*** ความงามของเจ้าหญิง ***

เมื่อพูดถึง "เจ้าหญิงผู้เลอโฉม" คุณอาจคิดถึงเหล่าเจ้าหญิงดิสนีย์ผู้งดงาม แต่รู้หรือไม่ว่า "ความงามในอุดมคติ" นั้น อาจแตกต่างไปตามสถานที่ และกาลเวลา

...นิยามความงามของสตรีเปลี่ยนไปตามยุคสมัย..

แต่ก่อนพูดเรื่องนั้น ผมอยากพาท่านไปชมพระราชวังแห่งหนึ่งก่อน

นี่คือพระราชวังโกเลสตาน มันเคยเป็นวังหลวงของกษัตริย์ราชวงศ์คาจาร์ ซึ่งปกครองอิหร่านในยุคปลายศตวรรษที่ 18 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 

 จากที่ผมเคยไปเยี่ยมสถานที่แห่งนี้มา ผมบอกได้ว่ามันเป็นพระราชวังที่สวยงามมาก 

ทุกรายละเอียดถูกตกแต่งอย่างประณีต... ลวดลายประดับ ล้วนอ่อนช้อยงดงาม... 
 

เหมาะอย่างยิ่งที่จะให้เหล่ากวีศิลปินนำไปจินตนาการว่า ฉากรักซึ่งเกิดขึ้นในสถานที่แห่งนี้จะโรแมนติกเพียงใด 
 
 
และเมื่อมาเทียบกับภาพสาวๆ อิหร่านในปัจจุบันที่เห็นว่าสวยๆ กันมาก มันก็ทำให้เราเผลอสงสัยว่าเจ้าหญิงผู้เลอโฉมที่เคยอาศัยอยู่ในพระราชวังแห่งนี้จะงดงามเพียงไหนน้อ?... 
 

ตึ้ง! 
 

ผัวะ! 
 

ฉูด!

รูปถ่ายโบราณ ทำให้เราทราบว่าชาวคาจาร์มีรสนิยมชอบสาวงามที่อ้วน มีหนวด คิ้วดก และเชื่อมติดกัน 
 

ทั้งหมดนี้เราต้องขอบคุณพระเจ้านัสเซอร์ อัล-ดิน ชาห์ ซึ่งเป็นผู้นำเทคโนโลยีถ่ายภาพเข้ามาในอิหร่าน ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลาจินตนาการไปไหนอีก

ยุคคาจาร์เป็นสมัยที่อิหร่านเริ่มเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตก มีการนำของใหม่ๆ เช่นโทรเลข บุหรี่ และการถ่ายภาพเข้ามา

นัสเซอร์ อัล-ดิน เป็นกษัตริย์ศิลปินผู้ชื่นชอบในการถ่ายภาพ และวาดภาพมาก รูปแนบนี้คือตัวอย่างงานวาดของท่าน

ยุคนั้นพระเจ้าชาห์ (ชาห์คือตำแหน่งกษัตริย์ของอิหร่าน) มีอำนาจปกครองประเทศไม่เด็ดขาด โดยอำนาจส่วนหนึ่งยังอยู่ในมือของฝ่ายศาสนา

เนื่องจากคัมภีร์อัลกุรอาน และบันทึกจริยวัตรของนบีมุฮัมมัดนั้นมีหลายส่วนที่ตีความได้ บรรดาผู้รู้อิสลามจะทำหน้าที่ตีความได้ว่าอะไรผิด-ถูกตามหลักศาสนา ครั้งหนึ่งพวกเขาประกาศว่าการสูบบุหรี่เป็นสิ่งผิด ส่งผลกระทบกระเทือนต่อการใช้ชีวิตของพระเจ้าชาห์พอควร

ในสมัยดังกล่าวการถ่ายรูปเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังคลุมเครือว่าผิดหรือถูก เพราะมันก็เหมือนการวาดภาพมนุษย์ ซึ่งอาจนำสู่การสร้างรูปเคารพมาบูชาแข่งกับพระเจ้าได้ บางสำนักคิดจึงห้ามเรื่องนี้ไปเลย 


...ดังนั้นเราอาจมองว่าการถ่ายภาพก็คือการกบฏของพระเจ้าชาห์นั่นเอง... 

 
คอลเลคชันรูปถ่ายในฮาเร็มของพระองค์แสดงภาพผิดผีมากมาย 

ยกตัวอย่างเช่นการที่ให้ผู้หญิงนุ่งกระโปรงสั้นนั้นก็ผิดหลักที่ว่าผู้หญิงมุสลิมควรปกปิดทุกส่วนของร่างกาย เว้นแต่ใบหน้าและฝ่ามือ 

แต่พระเจ้าชาห์ก็ไม่สนเพราะเห็นว่าแบบนี้เซ็กซี่มาก
เมื่อมีชาวตะวันตกมาถามว่าท่านไม่ชอบผู้หญิงผอมๆ บ้างหรือ? พระเจ้าชาห์ก็ตอบว่า "เวลาคุณเลือกซื้อเนื้อ คุณเลือกเนื้อหรือกระดูกล่ะ!?" 
 

คำตอบนี้ก็ทำเอาผู้ฟังอึ้ง 
 

แล้วพระเจ้าชาห์ก็เพิ่มคอลเลคชันสุดเซ็กซี่ของพระองค์ต่อไป... 

ทั้งแบบนู้น... 
 

แบบนี้... 
 

แบบนั้น... 
 

โอ... ช่างมีสุนทรีย์

แต่ก่อนที่จะขำกับชาวคาจาร์ ผมอยากให้ท่านดูภาพถ่ายสาวๆ ไทยในอดีตด้วย 
 

ผู้หญิงเหล่านี้ไม่ใช่ไม่สวย พวกเธองดงามในยุคของเธอ 
 

ความงามของผู้หญิงเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ดังคำพังเพยจีนที่ว่า "หวนอ้วน เอี๋ยนผอม" 

"หวน" หมายถึงหยางกุ้ยเฟย ที่มีชื่อจริงว่า "หยางอี้หวน" นางเป็นสาวงามของราชวงศ์ถัง ที่กำลังนิยมผู้หญิงอวบๆ ส่วน "เอี๋ยน" หมายถึง "เจ้าเฟยเอี๋ยน" สาวงามสมัยราชวงศ์ฮั่นที่รูปร่างแบบบางแน่งน้อย
คำว่า "หวนอ้วน เอี๋ยนผอม" จึงแปลว่าความงามมีได้หลายแบบ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ 
 

ในปัจจุบันผู้ชายมักมีอารมณ์กับผู้หญิงนมใหญ่ 
 

แต่รู้หรือไม่ว่าในยุคหนึ่งชาวญี่ปุ่นก็เคยมีอารมณ์กับต้นคอเรียวๆ ขาวๆ ของผู้หญิง เหมือนกับที่ผู้ชายปัจจุบันมองนม นี่ทำให้เหล่าเกอิชามักใส่เสื้อเปิดคอกว้างๆ แล้วประแป้งขาวๆ

เช่นกัน ผู้ชายจีนยุคหนึ่งก็มีอารมณ์กับผู้หญิงเท้าเล็ก ทำให้ผู้หญิงจีนมากมายต้องรัดเท้าจนพิกลพิการ

ดูอย่างตุ๊กตายางตัวนี้ ...เพื่อจะให้ได้รูปร่างในอุดมคติของผู้ชายนั้น ผู้หญิงแต่ละยุคสมัยต้องผ่านพ้นอะไรบ้าง? 
 

รูปถ่าย "เจ้าหญิงคาจาร์" ที่เรามักเอามาขำกันนั้น มีผู้เป็นแบบหลักๆ คือเจ้าหญิงเอสแมท อัลดาวเลห์ (คนมีหนวดที่นั่งอยู่) ซึ่งเป็นลูกของพระเจ้านัสเซอร์ อัล-ดิน ชาห์
มีคนยุคปัจจุบันเอารูปเธอไปทำ meme เขียนประกอบว่า "เจ้าหญิงคาจาร์ซึ่งมีผู้ชายสิบสามคนฆ่าตัวตายเพราะถูกเธอปฏิเสธรัก" ซึ่งไม่ใช่เรื่องจริงในประวัติศาสตร์ 
 

เจ้าหญิงแอสแมทอาจมีหน้าตาตามสมัยนิยมยุคนั้น แต่การที่ถูกถ่ายรูปบ่อยๆ ไม่ใช่เพราะเธองดงาม หากเป็นเพราะเธอเป็นคนสำคัญของวัง โดยเป็นผู้ดูแลแขกบ้านแขกเมืองฝ่ายหญิง และเป็นที่ปรึกษาของพระบิดาในงานสำคัญหลายเรื่อง 

เจ้าหญิงเอสแมทฝ่าฝืนประเพณีเป็นช่างภาพสตรีคนแรกของอิหร่าน เธอมีสตูดิโอของตัวเองอยู่ในวัง เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องพิเศษในยุคที่ผู้หญิงยังมีสิทธิมีเสียงไม่มาก
...และนั่นคือสิ่งที่เราควรจดจำเธอใช่หรือไม่?
source: qajarwomen.org/en/ 
  

:::  :::  :::
 
สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ ติดตามได้ที่ เพจ The Wild Chronicles นะครับ https://facebook.com/pongsorn.bhumiwat
 
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่