ช่วง COVID-19 แบบนี้ “การพักหนี้” กลายเป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนพูดถึง แต่จริง ๆ แล้ว ยังมีอีกเยอะมากค่ะ ที่เข้าใจผิดว่าเมื่อเราทำการยื่นขอพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยแล้ว หนี้ทั้งหมดจะหยุดลง ซึ่งความเป็นจริงแล้วเมื่อเราพักหนี้ “ดอกเบี้ยจะไม่หยุดเดิน” และธนาคารจะคิดดอกเบี้ยกับเราทุกวันเหมือนเดิม และดอกเบี้ยในช่วงเวลาที่เราขอพักชำระหนี้ จะถูกเรียกว่า “ดอกเบี้ยคงค้าง” ซึ่งทางธนาคารจะเรียกเก็บจากเราแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของแต่ละสถาบัน วันนี้ CondoNewb ลิสต์มาให้แล้วว่าธนาคารจะเรียกเก็บเราตอนไหนบ้าง ก่อนจะยื่นขอพักชำระหนี้ ก็อย่าลืมถามธนาคารนะคะ จะได้เตรียมตัวเตรียมใจได้ถูก
1. ถัวเฉลี่ยกับการชำระหนี้รายเดือน
วิธีนี้ “ดอกเบี้ยคงค้าง” จะถูกนำมาถัวเฉลี่ยกับเงินที่เราจ่ายต่อเดือน โดยธนาคารจะนำมาถัวเฉลี่ยเท่าไหร่ หรือกี่เดือน ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของธนาคาร ก่อนขอยื่นพักชำระหนี้ อย่าลืมสอบถามให้ชัดเจนว่าธนาคารจะนำมาถัวเฉลี่ยเท่าไหร่ ใช้เวลากี่เดือน ซึ่งข้อเสียก็คือบางทีการชำระหนี้งวดแรกหลังจากพักหนี้ เงินที่เราเริ่มจ่ายไป อาจจะเป็นดอกเบี้ยทั้งหมด เงินต้นแทบจะไม่ลดเลย ทำให้หนี้หมดช้าลง และยังเสียดอกในอัตราสูงไปอีกหลายเดือน ในกรณีที่เพื่อน ๆ กู้แบบลดต้นลดดอก
2. จ่ายดอกเบี้ยคงค้างงวดสุดท้าย
วิธีนี้ ดอกเบี้ยคงค้างจะถูกเรียกเก็บเป็นก้อนในการผ่อนชำระงวดสุดท้าย วิธีนี้ธนาคารค่อนข้างเป็นที่นิยมในการเรียกเก็บดอกเบี้ยคงค้าง ซึ่งวิธีเรียกเก็บแบบนี้ก็มีข้อดีคือ สำหรับเพื่อน ๆ ที่กู้แบบลดต้นลดดอกจะไม่ต้องเสียดอกแพงอยู่ตลอด ๆ เวลา เพราะเงินต้นจะลดลงตั้งแต่งวดที่เราเริ่มกลับมาผ่อนชำระปกติ และในระหว่างนั้นเราสามารถเก็บสะสมเงินไปก่อนเพื่อนำมาชำระดอกเบี้ยคงค้างภายหลังได้ ส่วนข้อเสียงวดสุดท้ายจะต้องจ่ายหนักมาก บางคนที่ใช้เงินแบบเดือนชนเดือน หรือมีความจำเป็นทำให้เก็บเงินได้ยาก ก็อาจจะลำบากหน่อยกับการหาเงินก้อนมาจ่ายในงวดสุดท้าย
3. เริ่มเก็บตั้งแต่งวดแรก
ฟังแล้วก็อย่าเพิ่งตกใจว่าจบ COVID-19 แล้วจะหาเงินก้อนมาจากไหนเพื่อจ่ายดอกเบี้ยคงค้าง เพราะวิธีการการเรียกเก็บดอกเบี้ยคงค้างตั้งแต่งวดแรก ส่วนใหญ่ธนาคารจะไม่ค่อยใช้วิธีนี้กัน อธิบายเพิ่มเติมคือดอกเบี้ยคงค้างก้อนนี้ธนาคารจะเรียกเก็บจากเราตั้งแต่งวดแรก (แต่ไม่ได้ให้จ่ายทั้งหมดทั้งก้อนนะ) หลังจากเรากลับมาผ่อนชำระหนี้ตามปกตินั้น หลังขอพักชำระหนี้ไป
ยกตัวอย่างว่าดอกเบี้ยคงค้างของเรานั้นอยู่ที่ 10,000 แต่ปกติแล้วเราผ่อนชำระเดือนละ 6,000 บาท เงิน จำนวน 6,000 บาทที่เราชำระในงวดแรก(หลังจากพักหนี้) จะเป็นการจ่ายหนี้คงค้างทั้งหมด และอีก 4,000 ที่เหลือก็จะถูกนำไปหักอีกครั้งในการชำระหนี้งวดต่อไป เมื่อชำระครบ 10,000 บาทแล้ว จึงจะเข้าลูปการชำระเงินตามปกติค่ะ
ซึ่งข้อเสียของการเรียกเก็บแบบนี้ก็คือ หนี้เราจะหมดช้าลง และยังทำให้ยังเสียดอกเบี้ยแพงในกรณีที่กู้แบบลดต้นลดดอก ทำให้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไหร่ แต่ก็อย่าชะล่าใจ อย่าลืมถามเงื่อนไขกับธนาคารก่อนขอพักหนี้นะคะ
ทั้งหมดนี้คือเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “ดอกเบี้ยคงค้าง” ที่หลาย ๆ คนลืมนึกถึงไปในช่วงนี้ สำหรับใครที่กำลังกลุ้มใจว่าจะจัดการหนี้ในช่วงวิกฤต COVID-19 ยังไง ลองคอมเมนต์พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดกันได้เลยค่ะ
อ่านบทความ "จ่ายดอกเบี้ยคงค้างยังไง หลังพักหนี้" ได้ที่ :
ดอกเบี้ยคงค้างคืออะไร? จ่ายยังไงหลังพักหนี้
จ่ายดอกเบี้ยคงค้างยังไง หลังพักหนี้
1. ถัวเฉลี่ยกับการชำระหนี้รายเดือน
วิธีนี้ “ดอกเบี้ยคงค้าง” จะถูกนำมาถัวเฉลี่ยกับเงินที่เราจ่ายต่อเดือน โดยธนาคารจะนำมาถัวเฉลี่ยเท่าไหร่ หรือกี่เดือน ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของธนาคาร ก่อนขอยื่นพักชำระหนี้ อย่าลืมสอบถามให้ชัดเจนว่าธนาคารจะนำมาถัวเฉลี่ยเท่าไหร่ ใช้เวลากี่เดือน ซึ่งข้อเสียก็คือบางทีการชำระหนี้งวดแรกหลังจากพักหนี้ เงินที่เราเริ่มจ่ายไป อาจจะเป็นดอกเบี้ยทั้งหมด เงินต้นแทบจะไม่ลดเลย ทำให้หนี้หมดช้าลง และยังเสียดอกในอัตราสูงไปอีกหลายเดือน ในกรณีที่เพื่อน ๆ กู้แบบลดต้นลดดอก
2. จ่ายดอกเบี้ยคงค้างงวดสุดท้าย
วิธีนี้ ดอกเบี้ยคงค้างจะถูกเรียกเก็บเป็นก้อนในการผ่อนชำระงวดสุดท้าย วิธีนี้ธนาคารค่อนข้างเป็นที่นิยมในการเรียกเก็บดอกเบี้ยคงค้าง ซึ่งวิธีเรียกเก็บแบบนี้ก็มีข้อดีคือ สำหรับเพื่อน ๆ ที่กู้แบบลดต้นลดดอกจะไม่ต้องเสียดอกแพงอยู่ตลอด ๆ เวลา เพราะเงินต้นจะลดลงตั้งแต่งวดที่เราเริ่มกลับมาผ่อนชำระปกติ และในระหว่างนั้นเราสามารถเก็บสะสมเงินไปก่อนเพื่อนำมาชำระดอกเบี้ยคงค้างภายหลังได้ ส่วนข้อเสียงวดสุดท้ายจะต้องจ่ายหนักมาก บางคนที่ใช้เงินแบบเดือนชนเดือน หรือมีความจำเป็นทำให้เก็บเงินได้ยาก ก็อาจจะลำบากหน่อยกับการหาเงินก้อนมาจ่ายในงวดสุดท้าย
3. เริ่มเก็บตั้งแต่งวดแรก
ฟังแล้วก็อย่าเพิ่งตกใจว่าจบ COVID-19 แล้วจะหาเงินก้อนมาจากไหนเพื่อจ่ายดอกเบี้ยคงค้าง เพราะวิธีการการเรียกเก็บดอกเบี้ยคงค้างตั้งแต่งวดแรก ส่วนใหญ่ธนาคารจะไม่ค่อยใช้วิธีนี้กัน อธิบายเพิ่มเติมคือดอกเบี้ยคงค้างก้อนนี้ธนาคารจะเรียกเก็บจากเราตั้งแต่งวดแรก (แต่ไม่ได้ให้จ่ายทั้งหมดทั้งก้อนนะ) หลังจากเรากลับมาผ่อนชำระหนี้ตามปกตินั้น หลังขอพักชำระหนี้ไป
ยกตัวอย่างว่าดอกเบี้ยคงค้างของเรานั้นอยู่ที่ 10,000 แต่ปกติแล้วเราผ่อนชำระเดือนละ 6,000 บาท เงิน จำนวน 6,000 บาทที่เราชำระในงวดแรก(หลังจากพักหนี้) จะเป็นการจ่ายหนี้คงค้างทั้งหมด และอีก 4,000 ที่เหลือก็จะถูกนำไปหักอีกครั้งในการชำระหนี้งวดต่อไป เมื่อชำระครบ 10,000 บาทแล้ว จึงจะเข้าลูปการชำระเงินตามปกติค่ะ
ซึ่งข้อเสียของการเรียกเก็บแบบนี้ก็คือ หนี้เราจะหมดช้าลง และยังทำให้ยังเสียดอกเบี้ยแพงในกรณีที่กู้แบบลดต้นลดดอก ทำให้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไหร่ แต่ก็อย่าชะล่าใจ อย่าลืมถามเงื่อนไขกับธนาคารก่อนขอพักหนี้นะคะ
ทั้งหมดนี้คือเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “ดอกเบี้ยคงค้าง” ที่หลาย ๆ คนลืมนึกถึงไปในช่วงนี้ สำหรับใครที่กำลังกลุ้มใจว่าจะจัดการหนี้ในช่วงวิกฤต COVID-19 ยังไง ลองคอมเมนต์พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดกันได้เลยค่ะ
อ่านบทความ "จ่ายดอกเบี้ยคงค้างยังไง หลังพักหนี้" ได้ที่ : ดอกเบี้ยคงค้างคืออะไร? จ่ายยังไงหลังพักหนี้