เกริ่นนำ
ในการแปลเกมนั้น มีข้อสังเกตที่น่าสนใจประการหนึ่งว่า บุคคลหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการแปลนั้น จะไม่ได้ใช้คำว่า Translation (แปล)แบบตรงๆ แต่จะใช้คำว่า Localization ซึ่งแปลว่า ‘ปรับให้สอดคล้องกับท้องถิ่น’แทน ทั้งนี้ แนวคิดเรื่อง Localization มีหลักการคร่าวๆอยู่ว่า ลูกค้าในแต่ละตลาดนั้น มีแนวคิด ค่านิยม และพฤติกรรมแตกต่างกัน การปรับเนื้อหาของสินค้าให้สอดคล้องกับลูกค้าในท้องถิ่นนั้น จะทำให้ลูกค้ารู้สึกใกล้ชิด เข้าถึงและชื่นชอบสินค้ามากขึ้น
หากมองในด้านหนึ่ง Localization นั้นมีข้อดีของมันอยู่ ในการแปลสื่อบันเทิงอย่างเช่น หนัง เกม การ์ตูน ละครนั้น มีหลายกรณีทีเดียว ที่ผู้แปลไม่สามารถทำการแปลออกมาให้ตรงตามต้นฉบับได้ เพราะมีข้อจำกัดทางภาษา บริบททางวัฒนธรรม ได้แก่ กรณีที่ต้นฉบับมีการเล่นคำ มีการแซวเหตุบ้านการเมือง หรือมีการนำเสนอโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เป็นต้น ผู้ที่ทำการแปล จึงต้องจำยอมที่จะแปลงสารออกไปบางส่วน เพื่อให้ผู้อ่านได้รับอรรถรสในระดับที่ใกล้เคียงกับคนชาติต้นทางอ่านผลงานต้นฉบับ
อย่างไรก็ดี จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้คลุกคลีกับวงการแปลเกมในระยะหนึ่ง ผมก็พบว่าแนวคิดเรื่อง Localization เองก็ถูกนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการให้ผู้แปลถือวิสาสะนำผลงานต้นฉบับ หรือ ‘เขียนใหม่’ ตามความคิดของตัวเอง อยู่ในหลายกรณีทีเดียว อย่างไรก็ดี พฤติกรรมเหล่านี้กลับถูกปล่อยผ่านไป เพราะผู้เล่นเกมฉบับภาษาอังกฤษส่วนใหญ่นั้น ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่น จึงเป็นการสุดวิสัยที่จะตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวได้
เนื่องจากผมเองมีความรู้ภาษาญี่ปุ่นในระดับที่ฟังและอ่านออกได้พอสมควร พอได้ซื้อ Final Fantasy VII Remake ผมก็ตัดสินใจเล่นโดยตั้งค่าเป็นเสียงญี่ปุ่น ซับญี่ปุ่น และก็สนุกกับเกมมาก พอเล่นเกมจบ (แต่อารมณ์ยังไม่จบ) ผมก็ถือโอกาสไปส่องๆ คลิปวิดิโอ FFVII Remake ตาม Youtube ดู ซึ่งคลิปส่วนหนึ่งจะทำขึ้นมาโดยอิงเนื้อหาภาษาอังกฤษ และก็แม้ FFVII Remake จะเป็นเกมฟอร์มใหญ่ ที่ทางบริษัทต้องหวงและเข้มงวดกับคุณภาพการแปลก็ตาม ผู้แปลฉบับภาษาอังกฤษก็ยังคงถือวิสาสะแปลงสารตามใจตัวเองอยู่หลายจุด ทั้งๆที่ต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้ใช้ศัพท์สูงหรือต้องอาศัยความเข้าใจในวัฒนธรรมญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้ง ถึงจะอินได้แต่อย่างใด
ในโอกาสนี้ ผมจึงขอหยิบยกประเด็นที่ผม รู้สึกตะหงิดๆ กับสำนวนการ Localize เกม FFVII Remake มาเป็นเกร็ดความรู้ให้ผู้อ่านที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นได้อ่านกันครับ เพื่อที่ท่านจะได้ทราบว่า มีอรรถรสอะไรบ้างที่ Lost in Translation (อย่างที่ไม่ควรจะเป็น) ทั้งนี้ เนื้อหาในบางส่วน จะเป็นการ Spoil เนื้อเรื่องอย่างไม่มากก็น้อย ใครที่ยังไม่ได้เล่น หรือเล่นไม่จบก็ระวังด้วยนะครับ
เมื่อฝรั่งแปลไม่ซื่อสัตย์ (ต่อต้นฉบับ) อรรถรสจึงถูกบั่นทอน กับ Final Fantasy VII Remake [Spoil]
ในการแปลเกมนั้น มีข้อสังเกตที่น่าสนใจประการหนึ่งว่า บุคคลหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการแปลนั้น จะไม่ได้ใช้คำว่า Translation (แปล)แบบตรงๆ แต่จะใช้คำว่า Localization ซึ่งแปลว่า ‘ปรับให้สอดคล้องกับท้องถิ่น’แทน ทั้งนี้ แนวคิดเรื่อง Localization มีหลักการคร่าวๆอยู่ว่า ลูกค้าในแต่ละตลาดนั้น มีแนวคิด ค่านิยม และพฤติกรรมแตกต่างกัน การปรับเนื้อหาของสินค้าให้สอดคล้องกับลูกค้าในท้องถิ่นนั้น จะทำให้ลูกค้ารู้สึกใกล้ชิด เข้าถึงและชื่นชอบสินค้ามากขึ้น
หากมองในด้านหนึ่ง Localization นั้นมีข้อดีของมันอยู่ ในการแปลสื่อบันเทิงอย่างเช่น หนัง เกม การ์ตูน ละครนั้น มีหลายกรณีทีเดียว ที่ผู้แปลไม่สามารถทำการแปลออกมาให้ตรงตามต้นฉบับได้ เพราะมีข้อจำกัดทางภาษา บริบททางวัฒนธรรม ได้แก่ กรณีที่ต้นฉบับมีการเล่นคำ มีการแซวเหตุบ้านการเมือง หรือมีการนำเสนอโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เป็นต้น ผู้ที่ทำการแปล จึงต้องจำยอมที่จะแปลงสารออกไปบางส่วน เพื่อให้ผู้อ่านได้รับอรรถรสในระดับที่ใกล้เคียงกับคนชาติต้นทางอ่านผลงานต้นฉบับ
อย่างไรก็ดี จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้คลุกคลีกับวงการแปลเกมในระยะหนึ่ง ผมก็พบว่าแนวคิดเรื่อง Localization เองก็ถูกนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการให้ผู้แปลถือวิสาสะนำผลงานต้นฉบับ หรือ ‘เขียนใหม่’ ตามความคิดของตัวเอง อยู่ในหลายกรณีทีเดียว อย่างไรก็ดี พฤติกรรมเหล่านี้กลับถูกปล่อยผ่านไป เพราะผู้เล่นเกมฉบับภาษาอังกฤษส่วนใหญ่นั้น ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่น จึงเป็นการสุดวิสัยที่จะตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวได้
เนื่องจากผมเองมีความรู้ภาษาญี่ปุ่นในระดับที่ฟังและอ่านออกได้พอสมควร พอได้ซื้อ Final Fantasy VII Remake ผมก็ตัดสินใจเล่นโดยตั้งค่าเป็นเสียงญี่ปุ่น ซับญี่ปุ่น และก็สนุกกับเกมมาก พอเล่นเกมจบ (แต่อารมณ์ยังไม่จบ) ผมก็ถือโอกาสไปส่องๆ คลิปวิดิโอ FFVII Remake ตาม Youtube ดู ซึ่งคลิปส่วนหนึ่งจะทำขึ้นมาโดยอิงเนื้อหาภาษาอังกฤษ และก็แม้ FFVII Remake จะเป็นเกมฟอร์มใหญ่ ที่ทางบริษัทต้องหวงและเข้มงวดกับคุณภาพการแปลก็ตาม ผู้แปลฉบับภาษาอังกฤษก็ยังคงถือวิสาสะแปลงสารตามใจตัวเองอยู่หลายจุด ทั้งๆที่ต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้ใช้ศัพท์สูงหรือต้องอาศัยความเข้าใจในวัฒนธรรมญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้ง ถึงจะอินได้แต่อย่างใด
ในโอกาสนี้ ผมจึงขอหยิบยกประเด็นที่ผม รู้สึกตะหงิดๆ กับสำนวนการ Localize เกม FFVII Remake มาเป็นเกร็ดความรู้ให้ผู้อ่านที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นได้อ่านกันครับ เพื่อที่ท่านจะได้ทราบว่า มีอรรถรสอะไรบ้างที่ Lost in Translation (อย่างที่ไม่ควรจะเป็น) ทั้งนี้ เนื้อหาในบางส่วน จะเป็นการ Spoil เนื้อเรื่องอย่างไม่มากก็น้อย ใครที่ยังไม่ได้เล่น หรือเล่นไม่จบก็ระวังด้วยนะครับ