บทความตามใจฉัน “32War” Part 2

บทความตามใจฉัน “32War” Part 2
 
จาก Part ที่แล้วเราได้มองถึงวิธีการบริหารและทำธุรกิจแล้ว
ใน Part นี้เราจะมามองและเปรียบเทียบอาวุธกระสุนของแต่ละฝ่ายกันบ้าง
แน่นอนว่าอาวุธและกระสุนที่เราจะพูดถึงกันย่อมต้องเป็น “เครื่องเล่นเกมคอนโซล” และ “เกม”
 

 
เครื่องเล่นเกมคอนโซลของ SEGA ที่ชื่อ Sega Saturn  ได้เคยเล่าถึงไปแล้วในบทความก่อนหน้า สามารถอ่านได้ใน Link ข้างล่าง 
Part 1
https://www.facebook.com/pg/uptomejournal/photos/?tab=album&album_id=606388096608198
Part2
https://www.facebook.com/pg/uptomejournal/photos/?tab=album&album_id=615204669059874
Part3
https://www.facebook.com/pg/uptomejournal/photos/?tab=album&album_id=623914911522183
Part4
https://www.facebook.com/pg/uptomejournal/photos/?tab=album&album_id=632830773963930

สำหรับผู้ที่เคยอ่านแล้วหรือยังไม่อยากกลับไปอ่าน ผู้เขียนก็จะขอพูดถึงสั้น ๆ โดยสรุป ดังนี้
Sega Saturn นั้นเป็นเครื่องที่ติดตั้ง CPU คู่และชิปกราฟฟิกถึงสองตัว ตัวหนึ่งประมวลผลกราฟิกด้าน 3D และอีกตัวทำกราฟฟิก 2D
ผลจากการที่ระบบมีชิปประมวลผลจำนวนมากและปัญหาเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรของเครื่อง ทำให้โปรแกรมเมอร์นอกจากต้องเผชิญกับปัญหาความไม่เชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมที่ต้องควบคุมชิปประมวลผลหลาย ๆ ตัวแล้วการมีชิปประมวลผลจำนวนมากในระบบยังทำให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อนในการเขียนโปรแกรมตามมาอีกด้วย แม้แต่โปรแกรมเมอร์ของ SEGA เองก็รับมือกับ Saturn แทบไม่ไหวจน SEGA ต้องส่งสัญญาณถอยจากตลาดเกมคอนโซลในปี 1997 เพียงแค่ 3 ปีหลังจากวางตลาดครั้งแรกที่ญี่ปุ่นเมื่อปลายปี 1994  จากนั้นก็ยุติสายการผลิตของยุโรปและอเมริกาในปี 1998 และยุติสายการผลิตสายสุดท้ายที่ญี่ปุ่นในปี 2000
 

 
 
นี่ทำให้เหลือเครื่องที่ต้องพูดถึงเพียง 2 เครื่อง นั้นคือ ps ของ Sony และ N64 ของ Nintendo
เราจะมาดูและเปรียบเทียบคุณสมบัติของทั้ง 2 เครื่องไปทีละส่วนพร้อม ๆ กัน
โดยเรามาเริ่มที่ขุมพลังหลักของเครื่องกันก่อน นั้นคือ CPU
 
โดย CPU ที่ Sony เลือกใช้กับ ps นั้นคือ Cpu ของ MIPS ตระกูล R3000 ที่มีความเร็วการทำงานอยู่ที่ 33.86 Mhz 
สำหรับผู้ที่ไม่สันทัดกับคุณสมบัติทางเทคนิคของคอมพิวเตอร์ ให้จินตนาการว่า CPU คือผู้จัดการของคุณและผู้จัดการคนนี้สามารถรับ Order หรือเอกสารงานมาอ่านเพื่อวิเคราะห์, ตัดสินใจและออกคำสั่งงานกับคุณได้ 33.86 ล้านครั้งใน 1 วินาทีแล้วกัน
(พอเปรียบเทียบแบบนี้แล้วฟังดูสยอง ๆ ยังไงไม่รู้)
 

 
ส่วนทางฝั่ง Nintendo ได้เลือกใช้ CPU ของ MIPS กับเครื่อง N64 เช่นกันแต่เป็นตระกูล R4000 ที่มีความเร็วการทำงานอยู่ที่ 93.75 Mhz ซึ่งเร็วกว่า CPU ของ ps ถึง 280% เท่านั้นยังไม่พอ CPU ของ N64 ยังเป็น CPU แบบ 64 บิตซึ่งมีประสิทธิภาพการรับข้อมูลและออกคำสั่งสูงกว่า ps ที่ใช้ CPU 32 บิต และนี่ทำให้ N64 เป็นเครื่องเกม 64 บิตแบบไม่มีข้อกังขาเครื่องแรกของโลกรวมถึงเป็นที่ว่ามาทำไหมเครื่องเกมคอนโซลของ Nintendo เครื่องนี้ถึงใส่ตัวเลข 64 ต่อท้ายชื่อเครื่องและต่อท้ายชื่อเกมเกือบทั้งหมดของ N64
 ถ้านึกภาพไม่ออกว่าประสิทธิภาพต่างกันขนาดไหนให้จินตนาการว่า CPU คือผู้จัดการของคุณดูอีกครั้ง
 
ผู้จัดการของ ps นั้นสามารถอ่านเอกสารงานแล้ววิเคราะห์, ตัดสินใจและออกคำสั่งงานกับคุณได้ 33.86 ล้านครั้งใน 1 วินาที
โดยในแต่ละครั้งผู้จัดการคนนี้จะอ่านเอกสารได้เพียง 4 ตัวอักษร (32Bit) รวมถึงสั่งงานคุณได้ในแต่ละครั้งไม่เกิน 4 ตัวอักษร
โดยรวมแล้วผู้จัดการของ ps สามารถอ่านเอกสารงานแล้ววิเคราะห์, ตัดสินใจเพื่อออกคำสั่งได้ครั้งละ 135.44 ตัวอักษรต่อ 1 วินาที รวมถึงสามารถสั่งงานคุณได้ด้วยความเร็ว 135.44 ตัวอักษรต่อ 1 วินาทีเช่นกัน
 

 
ส่วนผู้จัดการของ N64 สามารถทำงานแบบเดียวกันได้ด้วยความเร็ว 93.75 ล้านครั้งใน 1 วินาที อ่านเอกสารและสั่งงานคุณได้ในแต่ละครั้งไม่เกิน 8 ตัวอักษร นี่ทำให้ผู้จัดการของ N64 สามารถอ่านเอกสารงานแล้ววิเคราะห์, ตัดสินใจเพื่อออกคำสั่งได้ ครั้งละ 750 ตัวอักษรใน 1 วินาที
และแน่นอนว่าผู้จัดการคนนี้จะสั่งงานคุณด้วยความเร็ว 750 ตัวอักษรต่อ 1 วินาที
 
เพื่ออ้างอิง ผู้เขียนได้แนบ Link วิดีโอเกี่ยวกับคนที่พูดเร็วที่สุดในโลกด้วยสถิติ 11 คำต่อวินาทีมาเพื่อเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบ
ในตอนต้น VDO เธอจะแสดงความสามารถพูดเร็วโดยการเล่านิทานลูกหมู 3 ตัว ถ้าเธอเล่าด้วยความเร็ว11 คำต่อวินาทีจะเท่ากับว่าเธอเล่าด้วยความเร็ว 38 ตัวอักษรต่อวินาที หรือ 48 ตัวอักษรต่อวินาทีถ้าดับ spacebar ด้วย
https://www.youtube.com/watch?v=tvfr6hHUf7I
 
ถ้าเทียบจากสเปกจะเห็นได้ว่าในส่วนของ CPU นั้น ps สู้ N64 ไม่ได้โดยสิ้นเชิง
 

 
ต่อไปมาดูที่หน่วยความจำของเครื่องหรือที่รู้จักกันว่า Ram บ้าง
ps นั้นมี Ram ของเครื่องอยู่ที่ 2 MB (เมกกะไบต์) ประเภท EDO Ram ที่มี Bandwidth (ความกว้างช่องสัญญาณ แสดงถึงปริมาณข้อมูลสูงสุดที่รับเข้าส่งออกได้ในแต่ละครั้ง) สูงสุดอยู่ที่ 266 MB ต่อวินาที ในขณะนั้น Ram ประเภทนี้กำลังจะตกยุคแล้วถูกแทนที่ด้วย SD Ram ที่ประสิทธิภาพดีกว่า
 
ขณะที่ N64 ได้รับการติดตั้ง Ram ขนาด 4 MB ใหญ่เป็น 2 เท่าของที่ ps มี อีกทั้งประเภทของ Ram ที่ใช้ยังเป็น RD Ram หรือที่รู้จักในอีกชื่อว่า Rambus ซึ่งเป็น Ram แบบใหม่ล่าสุดในขณะนั้น มี Bandwidth สูงถึง 562 MB ต่อวินาทีและถูกมองว่าจะเป็น Ram ยุคต่อไปที่จะมาแทนที่ SD Ram ในอนาคตอีกด้วย

จะเห็นได้ว่า N64 ก็ยังเหนือกว่า ps ในส่วนของ Ram 
 

 
ทีนี้มาดูในส่วนของกราฟฟิกชิปกันบ้าง ซึ่งในส่วนนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ

1. Geometry หรือส่วนที่ทำการคำนวณด้านเรขาคณิต มีหน้าที่หลัก ๆ คือคำนวณสูตรทางคณิตศาสตรเพื่อสร้าง Wireframe ที่ประกอบกับเป็นโพลีกอนจนได้ภาพหรือรูปร่างต่าง ๆ ออกมาก่อนที่จะส่งไปส่วนต่อไป

2. Graphics processing unit (GPU) ในส่วนนี้จะนำผลการคำนวนจาก Geometry มาวาดเป็นภาพรวมถึงใส่สี ใส่พื้นผิว(texture)รวมถึง effect ต่าง ๆ แล้วส่งไปแสดงผลที่หน้าจอ

ps มี Geometry เป็น coprocessor ที่ฝังอยู่ใน CPU และใช้ชิปกราฟฟิก 32bit ที่ว่าจ้างโตชิบ้าออกแบบให้
ส่วน N64 นั้น Geometry และ GPU นั้นถูกรวมอยู่ใน reality coprocessor 64bit ชิปที่ Nintendo และ SGI ออกแบบรวมกัน
 

 
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนในการออกแบบส่วนชิปกราฟฟิกคือ
Ps นั้นจะมีการติด VRam หรือ Ram แยกต่างหากพิเศษสำหรับชิปกราฟฟิกโดยมีขนาด 1 MB ครึ่งหนึ่งของ Ram เครื่อง ซึ่งเป็นรูปแบบคล้ายกับ Computer ที่ติดตั้งกราฟฟิกการ์ด

ส่วน N64 นั้นไม่มี VRam แยกให้ต่างหาก คงเพราะผู้ออกแบบคิดว่าให้ชิปกราฟิกเชื่อมต่อเข้ากับ Ram ของระบบที่มี Bandwidth สูงถึง 562 MB ก็น่าจะเพียงพอแล้ว แถมชิปกราฟิกยังสามารถเข้าถึงพื้นที่เก็บข้อมูลบนตลับได้อีกทางด้วย Bandwidth ประมาณครึ่งหนึ่งของ Ram อีกด้วย คล้ายกับ Computer ที่ใช้กราฟฟิกออนบอร์ด
 

 
ในส่วนฟีเจอร์และประสิทธิภาพของชิปกราฟฟิกก็มีข้อแตกต่างอย่างน่าสนใจ
ในภาพรวมแล้วชิปกราฟฟิกของ N64 มีฟีเจอร์ที่ใกล้เคียงกับชิปกราฟิกยุคปัจจุบันมากกว่าชิปของ ps
ฟีเจอร์ที่โดดเด่นก็ เช่น
 
anti-aliasing หรือฟีเจอร์ลบรอยยักที่นับเป็นฟีเจอร์สำคัญในการแสดงผลกราฟฟิก 3D ให้ออกมาสวยงาม

หรือ 

Z buffering ที่ช่วยในการจัดวางตำแหน่งความลึกของโพลิกอน ทำให้กราฟฟิกไม่เกิดการซ้อนทับหรือกลืนกันเอง เป็นต้น
 
ซึ่งฟีเจอร์พวกนี้มีส่วนอย่างมากที่ทำให้กราฟฟิกของ N64 สวยงามถูกใจผู้เล่น ถ้าเอาเกมเดียวกันของเครื่อง ps และ N64 มาเปรียบเทียบกันจะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน
กับผู้พัฒนาแล้ว ฟีเจอร์พวกนี้กลับไม่ใช่สิ่งที่พวกเค้าต้องการในการพัฒนาเกม อย่างน้อยในตอนนั้น สมัยนั้น
 

 
แต่ถ้าเรามองไปในส่วนประสิทธิภาพของชิปกราฟฟิกแล้ว ความแตกต่างนี้กลายเป็นจุดสำคัญที่ทำให้จุดหักเหของการแข่งขัน
นั้นคือปริมาณโพลีกอนที่ชิปสามารถสร้างออกมาได้ต่อวินาที
อย่างที่เคยเล่าถึงในบทความเกี่ยวกับเครื่อง N64 (ตาม Link ข้างล่าง)
Part1
https://www.facebook.com/pg/uptomejournal/photos/?tab=album&album_id=637190023528005
Part2
https://www.facebook.com/pg/uptomejournal/photos/?tab=album&album_id=641381476442193
 
ว่าตัวเครื่องประสบปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพด้านกราฟฟิก ซึ่งทำให้ปริมาณโพลีกอนที่สามารถสร้างออกมาได้นั้นน้อยกว่าชิปของ ps นี่ทำให้นักพัฒนาเกมต้องลงแรงอย่างมากในการสร้างภาพกราฟฟิกที่สวยงามภายใต้ข้อจำกัดด้วยจำนวนโพลีกอนที่ไม่เพียงพอใช้งาน บางเกมถึงกับสร้างไม่ได้เลยทีก็มี
 
ซึ่งนี่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้บริษัทเกมต่าง ๆ หันมาสร้างเกมบน ps 
เพราะ ps ให้ในสิ่งที่นักพัฒนาในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ 3D ต้องการขณะที่ N64 ให้ได้ไม่เท่า ps
 

 
to be continued in “32War” Part 3
 
 
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน” 
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่