โคตรภูญาณ อริยะ และโพธิสัตว์ (ตอนที่ ๗ แยกสภาพธรรมออกเป็นสองฝ่าย  ตอนที่ ๘ วิปัสสนาญาณและโพชฌงค์ ๗ ต่างกันอย่างไร)

ตอนที่ ๗ แยกสภาพธรรมออกเป็นสองฝ่าย 

ในขณะเกิดญาณทัสสนะเห็นไตรลักษณ์ เห็นความดับของโลก ความดับของจักรวาลที่แตกละเอียดทั่วจักรวาล  และน้อมเข้าสู่ภายในจน                      เกิดภาวะจิตระเบิด              ปล่อยวางจากอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น    ได้เกิดญาณในการแยกสภาพธรรมชาติทั้งหลายออกเป็น ๒ ส่วน  คือ

                                                 ๑. สังขตธรรม                       ๒. อสังขตธรรม  (จักรวาลเดิม)

แต่ในขณะที่เข้าถึงนั้น  ผมได้สมมุติคำขึ้นเพื่อเรียกสิ่งที่เห็นว่า  
                                                ๑. ปรุงแต่ง                            ๒. ไม่ถูกปรุงแต่ง (ไร้กาลเวลา)

แม้เกิดสภาวะอย่างนั้น ก็ไม่ได้เข้าไปเกลือกกลิ้งในสภาพทั้งสอง  ได้ถอนจิตเป็นคนดู ผู้รู้ผู้เห็น ผู้ตื่น (บางท่านบอกให้ดับผู้รู้) จากที่เอนตัวกำลังจะนอน กลับมานั่งหลับตาพิจารณาในสภาพความรู้ที่เกิดขึ้น  เป็นการรู้เห็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง   ไม่ได้มโนปรุงแต่งขึ้นมาเอง    สภาพที่เกิดขึ้นในขณะเป็นสภาพไร้ความคิด และเกิดความรู้ขึ้นมากอยู่  กล่าวคือ  

                             แม้จักรวาลเองก็เกิดดับ เวียนว่ายตายเกิดเป็นวัฏฏะ
                             แม้โลกก็เกิดดับ เวียนว่ายเป็นวัฏฏะ 
                             ชีวิตของสรรพสัตว์ก็เวียนว่ายไปตามความเกิดดับความเวียนว่ายแห่งจักรวาลและโลกนั้น 

ในขณะที่เป็นผู้ดูอยู่นั่นเอง  คำถามเกี่ยวพันกับที่มาที่ไปของจักวาลมันถูกกระตุ้นโดยมโนสำนึกที่ซ่อนอยู่ลึก  (อ่านตอนที่ ๑ แล้วจะเข้าใจ) คือ จักรวาลมาจากไหน  มีใครสร้างหรือไม่   ผมนั่งดูสภาพธรรมที่เห็นนั้นอย่างเป็นกลาง ไม่เข้าข้างทิฏฐิตนเอง  (ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า ) เพื่อแสวงหาจุดเริ่มต้นของจักรวาล ปรากฏว่า     มันหาไม่เจอ  หาเท่าไรก็ไม่เจอ     เห็นเพียงจักรวาลที่เวียนว่ายอยู่อย่างนั้น อย่างไม่มีที่สิ้นสุด   และความเป็นไปของจักรวาลหมุนวนเป็นลักษณะวงกลมเป็นวัฏฏะ คล้ายกับวงจรปฏิจจสมุปบาท  หาเบื้องต้นเบื้องปลายมิได้  

ในการเข้าถึงธรรมในขณะนั้น  มันได้ตอบปัญหาความสงสัยทั้งหมดที่เกิดคำถามในวัยเด็ก  คือ การไขปริศนาของการกำเนิดจักรวาล  ว่า พระเจ้า พระผู้สร้างโลกจักรวาลมีอยู่หรือไม่  ซึ่งไม่มีอยู่จริง  นั่นเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นด้วยญาณทัสสนะ 

                                        ถ้าเกิดความรู้จริงถึงความอิสระจากพระผู้สร้างโลก จะอิสระจากทุกสิ่ง
 

อนที่ ๘   วิปัสสนาญาณกับโพชฌงค์ ๗     
 
การไปเอาอรรถกถามาเป็นปนพุทธพจน์    จะทำให้เกิดการวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อน     ญาณกับพิจารณาเห็นมันต่างกัน    ญาณไม่มีส่วนเพ่ง  ไม่คิด แต่พิจารณามันจะขยับเข้าไปใกล้ก่อนแล้วพิจารณาเห็นลงไป  หลายท่านกำลังสับสนในหลักปฏิบัติในเรื่องโพชฌงค์ ๗  กับวิปัสสนาญาณ เรื่องนี้ท่านต้องดู    อานาปานสติสูตร  ซึ่งผมจะยกมาอ้าง ดังนี้   
                                                  พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖  มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์                                                                                                                                         ๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘)
 
                                           ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลสหายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลายในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
                                      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
                                     [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไรทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ 
https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=3924&Z=4181
 
ถ้าท่านเดินตามอานาปานสติสูตร  คือ การเจริญสติปัฏฐาน ๔ พิจารณากาย เวทยา จิต ธรรม และว่าด้วยพิจารณาธรรม  เป็นเรื่องพิจารณาความไม่เที่ยง ซึ่งให้ความหมายถึงพิจารณาเห็นความเกิดดับ สุดท้ายจะได้ผลอุเบกขาเหมือนกัน วางขันธ์เหมือนกัน
 
การพิจารณาธรรมในอานาปานสติสูตรที่เห็นความไม่เที่ยงนั้น  ครอบถึงเห็นความเกิดดับนั้น  ซึ่งมันไม่ใช่ญาณ  เน้นไม่ใช่ลักษณะของญาณ   มันเป็นการพิจารณาเห็น   และให้ผลอุเบกขาเหมือนกัน   แต่ไม่ใช่อุเบกขาที่เป็นญาณในวิปัสสนาญาณ  ข้อนี้ผู้ปฏิบัติโดยส่วนใหญ่จะสับสน    มีน้อยมากที่จะไม่สับสน     จนเกิดความสำคัญผิด เข้าใจผิดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์    เป็นอุเบกขาในวิปัสสนาญาณ     ซึ่งมันคนเรื่องครับ 
 
ถามว่ามันมีผลอะไรเกิดขึ้น  ก็การที่ท่านบอกว่าได้ญาณในวิปัสสนาญาณแล้วมันไปค้างอยู่เป็นเดือน เป็นปีไงครับ  ซึ่งถ้าเห็นจริงและเป็นลักษณะของญาณหรือปัญญาอย่างแท้จริง  มันไม่ค้างนานขนาดนั้น  มันจะเนื่องกันไปเลย  ส่งต่อกันเป็นทอดๆทำนองเดียวกับปฏิจจสมุปบาท  เป็นไปตามหลักที่ว่า
                                                             ยถาภูตญาณทัสสนะ
                                                             นิพพิทาวิราคะ
                                                             วิมุตติญาณทัสสนะ
https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=25
 
อีกหนึ่งพระสูตร ซึ่งเป็นเรื่องของวิปัสสนาญาณ ปัญญา คือ 
 
                                       [๘๖๙] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อริยสาวกนั้นย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
 
https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=5142&Z=5162&pagebreak=0
https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=5163&Z=5203&pagebreak=0
 
อีกหนึ่ง พระสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
 
๒. สามัญญผลสูตร
-----------------------------------------------------
เรื่องพระเจ้าอชาตศัตรู
วิชชา ๘
วิปัสสนาญาณ
             [๑๓๑] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ ๑- เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูปประกอบด้วยมหาภูต ๒- ๔ เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสดไม่เที่ยง
...
อาสวักขยญาณ
             [๑๓๘] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา  เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า
หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว
 
ทั้ง ๒ ส่วน นี้เรียกว่า   วิปัสสนาญาณหรือปัญญาแท้ๆ    ซึ่งไม่ใช่เพียงการพิจารณาเห็น  เช่น การพิจารณาเห็นกามไม่เที่ยงนั้น เห็นกิเลสเกิดดับนั้น นั่นไม่ต้องใช้ญาณอะไร    ใช้ปัญญาดิบๆก็รู้ได้    ถ้าเห็นจริงๆอันเป็นลักษณะของญาณมันจะเนื่องกันไปเลย     ไม่ใช่ค้างนานอย่างนั้น     กล่าวคือ   เมื่อเห็นความเกิดดับ  มันจะเกิดความรู้อริยสัจ ๔ ขึ้นในทันที  เป็นไปนัยของพุทธพจน์ นี้คือส่วนประสบการณ์ที่ผมเจอ
 
แต่ถ้าค้างนานมันคือความเข้าใจผิดในองค์ความรู้ เป็นลักษณะของสติปัฏฐาน ๔ โพชฌงค์ ๗ คือการพิจารณาเห็น หรือธรรมวิจัย    ไม่ใช่วิปัสสนาญาณแท้ๆ       แต่มันก็เป็นทางได้       ตรงนี้ผู้ปฏิบัติต้องไม่สับสนในองค์ความรู้
 
ทั้งนี้ มันต่างกันนะครับ ระหว่างพิจารณาเห็นแต่ไม่ได้ญาณ  กับได้ญาณแล้วพิจารณาเห็น  อันนี้ต้องทำความเข้าใจให้แจ้ง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่