง -30.43% กำไรสุทธิ 8,176.88 ล้านบาท ลดลง -40.68% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/62 ไฮไลต์อยู่ที่แม้รายได้ภาพรวมลดลงแต่ยังรักษาระดับความสามารถในการทำกำไรเฉลี่ย 13.81% ถือว่าสูงเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น
นอกจากนี้ สัดส่วนหนี้สินต่อทุน (debt to equity ratio) ณ 31 มีนาคม 2563 เฉลี่ยต่ำกว่า 2 : 1 เท่า สะท้อนถึงความแข็งแกร่งทางการเงินซึ่งแตกต่างจากวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ที่มีหนี้ต่อทุนเกิน 2 : 1 ทำให้มีความเสี่ยงในการทำธุรกิจเมื่อเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจหดตัว ในขณะที่กำลังซื้อไตรมาส 1/63 ยังมีดีมานด์ต่อเนื่องทั้งแนวราบและอาคารชุด รายได้ที่ลดลงเฉลี่ย -30.43% ในไตรมาสแรกเป็นผลมาจากไม่สามารถโอนให้กับลูกค้าต่างชาติกับลูกค้านักลงทุนที่ชะลอการซื้อเพื่อลงทุน
ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยมีแนวโน้มคลี่คลาย คาดว่าปลดล็อกได้สิ้นไตรมาส 2/63 แนวโน้มอสังหาฯจะค่อย ๆ ฟื้นตัวในไตรมาส 3/63-4/63 ประเมินมีการเปิดตัวโครงการใหม่ 50,000-55,000 ยูนิต มูลค่า 175,000-190,000 ล้านบาท ลดลง 50-55% เทียบกับปี 2562 ภายใต้เงื่อนไขไม่มีการระบาดโควิดระลอกสอง
“แม้ภาพรวมอสังหาฯฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง แต่ 29 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯมีสินค้าคงเหลือและโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ณ วันที่ 31 มีนาคม 2562 สูงถึง 576,406 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.74% จากปี 2562 ต้องใช้เวลาในการขายไม่น้อยกว่า 36 เดือน ทำให้แนวโน้มผู้ประกอบการเร่งขายโครงการเดิมแทนการเปิดโครงการใหม่”