เครดิตบูโรเผย พิษโควิด-19 ทำหนี้เสียปีนี้แตะ 1 ล้านล้านบาท
วันนี้ (22 พฤษภาคม) สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) กล่าวว่า ปี 2563 ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อรายได้และการชำระหนี้ และทำให้หนี้เสียในระบบของไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะลูกหนี้รายย่อยมีโอกาสที่ปี 2563 หนี้เสียจะแตะระดับ 1 ล้านล้านบาท โดยเห็นแนวโน้มจากหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 1 ปี 2563 ที่อยู่ระดับ 9.5 แสนล้านบาท คิดเป็น 8.1% ของหนี้ครัวเรือนที่มีการเก็บข้อมูลในเครดิตบูโร (11.7 ล้านล้านบาท) โดยมีการปรับโครงสร้างหนี้ (TDR) อยู่ 9.7 แสนล้านบาท ซึ่งไม่รวมกลุ่มที่พักการชำระหนี้ตามมาตรการของแบงก์ต่างๆ
ทั้งนี้หนี้เสียของไทยทยอยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยช่วงไตรมาส 1 ปี 2562 อยู่ที่ 6.8% แต่ไตรมาส 1 ปี 2563 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 8.1% ของหนี้ครัวเรือนที่มีการเก็บข้อมูลในเครดิตบูโรถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ขณะที่ช่วงที่เหลือของปี 2563 แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีมาตรการชั่วคราว เช่น การพักชำระเงินต้น การพักชำระดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่หลังจากมาตรการนี้สิ้นสุด คาดว่าจะเห็นหนี้เสียเพิ่มขึ้น และจะกลับมาเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2563
ขณะที่อัตราหนี้เสียที่ 8.1% ของหนี้ครัวเรือนที่มีการเก็บข้อมูลในเครดิตบูโรมี 5.5% มาจากสินเชื่อ 4 ประเภท ได้แก่
สินเชื่อที่อยู่อาศัย (สินเชื่อบ้าน) ณ ไตรมาส 1 ปี 2563 มีอัตราหนี้เสียอยู่ที่ 4.9% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2562 ที่อยู่ 4.0%
สินเชื่อรถยนต์ ณ ไตรมาส 1 ปี 2563 มีอัตราหนี้เสียอยู่ที่ 6.2% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2562 ที่อยู่ 5.6%
สินเชื่อส่วนบุคคล (PLoan) ณ ไตรมาส 1 ปี 2563 มีอัตราหนี้เสียอยู่ที่ 10.1% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2562 ที่อยู่ 8.6%
สินเชื่อบัตรเครดิต ณ ไตรมาส 1 ปี 2563 มีอัตราหนี้เสียอยู่ที่ 15.2% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2562 ที่อยู่ 14.6%
ขณะที่ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจะเห็นว่า กลุ่มผู้มีรายได้ 10,000-50,000 บาทต่อเดือน มีรายจ่ายและภาระการชำระหนี้มากกว่ารายได้
อย่างไรก็ตาม ไตรมาส 1 ปี 2563 ที่ผ่านมา ยอดธุรกรรมการขอสินเชื่อใหม่มีการยื่นสมัครขอสินเชื่อใหม่ราว 4.5 ล้านใบสมัคร ถือว่าไม่สูงมาก เพราะธนาคารมีการเข้มงวดในการคัดกรองมากขึ้น โดยสมาชิกเครดิตบูโรมียอดการขอดูประวัติการเงินกว่า 16 ล้านครั้ง ทั้งนี้สถาบันการเงินต่างๆ ขอข้อมูลเพื่อสถานะการชำระหนี้ และเพื่อดูคุณภาพหนี้ของลูกหนี้ คาดว่าทั้งปี 2563 จะมียอดธุรกรรมส่วนนี้กว่า 70 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มียอดที่ 55 ล้านครั้ง
====================================
อ่านบทความ
https://www.kidlongtun.com/category/content.php?id=143
====================================
เครดิตบูโรเผย พิษโควิด-19 ทำหนี้เสียปีนี้แตะ 1 ล้านล้านบาท
วันนี้ (22 พฤษภาคม) สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) กล่าวว่า ปี 2563 ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อรายได้และการชำระหนี้ และทำให้หนี้เสียในระบบของไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะลูกหนี้รายย่อยมีโอกาสที่ปี 2563 หนี้เสียจะแตะระดับ 1 ล้านล้านบาท โดยเห็นแนวโน้มจากหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 1 ปี 2563 ที่อยู่ระดับ 9.5 แสนล้านบาท คิดเป็น 8.1% ของหนี้ครัวเรือนที่มีการเก็บข้อมูลในเครดิตบูโร (11.7 ล้านล้านบาท) โดยมีการปรับโครงสร้างหนี้ (TDR) อยู่ 9.7 แสนล้านบาท ซึ่งไม่รวมกลุ่มที่พักการชำระหนี้ตามมาตรการของแบงก์ต่างๆ
ทั้งนี้หนี้เสียของไทยทยอยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยช่วงไตรมาส 1 ปี 2562 อยู่ที่ 6.8% แต่ไตรมาส 1 ปี 2563 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 8.1% ของหนี้ครัวเรือนที่มีการเก็บข้อมูลในเครดิตบูโรถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ขณะที่ช่วงที่เหลือของปี 2563 แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีมาตรการชั่วคราว เช่น การพักชำระเงินต้น การพักชำระดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่หลังจากมาตรการนี้สิ้นสุด คาดว่าจะเห็นหนี้เสียเพิ่มขึ้น และจะกลับมาเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2563
ขณะที่อัตราหนี้เสียที่ 8.1% ของหนี้ครัวเรือนที่มีการเก็บข้อมูลในเครดิตบูโรมี 5.5% มาจากสินเชื่อ 4 ประเภท ได้แก่
สินเชื่อที่อยู่อาศัย (สินเชื่อบ้าน) ณ ไตรมาส 1 ปี 2563 มีอัตราหนี้เสียอยู่ที่ 4.9% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2562 ที่อยู่ 4.0%
สินเชื่อรถยนต์ ณ ไตรมาส 1 ปี 2563 มีอัตราหนี้เสียอยู่ที่ 6.2% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2562 ที่อยู่ 5.6%
สินเชื่อส่วนบุคคล (PLoan) ณ ไตรมาส 1 ปี 2563 มีอัตราหนี้เสียอยู่ที่ 10.1% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2562 ที่อยู่ 8.6%
สินเชื่อบัตรเครดิต ณ ไตรมาส 1 ปี 2563 มีอัตราหนี้เสียอยู่ที่ 15.2% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2562 ที่อยู่ 14.6%
ขณะที่ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจะเห็นว่า กลุ่มผู้มีรายได้ 10,000-50,000 บาทต่อเดือน มีรายจ่ายและภาระการชำระหนี้มากกว่ารายได้
อย่างไรก็ตาม ไตรมาส 1 ปี 2563 ที่ผ่านมา ยอดธุรกรรมการขอสินเชื่อใหม่มีการยื่นสมัครขอสินเชื่อใหม่ราว 4.5 ล้านใบสมัคร ถือว่าไม่สูงมาก เพราะธนาคารมีการเข้มงวดในการคัดกรองมากขึ้น โดยสมาชิกเครดิตบูโรมียอดการขอดูประวัติการเงินกว่า 16 ล้านครั้ง ทั้งนี้สถาบันการเงินต่างๆ ขอข้อมูลเพื่อสถานะการชำระหนี้ และเพื่อดูคุณภาพหนี้ของลูกหนี้ คาดว่าทั้งปี 2563 จะมียอดธุรกรรมส่วนนี้กว่า 70 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มียอดที่ 55 ล้านครั้ง
====================================
อ่านบทความ
https://www.kidlongtun.com/category/content.php?id=143
====================================