สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
อวิชชา คือ
1. ไม่รู้ทุกข์
2. ไม่รู้สมุทัย เหตุเกิดทุกข์
3. ไม่รู้นิโรธ ความดับทุกข์
4. ไม่รู้มรรค ทางให้ถึงความดับทุกข์
5. ไม่รู้อดีต
6. ไม่รู้อนาคต
7. ไม่รู้ทั้งอดีต และ อนาคต
8. ไม่รู้อิทัปปัจจยตาว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
อาจารย์บางท่านกล่าว่า
การรู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ เช่น รู้วิธีทำยาพิษ รู้วิธีทำอาวุธ ฯลฯ ก็เป็นอวิชชา
อวิชชาไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นลอยๆ
เพราะ เหตุอวิชชา ก็คือ อาสวะ* และเหตุเกิดอาสวะ ก็คือ อวิชชา
* อาสวะ หมายความว่า ความหมักดอง เช่น สุราหมัก เป็นต้น
ในที่นี้หมายถึงความหมักดองที่เกิดจากการสืบต่อของขันธสันดาน อันเป็นเหตุให้เกิดความมึนเมาด้วยโมหะหรืออวิชชา
1. ไม่รู้ทุกข์
2. ไม่รู้สมุทัย เหตุเกิดทุกข์
3. ไม่รู้นิโรธ ความดับทุกข์
4. ไม่รู้มรรค ทางให้ถึงความดับทุกข์
5. ไม่รู้อดีต
6. ไม่รู้อนาคต
7. ไม่รู้ทั้งอดีต และ อนาคต
8. ไม่รู้อิทัปปัจจยตาว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
อาจารย์บางท่านกล่าว่า
การรู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ เช่น รู้วิธีทำยาพิษ รู้วิธีทำอาวุธ ฯลฯ ก็เป็นอวิชชา
อวิชชาไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นลอยๆ
เพราะ เหตุอวิชชา ก็คือ อาสวะ* และเหตุเกิดอาสวะ ก็คือ อวิชชา
* อาสวะ หมายความว่า ความหมักดอง เช่น สุราหมัก เป็นต้น
ในที่นี้หมายถึงความหมักดองที่เกิดจากการสืบต่อของขันธสันดาน อันเป็นเหตุให้เกิดความมึนเมาด้วยโมหะหรืออวิชชา
ความคิดเห็นที่ 4
- อวิชชานี้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันกระทำสัจจธรรม ๔ นั้น ให้รู้ ให้ปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัญญาณ (ความไม่รู้) เพราะเป็นข้าศึกต่อญาณ.
- อวิชชาเกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้เพื่อตรัสรู้ (รู้ทุกข์ และความดับทุกข์) เพื่อตรัสรู้พร้อม เพื่อแทงตลอดสัจจธรรมนั้น
- อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ไม่ไห้เพื่อหยั่งลง ชำแรก (ทุกข์ และความดับทุกข์ ) แล้วถือเอา (แล้วกระทำ ทางกาย วาจา และใจ)
- อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันเพ่งอาการ (ไตรลักษณ์ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ) นั้นโดยสม่ำเสมอและโดยชอบ
- อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันพิจารณาอาการ (ไตรลักษณ์ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ) นั้น
- อวิชชานี้จึงชื่อว่า อัปปัจจักขกรรม (มีกรรมอันไม่พิจารณากระทำให้ประจักษ์ซึ่ง ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์)
- อวิชชานี้ ชื่อว่า พาลยะ (ความโง่เขลา) เพราะความเป็นธรรมชาติโง่เขลา (ตรงข้ามกับปัญญาซึ่ง ปัญญานั้นย่อมรู้ทั่วซึ่งสัจจธรรม ๔ เป็นผลและอารมณ์ผล ที่เป็นเหตุและอารมณ์ของเหตุ)
- อวิชชา ชื่อว่า โมหะ (ความหลง) ด้วยอำนาจแห่งความโง่ (หลงทาง เห็นผิดเป็นถูก เห็นถูกเป็นผิด เห็นชั่วเป็นดี เห็นดีเป็นชั่ว). อวิชชา ชื่อว่า ปโมหะ (ความลุ่มหลง) ด้วยอำนาจความหลงทั่ว (มั่วเมา หมกมุ่น อยู่ใน ทุกข์ และเหตุเกิดทุกข์ อวิชชา ตัณหา ราคะ ความยึดมั่นถือมั่น.
- อวิชชา ชื่อว่า อวิชชา ด้วยอำนาจอรรถมีอาทิว่า ย่อมรู้สิ่งที่ไม่ควรรู้. (รู้แต่ทำเหตุให้เกิดทุกข์ แต่ ไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้คือ เหตุให้ดับทุกข์)
- อวิชชา ชื่อว่า อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา) เพราะย่อมนำลงคือ ให้จมลงในวัฏฏะ.(เพราะรู้แต่ทำเหตุให้เกิดทุกข์ จึงเกิดแล้วเกิดเล่า ตาย เกิด ตายเกิด หาทางออกจากวัฎฎะไม่ได้)
- อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาโยคะ (โยคะคืออวิชชา) เพราะประกอบไว้ในวัฏฏะ. (เพราะไม่รู้เหตุดับวัฎฎะ (เหตุให้เกิดทุกข์) จึงวนเวียนอยู่ในวัฎฎะ
- อวิชชานุสัย (อนุสัยคืออวิชชา) ด้วยอำนาจการละยังไม่ได้ และเพราะเกิดขึ้นบ่อย ๆ (เพราะยังไม่สามารถกำจัดความไม่รู้ทาง จึงหลงเกิดกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ทำเป็นเหตุให้เกิดทุกข์อยู่ตลอดเวลา หลงมัวเมา หมกมุ่นอยู่ใน กามภพ รูปภพ อรูปภพ เพราะไม่รู้ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนที่เที่ยงแท้ถาวรในทุกภพ ภูมิ)
- อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาปริยุฏฐาน (การกลุ้มรุมจิตคืออวิชชา) เพราะย่อมกลุ้มรุม ย่อมจับ ย่อมปล้นกุศลจิต เหมือนพวกโจรซุ่มในหนทางปล้นคนเดินทาง ฉะนั้น. ( เหตุ บาป เป็นบุญ เช่น ไม่รู้ว่า ไม่ว่าโกหกไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไร คือ บาป แต่ ความเห็นผิด ว่า โกหกสีขาว เป็นหมอโกหกให้คนไข้สบายใจคือ บุญ ความไม่รู้บาปบุญตามความเป็นจริง จึงปล้นกุศลจิต เหตุแห่งความสุขแห่งตนไปจากตนเอง (เพราะเมื่อโกหกต้องรับผลบาปแห่งการโกหกแน่นอน ไม่ว่าจะโกหกด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม)
- อวิชชานี้ตกไปในกายนครของตนแห่งบุคคลใด ย่อมตัดขาดการดำเนินไป คือ ญาณ อันให้ถึงพระนิพพานของบุคคลนั้นฉันนั้น. เมื่อหมอโกหกคนไข้เพื่อให้สบายใจ ด้วยความไม่รู้จริงตามความเป็นจริง ย่อมทำบาปเรื่อย ๆ เดินตรงกันข้ามกับ พระนิพพาน คือ การดับสนิทของการโกหก ดังนั้น การโกหกของหมอชื่อว่า ตัดขาดการดำเนินไปอันให้ถึงพระนิพพาน (ความดับสนิทของทุกข์ทั้งปวง) ของตนเอง
- อวิชชา ชื่อว่า อกุศลมูล เพราะอรรถว่า อกุศลนั้นเป็นมูล หรือ เพราะอรรถว่า อวิชชาเป็นมูลแห่งอกุศลทั้งหลาย. (เพราะไม่รู้จริงว่าอันไหนคือ บาป อันไหน คือ บุญจริง ๆ ทำบาปนึกว่าทำบุญ ความไม่รู้จึงเป็น ต้นเค้าของการทำความชั่วทั้งปวง (ทั้ง ๆ ที่คิดว่าทำไมทำแต่ความดี ทำไมถึงไม่ได้ดี แต่จริง ๆ แล้ว ทำแต่บาป แต่เข้าใจผิดไปเอง ว่าเป็นบุญ)
ย่อ ๆ
อวิชชา คือ
- ความไม่รู้ว่า อะไร ตัวทุกข์ (รูปร่างกาย จิตใจ ขันธมาร)
- ความไม่รู้ว่า อะไร เหตุให้เกิดทุกข์ กิเลสทั้งหมด ความชั่วทั้งหมด บาปทั้งหมด ตัณหา ราคะ ความยึดมั่นถือมั่น อวิชชา
- ไม่รู้ถึงความดับทุกข์ ว่า เป็นอย่างไร เพราะไม่เคยรู้วิธีดับเหตุให้เกิดทุกข์
- ไม่ ข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ ไม่รู้จัก อริยสัจจะ 4 ไม่รู้จัก โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ เป็นธรรมเพื่อการฝึกฝนปฏิบัติอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ว่ามีอะไรบ้าง ต้องทำอย่างไรบ้าง
- อวิชชาเกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้เพื่อตรัสรู้ (รู้ทุกข์ และความดับทุกข์) เพื่อตรัสรู้พร้อม เพื่อแทงตลอดสัจจธรรมนั้น
- อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ไม่ไห้เพื่อหยั่งลง ชำแรก (ทุกข์ และความดับทุกข์ ) แล้วถือเอา (แล้วกระทำ ทางกาย วาจา และใจ)
- อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันเพ่งอาการ (ไตรลักษณ์ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ) นั้นโดยสม่ำเสมอและโดยชอบ
- อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันพิจารณาอาการ (ไตรลักษณ์ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ) นั้น
- อวิชชานี้จึงชื่อว่า อัปปัจจักขกรรม (มีกรรมอันไม่พิจารณากระทำให้ประจักษ์ซึ่ง ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์)
- อวิชชานี้ ชื่อว่า พาลยะ (ความโง่เขลา) เพราะความเป็นธรรมชาติโง่เขลา (ตรงข้ามกับปัญญาซึ่ง ปัญญานั้นย่อมรู้ทั่วซึ่งสัจจธรรม ๔ เป็นผลและอารมณ์ผล ที่เป็นเหตุและอารมณ์ของเหตุ)
- อวิชชา ชื่อว่า โมหะ (ความหลง) ด้วยอำนาจแห่งความโง่ (หลงทาง เห็นผิดเป็นถูก เห็นถูกเป็นผิด เห็นชั่วเป็นดี เห็นดีเป็นชั่ว). อวิชชา ชื่อว่า ปโมหะ (ความลุ่มหลง) ด้วยอำนาจความหลงทั่ว (มั่วเมา หมกมุ่น อยู่ใน ทุกข์ และเหตุเกิดทุกข์ อวิชชา ตัณหา ราคะ ความยึดมั่นถือมั่น.
- อวิชชา ชื่อว่า อวิชชา ด้วยอำนาจอรรถมีอาทิว่า ย่อมรู้สิ่งที่ไม่ควรรู้. (รู้แต่ทำเหตุให้เกิดทุกข์ แต่ ไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้คือ เหตุให้ดับทุกข์)
- อวิชชา ชื่อว่า อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา) เพราะย่อมนำลงคือ ให้จมลงในวัฏฏะ.(เพราะรู้แต่ทำเหตุให้เกิดทุกข์ จึงเกิดแล้วเกิดเล่า ตาย เกิด ตายเกิด หาทางออกจากวัฎฎะไม่ได้)
- อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาโยคะ (โยคะคืออวิชชา) เพราะประกอบไว้ในวัฏฏะ. (เพราะไม่รู้เหตุดับวัฎฎะ (เหตุให้เกิดทุกข์) จึงวนเวียนอยู่ในวัฎฎะ
- อวิชชานุสัย (อนุสัยคืออวิชชา) ด้วยอำนาจการละยังไม่ได้ และเพราะเกิดขึ้นบ่อย ๆ (เพราะยังไม่สามารถกำจัดความไม่รู้ทาง จึงหลงเกิดกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ทำเป็นเหตุให้เกิดทุกข์อยู่ตลอดเวลา หลงมัวเมา หมกมุ่นอยู่ใน กามภพ รูปภพ อรูปภพ เพราะไม่รู้ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนที่เที่ยงแท้ถาวรในทุกภพ ภูมิ)
- อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาปริยุฏฐาน (การกลุ้มรุมจิตคืออวิชชา) เพราะย่อมกลุ้มรุม ย่อมจับ ย่อมปล้นกุศลจิต เหมือนพวกโจรซุ่มในหนทางปล้นคนเดินทาง ฉะนั้น. ( เหตุ บาป เป็นบุญ เช่น ไม่รู้ว่า ไม่ว่าโกหกไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไร คือ บาป แต่ ความเห็นผิด ว่า โกหกสีขาว เป็นหมอโกหกให้คนไข้สบายใจคือ บุญ ความไม่รู้บาปบุญตามความเป็นจริง จึงปล้นกุศลจิต เหตุแห่งความสุขแห่งตนไปจากตนเอง (เพราะเมื่อโกหกต้องรับผลบาปแห่งการโกหกแน่นอน ไม่ว่าจะโกหกด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม)
- อวิชชานี้ตกไปในกายนครของตนแห่งบุคคลใด ย่อมตัดขาดการดำเนินไป คือ ญาณ อันให้ถึงพระนิพพานของบุคคลนั้นฉันนั้น. เมื่อหมอโกหกคนไข้เพื่อให้สบายใจ ด้วยความไม่รู้จริงตามความเป็นจริง ย่อมทำบาปเรื่อย ๆ เดินตรงกันข้ามกับ พระนิพพาน คือ การดับสนิทของการโกหก ดังนั้น การโกหกของหมอชื่อว่า ตัดขาดการดำเนินไปอันให้ถึงพระนิพพาน (ความดับสนิทของทุกข์ทั้งปวง) ของตนเอง
- อวิชชา ชื่อว่า อกุศลมูล เพราะอรรถว่า อกุศลนั้นเป็นมูล หรือ เพราะอรรถว่า อวิชชาเป็นมูลแห่งอกุศลทั้งหลาย. (เพราะไม่รู้จริงว่าอันไหนคือ บาป อันไหน คือ บุญจริง ๆ ทำบาปนึกว่าทำบุญ ความไม่รู้จึงเป็น ต้นเค้าของการทำความชั่วทั้งปวง (ทั้ง ๆ ที่คิดว่าทำไมทำแต่ความดี ทำไมถึงไม่ได้ดี แต่จริง ๆ แล้ว ทำแต่บาป แต่เข้าใจผิดไปเอง ว่าเป็นบุญ)
ย่อ ๆ
อวิชชา คือ
- ความไม่รู้ว่า อะไร ตัวทุกข์ (รูปร่างกาย จิตใจ ขันธมาร)
- ความไม่รู้ว่า อะไร เหตุให้เกิดทุกข์ กิเลสทั้งหมด ความชั่วทั้งหมด บาปทั้งหมด ตัณหา ราคะ ความยึดมั่นถือมั่น อวิชชา
- ไม่รู้ถึงความดับทุกข์ ว่า เป็นอย่างไร เพราะไม่เคยรู้วิธีดับเหตุให้เกิดทุกข์
- ไม่ ข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ ไม่รู้จัก อริยสัจจะ 4 ไม่รู้จัก โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ เป็นธรรมเพื่อการฝึกฝนปฏิบัติอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ว่ามีอะไรบ้าง ต้องทำอย่างไรบ้าง
แสดงความคิดเห็น
7ปีที่แล้วผมนั่งท่องปฏิจจสมุปบาทแบบนกแก้วนกขุนทองไม่เข้าใจมันเพิ่งจะมาวิปัสนาจนเข้าใจเมื่อวานนี้
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี
ความทุกข์ที่มีอยู่หายไป70% หลังจากที่เข้าใจ ใครที่กำลังมีความทุกข์ใจอยู่ลองเอาธรรมข้อนี้ไปวิปัสนาดูครับได้ผลจริงๆ
แต่ที่ยากคือเราต้องเข้าใจจริงๆว่าแต่ละคำมีความหมายว่าอะไร
เช่น อวิชชา หมายถึงอะไรต้องศึกษาอย่างระเอียดถ้าไม่เข้าใจความหมายจริงๆก็จะวิปัสนาไม่ได้