เจ้าสัวซีพี เลือก 4 จังหวัด นำร่องโมเดล "เกษตรผสมผสาน" สร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ไทย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้"ธนินท์" เตรียมทำโครงการ เกษตรผสมผสานในยุค 4.0 เตรียมเลือก 4 จังหวัดนำร่อง ทำเป็นโมเดลต้นแบบแนวคิด “3 ประโยชน์ 4 ประสาน” ปูรากฐานเศรษฐกิจไทย ยั่งยืน
หลังจาก นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ส่งจดหมายถึง 20 มหาเศรษฐีไทย ร่วมช่วยชาติฝ่าวิกฤตโควิด-19 โดย นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้ตอบจดหมายพร้อมเสนอแนวคิดที่เป็นรูปธรรมหลายเรื่องต่อนายกรัฐมนตรี
โดยมีโครงการที่ซีพีจะทำและเป็นที่น่าสนใจอย่างมาก คือ เกษตรผสมผสานในยุค 4.0 โดยจะทำโครงการต้นแบบแนวคิด “3 ประโยชน์ 4 ประสาน” ที่ซีพีได้ทำจริงมีประสบการณ์มาแล้ว พร้อมเลือก 4 จังหวัดของไทยนำร่อง ทำเป็นโมเดลต้นแบบ เพื่อยกระดับเกษตรกร ให้มีรายได้สูงอย่างยั่งยืน
สำหรับรายละเอียดในจดหมาย ระบุว่า นายธนินท์ เตรียมจะนำโมเดล "3 ประโยชน์ 4 ประสาน" ที่ทำสำเร็จมาแล้ว เป็นรูปแบความร่วมมือ 4 ฝ่าย คือ "รัฐบาล-เอกชน-สถาบันการเงิน และเกษตรกร" เพื่อรองรับการพัฒนาเกษตรกรรมทันสมัย ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ 3 ประการ คือ ประโยชน์ต่อประเทศ ต่อประชาชน และสุดท้ายเป็นประโยชน์ต่อองค์กร
โดยโครงการที่จะดำเนินการในประเทศไทย ที่เสนอในจดหมายตอบนายก ถือเป็นโครงการพิเศษที่เข้ามาฟื้นฟูเกษตรกรจากพิษเศรษฐกิจโรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรไทย เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน โดยใช้เทคโนโลยียุคเกษตร 4.0
นายธนินท์ ระบุรายละเอียดโครงการฯ ว่า "เกษตรที่งอกจากแผ่นดินไทย บนดิน ผมเรียกว่าน้ำมันบนดิน สินค้าเกษตรน่าจะมีความสำคัญยิ่งกว่าน้ำมัน เพราะสินค้าเกษตรเลี้ยงชีวิตมนุษย์ แต่น้ำมันเลี้ยงชีวิตเครื่องจักร แล้วใครสำคัญกว่ากัน นี่เป็นทรัพย์สมบัติของชาติยิ่งกว่าน้ำมัน”
-----------------------------------------------------------
ต้นแบบโครงการฯ จาก “หนองหว้า” ของไทย ถึง “ผิงกู่” ของจีน ต้นแบบจาก “ศาสตร์พระราชา” พัฒนาสังคมโลก
โครงการ “ไก่ไข่ครบวงจร 3 ล้านตัวผิงกู่-เครือซีพี” ที่หมู่บ้านซีฟานเกอจวง (Xifan Gezhuang) ตำบลยู่โค (Yukou) เขตผิงกู่ (Pinggu) ประเทศจีน ที่ เครือซีพี โดยประธานอาวุโส ธนินท์ เจียรวนนท์ ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2555 จนปัจจุบัน สามารถตอบโจทย์ความต้องการของรัฐบาลจีน ทั้งในแง่รายได้ที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกร อาหารปลอดภัย และรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นต้นแบบการพัฒนาชุมชนในประเทศจีนด้วย “ศาสตร์พระราชา” ตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี และ “โมเดล 4 ประสาน” ผนึกความร่วมมือระหว่างผู้เกี่ยวข้อง 4 ฝ่ายให้ได้ประโยชน์ร่วมกัน ระหว่าง รัฐบาล, เกษตรกร, สถาบันการเงิน และเอกชน
ความสำเร็จนี้ ไม่เพียงเป็นต้นแบบให้นานาประเทศมาขอศึกษาดูงาน แต่ยังเป็นรายงานกรณีศึกษาหลายฉบับของ Harvard Business School หรือ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ตั้งแต่ปี 2535 ในประเด็นบทบาทของภาคเอกชนที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคเกษตร โดยเมื่อปี 2560 คณะบริหารธุรกิจฯ ได้เชิญ “ธนินท์” กับผู้บริหารเครือซีพีไปบรรยายให้นักศึกษาฟังเกี่ยวกับโครงการผิงกู่ ในหัวข้อ “Rapid Development of China & CP Group’s Strategy”
หากย้อนกลับไปถึงวันแรกที่ซีพีเริ่มลงทุนในโครงการผิงกู่ ประเทศจีนเมื่อปี 2521 ตามนโยบายเปิดประเทศของ เติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นำจีนครั้งกระนั้น ซึ่งได้ชวน “ธนินท์” ให้ช่วยเสนอแนวคิดและสร้างสรรค์โครงการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่เพื่อสร้าง “ชิงหนงซุน (Xing Nong Cun)” หรือ “หมู่บ้านเกษตรกรรมทันสมัย” หรือ “หมู่บ้านใหม่ (New Village)”
โครงการหมู่บ้านเกตรกรรมหนองหว้า จ.ฉะเชิงเทรา
เวลานั้น “ธนินท์” เพิ่งเริ่มดำเนินงาน “หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า” ที่หมู่บ้านหนองหว้า ตำบลบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามโครงการปฏิรูปที่ดินของภาครัฐเพื่อการเกษตรกรรมเมื่อปี 2518 ซึ่งใช้ “ศาสตร์พระราชา” นำทาง นั่นคือ ปฏิรูปเพื่อ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและให้คนอยู่ดีกินดีมีความสุขตามสภาพภูมิศาสตร์ ความเชื่อทางศาสนา เชื้อชาติและภูมิหลังทางเศรษฐกิจ-สังคม
โครงการนี้จึงไม่ใช่การนำที่ดินมาแจกเกษตรกร แต่เป็นการปฏิรูปปรับปรุงที่ดิน เพื่อให้เกษตรกรสามารถสร้างผลผลิตและมีรายได้เลี้ยงตัวอย่างต่อเนื่อง
ห้วงเวลานั้น พื้นที่โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้ากว่าพันไร่ ล้วนเป็นดินทรายเสื่อมโทรม ชาวบ้านประทังชีวิตด้วยการปลูกมันสำปะหลังซึ่งรอเพียงฝนจากฟ้าช่วยให้เติบโต ไม่สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นที่จะสร้างรายได้ให้มากกว่า
“ธนินท์” เสนอวิธีดำเนินงานโครงการฯ ในรูป 4 ประสาน เพื่อพัฒนาการเกษตรครบวงจรโดยซีพีดำเนินการให้ตั้งแต่เรื่องเทคโนโลยีการผลิต ไปจนถึงการบริหารจัดการด้านการตลาด และกำไร
เริ่มจากประสานงานกับส่วนราชการอำเภอพนมสารคาร รวบรวมที่ดินแห้งแล้ง 1,253 ไร่มาพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน แล้วคัดเลือกเกษตรกร 50 รายซึ่งยินดีขายที่ดินให้โครงการ หรือไม่มีที่ดินของตนเองเข้าร่วมโครงการ จากนั้น นำรายชื่อเกษตรกร 50 ราย ซึ่งลำพังแต่ละคนไม่สามารถกู้เงินธนาคารได้เพราะขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน ไปกู้เงินจากธนาคารกรุงเทพจำนวน 18 ล้านบาท โดยมีเครือซีพีเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าวนำมาใช้จ่ายเป็นค่าที่ดิน ค่าสร้างบ้านพักสำหรับครอบครัวเกษตรกร ค่าสร้างโรงเรือนเลี้ยงสุกร ค่าระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ในโครงการ และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการเลี้ยงหมู เกษตรกรทั้ง 50 คน ได้รับที่ดินจัดสรรคนละ 24 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่โรงเรือนเลี้ยงหมูและบ้านพัก 4 ไร่ เป็นสวนเกษตร 20 ไร่ เครือซีพีนำหมูแม่พันธ์ 30 ตัวและหมูพ่อพันธ์ 2 ตัวมาให้เกษตรกรเลี้ยงเพื่อผลิตลูกหมูคุณภาพ ที่จะนำมาขายคืนให้แก่โครงการฯ เมื่ออายุได้ 8 สัปดาห์ในราคาประกันตัวละไม่ต่ำกว่า 70 บาท ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่จะมีผลผลิตเป็นลูกหมูคุณภาพอย่างน้อยปีละ 480 ตัว ในระยะแรก เกษตรกรมีรายได้จากการขายหมู ประมาณเดือนละ 2-3 พันบาท แม้ไม่ใช่รายได้ที่สูงมาก แต่หากเทียบกับความเป็นอยู่ก่อนหน้านี้ ต้องนับว่าเป็นทางเลือกที่ดีกว่ามากหมูจากโครงการฯ เป็นต้นน้ำของผลิตภัณฑ์หมูเกรดพรีเมียมของเครือซีพี ที่ส่งขายในห้างใหญ่และทั่วโลก
นอกจากนั้น เกษตรกรยังมีอาชีพเสริมเป็นการทำสวน เช่น สวนมะม่วง หรือเพาะเห็ดขาย ภายในเวลา 10 ปี กลุ่มเกษตรกรทั้ง 50 คนสามารถปลดหนี้สำเร็จ แต่ละคนได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 24 ไร่ซึ่งรวมถึงบ้านพัก และโรงเรือนเลี้ยงหมูโดยสมบูรณ์
จากนั้น เครือซีพี จึงถอนตัวจากการบริหาร ส่วนเกษตรกรก็รวมตัวกันเป็น “นิติบุคคล” จัดตั้งบริษัท “หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า” จำกัด ร่วมกันถือหุ้นคนละ 200 หุ้น ในราคาพาร์หุ้นละ 100 บาท ตั้งเป้าหมายว่า บริษัทต้องอยู่ได้และสมาชิกเกษตรกรต้องอยู่ดี กินดี
ภักดี ไทยสยาม ประธานกรรมการบริษัทหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้าคนปัจจุบัน ผู้ได้รับตำแหน่งต่อเนื่องหลายสมัยจากการเลือกตั้ง กล่าวว่า ปัจจุบัน บริษัทหมู่บ้านฯ ยังคงสั่งซื้อพันธุ์หมู อาหารหมู ยา และวัคซีนป้องกันโรคจากเครือซีพีมาขายให้เกษตรกร พร้อมกับรับซื้อลูกหมูจากเกษตรกรในราคาประกันหรือสูงกว่าแล้วขายกลับคืนให้เครือซีพีส่วนหนึ่ง ขายให้ลูกค้าทั่วไปส่วนหนึ่ง ซึ่งในแง่นี้ถือว่าบริษัทเป็นตัวแทนเกษตรกรรายย่อย ถ้าไม่มีบริษัทฯและไม่มีเครือซีพี เกษตรกรรายย่อยก็ค้าขายลำบาก
“โครงการนี้สำเร็จได้เพราะความร่วมมือของเกษตรกรทุกคน ที่ช่วยกันพลิกฟื้นผืนดิน นำมูลหมูมาใช้ปรับปรุงบำรุงดิน จนดินที่ปลูกอะไรไม่ขึ้นกลายเป็นผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ หว่านเมล็ดพันธ์อะไรลงไปก็งอกงาม เดี๋ยวนี้ ในพื้นที่ส่วนกลางเรามีกระทั่งป่านิเวศและสวนสมุนไพรซึ่งกำลังจะพัฒนาต่อไปในแง่ธุรกิจของบริษัท” ภักดีกล่าว
สำหรับเกษตรกรที่เคยร่วมโครงการมาตั้งแต่ต้น มีเพียง 5 รายที่ขายทรัพย์สินให้คนนอกแล้วย้ายออกไปทำอาชีพอื่น แต่หลายรายยังคงมุ่งพัฒนาฟาร์มหมูและทำอาชีพเสริมอื่นเช่นทำสวนมะม่วง หรือ เลี้ยงไก่ชน และบางรายก็ยังคงอยู่ในชุมชนแต่เลิกเลี้ยงหมูแล้วหันมาทำสวนเป็นอาชีพหลัก เช่น สวนยางนาเป็นต้น โดยเกษตรกรแต่ละคนมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 80,000 บาทต่อเดือน
“เราเชื่อว่าทุกคนต้องมีหลายอาชีพ ทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริมเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคง” ภักดีกล่าว
ภักดี เผยว่า ปัจจุบันหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้าเป็นหมู่บ้านของชาวชุมชนที่บริหารโดยชาวชุมชนเพื่อชาวชุมชนอย่างแท้จริง โดยนอกจากเป็นชุมชนต้นแบบให้ผู้สนใจสามารถติดต่อเข้ามาเรียนรู้เพื่อการพัฒนาแล้ว ยังเป็นหมู่บ้านตัวอย่างซึ่งเคยได้รางวัล 5 ส สะสาง สะดวก สะอาด สร้างมาตรฐาน สร้างวินัยระดับประเทศ จากงานประกวดของสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) เมื่อปี พ.ศ. 2555
สำหรับการอยู่ร่วมกันในหมู่บ้าน มีกฎสำคัญคือ ต้องอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลและคำนึงถึงส่วนรวม โดยบทลงโทษสำหรับสมาชิกที่ทำผิดซึ่งชาวบ้านร่วมกันคิด เช่น ไม่จ่ายค่าทดแทนหมูในกรณีที่หมูบ้านนั้นติดโรคระบาด หรือขั้นร้ายแรงคือเลิกสัญญาซื้อขายกับสมาชิกรายนั้นจนกว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไข
จาก 40 ปีก่อนที่เกษตรกรบ้านหนองหว้า อยู่ในสภาวะยากไร้มองไม่เห็นอนาคต ไม่มีทั้งสินทรัพย์และความรู้ ปัจจุบัน ลูกๆของทุกครอบครัวจบการศึกษาอย่างต่ำระดับปริญญาตรี เฉพาะลูกของภักดีเอง ก็จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตและตั้งใจจะกลับมาใช้ชีวิตที่ชุมชนนี้
นี่คือแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรไทยจากความอดอยากยากแค้น สู่ความกินดีอยู่ดีอย่างยั่งยืน ที่”ธนินท์”และเครือซีพีทำมายาวนานหลายทศวรรษตามแนวทาง “ศาสตร์พระราชา” แล้วนำไปต่อยอดจนมีชื่อเสียงระดับโลกกับโครงการ “ไก่ไข่ครบวงจร 3 ล้านตัวผิงกู่-เครือซีพี”
--------------------------------------------------------
ขอบคุณข้อมูลจาก thaipublica และ Post today
"ธนินท์" เตรียมทำโครงการ เกษตรผสมผสานในยุค 4.0 เลือก 4 จังหวัดนำร่อง ยุทธศาสตร์จดหมายน้อยลุงตู่
โดยมีโครงการที่ซีพีจะทำและเป็นที่น่าสนใจอย่างมาก คือ เกษตรผสมผสานในยุค 4.0 โดยจะทำโครงการต้นแบบแนวคิด “3 ประโยชน์ 4 ประสาน” ที่ซีพีได้ทำจริงมีประสบการณ์มาแล้ว พร้อมเลือก 4 จังหวัดของไทยนำร่อง ทำเป็นโมเดลต้นแบบ เพื่อยกระดับเกษตรกร ให้มีรายได้สูงอย่างยั่งยืน
สำหรับรายละเอียดในจดหมาย ระบุว่า นายธนินท์ เตรียมจะนำโมเดล "3 ประโยชน์ 4 ประสาน" ที่ทำสำเร็จมาแล้ว เป็นรูปแบความร่วมมือ 4 ฝ่าย คือ "รัฐบาล-เอกชน-สถาบันการเงิน และเกษตรกร" เพื่อรองรับการพัฒนาเกษตรกรรมทันสมัย ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ 3 ประการ คือ ประโยชน์ต่อประเทศ ต่อประชาชน และสุดท้ายเป็นประโยชน์ต่อองค์กร
โดยโครงการที่จะดำเนินการในประเทศไทย ที่เสนอในจดหมายตอบนายก ถือเป็นโครงการพิเศษที่เข้ามาฟื้นฟูเกษตรกรจากพิษเศรษฐกิจโรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรไทย เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน โดยใช้เทคโนโลยียุคเกษตร 4.0
นายธนินท์ ระบุรายละเอียดโครงการฯ ว่า "เกษตรที่งอกจากแผ่นดินไทย บนดิน ผมเรียกว่าน้ำมันบนดิน สินค้าเกษตรน่าจะมีความสำคัญยิ่งกว่าน้ำมัน เพราะสินค้าเกษตรเลี้ยงชีวิตมนุษย์ แต่น้ำมันเลี้ยงชีวิตเครื่องจักร แล้วใครสำคัญกว่ากัน นี่เป็นทรัพย์สมบัติของชาติยิ่งกว่าน้ำมัน”
ความสำเร็จนี้ ไม่เพียงเป็นต้นแบบให้นานาประเทศมาขอศึกษาดูงาน แต่ยังเป็นรายงานกรณีศึกษาหลายฉบับของ Harvard Business School หรือ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ตั้งแต่ปี 2535 ในประเด็นบทบาทของภาคเอกชนที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคเกษตร โดยเมื่อปี 2560 คณะบริหารธุรกิจฯ ได้เชิญ “ธนินท์” กับผู้บริหารเครือซีพีไปบรรยายให้นักศึกษาฟังเกี่ยวกับโครงการผิงกู่ ในหัวข้อ “Rapid Development of China & CP Group’s Strategy”
หากย้อนกลับไปถึงวันแรกที่ซีพีเริ่มลงทุนในโครงการผิงกู่ ประเทศจีนเมื่อปี 2521 ตามนโยบายเปิดประเทศของ เติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นำจีนครั้งกระนั้น ซึ่งได้ชวน “ธนินท์” ให้ช่วยเสนอแนวคิดและสร้างสรรค์โครงการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่เพื่อสร้าง “ชิงหนงซุน (Xing Nong Cun)” หรือ “หมู่บ้านเกษตรกรรมทันสมัย” หรือ “หมู่บ้านใหม่ (New Village)”
โครงการนี้จึงไม่ใช่การนำที่ดินมาแจกเกษตรกร แต่เป็นการปฏิรูปปรับปรุงที่ดิน เพื่อให้เกษตรกรสามารถสร้างผลผลิตและมีรายได้เลี้ยงตัวอย่างต่อเนื่อง
ห้วงเวลานั้น พื้นที่โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้ากว่าพันไร่ ล้วนเป็นดินทรายเสื่อมโทรม ชาวบ้านประทังชีวิตด้วยการปลูกมันสำปะหลังซึ่งรอเพียงฝนจากฟ้าช่วยให้เติบโต ไม่สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นที่จะสร้างรายได้ให้มากกว่า
“ธนินท์” เสนอวิธีดำเนินงานโครงการฯ ในรูป 4 ประสาน เพื่อพัฒนาการเกษตรครบวงจรโดยซีพีดำเนินการให้ตั้งแต่เรื่องเทคโนโลยีการผลิต ไปจนถึงการบริหารจัดการด้านการตลาด และกำไร
เริ่มจากประสานงานกับส่วนราชการอำเภอพนมสารคาร รวบรวมที่ดินแห้งแล้ง 1,253 ไร่มาพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน แล้วคัดเลือกเกษตรกร 50 รายซึ่งยินดีขายที่ดินให้โครงการ หรือไม่มีที่ดินของตนเองเข้าร่วมโครงการ จากนั้น นำรายชื่อเกษตรกร 50 ราย ซึ่งลำพังแต่ละคนไม่สามารถกู้เงินธนาคารได้เพราะขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน ไปกู้เงินจากธนาคารกรุงเทพจำนวน 18 ล้านบาท โดยมีเครือซีพีเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าวนำมาใช้จ่ายเป็นค่าที่ดิน ค่าสร้างบ้านพักสำหรับครอบครัวเกษตรกร ค่าสร้างโรงเรือนเลี้ยงสุกร ค่าระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ในโครงการ และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการเลี้ยงหมู เกษตรกรทั้ง 50 คน ได้รับที่ดินจัดสรรคนละ 24 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่โรงเรือนเลี้ยงหมูและบ้านพัก 4 ไร่ เป็นสวนเกษตร 20 ไร่ เครือซีพีนำหมูแม่พันธ์ 30 ตัวและหมูพ่อพันธ์ 2 ตัวมาให้เกษตรกรเลี้ยงเพื่อผลิตลูกหมูคุณภาพ ที่จะนำมาขายคืนให้แก่โครงการฯ เมื่ออายุได้ 8 สัปดาห์ในราคาประกันตัวละไม่ต่ำกว่า 70 บาท ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่จะมีผลผลิตเป็นลูกหมูคุณภาพอย่างน้อยปีละ 480 ตัว ในระยะแรก เกษตรกรมีรายได้จากการขายหมู ประมาณเดือนละ 2-3 พันบาท แม้ไม่ใช่รายได้ที่สูงมาก แต่หากเทียบกับความเป็นอยู่ก่อนหน้านี้ ต้องนับว่าเป็นทางเลือกที่ดีกว่ามากหมูจากโครงการฯ เป็นต้นน้ำของผลิตภัณฑ์หมูเกรดพรีเมียมของเครือซีพี ที่ส่งขายในห้างใหญ่และทั่วโลก
นอกจากนั้น เกษตรกรยังมีอาชีพเสริมเป็นการทำสวน เช่น สวนมะม่วง หรือเพาะเห็ดขาย ภายในเวลา 10 ปี กลุ่มเกษตรกรทั้ง 50 คนสามารถปลดหนี้สำเร็จ แต่ละคนได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 24 ไร่ซึ่งรวมถึงบ้านพัก และโรงเรือนเลี้ยงหมูโดยสมบูรณ์
จากนั้น เครือซีพี จึงถอนตัวจากการบริหาร ส่วนเกษตรกรก็รวมตัวกันเป็น “นิติบุคคล” จัดตั้งบริษัท “หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า” จำกัด ร่วมกันถือหุ้นคนละ 200 หุ้น ในราคาพาร์หุ้นละ 100 บาท ตั้งเป้าหมายว่า บริษัทต้องอยู่ได้และสมาชิกเกษตรกรต้องอยู่ดี กินดี
ภักดี ไทยสยาม ประธานกรรมการบริษัทหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้าคนปัจจุบัน ผู้ได้รับตำแหน่งต่อเนื่องหลายสมัยจากการเลือกตั้ง กล่าวว่า ปัจจุบัน บริษัทหมู่บ้านฯ ยังคงสั่งซื้อพันธุ์หมู อาหารหมู ยา และวัคซีนป้องกันโรคจากเครือซีพีมาขายให้เกษตรกร พร้อมกับรับซื้อลูกหมูจากเกษตรกรในราคาประกันหรือสูงกว่าแล้วขายกลับคืนให้เครือซีพีส่วนหนึ่ง ขายให้ลูกค้าทั่วไปส่วนหนึ่ง ซึ่งในแง่นี้ถือว่าบริษัทเป็นตัวแทนเกษตรกรรายย่อย ถ้าไม่มีบริษัทฯและไม่มีเครือซีพี เกษตรกรรายย่อยก็ค้าขายลำบาก
“โครงการนี้สำเร็จได้เพราะความร่วมมือของเกษตรกรทุกคน ที่ช่วยกันพลิกฟื้นผืนดิน นำมูลหมูมาใช้ปรับปรุงบำรุงดิน จนดินที่ปลูกอะไรไม่ขึ้นกลายเป็นผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ หว่านเมล็ดพันธ์อะไรลงไปก็งอกงาม เดี๋ยวนี้ ในพื้นที่ส่วนกลางเรามีกระทั่งป่านิเวศและสวนสมุนไพรซึ่งกำลังจะพัฒนาต่อไปในแง่ธุรกิจของบริษัท” ภักดีกล่าว
สำหรับเกษตรกรที่เคยร่วมโครงการมาตั้งแต่ต้น มีเพียง 5 รายที่ขายทรัพย์สินให้คนนอกแล้วย้ายออกไปทำอาชีพอื่น แต่หลายรายยังคงมุ่งพัฒนาฟาร์มหมูและทำอาชีพเสริมอื่นเช่นทำสวนมะม่วง หรือ เลี้ยงไก่ชน และบางรายก็ยังคงอยู่ในชุมชนแต่เลิกเลี้ยงหมูแล้วหันมาทำสวนเป็นอาชีพหลัก เช่น สวนยางนาเป็นต้น โดยเกษตรกรแต่ละคนมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 80,000 บาทต่อเดือน
ภักดี เผยว่า ปัจจุบันหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้าเป็นหมู่บ้านของชาวชุมชนที่บริหารโดยชาวชุมชนเพื่อชาวชุมชนอย่างแท้จริง โดยนอกจากเป็นชุมชนต้นแบบให้ผู้สนใจสามารถติดต่อเข้ามาเรียนรู้เพื่อการพัฒนาแล้ว ยังเป็นหมู่บ้านตัวอย่างซึ่งเคยได้รางวัล 5 ส สะสาง สะดวก สะอาด สร้างมาตรฐาน สร้างวินัยระดับประเทศ จากงานประกวดของสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) เมื่อปี พ.ศ. 2555
สำหรับการอยู่ร่วมกันในหมู่บ้าน มีกฎสำคัญคือ ต้องอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลและคำนึงถึงส่วนรวม โดยบทลงโทษสำหรับสมาชิกที่ทำผิดซึ่งชาวบ้านร่วมกันคิด เช่น ไม่จ่ายค่าทดแทนหมูในกรณีที่หมูบ้านนั้นติดโรคระบาด หรือขั้นร้ายแรงคือเลิกสัญญาซื้อขายกับสมาชิกรายนั้นจนกว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไข
จาก 40 ปีก่อนที่เกษตรกรบ้านหนองหว้า อยู่ในสภาวะยากไร้มองไม่เห็นอนาคต ไม่มีทั้งสินทรัพย์และความรู้ ปัจจุบัน ลูกๆของทุกครอบครัวจบการศึกษาอย่างต่ำระดับปริญญาตรี เฉพาะลูกของภักดีเอง ก็จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตและตั้งใจจะกลับมาใช้ชีวิตที่ชุมชนนี้
นี่คือแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรไทยจากความอดอยากยากแค้น สู่ความกินดีอยู่ดีอย่างยั่งยืน ที่”ธนินท์”และเครือซีพีทำมายาวนานหลายทศวรรษตามแนวทาง “ศาสตร์พระราชา” แล้วนำไปต่อยอดจนมีชื่อเสียงระดับโลกกับโครงการ “ไก่ไข่ครบวงจร 3 ล้านตัวผิงกู่-เครือซีพี”