"Northumberlandia" ประติมากรรมจากดิน
ประติมากรรม "หญิงเปลือยกาย" อยู่ในเมือง Cramlington ซึ่งในสมัยก่อนเป็นเหมืองถ่านหินตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอังกฤษ โดยหญิงเปลือยกาย เป็นงานศิลปะขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นจากที่ดินมีชื่อว่า "Northumberlandia" เป็นผลพลอยได้ของเหมืองถ่านหินนั่นเอง
สร้างขึ้นจากหินและดินเหลือทิ้งจากเหมืองกว่า 1.5 ล้านตัน มีขนาดความสูงมากกว่า 100 ฟุต และยาวกว่า 1 ใน 4 ไมล์ ถ้ามองจากมุมด้านบนจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเธอกำลังนอนบิดตัวไปทางซ้าย ดูสวยงามและมีมิติเป็นอย่างมาก
โดย Charles Jencks ศิลปินภูมิทัศน์ชาวอเมริกันใช้เวลาในการก่อสร้างนาน 2 ปี และเธอกลายเป็น "ประติมากรรมมนุษย์ที่สร้างจากดินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก" ทั้งยังกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ
ข้อมูลและภาพจาก lifebuzz
ที่มา
http://www.lifebuzz.com/lady-of-the-north/
Cr.
https://board.postjung.com/941155 / โพสท์โดย ิทาสแมว
Pseudofecal Pellet ประติมากรรมบนพื้นทราย
(ภาพจาก
https://picpost.mthai.com/view/45952)
บริเวณหาดทรายจะมีก้อนทรายก้อนเล็กๆ ที่มีขนาดเท่าๆ กัน วางเรียงเป็นวงกลมหลายวงซ้อนกัน หรืออาจเป็นรูปแบบอื่น นั่นคือประติมากรรมบนผืนทรายหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า“ขี้ปูลม” ที่จริงแล้ว มันไม่ได้เกิดจากปูลม แต่มันเกิดจากปูทหาร ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ปูทหาร (Soldier crab,Sand-Bubbler crab, Dotilla myctiroides) เป็นปูขนาดเล็ก กระดองกลม ค่อนข้างเรียบ สีชมพู ตาไม่อยู่ในเบ้าตา ก้านตายาว ไม่อยู่ในเบ้าตาขณะออกหากิน ก้ามยาว มีขนาดเท่ากันทั้ง 2 ข้าง ปลายก้ามหักงอลงสู่พื้นล่าง เป็นลักษณะสำคัญของปูกลุ่มนี้
พบได้ทั่วไปในเขตน้ำขึ้นน้ำลง ชายฝั่งที่มีความเปียกชื้นตลอดเวลา ลักษณะที่ทำให้มีชื่อว่าปูทหารคือคาดว่าน่าจะมีผู้นำกลุ่ม เนื่องจากว่ามักจะพบเห็นปูชนิดนี้อยู่รวมกันเป็นฝูง และการขุดรูของปูทหาร จะมีลักษณะพิเศษ คือ จะเอาดินมาก่อเป็นชั้นบริเวณปากรู ลักษณะคล้ายกับบังเกอร์ของทหาร
ประติมากรรมบนพื้นทราย หรือขี้ปู เกิดจากการกินอินทรีย์สารในตะกอนบนพื้นท้องทะเล โดยจะใช้ก้ามที่หักงอ หนีบตักเอาตะกอนดินส่งเข้าปาก แล้วใช้รยางค์ภายในปาก คัดแยกเอาซากอินทรีย์สาร และปั้นเอาดินทรายที่กินไม่ได้ออกมาทิ้ง ส่วนที่ทิ้งออกมานั้นไม่ใช่ขี้ปู แต่คือก้อนทรายซึ่งมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ ว่า Pseudofecal Pellet หรือแปลแบบง่ายๆว่า “ขี้ปลอม”
ของเสียที่ขับถ่ายออกมาทุกชนิดต้องผ่านระบบทางเดินอาหาร แต่ขี้ปลอมนี้ไม่ได้ผ่านระบบทางเดินอาหารจึงไม่ใช่ขี้ที่แท้จริง ไม่รู้ว่าเป็นความตั้งใจหรือบังเอิญของปูที่วางก้อนทรายเหล่านั้นให้ออกมาในรูปแบบต่างๆได้อย่างเป็นระเบียบ แต่มันก็เป็นความสวยงามอีกอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างสรรค์
สำหรับปูทหารในประเทศไทยที่พบมากมีอยู่ 2 ชนิดหลักๆ คือ Dolilla myctiroides (soldier.crab) ปูชนิดนี้พบในฝั่งอันดามัน และอีกชนิดคือ Dotilla wichmani (Sand Soldier.crab) พบในฝั่งอ่าวไทยและเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2553 ได้มีการค้นพบปูทหารชนิดใหม่ ที่หาดปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่งเรียกกันว่า "ปูทหารยักษ์ปากบารา" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า "Mictyris thailandensis" โดยมักถูกจำสับสนกับปูทหารก้ามโค้ง หรือปูมดแดง ซึ่งออกหากินโดยการเดินขบวนบนหาดเช่นเดียวกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน (
https://th.wikipedia.org/wiki)
ปูทหารยักษ์ปากบารา เป็นปูชนิดใหม่ของโลกที่พบเฉพาะที่ปากบารา ประเทศไทยเท่านั้น
แต่เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่หาดทรายมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากการพัฒนาในด้านต่างๆ ทำให้ปูชนิดนี้ลดน้อยลงไปมาก
เรียบเรียงโดย ปณิตา ชุมเชื้อ
อ้างอิง
- คู่มืออันดามัน “ปูทะเลไทย” ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์และคณะ
-
https://th.wikipedia.org/wiki
-
http://go-2-krabi.blogspot.com
-
https://picpost.mthai.com/view/45952
-
http://www.bwn.psu.ac.th
Cr.
http://www.nicaonline.com/web/index.php/2016-08-30-02-19-31/2016-08-30-14-15-11/585-2018-10-12-07-39-16
Moai Easter Island ประติมากรรมหินยักษ์
รูปปั้นหินยิกษ์นี้มีชื่อว่า “โมอาย” มีลักษณะคล้ายมนุษย์ แต่จะมีหัวที่โตกว่าร่างกาย ตั้งอยู่บนเกาะอีสเตอร์ มีจำนวนรวมกันมากกว่า 600 ตัว โดยเกาะอีสเตอร์ตั้งอยู่ที่มหาสมุทรแปซิฟิกเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติปานุย ประเทศชิลี โดยห่างจากชายฝั่งของชิลีไปทางตะวันตกประมาน 3,600 กิโลเมตร
เกาะแห่งนี้โดดเดี่ยวเป็นอย่างมาก แผ่นดินที่ใกล้ที่สุดอยู่ห่างออกไปถึง 2,000 กิโลเมตร เกาะอีสเตอร์มีพื้นทีเพียง 160 กิโลเมตร และยาวเพียง 25 กิโลเมตรเท่านั้น แต่ก็เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกหนึ่งแห่งที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจ ซึ่งสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวก็คือรูปปั้นโมอายเหล่านี้
เชื่อว่าพวกมันน่าจะถูกสร้างขึ้นโดยชาวโพลิเนเซียน โดยโมอายหนึ่งตัวจะถูกแกะสลักมาจากหินขนาดใหญ่หนึ่งก้อน หินที่นำมาแกะสลักนั้นน่าจะนำมาจากปล่องภูเขาไฟที่มีชื่อว่า “หินราโนรารากู” ที่อยู่บนเกาะ โดยรูปปั้นที่แกะสลักเสร็จสมบูรณ์จะมีรูปร่างคล้ายมนุษย์ มีหัวที่ใหญ่เด่นชัด บางตัวก็มีเครื่องประดับและหมวกหรือมวยผม
โมอายที่แกะสลักเสร็จแล้วนั้น จะมีขนาดสูงถึง 3.5 เมตร จนถึง 10 เมตร และมีน้ำหนักมากถึง 80 ตัน นอกจากนี้ยังมีการสำรวจจนพบโมอายที่ยังแกะสลักไม่เสร็จ ซึ่งตัวที่แกะสลักไม่เสร็จมีความสูงถึง 21 เมตร หนักถึง 270 ตัน คาดว่ายังมีตัวที่แกะสลักไม่เสร็จอยู่อีกมากกว่า 400 ตัว
รูปปั้นโมอายถือเป็นงานประติมากรรมในอดีตที่มีความมหัศจรรย์เป็นอย่างมาก ทั้งการแกะสลักจากหินก้อนใหญ่ก้อนเดียว รวมถึงวิธีการสร้าง และขนาดที่เชื่อว่าการแกะสลักรูปปั้นเหล่านี้ต้องใช้เวลาและจำนวนคนมหาศาลในการสร้าง และได้ถูกรับเลือกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2533
Cr.
https://www.flagfrog.com/easter-islands-moai-statues/ โดย ManoshFiz
Sound of Denmark ประติมากรรมผลิตพลังงานลม
ชิ้นงานศิลปะที่ผลิตพลังงานสะอาดชิ้นนี้ มีชื่อว่า “Sound of Denmark ” ออกแบบโดย Laura Mesa Arango และ Rafael Sanchez Herrera เป็นประติมากรรมผลิตพลังงานลม ในขณะเดียวกันก็สร้างเสียงดนตรีที่กำเนิดจากลม มันประกอบด้วย ไวกิ้ง ฮอร์น (Viking horns,) แบบดั้งเดิม ขนาดใหญ่12 ชิ้น สร้างจากไม้ และโลหะ จากเรือที่ปลดระวาง ไม่ใช้งานแล้ว
คาดคะเนกันว่า “Sound of Denmark ” จะสามารถผลิตพลังงานได้ 117 MWh ต่อปี มันถูกออกแบบให้กระแสลมผ่านเข้ามาตามแตรรูปเขาแต่ละอัน ซึ่งภายใน มีใบพัด ที่จะช่วยเพิ่มกำลังลม และความเร็วของลม ในขณะเดียวกัน พื้นผิวที่เต็มไปด้วยรู ก็จะทำให้เกิดเสียงที่ได้ความรู้สึกลึกลับ
เป็นชิ้นงานอันน่าทึ่ง ที่รวมเอา ประวัติศาสตร์ พลังงาน และ งานศิลปะสาธารณะมารวมไว้ด้วยกัน
Read more :
http://www.treehugger.com/
www.designboom.com
Cr.
https://www.iurban.in.th/greenery/massive-horn-sculptures-generate-sound-and-energy-from-wind/ By Ning iUrban
สามพันโบก ประติมากรรมน้ำกัดเซาะ
สามพันโบก เป็นแก่งหินใต้ลำน้ำโขง เขตบริเวณบ้านโป่งเป้า ตำบลเหล่างาม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นความงดงามใต้น้ำ ที่จะปรากฏให้เห็นเพียงในยามน้ำแล้งเท่านั้น เนื่องจากในช่วงฤดูน้ำหลากแก่งหินดังกล่าวจะจมอยู่ใต้บาดาล
แก่งสามพันโบกได้ปรากฎสู่สายตานักท่องเที่ยวตอนเมื่อโฆษณาของ ท.ท.ท. ชุดพี่เบิร์ด ได้เริ่มออกอากาศฉายภาพสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งเป็นทำออกมาเป็นฉากจบของโฆษณา จากนั้นเป็นต้นมาแก่งสามพันโบกจึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงมากในประเทศไทย
ความสวยงามวิจิตรของหินที่ถูกกระแสน้ำกัดเซาะจนเว้าแหว่ง มองเห็นเป็นภาพศิลปะ มีรูปร่างแตกต่างกันออกไป ใหญ่บ้างเล็กบ้าง บ้างเป็นรูปวงรี รูปดาว รูปวงกลม และรูปอื่นๆ อีกมากมาย ตามแต่ที่เราจะจินตนาการจำนวนมากกว่า 3,000 แอ่ง หรือ 3 พันโบก “โบก” เป็นชื่อเรียกของ แอ่ง หมายถึง บ่อน้ำลึกในแก่งหินใต้ลำน้ำโขง เป็นภาษาของลาวที่นิยมเรียกกัน
ที่นี่จะมีหินสวยงามลักษณะคล้ายกับหัวสุนัขซึ่งมีตำนานเล่าขานกันว่า แต่ก่อนมีเจ้าเมืองเป็นผู้เรือง อำนาจได้ประทับใจในความงามของสามพันโบกแห่งนี้จึงได้ส่งเสนามาศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม แต่เมื่อมาแล้วก็ได้พบกับขุมทรัพย์เป็นทองคำ จึงให้สุนัขเฝ้าทางเข้าจนกว่าเจ้าเมืองผู้นี้จะออกมา
เมื่อเจ้าเมืองได้เห็นสมบัติก็เกิดความโลภจึงได้แอบออกไปทางอื่นแทน แต่สุนัขผู้ภักดีตัวนี้ก็ได้เฝ้ารอเจ้าเมืองอยู่ตรงนั้นจนได้ตายในที่สุด แต่บางตำนานเล่าว่าลูกพญานาคในลำน้ำโขงได้เป็นผู้ขุดทางเพื่อให้เกิดลำ น้ำอีกสายหนึ่งขึ้นและได้มอบหมายให้สุนัขตัวนี้เป็นผู้เฝ้าทางเข้าในระหว่าง การขุดจน กระทั่งสุนัขได้ตายลงไปกลายเป็นหินรูปสุนัขแห่งนี้ในที่สุด
ที่มา
http://ubonratchathaniteawthai.blogspot.com/
http://www.emaginfo.com ร่วมกับ travel.mthai.com
Cr.
http://www.emaginfo.com ร่วมกับ travel.mthai.com / by oporshady
Cr.
http://oknation.nationtv.tv/blog/Kurojiew/2016/07/14/entry-1
ละลุ ประติมากรรมจากดิน น้ำ ฟ้า ฝน
“ละลุ” เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการยุบตัวและพังทลายของดิน ที่ถูกทั้งลม ทั้งฝนพัด กัดเซาะทำให้มีรูปร่าง เป็นภูเขาบ้าง เสาหินบ้าง กำแพงบ้าง ต่างๆกันไป มีการเปรียบเทียบว่ามีลักษณะคล้ายกับ “แพะเมืองผี” หรือ “เสาดินนาน้อย” (ฮ่อมจ๊อม) ซึ่งบางคนเรียกที่นี่ว่า “แพะเมืองผีแห่งใหม่”
ละลุ ที่อ.ตาพระยา จ.สระแก้วนี้ มีพื้นที่กว้างขวางมากกว่า 2,000 ไร่ มีความแปลกและสวยงามแตกต่างกันไป นักธรณีวิทยาบอกว่า ไม่ว่าจะเป็นละลุ แพะเมืองผี หรือ เสาดินนาน้อย ล้วนเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกจากการถล่มของหน้าดิน ส่วนที่แข็งกว่าก็จะคงตัวอยู่ด้านบนกรวดทรายที่อ่อนกว่าด้านล่าง โดยมีลมและฝนช่วยกันทำหน้าที่ศิลปินตกแต่งชั้นดินในเวลาล้านๆปี
คำว่า “ละลุ” เป็นภาษาเขมร แปลว่า ทะลุ ซึ่งคงจะหมายถึงการที่ลม ฝน กัดเซาะดิน หิน กรวด ทรายจนทะลุเป็นโพรงอย่างที่เห็น พื้นที่ของละลุ ครอบคลุมถึง 6 หมู่บ้านใน ต.ทัพราช อ.ตาพระยา
ทุกๆปี ละลุจะเปลี่ยนรูปร่างไปเรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับสภาพดิน ฟ้า อากาศ ลมและฝนจะช่วยกันตกแต่งชั้นดินของละลุเป็นรูปต่างๆ บางอันสวยงามเหมือนหน้าผาขนาดใหญ่ บางจุดเหมือนเป็นห้องในหุบเขา
Cr.
https://www.thairath.co.th/content/472522
เสาเฉลียง ประติมากรรมกัดกร่อนของน้ำและลม
เสาเฉลียง ประติมากรรมชิ้นเอกร่วมกันของหินทราย 2ยุค คือหินทรายยุค ครีเตเซียส ซึ่งมีอายุประมาณ 130 ล้านปี เป็นส่วนดอกเห็ดที่อยู่ท่อนบน และหินทราย ยุคไดโนเสาร์ มีอายุประมาณ 180ล้านปี เป็นส่วนต้นเสาหินท่อนล่าง
โดยผ่านการถูกชะล้างพังทลาย ซึ่งเกิดจากสภาพ อากาศ ฝนและลมพายุเป็นเวลาหลายล้านปี เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งแล้ว จะมีกระบวนการต้านธรรมชาติ และแรงกดทับของเม็ดฝนทำให้หินทรายแข็งแรง จึงส่งผลให้สามารถรักษาสภาพให้คงดูได้เห็นอยู่ในทุกวันนี้
Cr.ภาพจาก Thanistha Nuntapojn (Mimee)
ที่มา
https://place.thai-tour.com/ubonratchathani/khongjiam/12
Cr.
https://www.museumthailand.com/th/3046/storytelling/เสาเฉลียง/
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
ประติมากรรมจากธรรมชาติ
ประติมากรรม "หญิงเปลือยกาย" อยู่ในเมือง Cramlington ซึ่งในสมัยก่อนเป็นเหมืองถ่านหินตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอังกฤษ โดยหญิงเปลือยกาย เป็นงานศิลปะขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นจากที่ดินมีชื่อว่า "Northumberlandia" เป็นผลพลอยได้ของเหมืองถ่านหินนั่นเอง
สร้างขึ้นจากหินและดินเหลือทิ้งจากเหมืองกว่า 1.5 ล้านตัน มีขนาดความสูงมากกว่า 100 ฟุต และยาวกว่า 1 ใน 4 ไมล์ ถ้ามองจากมุมด้านบนจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเธอกำลังนอนบิดตัวไปทางซ้าย ดูสวยงามและมีมิติเป็นอย่างมาก
โดย Charles Jencks ศิลปินภูมิทัศน์ชาวอเมริกันใช้เวลาในการก่อสร้างนาน 2 ปี และเธอกลายเป็น "ประติมากรรมมนุษย์ที่สร้างจากดินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก" ทั้งยังกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ
ข้อมูลและภาพจาก lifebuzz
ที่มา http://www.lifebuzz.com/lady-of-the-north/
Cr.https://board.postjung.com/941155 / โพสท์โดย ิทาสแมว
Pseudofecal Pellet ประติมากรรมบนพื้นทราย
(ภาพจาก https://picpost.mthai.com/view/45952)
บริเวณหาดทรายจะมีก้อนทรายก้อนเล็กๆ ที่มีขนาดเท่าๆ กัน วางเรียงเป็นวงกลมหลายวงซ้อนกัน หรืออาจเป็นรูปแบบอื่น นั่นคือประติมากรรมบนผืนทรายหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า“ขี้ปูลม” ที่จริงแล้ว มันไม่ได้เกิดจากปูลม แต่มันเกิดจากปูทหาร ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ปูทหาร (Soldier crab,Sand-Bubbler crab, Dotilla myctiroides) เป็นปูขนาดเล็ก กระดองกลม ค่อนข้างเรียบ สีชมพู ตาไม่อยู่ในเบ้าตา ก้านตายาว ไม่อยู่ในเบ้าตาขณะออกหากิน ก้ามยาว มีขนาดเท่ากันทั้ง 2 ข้าง ปลายก้ามหักงอลงสู่พื้นล่าง เป็นลักษณะสำคัญของปูกลุ่มนี้
พบได้ทั่วไปในเขตน้ำขึ้นน้ำลง ชายฝั่งที่มีความเปียกชื้นตลอดเวลา ลักษณะที่ทำให้มีชื่อว่าปูทหารคือคาดว่าน่าจะมีผู้นำกลุ่ม เนื่องจากว่ามักจะพบเห็นปูชนิดนี้อยู่รวมกันเป็นฝูง และการขุดรูของปูทหาร จะมีลักษณะพิเศษ คือ จะเอาดินมาก่อเป็นชั้นบริเวณปากรู ลักษณะคล้ายกับบังเกอร์ของทหาร
ประติมากรรมบนพื้นทราย หรือขี้ปู เกิดจากการกินอินทรีย์สารในตะกอนบนพื้นท้องทะเล โดยจะใช้ก้ามที่หักงอ หนีบตักเอาตะกอนดินส่งเข้าปาก แล้วใช้รยางค์ภายในปาก คัดแยกเอาซากอินทรีย์สาร และปั้นเอาดินทรายที่กินไม่ได้ออกมาทิ้ง ส่วนที่ทิ้งออกมานั้นไม่ใช่ขี้ปู แต่คือก้อนทรายซึ่งมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ ว่า Pseudofecal Pellet หรือแปลแบบง่ายๆว่า “ขี้ปลอม”
ของเสียที่ขับถ่ายออกมาทุกชนิดต้องผ่านระบบทางเดินอาหาร แต่ขี้ปลอมนี้ไม่ได้ผ่านระบบทางเดินอาหารจึงไม่ใช่ขี้ที่แท้จริง ไม่รู้ว่าเป็นความตั้งใจหรือบังเอิญของปูที่วางก้อนทรายเหล่านั้นให้ออกมาในรูปแบบต่างๆได้อย่างเป็นระเบียบ แต่มันก็เป็นความสวยงามอีกอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างสรรค์
สำหรับปูทหารในประเทศไทยที่พบมากมีอยู่ 2 ชนิดหลักๆ คือ Dolilla myctiroides (soldier.crab) ปูชนิดนี้พบในฝั่งอันดามัน และอีกชนิดคือ Dotilla wichmani (Sand Soldier.crab) พบในฝั่งอ่าวไทยและเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2553 ได้มีการค้นพบปูทหารชนิดใหม่ ที่หาดปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่งเรียกกันว่า "ปูทหารยักษ์ปากบารา" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า "Mictyris thailandensis" โดยมักถูกจำสับสนกับปูทหารก้ามโค้ง หรือปูมดแดง ซึ่งออกหากินโดยการเดินขบวนบนหาดเช่นเดียวกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน (https://th.wikipedia.org/wiki)
ปูทหารยักษ์ปากบารา เป็นปูชนิดใหม่ของโลกที่พบเฉพาะที่ปากบารา ประเทศไทยเท่านั้น
แต่เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่หาดทรายมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากการพัฒนาในด้านต่างๆ ทำให้ปูชนิดนี้ลดน้อยลงไปมาก
เรียบเรียงโดย ปณิตา ชุมเชื้อ
อ้างอิง
- คู่มืออันดามัน “ปูทะเลไทย” ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์และคณะ
- https://th.wikipedia.org/wiki
- http://go-2-krabi.blogspot.com
- https://picpost.mthai.com/view/45952
- http://www.bwn.psu.ac.th
Cr.http://www.nicaonline.com/web/index.php/2016-08-30-02-19-31/2016-08-30-14-15-11/585-2018-10-12-07-39-16
Moai Easter Island ประติมากรรมหินยักษ์
รูปปั้นหินยิกษ์นี้มีชื่อว่า “โมอาย” มีลักษณะคล้ายมนุษย์ แต่จะมีหัวที่โตกว่าร่างกาย ตั้งอยู่บนเกาะอีสเตอร์ มีจำนวนรวมกันมากกว่า 600 ตัว โดยเกาะอีสเตอร์ตั้งอยู่ที่มหาสมุทรแปซิฟิกเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติปานุย ประเทศชิลี โดยห่างจากชายฝั่งของชิลีไปทางตะวันตกประมาน 3,600 กิโลเมตร
เกาะแห่งนี้โดดเดี่ยวเป็นอย่างมาก แผ่นดินที่ใกล้ที่สุดอยู่ห่างออกไปถึง 2,000 กิโลเมตร เกาะอีสเตอร์มีพื้นทีเพียง 160 กิโลเมตร และยาวเพียง 25 กิโลเมตรเท่านั้น แต่ก็เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกหนึ่งแห่งที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจ ซึ่งสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวก็คือรูปปั้นโมอายเหล่านี้
เชื่อว่าพวกมันน่าจะถูกสร้างขึ้นโดยชาวโพลิเนเซียน โดยโมอายหนึ่งตัวจะถูกแกะสลักมาจากหินขนาดใหญ่หนึ่งก้อน หินที่นำมาแกะสลักนั้นน่าจะนำมาจากปล่องภูเขาไฟที่มีชื่อว่า “หินราโนรารากู” ที่อยู่บนเกาะ โดยรูปปั้นที่แกะสลักเสร็จสมบูรณ์จะมีรูปร่างคล้ายมนุษย์ มีหัวที่ใหญ่เด่นชัด บางตัวก็มีเครื่องประดับและหมวกหรือมวยผม
โมอายที่แกะสลักเสร็จแล้วนั้น จะมีขนาดสูงถึง 3.5 เมตร จนถึง 10 เมตร และมีน้ำหนักมากถึง 80 ตัน นอกจากนี้ยังมีการสำรวจจนพบโมอายที่ยังแกะสลักไม่เสร็จ ซึ่งตัวที่แกะสลักไม่เสร็จมีความสูงถึง 21 เมตร หนักถึง 270 ตัน คาดว่ายังมีตัวที่แกะสลักไม่เสร็จอยู่อีกมากกว่า 400 ตัว
รูปปั้นโมอายถือเป็นงานประติมากรรมในอดีตที่มีความมหัศจรรย์เป็นอย่างมาก ทั้งการแกะสลักจากหินก้อนใหญ่ก้อนเดียว รวมถึงวิธีการสร้าง และขนาดที่เชื่อว่าการแกะสลักรูปปั้นเหล่านี้ต้องใช้เวลาและจำนวนคนมหาศาลในการสร้าง และได้ถูกรับเลือกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2533
Cr.https://www.flagfrog.com/easter-islands-moai-statues/ โดย ManoshFiz
Sound of Denmark ประติมากรรมผลิตพลังงานลม
ชิ้นงานศิลปะที่ผลิตพลังงานสะอาดชิ้นนี้ มีชื่อว่า “Sound of Denmark ” ออกแบบโดย Laura Mesa Arango และ Rafael Sanchez Herrera เป็นประติมากรรมผลิตพลังงานลม ในขณะเดียวกันก็สร้างเสียงดนตรีที่กำเนิดจากลม มันประกอบด้วย ไวกิ้ง ฮอร์น (Viking horns,) แบบดั้งเดิม ขนาดใหญ่12 ชิ้น สร้างจากไม้ และโลหะ จากเรือที่ปลดระวาง ไม่ใช้งานแล้ว
คาดคะเนกันว่า “Sound of Denmark ” จะสามารถผลิตพลังงานได้ 117 MWh ต่อปี มันถูกออกแบบให้กระแสลมผ่านเข้ามาตามแตรรูปเขาแต่ละอัน ซึ่งภายใน มีใบพัด ที่จะช่วยเพิ่มกำลังลม และความเร็วของลม ในขณะเดียวกัน พื้นผิวที่เต็มไปด้วยรู ก็จะทำให้เกิดเสียงที่ได้ความรู้สึกลึกลับ
เป็นชิ้นงานอันน่าทึ่ง ที่รวมเอา ประวัติศาสตร์ พลังงาน และ งานศิลปะสาธารณะมารวมไว้ด้วยกัน
Read more : http://www.treehugger.com/
www.designboom.com
Cr.https://www.iurban.in.th/greenery/massive-horn-sculptures-generate-sound-and-energy-from-wind/ By Ning iUrban
สามพันโบก ประติมากรรมน้ำกัดเซาะ
สามพันโบก เป็นแก่งหินใต้ลำน้ำโขง เขตบริเวณบ้านโป่งเป้า ตำบลเหล่างาม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นความงดงามใต้น้ำ ที่จะปรากฏให้เห็นเพียงในยามน้ำแล้งเท่านั้น เนื่องจากในช่วงฤดูน้ำหลากแก่งหินดังกล่าวจะจมอยู่ใต้บาดาล
แก่งสามพันโบกได้ปรากฎสู่สายตานักท่องเที่ยวตอนเมื่อโฆษณาของ ท.ท.ท. ชุดพี่เบิร์ด ได้เริ่มออกอากาศฉายภาพสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งเป็นทำออกมาเป็นฉากจบของโฆษณา จากนั้นเป็นต้นมาแก่งสามพันโบกจึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงมากในประเทศไทย
ความสวยงามวิจิตรของหินที่ถูกกระแสน้ำกัดเซาะจนเว้าแหว่ง มองเห็นเป็นภาพศิลปะ มีรูปร่างแตกต่างกันออกไป ใหญ่บ้างเล็กบ้าง บ้างเป็นรูปวงรี รูปดาว รูปวงกลม และรูปอื่นๆ อีกมากมาย ตามแต่ที่เราจะจินตนาการจำนวนมากกว่า 3,000 แอ่ง หรือ 3 พันโบก “โบก” เป็นชื่อเรียกของ แอ่ง หมายถึง บ่อน้ำลึกในแก่งหินใต้ลำน้ำโขง เป็นภาษาของลาวที่นิยมเรียกกัน
ที่นี่จะมีหินสวยงามลักษณะคล้ายกับหัวสุนัขซึ่งมีตำนานเล่าขานกันว่า แต่ก่อนมีเจ้าเมืองเป็นผู้เรือง อำนาจได้ประทับใจในความงามของสามพันโบกแห่งนี้จึงได้ส่งเสนามาศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม แต่เมื่อมาแล้วก็ได้พบกับขุมทรัพย์เป็นทองคำ จึงให้สุนัขเฝ้าทางเข้าจนกว่าเจ้าเมืองผู้นี้จะออกมา
เมื่อเจ้าเมืองได้เห็นสมบัติก็เกิดความโลภจึงได้แอบออกไปทางอื่นแทน แต่สุนัขผู้ภักดีตัวนี้ก็ได้เฝ้ารอเจ้าเมืองอยู่ตรงนั้นจนได้ตายในที่สุด แต่บางตำนานเล่าว่าลูกพญานาคในลำน้ำโขงได้เป็นผู้ขุดทางเพื่อให้เกิดลำ น้ำอีกสายหนึ่งขึ้นและได้มอบหมายให้สุนัขตัวนี้เป็นผู้เฝ้าทางเข้าในระหว่าง การขุดจน กระทั่งสุนัขได้ตายลงไปกลายเป็นหินรูปสุนัขแห่งนี้ในที่สุด
ที่มา http://ubonratchathaniteawthai.blogspot.com/
http://www.emaginfo.com ร่วมกับ travel.mthai.com
Cr.http://www.emaginfo.com ร่วมกับ travel.mthai.com / by oporshady
Cr.http://oknation.nationtv.tv/blog/Kurojiew/2016/07/14/entry-1
ละลุ ประติมากรรมจากดิน น้ำ ฟ้า ฝน
“ละลุ” เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการยุบตัวและพังทลายของดิน ที่ถูกทั้งลม ทั้งฝนพัด กัดเซาะทำให้มีรูปร่าง เป็นภูเขาบ้าง เสาหินบ้าง กำแพงบ้าง ต่างๆกันไป มีการเปรียบเทียบว่ามีลักษณะคล้ายกับ “แพะเมืองผี” หรือ “เสาดินนาน้อย” (ฮ่อมจ๊อม) ซึ่งบางคนเรียกที่นี่ว่า “แพะเมืองผีแห่งใหม่”
ละลุ ที่อ.ตาพระยา จ.สระแก้วนี้ มีพื้นที่กว้างขวางมากกว่า 2,000 ไร่ มีความแปลกและสวยงามแตกต่างกันไป นักธรณีวิทยาบอกว่า ไม่ว่าจะเป็นละลุ แพะเมืองผี หรือ เสาดินนาน้อย ล้วนเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกจากการถล่มของหน้าดิน ส่วนที่แข็งกว่าก็จะคงตัวอยู่ด้านบนกรวดทรายที่อ่อนกว่าด้านล่าง โดยมีลมและฝนช่วยกันทำหน้าที่ศิลปินตกแต่งชั้นดินในเวลาล้านๆปี
คำว่า “ละลุ” เป็นภาษาเขมร แปลว่า ทะลุ ซึ่งคงจะหมายถึงการที่ลม ฝน กัดเซาะดิน หิน กรวด ทรายจนทะลุเป็นโพรงอย่างที่เห็น พื้นที่ของละลุ ครอบคลุมถึง 6 หมู่บ้านใน ต.ทัพราช อ.ตาพระยา
ทุกๆปี ละลุจะเปลี่ยนรูปร่างไปเรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับสภาพดิน ฟ้า อากาศ ลมและฝนจะช่วยกันตกแต่งชั้นดินของละลุเป็นรูปต่างๆ บางอันสวยงามเหมือนหน้าผาขนาดใหญ่ บางจุดเหมือนเป็นห้องในหุบเขา
Cr.https://www.thairath.co.th/content/472522
เสาเฉลียง ประติมากรรมกัดกร่อนของน้ำและลม
เสาเฉลียง ประติมากรรมชิ้นเอกร่วมกันของหินทราย 2ยุค คือหินทรายยุค ครีเตเซียส ซึ่งมีอายุประมาณ 130 ล้านปี เป็นส่วนดอกเห็ดที่อยู่ท่อนบน และหินทราย ยุคไดโนเสาร์ มีอายุประมาณ 180ล้านปี เป็นส่วนต้นเสาหินท่อนล่าง
โดยผ่านการถูกชะล้างพังทลาย ซึ่งเกิดจากสภาพ อากาศ ฝนและลมพายุเป็นเวลาหลายล้านปี เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งแล้ว จะมีกระบวนการต้านธรรมชาติ และแรงกดทับของเม็ดฝนทำให้หินทรายแข็งแรง จึงส่งผลให้สามารถรักษาสภาพให้คงดูได้เห็นอยู่ในทุกวันนี้
Cr.ภาพจาก Thanistha Nuntapojn (Mimee)
ที่มา https://place.thai-tour.com/ubonratchathani/khongjiam/12
Cr.https://www.museumthailand.com/th/3046/storytelling/เสาเฉลียง/
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)