ห้องสมุดดินเหนียว
ห้องสมุดดินเหนียว เป็นห้องสมุดที่ค้นพบในดินแดนเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ได้แก่แถบลุ่มแม่น้ำไทกรีส (Tigris) และยูเฟรตีส (Euphrates) ปัจจุบันคือ ประเทศอิรัก ชนชาติต่าง ๆ ในแถบนี้คือ ชาวสุเมเรียน (Sumerians) ชาวบาบิโลเนียน (Babylonians) และชาวอัสซีเรียน (Assyrians)
พวกนี้รู้จักบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของตนลงบนแผ่นดินเหนียว โดยเฉพาะพวกชาวสุเมเรียนเป็น ชนชาติแรกที่ใช้ดินเหนียวบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ วัสดุที่ใช้เขียนคือไม้ วิธีเขียนจะใช้ไม้กดลงบนดินเหนียว ตัวอักษรที่ปรากฏคล้ายรูปลิ่ม จึงเรียกว่าอักษรลิ่ม หรือ Cuneiform เมื่อเขียนแล้วนำไปเผาเก็บไว้ แผ่นดินเหนียวมีเนื้อที่น้อย เพราะฉะนั้น จึงเขียนเฉพาะเรื่อสั้น ๆ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับศาสนา วรรณคดี การสงคราม
ชาวสุเมเรียนมีทั้งห้องสมุดส่วนตัว ห้องสมุดวัด และห้องสมุดของรัฐบาล เมื่อพวกสุ-เมเรียนเสื่อม วัฒนธรรมต่าง ๆ ถูกถ่ายทอดไปยังประเทศบาบิโลเนียน บาบิโลเนียนจะใช้ตัวอักษร Cuneiform ด้วยการดัดแปลงแก้ไขให้มีลักษณะเฉพาะตน เรื่องราวที่บันทึกส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวการค้าขาย การปกครอง กฎหมาย ศาสนา และประวัติศาสตร์
ในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี (Hammurabi) ราวประมาณ 2,100 ปี ก่อนคริสต์กาลมีสิ่งที่สำคัญคือ พระเจ้าฮัมมูราบีได้จัดการสร้างประมวลกฎหมายขึ้น เป็นกฎหมายฉบับแรกของโลกเรียกว่าประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The code of Hammurabi) จารึกเป็นอักษรคูนิฟอร์ม กฎหมายนี้มีบทลงโทษที่รุนแรงมากชนิดตาแทนตา และฟันแทนฟัน ส่วนมากห้องสมุดสมัยนี้จะสร้างขึ้นตามวัดและวัง พอเสื่อมอำนาจห้องสมุดจะพลอยถูกทำลายไปด้วย
(ตัวอย่างคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรือ อักษรรูปลิ่ม อักษรที่เก่าแก่ที่สุดของโลกในเมโสโปเตเมีย)
ต่อมาชาวอัสซีเรียนได้รับเอาวัฒนธรรมของชาวสุเมเรียนและบาบิโลเนียนมาก ห้องสมุดที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศอัสซีเรียนอยู่ที่เมืองนิเนเวห์ (Nineveh) ห้องสมุดนี้กษัตร์ซาร์กอนที่ 2 (Sargon II) ตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 8ก่อนคริสต์ศตวรรษ และมาในสมัยกษัตริย์อัสสุรบันนิบาล (Assurbanibal) ได้ทำนุบำรุงให้ดีขึ้นมีหนังสือ (แผ่นดินเหนียว) อยู่เป็นจำนวนหมื่น
พ.ศ. 2303 – พ.ศ. 2306 นักโบราณคดีชาวอังกฤษได้ขุดพบแผ่นดินเหนียวหลายพันแผ่นที่เมืองนิเนเวห์ นิเปอร์ และเทลโล จำนวนดินเหนียวเหล่านี้มีประมวลกฎหมายของฮัมมูราบี และมหากาพย์ของกิลลาเมซ (Gilgamesh Epic) อันเป็นมหากาพย์ที่บรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งยิ่งใหญ่ในบาบิโลเนียรวมอยู่ด้วย ปัจจุบันแผ่นดินเหนียวเหล่านี้ ได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอังกฤษ (British Museum)
เมื่ออาณาจักรอัสซีเรียนเสื่อมอำนาจลง การใช้แผ่นดินเหนียวบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ก็เสื่อมความนิยม ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมีวัสดุอย่างอื่นที่สามารถนำมาใช้ในการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ แทนดินเหนียวประกอบกับการเคลื่อนย้ายแผ่นดินเหนียวที่บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เป็นจำนวนมากย่อมไม่สะดวก เพราะแผ่นดินเหนียวมีน้ำหนักมาก การใช้แผ่นดินเหนียวบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ จึงเสื่อมความนิยมลง
Cr.
https://pattraporn093.wordpress.com/2013/12/23/ห้องสมุดดินเหนียว/
ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย
– เมื่อราว 300 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ได้ชัยชนะเหนือกรีก เอเชียไมเนอร์ และอียิปต์ และเมื่อยึดครองอียิปต์ได้ ก็สร้างเมืองหลวงที่ทรงตั้งพระทัยให้เป็นเมืองที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก คือเมืองอเล็กซานเดรีย และตั้งราชวงศ์ปโตเลมี (Ptolemy) ขึ้นปกครองอียิปต์ต่อมาจนสิ้นสุดที่พระนางคลีโอพัตรา ซึ่ง ปโตเลมี เป็นนักภูมิศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักโหราศาสตร์ชาวกรีกโบราณ
– เมื่อ ราชวงศ์ปโตเลมี (Ptolemy) ขึ้นครองบัลลังก์อียิปต์ อเล็กซานเดรียได้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยแห่งแรกในโลก นักคณิตศาสตร์และนักปราชญ์หลั่งไหล มาสู่เมืองนี้จากชื่อเสียงของห้องสมุดอเล็กซานเดรีย ในสมัยนั้น การมีหนังสือ วรรณกรรมและสิ่งขีดเขียนอย่างสมบูรณ์ได้ทำให้ ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย เป็นห้องสมุดที่ดีที่สุดในโลกในยุคนั้นและเป็นศูนย์วิทยาการ ที่นักปราชญ์ทุกคนจะต้องไปเยือน
– ห้องสมุดนี้ตั้งขึ้นจากแนวคิดของ Demetrius Phalaerus ที่โน้มน้าวให้ปโตเลมีรวบรวมหนังสือดีๆทั่วอียิปต์ กรีก เอเชียไมเนอร์ และยุโรป มีความพยายามในการหาหนังสือนั้นเข้มข้น ผู้คนที่เข้าอเล็กซานเดรียทุกคนจะถูกริบหนังสือ โดยหนังสือนั้นจะถูกนำไปคัดลอก (โดยการเขียนด้วยมือ) แต่ห้องสมุดจะขอเก็บต้นฉบับไว ้และคืนฉบับคัดลอกให้เจ้าของ ห้องสมุดได้รวบรวมหนังสือถึงหกแสนเล่มในเวลาต่อมา และเป็นที่รู้กันว่านักคณิตศาสตร์สามารถหาความรู้ ทุกอย่าง ในโลกได้โดยการมาที่ห้องสมุดนี้
– ในสมัยนั้นเป็นห้องสมุดที่อนุญาตให้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย ขุนนาง และชนชั้นที่ร่ำรวยเท่านั้นที่จะสามารถเข้าไปใช้บริการในห้องสมุดได้
– ประวัติศาสตร์ได้จารึกว่า Euclid ได้เคยสอนวิชาเรขาคณิตที่ห้องสมุดนี้ / Erotosthenes ผู้พิสูจน์ว่าโลกกลมเป็นคนแรกก็เคยทำงานเป็นบรรณารักษ์ประจำห้องสมุดนี้ / อคีมีดีส (Archimedes) ประดิษฐ์รหัสวิดน้ำแบบสกูลซึ่งยังคงใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นที่ๆ ยูคลิด (Euclid) ค้นพบทฤษฎีเรขาคณิตอีกด้วย
– ในสมัยนั้น ศูนย์กลางการศึกษาคณิตศาสตร์เคยอยู่กับพิธากอรัส แต่สองศตวรรษหลังจากพิธากอรัสเสียชีวิตลง ศูนย์การเรียนเลขได้ย้ายไปอยู่ที่อเล็กซานเดรีย
– และเมื่อ จูเลียด ซีซาร์ จักรพรรดิ์โรมัน (Julius Caesar) โจมตีและเข้ายึดเมืองของพระนางคลีโอพัตรา เมื่อ 48 ปีก่อนคริสตกาล จูเลียด ซีซาร์ ได้เผาบางส่วนของห้องสมุด
– พระนางคลีโอพัตรา ทรงเป็นผู้รักหนังสืออย่างยิ่ง จึงทรงตั้งพระทัยจะบูรณะห้องสมุดแห่งนี้ให้กลับมาเหมือนเดิม ภายในวิหารเซอราเปียม (Serapeum) โดยได้รับความช่วยเหลือจากนายพลมาร์ค แอนโธนี่ (ไม่ได้แสดงความรักด้วยการมอบดอกไม้หรือแหวนเพชร) แต่จัดหาหนังสือมาเป็นของขวัญให้แก่พระนางคลีโอพัตรากว่า 200,000 ม้วนมาไว้ในห้องสมุด ซึ่งไปปล้นยึดมาจากห้องสมุดที่ใหญ่เป็นอันดับสองในขณะนั้น คือหอสมุดแห่งเพอร์กามอน (Pergamon)
– แต่ในที่สุด ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย (Library of Alexandria) แห่งนี้ก็ถูกทำลายไปอย่างย่อยยับ ในสมัยธีออโดเชียส กษัตริย์แห่งโรมันซึ่งสั่งให้ทำลายเอกสาร วัดวาอารามต่างซึ่งไม่ใช่ของศาสนาคริสต์ และถือว่าเป็นพวกนอกรีตในปี 391 น่าเสียดายจริงๆ
– นักประวัติศาสตร์ที่ชื่อ Mustafa al-Abbadi เป็นบุคคลแรกที่คิดฟื้นคืนชีพห้องสมุด Alexandria ขึ้นมาอีก ภายใต้อุปสรรคมากมาย แต่เมื่อรัฐบาลอียิปต์, รัฐบาลอิรัก, รัฐบาลฝรั่งเศส ร่วมให้เงินทุนในการสร้าง และองค์การ Unesco ก็เห็นด้วยในการให้ผู้เชี่ยวชาญ การจัดสร้างห้องสมุดอเล็กซานเดรียให้ยิ่งใหญ่เหมือนในสมัยก่อน ก็เริ่มเป็นจริงขึ้นมา
ที่มา TeenMthai
Cr.
https://www.scholarship.in.th/alexandria-library/
ห้องสมุด Pergamon
ห้องสมุดของ Pergamum เป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งทางวัฒนธรรม พลูตาร์ชนักเขียนชาวกรีกกล่าวว่ามีปริมาณประมาณ 200,000 เล่ม เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นหนึ่งในห้องสมุดที่สำคัญที่สุดในโลกยุคโบราณ ก่อตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงรัชสมัยของกษัตริย์ Eumenes II และตั้งอยู่ทางตอนเหนือของ Acropolis ในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุด
The Library of Pergamon หรือที่รู้จักกันว่า Library of Pergamum เป็นห้องสมุดโบราณขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ที่เมือง Pergamon ของกรีกตั้งอยู่บนชายฝั่งของอนาโตเลียหรือตุรกีในปัจจุบัน ห้องสมุดของ Pergamon เป็นใหญ่เป็นอันดับสองรองจากห้องสมุดซานเดรียในอียิปต์ ห้องสมุดนี้เป็นอารยธรรมแรกที่ใช้แผ่นหนังสัตว์ฟอกในการบันทึก จึงถูกเรียกว่า ห้องสมุดแผ่นหนัง ( Libralies of animal)
(ยุคนั้นเพอร์กามอน มีหนังสืออยู่ในหอสมุดมากมาย จนนครอเล็กซานเดรียแห่งอียิปต์วิตก ว่าจะเกินหน้าเกินตา จึงมีการห้ามส่งกระดาษปาปิรัสจากลุ่มน้ำไนล กษัตริย์ยูเมเนสที่ 2 แก้ไขโดยให้กลุ่มคนคิดค้นวัสดุเพื่อใช้บันทึกจากหนังสัตว์)
(รูปปั้นของ Athena Parthenos จากห้องสมุด Pergamum กับวิหารของ Zeus Sosipolis) (Marcus Cyron / CC BY SA 2.0 )
Pergamum เป็นห้องสมุดภาษากรีกห้องสมุดเดียวจากโลกโบราณเพียงแห่งเดียวที่นักโบราณคดีในปัจจุบันพบหลักฐานต่างๆ ซึ่งค้นพบได้จากสถาปัตยกรรมที่ปรากฏอยู่
Cr.
https://www.ancient-origins.net/ancient-places-asia/library-pergamum-contender-greatest-library-ancient-world-007601
Cr.
https://www.alexander-the-great.org/structures/library-of-pergamon.php
ห้องสมุดเซลซุส
ห้องสมุดเซลซุส (The Library of Celsus ) ตั้งอยู่ที่เมืองเอเฟซุส ประเทศตุรกี ซึ่งเมืองเอเฟซุสเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยปลายยุคโลหะ ในราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ภายใต้การปกครองของอาณาจักรลิเดีย เอเฟซุสเป็นเมืองที่รุ่งเรืองและมั่งคั่งที่สุดในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และรุ่งเรืองถึงขีดสุดอีกครั้งภายใต้การปกครองของโรมัน เป็นเมืองใหญ่ที่สุด 1 ใน 5 ของจักรวรรดิโรมัน และใหญ่ที่สุดในเขตเอเชีย
ห้องสมุดนี้เป็นหนึ่งในโบราณสถานที่หลงเหลืออยู่ ปัจจุบันเหลือเฉพาะด้านหน้าของอาคารเท่านั้น มีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น สร้างในปี ค.ศ.114-117 โดย ดิเบริอุส จูลิอุส อาควิลา เพื่ออุทิศให้กับ 'ดิเบริอุส จูลิอุส เซลซุส' ผู้เป็นบิดา โดยฝังโลงศพหินเอาไว้ที่ใต้หอสมุดและใช้เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ แสดงให้เห็นความยิ่งใหญ่ในอดีต
ห้องสมุดแห่งนี้มีทางเข้า 3 ทาง โดยบริเวณประตูทางเข้ามีรูปแกะสลักเทพี 4 องค์ประดับอยู่ ได้แก่ เทพีแห่งปัญญา เทพีแห่งคุณธรรม เทพีแห่งความเฉลียวฉลาด และเทพีแห่งความรู้ รูปแกะสลักเทพีทั้ง 4 องค์นี้เป็นของจำลอง ส่วนของจริงนักโบราณคดีชาวออสเตรียได้นำกลับไปออสเตรีย และตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงเวียนนา
หอสมุดเซลซุส ถือเป็นสุดยอดสถาปัตยกรรมในสมัยนั้น สร้างโดยใช้ศิลปะแบบ “เฮลเลนนิสติก” ซึ่งสวยงามมาก แต่ในปีค.ศ. 262 ได้ถูกชาว Goth เผาทำลาย ทำให้เอกสารต่างๆโดนเผาและตัวอาคารได้รับความเสียหาย จนหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันเพียงแค่นี้
Cr.
https://sites.google.com/site/10singmhascrry/about-us
Cr.
https://sites.google.com/site/10singmhascrry/about-us
ห้องสมุดอริสโตเติล
อริสโตเติล ได้สร้างหอสมุดขึ้นมาในวิทยาลัยไลเซียม (Lyceum) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นแม่แบบของการสร้างห้องสมุดมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน เอกสารมากมายได้ถูกส่งต่อไปยังหอสมุดอเล็กซานเดรียในเวลาต่อมา และท้ายที่สุดเมื่อพวกโรมันบุกเข้าครองอียิปต์ เอกสารเหล่านี้ก็ถูกขนย้ายไปเป็นสมบัติส่วนตัวของนายพล ลูเซียส คอร์เนเลียส ซูลล่า ในกรุงโรม
(สถานที่ตั้งของ Lyceum ในปัจจุบัน)
Cr.
https://teen.mthai.com/variety/148930.html
Cr.
https://stang.sc.mahidol.ac.th/bookfair/Oldweb/Article003part3.htm
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
ห้องสมุดในสมัยโบราณ
ห้องสมุดดินเหนียว เป็นห้องสมุดที่ค้นพบในดินแดนเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ได้แก่แถบลุ่มแม่น้ำไทกรีส (Tigris) และยูเฟรตีส (Euphrates) ปัจจุบันคือ ประเทศอิรัก ชนชาติต่าง ๆ ในแถบนี้คือ ชาวสุเมเรียน (Sumerians) ชาวบาบิโลเนียน (Babylonians) และชาวอัสซีเรียน (Assyrians)
พวกนี้รู้จักบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของตนลงบนแผ่นดินเหนียว โดยเฉพาะพวกชาวสุเมเรียนเป็น ชนชาติแรกที่ใช้ดินเหนียวบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ วัสดุที่ใช้เขียนคือไม้ วิธีเขียนจะใช้ไม้กดลงบนดินเหนียว ตัวอักษรที่ปรากฏคล้ายรูปลิ่ม จึงเรียกว่าอักษรลิ่ม หรือ Cuneiform เมื่อเขียนแล้วนำไปเผาเก็บไว้ แผ่นดินเหนียวมีเนื้อที่น้อย เพราะฉะนั้น จึงเขียนเฉพาะเรื่อสั้น ๆ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับศาสนา วรรณคดี การสงคราม
ชาวสุเมเรียนมีทั้งห้องสมุดส่วนตัว ห้องสมุดวัด และห้องสมุดของรัฐบาล เมื่อพวกสุ-เมเรียนเสื่อม วัฒนธรรมต่าง ๆ ถูกถ่ายทอดไปยังประเทศบาบิโลเนียน บาบิโลเนียนจะใช้ตัวอักษร Cuneiform ด้วยการดัดแปลงแก้ไขให้มีลักษณะเฉพาะตน เรื่องราวที่บันทึกส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวการค้าขาย การปกครอง กฎหมาย ศาสนา และประวัติศาสตร์
ในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี (Hammurabi) ราวประมาณ 2,100 ปี ก่อนคริสต์กาลมีสิ่งที่สำคัญคือ พระเจ้าฮัมมูราบีได้จัดการสร้างประมวลกฎหมายขึ้น เป็นกฎหมายฉบับแรกของโลกเรียกว่าประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The code of Hammurabi) จารึกเป็นอักษรคูนิฟอร์ม กฎหมายนี้มีบทลงโทษที่รุนแรงมากชนิดตาแทนตา และฟันแทนฟัน ส่วนมากห้องสมุดสมัยนี้จะสร้างขึ้นตามวัดและวัง พอเสื่อมอำนาจห้องสมุดจะพลอยถูกทำลายไปด้วย
(ตัวอย่างคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรือ อักษรรูปลิ่ม อักษรที่เก่าแก่ที่สุดของโลกในเมโสโปเตเมีย)
ต่อมาชาวอัสซีเรียนได้รับเอาวัฒนธรรมของชาวสุเมเรียนและบาบิโลเนียนมาก ห้องสมุดที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศอัสซีเรียนอยู่ที่เมืองนิเนเวห์ (Nineveh) ห้องสมุดนี้กษัตร์ซาร์กอนที่ 2 (Sargon II) ตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 8ก่อนคริสต์ศตวรรษ และมาในสมัยกษัตริย์อัสสุรบันนิบาล (Assurbanibal) ได้ทำนุบำรุงให้ดีขึ้นมีหนังสือ (แผ่นดินเหนียว) อยู่เป็นจำนวนหมื่น
พ.ศ. 2303 – พ.ศ. 2306 นักโบราณคดีชาวอังกฤษได้ขุดพบแผ่นดินเหนียวหลายพันแผ่นที่เมืองนิเนเวห์ นิเปอร์ และเทลโล จำนวนดินเหนียวเหล่านี้มีประมวลกฎหมายของฮัมมูราบี และมหากาพย์ของกิลลาเมซ (Gilgamesh Epic) อันเป็นมหากาพย์ที่บรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งยิ่งใหญ่ในบาบิโลเนียรวมอยู่ด้วย ปัจจุบันแผ่นดินเหนียวเหล่านี้ ได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอังกฤษ (British Museum)
เมื่ออาณาจักรอัสซีเรียนเสื่อมอำนาจลง การใช้แผ่นดินเหนียวบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ก็เสื่อมความนิยม ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมีวัสดุอย่างอื่นที่สามารถนำมาใช้ในการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ แทนดินเหนียวประกอบกับการเคลื่อนย้ายแผ่นดินเหนียวที่บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เป็นจำนวนมากย่อมไม่สะดวก เพราะแผ่นดินเหนียวมีน้ำหนักมาก การใช้แผ่นดินเหนียวบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ จึงเสื่อมความนิยมลง
Cr.https://pattraporn093.wordpress.com/2013/12/23/ห้องสมุดดินเหนียว/
– เมื่อ ราชวงศ์ปโตเลมี (Ptolemy) ขึ้นครองบัลลังก์อียิปต์ อเล็กซานเดรียได้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยแห่งแรกในโลก นักคณิตศาสตร์และนักปราชญ์หลั่งไหล มาสู่เมืองนี้จากชื่อเสียงของห้องสมุดอเล็กซานเดรีย ในสมัยนั้น การมีหนังสือ วรรณกรรมและสิ่งขีดเขียนอย่างสมบูรณ์ได้ทำให้ ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย เป็นห้องสมุดที่ดีที่สุดในโลกในยุคนั้นและเป็นศูนย์วิทยาการ ที่นักปราชญ์ทุกคนจะต้องไปเยือน
– ห้องสมุดนี้ตั้งขึ้นจากแนวคิดของ Demetrius Phalaerus ที่โน้มน้าวให้ปโตเลมีรวบรวมหนังสือดีๆทั่วอียิปต์ กรีก เอเชียไมเนอร์ และยุโรป มีความพยายามในการหาหนังสือนั้นเข้มข้น ผู้คนที่เข้าอเล็กซานเดรียทุกคนจะถูกริบหนังสือ โดยหนังสือนั้นจะถูกนำไปคัดลอก (โดยการเขียนด้วยมือ) แต่ห้องสมุดจะขอเก็บต้นฉบับไว ้และคืนฉบับคัดลอกให้เจ้าของ ห้องสมุดได้รวบรวมหนังสือถึงหกแสนเล่มในเวลาต่อมา และเป็นที่รู้กันว่านักคณิตศาสตร์สามารถหาความรู้ ทุกอย่าง ในโลกได้โดยการมาที่ห้องสมุดนี้
– ในสมัยนั้นเป็นห้องสมุดที่อนุญาตให้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย ขุนนาง และชนชั้นที่ร่ำรวยเท่านั้นที่จะสามารถเข้าไปใช้บริการในห้องสมุดได้
– ประวัติศาสตร์ได้จารึกว่า Euclid ได้เคยสอนวิชาเรขาคณิตที่ห้องสมุดนี้ / Erotosthenes ผู้พิสูจน์ว่าโลกกลมเป็นคนแรกก็เคยทำงานเป็นบรรณารักษ์ประจำห้องสมุดนี้ / อคีมีดีส (Archimedes) ประดิษฐ์รหัสวิดน้ำแบบสกูลซึ่งยังคงใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นที่ๆ ยูคลิด (Euclid) ค้นพบทฤษฎีเรขาคณิตอีกด้วย
– ในสมัยนั้น ศูนย์กลางการศึกษาคณิตศาสตร์เคยอยู่กับพิธากอรัส แต่สองศตวรรษหลังจากพิธากอรัสเสียชีวิตลง ศูนย์การเรียนเลขได้ย้ายไปอยู่ที่อเล็กซานเดรีย
– และเมื่อ จูเลียด ซีซาร์ จักรพรรดิ์โรมัน (Julius Caesar) โจมตีและเข้ายึดเมืองของพระนางคลีโอพัตรา เมื่อ 48 ปีก่อนคริสตกาล จูเลียด ซีซาร์ ได้เผาบางส่วนของห้องสมุด
– พระนางคลีโอพัตรา ทรงเป็นผู้รักหนังสืออย่างยิ่ง จึงทรงตั้งพระทัยจะบูรณะห้องสมุดแห่งนี้ให้กลับมาเหมือนเดิม ภายในวิหารเซอราเปียม (Serapeum) โดยได้รับความช่วยเหลือจากนายพลมาร์ค แอนโธนี่ (ไม่ได้แสดงความรักด้วยการมอบดอกไม้หรือแหวนเพชร) แต่จัดหาหนังสือมาเป็นของขวัญให้แก่พระนางคลีโอพัตรากว่า 200,000 ม้วนมาไว้ในห้องสมุด ซึ่งไปปล้นยึดมาจากห้องสมุดที่ใหญ่เป็นอันดับสองในขณะนั้น คือหอสมุดแห่งเพอร์กามอน (Pergamon)
– แต่ในที่สุด ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย (Library of Alexandria) แห่งนี้ก็ถูกทำลายไปอย่างย่อยยับ ในสมัยธีออโดเชียส กษัตริย์แห่งโรมันซึ่งสั่งให้ทำลายเอกสาร วัดวาอารามต่างซึ่งไม่ใช่ของศาสนาคริสต์ และถือว่าเป็นพวกนอกรีตในปี 391 น่าเสียดายจริงๆ
– นักประวัติศาสตร์ที่ชื่อ Mustafa al-Abbadi เป็นบุคคลแรกที่คิดฟื้นคืนชีพห้องสมุด Alexandria ขึ้นมาอีก ภายใต้อุปสรรคมากมาย แต่เมื่อรัฐบาลอียิปต์, รัฐบาลอิรัก, รัฐบาลฝรั่งเศส ร่วมให้เงินทุนในการสร้าง และองค์การ Unesco ก็เห็นด้วยในการให้ผู้เชี่ยวชาญ การจัดสร้างห้องสมุดอเล็กซานเดรียให้ยิ่งใหญ่เหมือนในสมัยก่อน ก็เริ่มเป็นจริงขึ้นมา
ที่มา TeenMthai
Cr.https://www.scholarship.in.th/alexandria-library/
The Library of Pergamon หรือที่รู้จักกันว่า Library of Pergamum เป็นห้องสมุดโบราณขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ที่เมือง Pergamon ของกรีกตั้งอยู่บนชายฝั่งของอนาโตเลียหรือตุรกีในปัจจุบัน ห้องสมุดของ Pergamon เป็นใหญ่เป็นอันดับสองรองจากห้องสมุดซานเดรียในอียิปต์ ห้องสมุดนี้เป็นอารยธรรมแรกที่ใช้แผ่นหนังสัตว์ฟอกในการบันทึก จึงถูกเรียกว่า ห้องสมุดแผ่นหนัง ( Libralies of animal)
(ยุคนั้นเพอร์กามอน มีหนังสืออยู่ในหอสมุดมากมาย จนนครอเล็กซานเดรียแห่งอียิปต์วิตก ว่าจะเกินหน้าเกินตา จึงมีการห้ามส่งกระดาษปาปิรัสจากลุ่มน้ำไนล กษัตริย์ยูเมเนสที่ 2 แก้ไขโดยให้กลุ่มคนคิดค้นวัสดุเพื่อใช้บันทึกจากหนังสัตว์)
(รูปปั้นของ Athena Parthenos จากห้องสมุด Pergamum กับวิหารของ Zeus Sosipolis) (Marcus Cyron / CC BY SA 2.0 )
Pergamum เป็นห้องสมุดภาษากรีกห้องสมุดเดียวจากโลกโบราณเพียงแห่งเดียวที่นักโบราณคดีในปัจจุบันพบหลักฐานต่างๆ ซึ่งค้นพบได้จากสถาปัตยกรรมที่ปรากฏอยู่
Cr.https://www.ancient-origins.net/ancient-places-asia/library-pergamum-contender-greatest-library-ancient-world-007601
Cr.https://www.alexander-the-great.org/structures/library-of-pergamon.php
ห้องสมุดนี้เป็นหนึ่งในโบราณสถานที่หลงเหลืออยู่ ปัจจุบันเหลือเฉพาะด้านหน้าของอาคารเท่านั้น มีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น สร้างในปี ค.ศ.114-117 โดย ดิเบริอุส จูลิอุส อาควิลา เพื่ออุทิศให้กับ 'ดิเบริอุส จูลิอุส เซลซุส' ผู้เป็นบิดา โดยฝังโลงศพหินเอาไว้ที่ใต้หอสมุดและใช้เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ แสดงให้เห็นความยิ่งใหญ่ในอดีต
ห้องสมุดแห่งนี้มีทางเข้า 3 ทาง โดยบริเวณประตูทางเข้ามีรูปแกะสลักเทพี 4 องค์ประดับอยู่ ได้แก่ เทพีแห่งปัญญา เทพีแห่งคุณธรรม เทพีแห่งความเฉลียวฉลาด และเทพีแห่งความรู้ รูปแกะสลักเทพีทั้ง 4 องค์นี้เป็นของจำลอง ส่วนของจริงนักโบราณคดีชาวออสเตรียได้นำกลับไปออสเตรีย และตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงเวียนนา
หอสมุดเซลซุส ถือเป็นสุดยอดสถาปัตยกรรมในสมัยนั้น สร้างโดยใช้ศิลปะแบบ “เฮลเลนนิสติก” ซึ่งสวยงามมาก แต่ในปีค.ศ. 262 ได้ถูกชาว Goth เผาทำลาย ทำให้เอกสารต่างๆโดนเผาและตัวอาคารได้รับความเสียหาย จนหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันเพียงแค่นี้
Cr.https://sites.google.com/site/10singmhascrry/about-us
Cr.https://sites.google.com/site/10singmhascrry/about-us
(สถานที่ตั้งของ Lyceum ในปัจจุบัน)
Cr.https://teen.mthai.com/variety/148930.html
Cr.https://stang.sc.mahidol.ac.th/bookfair/Oldweb/Article003part3.htm
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)