หากคุณเชื่อใน #BlackLivesMatter คุณจะไม่ละเลยสิ่งนี้ พร้อมลิสต์ความรุนแรงในไทย
https://prachatai.com/journal/2020/06/87945
ผู้ใช้เฟสบุ๊คตั้งประเด็น หากคุณเชื่อใน #BlackLivesMatter คุณจะไม่ละเลยสิ่งนี้ พร้อมเปิดลิสต์กรณีความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติในไทย
3 มิ.ย.2563 กระแส
#BlackLivesMatter (BLM) เพื่อต่อต้านการเลือกปฏิบัติและความรุนแรงต่อชุมชนชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน กลับมาได้รับการพูดถึงและเคลื่อนไหวทั้งในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกมากขึ้น หลังเหตุการณ์ปลายเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ตำรวจมินนิอาโปลิส ได้เข้าทำการตรวจค้น
จอร์จ ฟลอยด์ โดยในระหว่างการจับกุมได้ใช้เข่ากดทับที่คอ
ฟลอยด์เป็นเวลาหลายนาที ทั้งที่
ฟลอยด์ถูกล็อคมือไขว้หลังไว้ด้วยกุญแจมือ และร้องบอกตำรวจว่า "
หายใจไม่ออก" และร้องขอชีวิตแล้วก่อนจะหมดสติและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ประเทศไทยก็มีการตื่นตัวกับประเด็นนี้ มีผู้ร่วมใช้
#BlackLivesMatter ในทวิตเตอร์เพื่อแสดงความเห็นต่อประเด็นนี้และประเด็นอื่นๆ โดยเฉพาะความเชื่อมโยงต่อการเลือกปฏิบัติในประเทศไทย โดยวันนี้ (3 มิ.ย.63) ผู้ใช้เฟสบุ๊คชื่อ '
Warich Noochouy' โพสต์ข้อความชวนตั้งคำถามถึงประเด็นการเลือกปฏิบัติในไทยโดยเขา กล่าวว่า หากคุณเชื่อในประเด็น
#BlackLivesMatter จริงๆ
• คุณจะไม่ละเลยกรณีสลายผู้ชุมนุมเสื้อแดง 94 รายในปี 53
• คุณจะไม่ละเลยกรณีอุ้มฆ่าผู้ลี้ภัยทางการเมือง
• คุณจะไม่ละเลยกรณีชัยภูมิ ป่าแส
• คุณจะไม่ละเลยกรณีพ่อเด่น คำแหล้
• คุณจะไม่ละเลยกรณี บิลลี่ พอละจี่ รักจงเจริญ
• คุณจะไม่ละเลยกรณีทนายสมชาย นีละไพจิตร
• คุณจะไม่ละเลยกรณีอับดุลเลาะ อีซอมูซอ
• และคุณจะไม่ละเลยการละเมิดสิทธิ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากอำนาจรัฐ ทหาร ตำรวจ อีกมากมาย
สำหรับข้อมูลในประเด็นดังกล่าว สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
•
10 ปี สลายชุมนุมเสื้อแดง https://prachatai.com/10-ปี-สลายชุมนุมเสื้อแดง
•
ผู้ลี้ภัยทางการเมือง https://prachatai.com/category/ผู้ลี้ภัยทางการเมือง
•
ชัยภูมิ ป่าแส https://prachatai.com/category/ชัยภูมิ-ป่าแส
•
เด่น คำแหล้ https://prachatai.com/category/เด่น-คำแหล้
•
พอละจี รักจงเจริญ https://prachatai.com/category/พอละจี-รักจงเจริญ
•
สมชาย นีละไพจิตร https://prachatai.com/category/สมชาย-นีละไพจิตร
•
อับดุลเลาะ อีซอมูซอ https://prachatai.com/category/อับดุลเลาะ-อีซอมูซอ
Warich Noochouy ชวนตั้งคำถามต่อไปว่า เมื่อพูดถึงประเด็นที่กล่าวมาเหล่านี้ คุณได้แยแสกับมันมากน้อยเพียงไหน เพราะ
หากคุณเชื่อใน
#BlackLivesMatter หากคุณเชื่อในคอนเซ็ปต์ที่ว่า "
ทุกคนเท่ากัน"
วันนี้ความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นต่อหน้าพวกเรา เราละเลยมันไปหรือเปล่า
และหากคุณมองเห็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากอำนาจรัฐที่กระทำต่อประชาชนตาดำๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก
"
คุณจะไม่ปริปากด่าว่า ทำไมคนดำในเมกาถึงต้องก่อจลาจล คุณจะไม่ด่าว่าทำไมม็อบฮ่องกงต้องขยับไปสู่ความรุนแรง หรือกระทั่งกรณีเสื้อแดง ทั้งนี้ไม่ได้บอกว่าการลักขโมยของ ทำร้ายคนอื่นจะเป็นความชอบธรรม แต่มันออกจะประหลาดไปหน่อย หากเรามองเห็นแค่ความรุนแรงจากฝ่ายถูกกระทำ แต่กลับบอดใบ้กับฝ่ายที่กระทำมาตลอดกว่าศตวรรษ แล้วออกมาพ่นแคปชั่นเท่ๆ บนโซเชียลมีเดีย ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ได้เชื่อในคอนเซ็ปต์ "ทุกคนเท่ากัน"
Warich โพสต์
Warich ยังโพสต์แสดงความเสียดายที่ว่า แทนที่เราจะฉวยโอกาสในครั้งเพื่อสำรวจตัวเราเอง และเรียนรู้จริงๆ ว่าการถูกกดทับไว้นานๆ จะนำมาสู่อะไร มันเสียดายที่ประเด็นนี้จะจบลงด้วยอีหรอบเดิมๆ โดยที่เราไม่ได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจถึงแก่นลึกของรากปัญหาจริงๆ และยิ่งน่าเสียดายหากเรามองไม่เห็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นในบ้านตัวเอง
https://www.facebook.com/photo.php?bid=2662886457367208&set=a.1421403238182209&type=3
เนติวิทย์และเพื่อน แจกคุกกี้ชานม รำลึกล้อมปราบที่เทียนอันเหมินเมื่อ 31 ปีก่อน
https://prachatai.com/journal/2020/06/87948
3 มิ.ย. 2563 เวลา 13.00 น.
เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล พร้อมสมาชิกกลุ่ม
“มนุษยชาติไร้พรมแดน” (Humanity Beyond Borders) เดินแจกคุกกี้รสชานมที่บริเวณหน้าสถานทูตจีน ตลาดเยาวราช และสถานีรถไฟฟ้าสยามหน้าทางเข้าห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน เพื่อร่วมรำลึกในโอกาสครบรอบ 31 ปีเหตุการณ์ 4 มิถุนายน ปี 2532
ทางกลุ่มระบุว่า สำหรับคุกกี้ที่แจกมี 2 ลายคือ ลายรูปจัตุรัสเทียนอันเหมิน ที่มีข้อความภาษาจีน “
เทียนอันเหมิน” และปี 1989 กำกับไว้ และลายรูป Tank Man ซึ่งด้านข้างมีข้อความภาษาจีน “
เทียนอันเหมิน” และปี 1989 กำกับไว้ ซึ่งคุกกี้ที่แจกเป็นรสชานม ตามกระแสที่เกิดขึ้นจากชาวทวิตเตอร์ในประเทศไทย ไต้หวัน และฮ่องกง เรียกกลุ่มตัวเองว่า
“พันธมิตรชานม” (Milk Tea Alliance) เพื่อแสดงออกในการต่อต้านการครอบงำของสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งทำกับพวกเขา รวมถึงต่อคนธิเบต อุยกูร์ และอื่นๆ ด้วย
ทั้งนี้เนติวิทย์ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่าในการแจกวันนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาห้าม แต่ในระหว่างแจกที่สถานทูตจีน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้มาห้ามทำกิจกรรมที่หน้าสถานทูต ตนจึงได้ให้คุกกี้แก่เจ้าหน้าที่ไปทานด้วย
“วันนี้ผมและเพื่อนๆ ในนามกลุ่ม "มนุษยชาติไร้พรมแดน" (humanity beyond borders) ได้มามอบคุกกี้เทียนอันเหมิน 1989 ที่พวกเราทำขึ้น ให้กับสถานทูตจีน เพื่อให้พวกเขาได้กินในสิ่งที่พวกเขาไม่ควรลืม อาชญากรรมโดยรัฐไม่ควรถูกลืม และประชาชนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและเสรีภาพควรได้รับการชดเชย ยกย่อง มิใช่ปกปิดข้อมูลไม่ให้คนจีนรู้ความจริง พวกเราขอให้สถานทูตจีนรู้ว่าคนไทยไม่พอใจกับการคุกคามแม้น้ำโขง ของพวกเรา และไม่พอใจกับการรังแกคนธิเบต คนอุยกูร์ และคนฮ่องกง” เนติวิทย์กล่าว
สืบเนื่องจากเมื่อวานนี้(2 มิ.ย.63) สน.ห้วยขวางได้มีหนังสือตอบกลับไม่ให้ทางกลุ่มจัดกิจกรรมรำลึกวันครบรอบ 31 ปี เหตุการณ์รัฐบาลจีนปราบปรามผู้ชุมนุมที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเมื่อ 4 มิ.ย.2532 ที่ด้านหน้าสถานทูตจีนในวันพรุ่งนี้ ในหนังสือตอบกลับดังกล่าวได้อ้างถึงอำนาจตามประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ซึ่งอาศัยอำนาจตาม มาตรา 9 พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หากฝ่าฝืนผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
JJNY : 4in1 หากคุณเชื่อใน#BlackLivesMatter/เนติวิทย์และเพื่อนแจกคุกกี้เทียนอันเหมิน/ฟังคห.แจกเงินเที่ยว/ซานโตรินี่ปิด1ปี
https://prachatai.com/journal/2020/06/87945
3 มิ.ย.2563 กระแส #BlackLivesMatter (BLM) เพื่อต่อต้านการเลือกปฏิบัติและความรุนแรงต่อชุมชนชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน กลับมาได้รับการพูดถึงและเคลื่อนไหวทั้งในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกมากขึ้น หลังเหตุการณ์ปลายเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ตำรวจมินนิอาโปลิส ได้เข้าทำการตรวจค้น จอร์จ ฟลอยด์ โดยในระหว่างการจับกุมได้ใช้เข่ากดทับที่คอฟลอยด์เป็นเวลาหลายนาที ทั้งที่ฟลอยด์ถูกล็อคมือไขว้หลังไว้ด้วยกุญแจมือ และร้องบอกตำรวจว่า "หายใจไม่ออก" และร้องขอชีวิตแล้วก่อนจะหมดสติและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ประเทศไทยก็มีการตื่นตัวกับประเด็นนี้ มีผู้ร่วมใช้ #BlackLivesMatter ในทวิตเตอร์เพื่อแสดงความเห็นต่อประเด็นนี้และประเด็นอื่นๆ โดยเฉพาะความเชื่อมโยงต่อการเลือกปฏิบัติในประเทศไทย โดยวันนี้ (3 มิ.ย.63) ผู้ใช้เฟสบุ๊คชื่อ 'Warich Noochouy' โพสต์ข้อความชวนตั้งคำถามถึงประเด็นการเลือกปฏิบัติในไทยโดยเขา กล่าวว่า หากคุณเชื่อในประเด็น #BlackLivesMatter จริงๆ
• คุณจะไม่ละเลยกรณีสลายผู้ชุมนุมเสื้อแดง 94 รายในปี 53
• คุณจะไม่ละเลยกรณีอุ้มฆ่าผู้ลี้ภัยทางการเมือง
• คุณจะไม่ละเลยกรณีชัยภูมิ ป่าแส
• คุณจะไม่ละเลยกรณีพ่อเด่น คำแหล้
• คุณจะไม่ละเลยกรณี บิลลี่ พอละจี่ รักจงเจริญ
• คุณจะไม่ละเลยกรณีทนายสมชาย นีละไพจิตร
• คุณจะไม่ละเลยกรณีอับดุลเลาะ อีซอมูซอ
• และคุณจะไม่ละเลยการละเมิดสิทธิ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากอำนาจรัฐ ทหาร ตำรวจ อีกมากมาย
สำหรับข้อมูลในประเด็นดังกล่าว สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
• 10 ปี สลายชุมนุมเสื้อแดง https://prachatai.com/10-ปี-สลายชุมนุมเสื้อแดง
• ผู้ลี้ภัยทางการเมือง https://prachatai.com/category/ผู้ลี้ภัยทางการเมือง
• ชัยภูมิ ป่าแส https://prachatai.com/category/ชัยภูมิ-ป่าแส
• เด่น คำแหล้ https://prachatai.com/category/เด่น-คำแหล้
• พอละจี รักจงเจริญ https://prachatai.com/category/พอละจี-รักจงเจริญ
• สมชาย นีละไพจิตร https://prachatai.com/category/สมชาย-นีละไพจิตร
• อับดุลเลาะ อีซอมูซอ https://prachatai.com/category/อับดุลเลาะ-อีซอมูซอ
Warich Noochouy ชวนตั้งคำถามต่อไปว่า เมื่อพูดถึงประเด็นที่กล่าวมาเหล่านี้ คุณได้แยแสกับมันมากน้อยเพียงไหน เพราะ
หากคุณเชื่อใน #BlackLivesMatter หากคุณเชื่อในคอนเซ็ปต์ที่ว่า "ทุกคนเท่ากัน"
วันนี้ความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นต่อหน้าพวกเรา เราละเลยมันไปหรือเปล่า
และหากคุณมองเห็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากอำนาจรัฐที่กระทำต่อประชาชนตาดำๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก
"คุณจะไม่ปริปากด่าว่า ทำไมคนดำในเมกาถึงต้องก่อจลาจล คุณจะไม่ด่าว่าทำไมม็อบฮ่องกงต้องขยับไปสู่ความรุนแรง หรือกระทั่งกรณีเสื้อแดง ทั้งนี้ไม่ได้บอกว่าการลักขโมยของ ทำร้ายคนอื่นจะเป็นความชอบธรรม แต่มันออกจะประหลาดไปหน่อย หากเรามองเห็นแค่ความรุนแรงจากฝ่ายถูกกระทำ แต่กลับบอดใบ้กับฝ่ายที่กระทำมาตลอดกว่าศตวรรษ แล้วออกมาพ่นแคปชั่นเท่ๆ บนโซเชียลมีเดีย ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ได้เชื่อในคอนเซ็ปต์ "ทุกคนเท่ากัน" Warich โพสต์
Warich ยังโพสต์แสดงความเสียดายที่ว่า แทนที่เราจะฉวยโอกาสในครั้งเพื่อสำรวจตัวเราเอง และเรียนรู้จริงๆ ว่าการถูกกดทับไว้นานๆ จะนำมาสู่อะไร มันเสียดายที่ประเด็นนี้จะจบลงด้วยอีหรอบเดิมๆ โดยที่เราไม่ได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจถึงแก่นลึกของรากปัญหาจริงๆ และยิ่งน่าเสียดายหากเรามองไม่เห็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นในบ้านตัวเอง
https://www.facebook.com/photo.php?bid=2662886457367208&set=a.1421403238182209&type=3
เนติวิทย์และเพื่อน แจกคุกกี้ชานม รำลึกล้อมปราบที่เทียนอันเหมินเมื่อ 31 ปีก่อน
https://prachatai.com/journal/2020/06/87948
3 มิ.ย. 2563 เวลา 13.00 น. เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล พร้อมสมาชิกกลุ่ม “มนุษยชาติไร้พรมแดน” (Humanity Beyond Borders) เดินแจกคุกกี้รสชานมที่บริเวณหน้าสถานทูตจีน ตลาดเยาวราช และสถานีรถไฟฟ้าสยามหน้าทางเข้าห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน เพื่อร่วมรำลึกในโอกาสครบรอบ 31 ปีเหตุการณ์ 4 มิถุนายน ปี 2532
ทางกลุ่มระบุว่า สำหรับคุกกี้ที่แจกมี 2 ลายคือ ลายรูปจัตุรัสเทียนอันเหมิน ที่มีข้อความภาษาจีน “เทียนอันเหมิน” และปี 1989 กำกับไว้ และลายรูป Tank Man ซึ่งด้านข้างมีข้อความภาษาจีน “เทียนอันเหมิน” และปี 1989 กำกับไว้ ซึ่งคุกกี้ที่แจกเป็นรสชานม ตามกระแสที่เกิดขึ้นจากชาวทวิตเตอร์ในประเทศไทย ไต้หวัน และฮ่องกง เรียกกลุ่มตัวเองว่า “พันธมิตรชานม” (Milk Tea Alliance) เพื่อแสดงออกในการต่อต้านการครอบงำของสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งทำกับพวกเขา รวมถึงต่อคนธิเบต อุยกูร์ และอื่นๆ ด้วย
ทั้งนี้เนติวิทย์ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่าในการแจกวันนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาห้าม แต่ในระหว่างแจกที่สถานทูตจีน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้มาห้ามทำกิจกรรมที่หน้าสถานทูต ตนจึงได้ให้คุกกี้แก่เจ้าหน้าที่ไปทานด้วย
“วันนี้ผมและเพื่อนๆ ในนามกลุ่ม "มนุษยชาติไร้พรมแดน" (humanity beyond borders) ได้มามอบคุกกี้เทียนอันเหมิน 1989 ที่พวกเราทำขึ้น ให้กับสถานทูตจีน เพื่อให้พวกเขาได้กินในสิ่งที่พวกเขาไม่ควรลืม อาชญากรรมโดยรัฐไม่ควรถูกลืม และประชาชนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและเสรีภาพควรได้รับการชดเชย ยกย่อง มิใช่ปกปิดข้อมูลไม่ให้คนจีนรู้ความจริง พวกเราขอให้สถานทูตจีนรู้ว่าคนไทยไม่พอใจกับการคุกคามแม้น้ำโขง ของพวกเรา และไม่พอใจกับการรังแกคนธิเบต คนอุยกูร์ และคนฮ่องกง” เนติวิทย์กล่าว
สืบเนื่องจากเมื่อวานนี้(2 มิ.ย.63) สน.ห้วยขวางได้มีหนังสือตอบกลับไม่ให้ทางกลุ่มจัดกิจกรรมรำลึกวันครบรอบ 31 ปี เหตุการณ์รัฐบาลจีนปราบปรามผู้ชุมนุมที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเมื่อ 4 มิ.ย.2532 ที่ด้านหน้าสถานทูตจีนในวันพรุ่งนี้ ในหนังสือตอบกลับดังกล่าวได้อ้างถึงอำนาจตามประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ซึ่งอาศัยอำนาจตาม มาตรา 9 พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หากฝ่าฝืนผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ