JJNY : นศ.-ผู้ใช้แรงงานจี้ตู่เลิกพรก.ฉุกเฉิน/แรงงานเมียนมาจ่อกลับนับแสน/ดอกเบี้ยออมทรัพย์เหลือ0.25%/ติดเชื้อเพิ่ม11

นศ.-ผู้ใช้แรงงาน ยื่นจี้ "บิ๊กตู่" เลิก พรก.ฉุกเฉิน ต้องเยียวยาปชช.ทุกคน
https://www.khaosod.co.th/politics/news_4211644
 

 
นศ.-ผู้ใช้แรงงาน ยื่นจี้ "บิ๊กตู่" เลิก พรก.ฉุกเฉิน เยียวยาประชาชนทุกคน
 
วันที่ 28 พ.ค. ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ นักศึกษามหาลัยธรรมศาสตร์ นักกิจกรรมทางการเมือง นำ ตัวแทนกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า และเครื่องหนังแห่งประเทศไทย สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษา แห่งประเทศไทย สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง
 
ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ร.ม.ว.กลาโหม เรื่อง รัฐบาลต้องยกเลิก พรก. ฉุกเฉิน และแจกเงินเยียวยาให้ประชาชนอย่างทั่วหน้า
 
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก. ฉุกเฉินพ.ศ 2548) ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 63 จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 63 ซึ่งการขยายระยะเวลา พรก.ฉุกเฉิน สร้างความลำบากให้แก่ประชาชนจำนวนมาก
 
ตลอดระยะเวลาสองเดือนที่มีการประกาศใช้พ.ร.ก. ฉุกเฉินนั้นกลับมี เหตุการณ์จับกุมหรือข่มขู่ดำเนินคดีข้อหาละเมิดพรก. ฉุกเฉินกับนิสิตนักศึกษานักเคลื่อนไหวทางสังคมและแม้กระทั่งประชาชนทั่วไปที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลเกิดขึ้นหลายครั้ง
 
โดยแต่ละครั้งเจ้าหน้าที่มักจะกล่าวหานิสิตนักศึกษาและประชาชนเหล่านั้น กระทำการอันขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือสร้างความวุ่นวายในสังคม ไม่ได้กล่าวถึงการควบคุมการแพทยระบาดของโรคโควิด-19 แต่อย่างใด แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้ใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมโรคแต่ใช้เพื่อควบคุมประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล
 
การขยายระยะเวลาการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จึงเป็นการช่วยโอกาสปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยใช้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นข้ออ้างเท่านั้น
 
การขยายเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สร้างความลำบากให้กับประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ใช้แรงงานที่ขาดแคลนรายได้เนื่องจากถูกเลิกจ้างหรือไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ อีกทั้งมาตรการจำกัดการออกจากเคหะสถานในยามวิกาล (เคอร์ฟิว) ยังส่งผลให้ประชาชนและพี่น้องผู้ใช้แรงงานที่ทำงานในช่วงกลางคืนประสบความยากลำบากในการเดินทาง รัฐบาลยังไม่ให้ความสำคัญกับการเยียวยาความเดือดร้อนของประชาชนดังจะเห็นว่ามาตรการเยียวยาของรัฐบาลที่ดำเนินไปแล้วเต็มไปด้วยความล่าช้าและไร้ประสิทธิภาพ
 
เป็นผลให้ประชาชนจำนวนมากตกหล่นจากมาตรการเยียวยาของรัฐ โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบและแรงงานในภาคเกษตรกรรม การขยายอายุ พรก.ฉุกเฉิน เพียงเพื่อให้รัฐบาลได้รักษาอำนาจของตนไว้ จึงถือเป็นการซ้ำเติมประชาชนอย่างเลือดเย็นและยังเป็นการดูถูกประชาชนอย่างที่สุด
 
ในขณะนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคระบาดได้ทุเลาความรุนแรงลงไปมาก ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตลดลงจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดใช้เชื้อโรคเป็นข้ออ้างในการเหยียบหยามประชาชน
 
พวกเรานิสิตนักศึกษานักเรียนและผู้ใช้แรงงานจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการ ดังต่อไปนี้
 
1. ยกเลิกการใช้พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และนำกฎหมายที่สามารถใช้ควบคุมโรคแต่ไม่สามารถใช้จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเช่นพระราชบัญญัติโรคระบาดร้ายแรง พ.ศ. 2558 มาใช้แทน
 
2. เยียวยาประชาชนทุกคนอย่างถ้วนหน้า โดยผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วนเช่นแรงงานนอกระบบประกันสังคม แรงงานที่จ้างตัวเอง แรงงานในภาคเกษตรกรรม ต้องได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียม เพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงความช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างทั่วถึงเท่าเทียมและทันท่วงที
 
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่ามกลางสถานการณ์อันยากลำบากเช่นนี้รัฐบาลจะยึดถือประโยชน์ของประชาชนมากกว่าการรักษาอำนาจตัวเองเพราะประเทศไทยย่อมเป็นของประชาชนไทยทุกคน
  

  
แรงงานเมียนมาจ่อกลับอีกนับแสนคน หลังแห่ข้ามแดนเป็นจำนวนมาก ชี้อยู่ไทยยากลำบาก
https://www.matichon.co.th/region/news_2205256
 
เมื่อวันที่ 28 พ.ค. แรงงานต่างด้าว สัญชาติเมียนมา ยังคงเดินทางกลับภูมิลำเนาเพิ่มมากขึ้น ทางด้านด่านพรมแดนไทย-เมียนมา (แม่สอด-เมียวดี2) ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา แห่งที่ 2 บ้านวังตะเคียนใต้ ตำบลท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก
 
โดยเจ้าหน้าที่ไทย ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายปกครอง สาธารณสุข ทหาร และแขวงทางหลวงตาก 2 ได้ช่วยกันบริการอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่โดยไม่ต้องรอนาน หลังจากผ่านระบบคัดกรองป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว
 
นายโมโจ่ ผู้นำแรงงานเมียนมาตามแนวชายแดนไทย-เมียนมากล่าวว่า แรงงานเมียนมาจากกทม. และปริมณฑลจะเดินทางกลับเมียนมา จำนวนกว่า 100,000 คน เนื่องจากอยู่ในประเทศไทยมีความยากลำบากมาก จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้สถานประกอบการหยุดกิจการ เลิกจ้าง หรือหมดสัญญา แรงงานเมียนมามีความยากลำบาก ไม่มีเงิน เงินที่เคยได้ค่าจ้างมาก็หมดกับค่าที่พัก ค่ากิน จึงต้องเดินทางกลับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่