"
5หน่วยงาน"ตั้ง"ทีมบังคับคดี"ตามยึดทรัพย์ "จำนำข้าว" มั่นใจตามกลับมาได้
วันที่ 23 พ..63 สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้เปิดเผยรายงานระบุว่า หลังจากเมื่อวันที่ 6 ก.ย.62 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาให้จำเลยในคดีทุจริตโครงการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) 28 ราย ชำระค่าเสียหายกว่า 2 หมื่นล้านบาทนั้น ล่าสุดที่ประชุมหน่วยงานรัฐ 5 แห่ง ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ ได้แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการบังคับคดี ที่มีรองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน แล้ว หลังใช้เวลาดำเนินการในขั้นตอนต่างๆกว่า 7 เดือน
“หน้าที่ของคณะทำงานชุดนี้ นอกจากสืบทรัพย์แล้ว ยังมีหน้าที่บังคับคดี และยึดทรัพย์จากจำเลยที่เกี่ยวข้อง โดยคณะทำงานชุดดังกล่าว มีกระทรวงการคลังเป็นเจ้าภาพหลัก และมีผู้แทน 4 หน่วยงานร่วมเป็นคณะทำงาน ซึ่งขณะนี้คณะทำงานฯได้เริ่มทำการเข้ายึดทรัพย์แล้ว” แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์กล่าว
แหล่งข่าวยังระบุ ก่อนหน้านี้กรมการค้าต่างประเทศ (คต.) มีการแต่งตั้งคณะทำงานหาทรัพย์ โดยคณะทำงานฯได้ทำหนังสือไปยังหน่วยงานต่างๆเพื่อขอข้อมูลว่า จำเลยในคดีนี้มีทรัพย์สินที่มีทะเบียน เช่น ที่ดิน บ้าน อสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ เรือ และทรัพย์สินอื่นๆ เช่น ปืน อยู่ที่ใดบ้าง โดยคณะทำงานฯได้ส่งข้อมูลบัญชีทรัพย์สินที่มีทะเบียนของจำเลยให้กรมฯแล้ว และกรมฯส่งต่อข้อมูลดังกล่าวไปให้คณะทำงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการอายัดทรัพย์ หรือสืบทรัพย์เพิ่มเติมต่อไป
"ในเบื้องต้นยังไม่มีการประเมินว่ามูลค่าทรัพย์สินที่มีทะเบียนดังกล่าวมีเท่าใด เนื่องจากเอกสารทั้งหมดได้ส่งไปให้คณะทำงานดำเนินการบังคับคดีเป็นผู้ประเมินและเข้ายึดทรัพย์" แหล่งข่าวระบุ
สำหรับหน่วยงาน 5 แห่ง ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีทุจริตระบายข้าวจีทูจี ประกอบด้วย 1.กรมการค้าต่างประเทศ 2.องค์การคลังสินค้า (อคส.) 3.องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก) 4.กระทรวงพาณิชย์ และ5.กระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 12 ก.พ.ที่ผ่านมา นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอิศรา ว่า การสืบทรัพย์จากจำเลย เพื่อนำมาชดใช้ค่าเสียหายคดีทุจริตข้าวจีทูจี แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1.จำเลยที่เป็นนักการเมืองและข้าราชการประจำ การบังคับคดีในส่วนนี้ ได้มีการดำเนินการตามคำสั่งทางปกครองให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามความผิด พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ไปแล้วเมื่อปี 2559 ซึ่งในส่วนนี้กรมฯได้ร่วมกับกรมบังคับคดีได้ดำเนินการสืบทรัพย์ไปแล้ว โดยมีระยะเวลาในการสืบทรัพย์ 10 ปี เนื่องจากการสืบทรัพย์ทำได้ยาก จึงต้องค่อยๆหากันไป ส่วนทรัพย์ที่พบแล้วก็ทยอยส่งเข้าหลวงไป
2.กลุ่มบริษัท สยามอินดิก้า และจำเลยผู้เกี่ยวข้อง เช่น ‘เสี่ยเปี๋ยง’ นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร รวมถึงเครือข่าย ทางสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ดำเนินการอายัดทรัพย์ไปแล้วตั้งแต่ปี 2560 เนื่องจากคดีทุจริตระบายข้าวจีทูจี เป็นความผิดมูลฐานเกี่ยวกับการทุจริต ตามพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (5) โดย 2 ปีที่ผ่านมา ปปง.ได้อายัดทรัพย์แล้ว 1.62 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม กรมฯและผู้เสียหายอีก 4 หน่วยงาน จะเข้าหารือกับปปง.ว่า ทรัพย์ที่ปปง.อายัดไปแล้วนั้น มีทรัพย์ส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ และมีมากน้อยเพียงใด เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนกัน
3.จำเลยที่เป็นบริษัทเอกชน 4 บริษัท ซึ่งศาลฯสั่งให้ร่วมกันชดใช้ความเสียหาย ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 6 ก.ย.2562 เมื่อมีหมายบังคดีบังคดีมา กรมฯและ 4 หน่วยงาน จะร่วมกับกรมบังคับคดี ดำเนินการติดตามเรียกค่าเสียหายต่อไป โดยกรมฯ เชื่อว่าบริษัทฯเหล่านี้มีทรัพย์เหลืออยู่ให้ติดตามได้ เพราะก่อนหน้าที่จะมีคำพิพากษา บริษัทเหล่านี้ยังทำธุรกิจอยู่ และหากมีการโยกทรัพย์ไปที่อื่น ก็จะมีความผิดตามกฎหมายฉบับอื่นๆ จึงมั่นใจว่าจะตามทรัพย์กลับมาได้
https://siamrath.co.th/n/157571
มีคดีแบบนี้ เสียทั้งเวลา เสียกำลังเจ้าหน้าที่ ที่ต้องทำงานกับการยึดทรัพย์กลุ่มคนทุจริต
ไม่ต้องมีเวลาไปพัฒนางานอื่นๆเพื่อบ้านเมือง
ตามยึดทรัพย์คดีจำนำข้าว มหากาพย์การทุจริต เป็นขบวนการในรัฐบาลยิ่งลักษณ์
ประเทศชาติเสียหาย คนที่เป็นนายใหญ่ก็ไม่รับผิดชอบ
ดูเอาไว้นะคะ เลือกคนซื่อสัตย์เท่านั้นมาเป็นนายกฯ และคุมเรื่องทุจริตให้ได้
พรรคไหนเคยอยู่ในรัฐบาลในอดีต ก็อย่าไปวางใจค่ะ
มีคนบงการเป็นเจ้าของพรรค เขาให้ทำอะไรก็ต้องฟัง
ไม่ใช่เสรีภาพที่เรียกร้องหากันอย่างปากว่าเลย
ตื่นๆ เถอะค่ะ ประชาชนจงตาสว่าง...เถิด....
🍉🍉มาลาริน/กว่าจะตามยึดได้ เสียเวลาคนทำงานจริงๆค่ะ...ตั้ง"ทีมบังคับคดี"ตามยึดทรัพย์ "จำนำข้าว"
วันที่ 23 พ..63 สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้เปิดเผยรายงานระบุว่า หลังจากเมื่อวันที่ 6 ก.ย.62 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาให้จำเลยในคดีทุจริตโครงการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) 28 ราย ชำระค่าเสียหายกว่า 2 หมื่นล้านบาทนั้น ล่าสุดที่ประชุมหน่วยงานรัฐ 5 แห่ง ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ ได้แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการบังคับคดี ที่มีรองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน แล้ว หลังใช้เวลาดำเนินการในขั้นตอนต่างๆกว่า 7 เดือน
“หน้าที่ของคณะทำงานชุดนี้ นอกจากสืบทรัพย์แล้ว ยังมีหน้าที่บังคับคดี และยึดทรัพย์จากจำเลยที่เกี่ยวข้อง โดยคณะทำงานชุดดังกล่าว มีกระทรวงการคลังเป็นเจ้าภาพหลัก และมีผู้แทน 4 หน่วยงานร่วมเป็นคณะทำงาน ซึ่งขณะนี้คณะทำงานฯได้เริ่มทำการเข้ายึดทรัพย์แล้ว” แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์กล่าว
แหล่งข่าวยังระบุ ก่อนหน้านี้กรมการค้าต่างประเทศ (คต.) มีการแต่งตั้งคณะทำงานหาทรัพย์ โดยคณะทำงานฯได้ทำหนังสือไปยังหน่วยงานต่างๆเพื่อขอข้อมูลว่า จำเลยในคดีนี้มีทรัพย์สินที่มีทะเบียน เช่น ที่ดิน บ้าน อสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ เรือ และทรัพย์สินอื่นๆ เช่น ปืน อยู่ที่ใดบ้าง โดยคณะทำงานฯได้ส่งข้อมูลบัญชีทรัพย์สินที่มีทะเบียนของจำเลยให้กรมฯแล้ว และกรมฯส่งต่อข้อมูลดังกล่าวไปให้คณะทำงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการอายัดทรัพย์ หรือสืบทรัพย์เพิ่มเติมต่อไป
"ในเบื้องต้นยังไม่มีการประเมินว่ามูลค่าทรัพย์สินที่มีทะเบียนดังกล่าวมีเท่าใด เนื่องจากเอกสารทั้งหมดได้ส่งไปให้คณะทำงานดำเนินการบังคับคดีเป็นผู้ประเมินและเข้ายึดทรัพย์" แหล่งข่าวระบุ
สำหรับหน่วยงาน 5 แห่ง ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีทุจริตระบายข้าวจีทูจี ประกอบด้วย 1.กรมการค้าต่างประเทศ 2.องค์การคลังสินค้า (อคส.) 3.องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก) 4.กระทรวงพาณิชย์ และ5.กระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 12 ก.พ.ที่ผ่านมา นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอิศรา ว่า การสืบทรัพย์จากจำเลย เพื่อนำมาชดใช้ค่าเสียหายคดีทุจริตข้าวจีทูจี แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1.จำเลยที่เป็นนักการเมืองและข้าราชการประจำ การบังคับคดีในส่วนนี้ ได้มีการดำเนินการตามคำสั่งทางปกครองให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามความผิด พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ไปแล้วเมื่อปี 2559 ซึ่งในส่วนนี้กรมฯได้ร่วมกับกรมบังคับคดีได้ดำเนินการสืบทรัพย์ไปแล้ว โดยมีระยะเวลาในการสืบทรัพย์ 10 ปี เนื่องจากการสืบทรัพย์ทำได้ยาก จึงต้องค่อยๆหากันไป ส่วนทรัพย์ที่พบแล้วก็ทยอยส่งเข้าหลวงไป
2.กลุ่มบริษัท สยามอินดิก้า และจำเลยผู้เกี่ยวข้อง เช่น ‘เสี่ยเปี๋ยง’ นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร รวมถึงเครือข่าย ทางสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ดำเนินการอายัดทรัพย์ไปแล้วตั้งแต่ปี 2560 เนื่องจากคดีทุจริตระบายข้าวจีทูจี เป็นความผิดมูลฐานเกี่ยวกับการทุจริต ตามพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (5) โดย 2 ปีที่ผ่านมา ปปง.ได้อายัดทรัพย์แล้ว 1.62 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม กรมฯและผู้เสียหายอีก 4 หน่วยงาน จะเข้าหารือกับปปง.ว่า ทรัพย์ที่ปปง.อายัดไปแล้วนั้น มีทรัพย์ส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ และมีมากน้อยเพียงใด เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนกัน
3.จำเลยที่เป็นบริษัทเอกชน 4 บริษัท ซึ่งศาลฯสั่งให้ร่วมกันชดใช้ความเสียหาย ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 6 ก.ย.2562 เมื่อมีหมายบังคดีบังคดีมา กรมฯและ 4 หน่วยงาน จะร่วมกับกรมบังคับคดี ดำเนินการติดตามเรียกค่าเสียหายต่อไป โดยกรมฯ เชื่อว่าบริษัทฯเหล่านี้มีทรัพย์เหลืออยู่ให้ติดตามได้ เพราะก่อนหน้าที่จะมีคำพิพากษา บริษัทเหล่านี้ยังทำธุรกิจอยู่ และหากมีการโยกทรัพย์ไปที่อื่น ก็จะมีความผิดตามกฎหมายฉบับอื่นๆ จึงมั่นใจว่าจะตามทรัพย์กลับมาได้
https://siamrath.co.th/n/157571
มีคดีแบบนี้ เสียทั้งเวลา เสียกำลังเจ้าหน้าที่ ที่ต้องทำงานกับการยึดทรัพย์กลุ่มคนทุจริต
ไม่ต้องมีเวลาไปพัฒนางานอื่นๆเพื่อบ้านเมือง
ตามยึดทรัพย์คดีจำนำข้าว มหากาพย์การทุจริต เป็นขบวนการในรัฐบาลยิ่งลักษณ์
ประเทศชาติเสียหาย คนที่เป็นนายใหญ่ก็ไม่รับผิดชอบ
ดูเอาไว้นะคะ เลือกคนซื่อสัตย์เท่านั้นมาเป็นนายกฯ และคุมเรื่องทุจริตให้ได้
พรรคไหนเคยอยู่ในรัฐบาลในอดีต ก็อย่าไปวางใจค่ะ
มีคนบงการเป็นเจ้าของพรรค เขาให้ทำอะไรก็ต้องฟัง
ไม่ใช่เสรีภาพที่เรียกร้องหากันอย่างปากว่าเลย
ตื่นๆ เถอะค่ะ ประชาชนจงตาสว่าง...เถิด....