JJNY : ​​​​​​​ทำไมญี่ปุ่นฟื้นตัวจากโควิด/ถกพ.ร.ก.กู้เงินวันที่2/อดีตขุนคลังปชป.อัดหุ้นกู้ 4 แสนล้าน/ทั่วโลกติดโควิด5.7ล.

ดูสารพัดสาเหตุ ทำไมญี่ปุ่นฟื้นตัวจากโควิด-19 จนผ่อนคลายสถานการณ์ฉุกเฉินได้
https://prachatai.com/journal/2020/05/87843

ดูหลายปัจจัยที่คาดว่าจะทำให้ญี่ปุ่น ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากกว่า 16,600 ราย เสียชีวิตอย่างน้อย 851 ราย กลายเป็นมีผู้ติดเชื้อรายวันอยู่ที่หลักสิบจนยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินแล้วบางจังหวัด แม้รัฐบาลไม่ได้มีมาตรการเข้มงวดเท่าที่อื่น ไม่ว่าจะเป็นการทำงานของสาธารณสุขท้องถิ่น วัฒนธรรม ไปจนถึงสมมติฐานเรื่องเชื้อไวรัสกลายพันธุ์

 
27 พ.ค. 2563 ญี่ปุ่นเพิ่งจะมีการยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (25 พ.ค.) ในพื้นที่โตเกียวและจังหวัดอื่นๆ อีก 4 จังหวัด หลังจากประกาศใช้มาเป็นเวลา 7 สัปดาห์ เรื่องนี้ทำให้มีข้อสงสัยว่าอะไรทำให้ประเทศญี่ปุ่นมีตัวเลขการติดเชื้อลดลงเหลือเพียงหลักสิบเท่านั้น
 
แม้ประกาศภาวะฉุกเฉิน แต่ญี่ปุ่นก็ไม่ได้มีการห้ามการเดินทางเคลื่อนย้ายคนในประเทศ กิจการจำพวกร้านอาหารและร้านทำผมยังคงเปิดให้บริการ ไม่มีการใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการตรวจจับการเคลื่อนย้ายของผู้คนแบบในไต้หวัน ไม่มีการไล่ตรวจประชาชนอย่างจริงจังแบบในเกาหลีใต้และไม่มีศูนย์ควบคุมโรคด้วยซ้ำ แต่ก็มีจำนวนผู้เสียชีวิตน้อยกว่าเมื่อเทียบกับประเทศใหญ่ๆ หลายประเทศ
 
มีการตั้งสมมุติฐานความเป็นไปได้ 43 สาเหตุจากสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเรื่องวัฒนธรรมที่คนนิยมสวมหน้ากากอนามัยอยู่แล้ว การตัดสินใจปิดโรงเรียนอย่างรวดเร็ว ไปจนถึงสมมติฐานว่าการออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นมีน้ำลายฟุ้งกระจายออกมาน้อย ถึงแม้ว่าเรื่องข้างต้นเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่ยังเป็นข้อสมมุติฐาน แต่ก็มีอยู่เรื่องหนึ่งที่มาจากปฏิบัติการของประชาชนเองและน่าศึกษาเผื่อเอาไว้รับมือในระยะยาวเกี่ยวกับการระบาด
 
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าการรับมือในระดับรากหญ้าของญี่ปุ่นตั้งแต่ในช่วงต้นๆ ของการระบาด น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการป้องกันโรค โดยศูนย์การสาธารณสุขระดับท้องถิ่นได้ติดตามผลการระบาดมาตั้งแต่เดือน ม.ค. แล้ว และตั้งแต่ปี 2561 ก็มีการจ้างงานกลุ่มพยาบาลจำนวนมากที่มีประสบการณ์ด้านการติดตามการติดเชื้อไข้หวัดและวัณโรคมาทำงานด้านดังกล่าว ถึงแม้ระบบเหล่านี้จะไม่ได้มีความเป็นดิจิทัล แต่ศาสตราจารย์ด้านนโยบายสาธารณะก็บอกว่าเป็นประโยชน์มาก
 
โยโกะ ทสึคาโมโตะ ศาสตราจารย์ด้านการควบคุมโรคระบาดติดเชื้อจากมหาวิทยาลัยฮอกไกโดกล่าวว่าถึงแม้ญี่ปุ่นจะไม่มีศูนย์ควบคุมโรคติดต่อในระดับส่วนกลาง แต่ศูนย์สาธารณสุขที่แต่ละท้องที่ก็เปรียบเสมือนศูนย์ควบคุมโรคติดต่อในระดับท้องถิ่นของญี่ปุ่น

นั่นทำให้ประเทศโลกที่หนึ่งที่มีการระบาดหนักอย่างสหรัฐฯ และอังกฤษเริ่มหันมาจ้างผู้เชี่ยวชาญทางด้านการติดตามผลโรคระบาดเพื่อเตรียมรับกับการเปิดเศรษฐกิจบ้างแล้ว โดยที่กลุ่มผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่นเหล่านี้จะสามารถระบุและแก้ไขปัญหาการระบาดในแบบเฉพาะพื้นที่ที่เรียกว่า "คลัสเตอร์" ได้
 
ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือเรื่องฐานคิดของคนญี่ปุ่นเอง ในช่วงที่มีการระบาดใหม่ๆ มีกรณีที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันมากเกี่ยวกับการจัดการการระบาดของผู้คนในเรือไดมอนด์ปรินเซสที่เข้ามาเทียบท่า ที่แม้จะทำให้ผู้เชี่ยวชาญในประเทศได้รับข้อมูลเรื่องโควิด-19 ตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ก็ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความผิดพลาดดังกล่าวสะเทือนจิตสำนึกสาธารณะของชาวญี่ปุ่นเสมือนเห็นไฟไหม้รถอยู่ที่หน้าบ้าน ในขณะที่หลายประเทศยังมองโรคระบาดเป็นเรื่องของคนอื่นอยู่
 
ผู้เชี่ยวชาญในญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาทั้งในเรื่องการระบาดและการสร้างช่องทางสื่อสารให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในช่วงการระบาดของโควิด-19 อย่างง่ายดายและไม่ถึงขั้นทำให้ผู้คนแปลกแยกจากกันมากเกินไป เช่นการเสนอแนะให้ผู้คนหลีกเลี่ยง 3 อย่าง คือพื้นที่ปิดอับ พื้นที่คนเยอะ และเลี่ยงการสัมผัสที่ใกล้ชิด
 
กระนั้น มีผู้เชี่ยวชาญบางส่วนเชื่อว่าญี่ปุ่นยังรับมือได้ไม่ดีพอ เมื่อเดือน เม.ย. โรงพยาบาลโตเกียวมีการตรวจเชื้อในผู้ป่วยที่ไม่ได้มีอาการป่วยของโควิด-19 แต่ก็พบว่ามีเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่อยู่ร้อยละ 7 ของกลุ่มสำรวจ สะท้อนว่าการตรวจวินิจฉัยโรคอาจตกหล่น หรืออาจมีกลุ่มผู้มีเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ หนึ่งในผู้ที่พูดถึงเรื่องนี้คือโนริโอะ ซุงายะ ศาสตราจารย์รับเชิญจากวิทยาลัยการแพทย์มหาวิทยาลัยเคย์โอ หนึ่งในกรรมการองค์การอนามัยโลกที่ให้คำปรึกษาด้านโรคระบาดเกี่ยวกับหวัด ซุงายะชี้ว่าญี่ปุ่นมีจำนวนผู้เสียชีวิตสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศเอเชียประเทศอื่นๆ
 
โรคระบาดส่งผลต่อญี่ปุ่นทั้งเรื่องสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ในปีนี้ญี่ปุ่นประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอยู่ก่อนแล้วจากแผนการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือน ต.ค. ที่จะถึงนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวก็ลดลงถึงร้อยละ 99.9 ในเดือน เม.ย. ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศชะงักงัน
 
ถึงแม้ว่าจะมีการยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินแล้วแต่รัฐบาลญี่ปุ่นก็เตือนว่านั่นยังไม่ได้หมายความว่าจะถึงขั้นกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ ทั้งนี้ยังมีความกังวลว่าถ้าหากเกิดการระบาดหนักระลอกที่ 2 เกิดขึ้นจนต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอีกครั้งญี่ปุ่นจะเสี่ยงมากเนื่องจากเป็นสังคมที่มีประชากรผู้สูงอายุจำนวนมาก นั่นทำให้ทางการเตือนว่าให้ประชาชนยังคงดำเนินชีวิตในลักษณะที่คำนึงถึงว่ายังมีไวรัสอยู่
 
เรียบเรียงจาก
Did Japan Just Beat the Virus Without Lockdowns or Mass Testing?, Bloomberg, May 23, 2020
Ending coronavirus emergency raises hope, sparks some concern, Kyodo News, May 25, 2020
 

 
สภาฯถกพ.ร.ก.กู้เงิน3ฉบับวันที่2 จนท.ตั้งจุดสแกนแอพฯ'จริงใจ'
https://www.dailynews.co.th/politics/776904

ประชุมสภาฯ ถกพ.ร.ก.กู้เงิน 3 ฉบับวันที่สองเรียบร้อย จนท.สภาฯจัดจุดสแกนแอพพลิเคชั่น “จริงใจ” ลงทะเบียนก่อนเข้าอาคาร ด้าน “หมอตี๋” แนะสภาฯใช้กรอกหมายเลขโทรศัพท์แทนง่ายกว่าบัตรปชช. เชื่อดึงคนร่วมมือมากขึ้น
 
เมื่อวันที่ 28 พ.ค. ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศก่อนเริ่มการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่ออภิปรายพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน 3 ฉบับ เพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 และฟื้นฟูเศรษฐกิจ วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาทวันที่สองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
 
โดยมีคณะรัฐมนตรี (ครม.) อาทิ  นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล และส.ส.ฝ่ายค้านทยอยเข้ามาร่วมประชุมอย่างต่อเนื่อง
 
ซึ่งทุกคนล้วนสวมหน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้า เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 พร้อมทั้งทางรัฐสภาได้ติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ และจัดบริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือตามจุดต่างๆเช่นเดิมตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข นอกจากนี้ยังได้มีการนำป้ายสแกนคิวอาร์โค้ดของแอพพลิเคชั่น “จริงใจ” เพื่อเก็บข้อมูลเจ้าหน้าที่ และบุคคลต่างๆที่มาติดต่อเข้า-ออกอาคารรัฐสภามาให้ลงทะเบียนเลขบัตรประชาชน
 
ขณะที่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ก็ได้หยุดตรวจความเรียบร้อยบริเวณจุดสแกนด้วยเช่นกัน ทั้งนี้บริเวณด้านหน้าอาคารมีนายเอกชัย หงส์กังวาน นักเคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมืองเดินทางมาร่วมสังเกตการณ์ด้วย แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาความปลอดภัยไม่อนุญาตให้เข้ามาด้านในอาคาร
 
ขณะที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ติดภารกิจการประชุมศบค.ชุดเล็กที่ทำเนียบรัฐบาลในช่วงเช้า และคาดว่าจะเดินทางมาร่วมประชุมในช่วงบ่ายพร้อมกับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
 
ทั้งนี้นายสาธิต กล่าวถึงกรณีที่รัฐสภามีการใช้แอพพลิเคชั่น “จริงใจ”ในการคัดกรองบุคคลเข้า-ออกพื้นที่ว่า เป็นการบันทึกข้อมูลในการติดตามตัวบุคคลภายในอาคารรัฐสภาเท่านั้น เพราะพื้นที่รัฐสภาเป็นพื้นที่ปิด โดยที่รัฐสภาพัฒนาขึ้นมาเอง หากพบว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็สามารถติดตามตัวบุคคลได้ง่ายขึ้น
 
ซึ่งแอพพลิเคชั่นดังกล่าวจะต้องสแกนเพื่อกรอกข้อมูลเลขบัตรประชาชน 13 หลัก ที่แตกต่างจากแอพพลิเคชั่นอื่นที่ใช้เพียงแค่หมายเลขโทรศัพท์ โดยธรรมชาติคนตนมองว่าจะเน้นความสะดวกสบาย ถ้าการกรอกข้อมูลสะดวกก็จะทำให้คนร่วมมือมากขึ้น เนื่องจากบางคนจำเลขบัตรประชาชนตนเองไม่ได้.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่