ทริปทดสอบขับขี่ทางไกล “Yamaha AEROX 155”
สปอร์ตเมติกที่ “ครบเครื่อง” พร้อมตอบสนองทุกการขับขี่!!!
ช่วง “โควิด-19” นี้ ทำให้กิจกรรมหลายๆ อย่าง ต้องหยุดชะงัก!!! รวมถึงทริปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทริปท่องเที่ยว ทริปขับขี่ทดสอบทางไกล...วันนี้เลยเอาทริปเก่าๆ มาปัดฝุ่นมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านคลายเหงากันไปพรางๆ ก่อน!!!
สำหรับทริปที่เอามานี้ เป็นทริปการขับขี่ทดสอบ
Yamaha AEROX 155 ออโตเมติกสายพันธุ์สปอร์ต ซึ่งเป็น
“ทริปทางไกล” ที่จัดขึ้นเพื่อพิสูจน์สมรรถนะของ
AEROX 155 ว่าจะทำได้ดีขนาดไหน?? โดยครั้งนั้นเราขับขี่
Yamaha AEROX 155 สตาร์ทจากตัวเมืองอุบลราชธานีมุ่งหน้าสู่
“สามพันโบก” รอยต่อเขตชายแดนไทย-ลาว ที่ติดริมแม่น้ำโขง
รวมระยะทางไป-กลับกว่า 250 กม. เพื่อพิสูจน์สมรรถนะของขุมพลังเครื่องยนต์ 155 ซีซี. ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี Blue Core ว่าจะสามารถรับมือกับการเดินทางไกลแบบต่อเนื่องได้ดีเพียงใด รวมถึงสมรรถนะของระบบช่วงล่างที่ต้องเจอกับสภาพผิวถนนที่หลากหลายและสภาพอากาศที่ร้อนระอุจะยังตอบสนองต่อการขับขี่ได้ดีอยู่หรือไม่ และผู้ขับขี่จะมีอาการอย่างไรเมื่อต้องขับขี่อยู่บนสปอร์ตเมติกรุ่นนี้เป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง

โดยหลังจากรับ
Yamaha AEROX 155 ที่ร้านผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ยามาฮ่าใน จ.อุบลฯ ในช่วงเวลาประมาณ 08.00 น. เราก็ออกเดินทางทันที พร้อมแวะเติมน้ำมันเต็มถังก่อนเดินทางมุ่งหน้าสู่จุดหมายปลายทาง ซึ่งในช่วงเริ่มต้นของทริปการขับขี่เป็นแบบเบาๆ ด้วยความเร็วประมาณ 80 กม./ชม. ก่อนจะขยับขึ้นมายืนพื้นความเร็วอยู่ที่ 100 กม./ชม. ซึ่งความเร็วระดับนี้ถือว่ายังสบายๆ และยังมีคันเร่งเหลือในมือให้เราสามารถกดเพิ่มความเร็วกันได้อีก...

ในช่วงนี้เรารู้สึกว่าเครื่องยนต์ยังคงทำงานได้อย่างราบลื่น ตอบสนองการทำงานต่อการบิดคันเร่งได้ทันใจ ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แม้แต่น้อย อีกทั้งรอบการทำงานของเครื่องยนต์ที่สูงกว่า 6,000 รอบ ส่งผลทำให้ระบบวาล์วแปรผัน
VVA เปิดทำงานแล้วนั้น ทำให้การกดคันเร่งในจังหวะแซงหรือต้องการเพิ่มความเร็ว เครื่องยนต์ก็ปล่อยแรงม้าตอบสนองต่อจังหวะการบิดคันเร่งได้อย่างรวดเร็วทันใจ ทำให้เราพุ่งทะยานไปข้างหน้าแบบเร้าใจกันเลยทีเดียว
นอกจากเส้นทางที่เราเลือกใช้เดินทางจะมีช่วงทางตรงยาวๆ ให้แช่คันเร่งเพื่อเค้นสมรรถนะของเครื่องยนต์แบบต่อเนื่องแล้ว สภาพพื้นผิวถนนที่แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นถนนลาดยางอย่างดี แต่ก็มีบางช่วงที่เป็นเส้นทางลัดเลาะไปตามท้องทุ่งซึ่งพื้นถนนเป็นลักษณะคล้ายๆ พื้นลาดยางชำรุดที่มีทั้งขรุขระและหลุมบ่อเล็กๆ เป็นช่วงๆ เราจึงถือโอกาส “รูด”
AEROX 155 ซะเลย เพื่อทดสอบช่วงล่างไปในตัว ซึ่งเส้นทางแบบนี้เราเจออยู่ประมาณ 10 กม. ต่อเนื่อง แต่โช้คอัพหน้า-หลังของสปอร์ตออโตเมติกรุ่นนี้กลับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะต้องทำงานอย่างหนักแบบต่อเนื่องในสภาพอากาศที่ร้อนระอุ ไม่มีอาการย้วยที่ยวบยาบเสียการทรงตัว ช่วงล่างสามารถซับแรงสั่นสะเทือนและยึดเกาะถนนได้อย่างมั่นคง และด้วยหน้ายางขนาดใหญ่ (ยางหน้า 110/80 ยางหลัง 140/70) ทำให้เรารู้สึกมั่นใจที่จะใช้ความเร็วได้ในสภาพเส้นทางแบบนี้

เราใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง ก็ถึงจุดหมาย
“สามพันโบก” ในสภาพร่างกายที่ยังเต็มไปด้วยความสดชื่น ไม่มีอาการเมื่อยล้าจากการเดินทางไกลแบบต่อเนื่องมากับ
AEROX 155 โดยเรายังสามารถที่จะลงไปชื่นชมกับความมหัศจรรย์แก่งหินที่น่าตื่นตาตื่นใจได้อีกด้วย ซึ่งแม้ในยามหน้าแล้งแก่งหินที่สามพันโบกแห่งนี้ก็เผยให้เห็นถึงอีกหนึ่งมุมมองของแม่น้ำโขงในยามเหือดแห้งเช่นนี้ เราเพลิดเพลินอยู่กับการถ่ายรูปคู่กับความมหัศรรย์แห่งนี้ พร้อมกับพา
AEROX 155 ลุยไปบนพื้นลานหินและกรวดทรายอย่างสนุกสนานกันอยู่พักใหญ่ ก่อนที่จะกลับขึ้นไปทานอาหารกลางวันก่อนที่จะเดินทางกลับสู่ตัวเมืองอุบลฯ

สำหรับเส้นทางในช่วงขากลับนี้ เราเลือกเส้นทางสายหลักในการเดินทางสู่ตัวเมืองอุบลฯ ที่แม้จะมีระยะทางเพิ่มขึ้นจากขามาอีกเกือบๆ 50 กม. และในช่วงแรกๆ จะต้องเจอกับสภาพพื้นผิวถนนลาดยางที่เหมือนจะเสื่อมสภาพเป็นระยะทางราวๆ 30 กม. แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับเราและ
AEROX 155 โดยก่อนที่จะยิงยาวเราเติมน้ำมันเต็มถังอีกครั้ง จากนั้นเราก็กดหมดปลอกมิดคันเร่งเพื่อเค้นสมรรถนะเครื่องยนต์กันแบบเต็มที่ท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุอุณหภูมิอยู่ที่ราวๆ 40 องศา ลากยาวๆ แบบต่อเนื่องกว่า 120 กม. ซึ่งเครื่องยนต์ก็ยังคงทำงานได้อย่างราบลื่นเป็นปกติ รอบเครื่องยนต์ไม่มีตก ยังคงระเบิดพลังออกมาให้เราพุ่งทะยานไปได้อย่างเร้าใจเช่นเดิม โดยท๊อปสปีดแบบนั่งขี่โดยไม่หมอบเราทำได้อยู่ที่แถวๆ 110 กม./ชม. แต่เมื่อหมอบสุดความเร็วจะค่อยๆ ไหลเพิ่มขึ้นและขึ้นมาแตะอยู่ที่ 120 กม./ชม. ได้ในที่สุด และก่อนที่จะถึงจุดหมายซักประมาณ 20 กม. เราเติมน้ำมันอีกหนึ่งครั้ง ก่อนนำรถทดสอบส่งคืนที่ร้านผู้จำหน่ายด้วยระยะทางรวมกว่า 250 กม.

โดยหลังจากจบทริปนี้แล้ว...ด้วยการเดินทางที่ถือว่าค่อนข้างโหดและหนักแบบต่อเนื่อง ทำให้เราได้เห็นว่าสมรรถนะเครื่องยนต์155 ซีซี. ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี Blue Core รวมถึงระบบช่วงล่าง และความสบายในการเดินทางไกลของสปอร์ตออโตเมติกรุ่นนี้ “สอบผ่าน” ได้อย่างสบายไร้ข้อกังขา...ต้องบอกว่า
Yamaha AEROX 155 ถือเป็นรถจักรยานยนต์ที่สามารถตอบสนองการใช้งานของผู้ขับขี่ได้อย่าง “ครบเครื่อง” เลยทีเดียว!!!
[SR] ทริปทดสอบ ขับขี่ทางไกล “Yamaha AEROX 155”
สปอร์ตเมติกที่ “ครบเครื่อง” พร้อมตอบสนองทุกการขับขี่!!!
ช่วง “โควิด-19” นี้ ทำให้กิจกรรมหลายๆ อย่าง ต้องหยุดชะงัก!!! รวมถึงทริปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทริปท่องเที่ยว ทริปขับขี่ทดสอบทางไกล...วันนี้เลยเอาทริปเก่าๆ มาปัดฝุ่นมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านคลายเหงากันไปพรางๆ ก่อน!!!
สำหรับทริปที่เอามานี้ เป็นทริปการขับขี่ทดสอบ Yamaha AEROX 155 ออโตเมติกสายพันธุ์สปอร์ต ซึ่งเป็น “ทริปทางไกล” ที่จัดขึ้นเพื่อพิสูจน์สมรรถนะของ AEROX 155 ว่าจะทำได้ดีขนาดไหน?? โดยครั้งนั้นเราขับขี่ Yamaha AEROX 155 สตาร์ทจากตัวเมืองอุบลราชธานีมุ่งหน้าสู่ “สามพันโบก” รอยต่อเขตชายแดนไทย-ลาว ที่ติดริมแม่น้ำโขง รวมระยะทางไป-กลับกว่า 250 กม. เพื่อพิสูจน์สมรรถนะของขุมพลังเครื่องยนต์ 155 ซีซี. ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี Blue Core ว่าจะสามารถรับมือกับการเดินทางไกลแบบต่อเนื่องได้ดีเพียงใด รวมถึงสมรรถนะของระบบช่วงล่างที่ต้องเจอกับสภาพผิวถนนที่หลากหลายและสภาพอากาศที่ร้อนระอุจะยังตอบสนองต่อการขับขี่ได้ดีอยู่หรือไม่ และผู้ขับขี่จะมีอาการอย่างไรเมื่อต้องขับขี่อยู่บนสปอร์ตเมติกรุ่นนี้เป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง
โดยหลังจากรับ Yamaha AEROX 155 ที่ร้านผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ยามาฮ่าใน จ.อุบลฯ ในช่วงเวลาประมาณ 08.00 น. เราก็ออกเดินทางทันที พร้อมแวะเติมน้ำมันเต็มถังก่อนเดินทางมุ่งหน้าสู่จุดหมายปลายทาง ซึ่งในช่วงเริ่มต้นของทริปการขับขี่เป็นแบบเบาๆ ด้วยความเร็วประมาณ 80 กม./ชม. ก่อนจะขยับขึ้นมายืนพื้นความเร็วอยู่ที่ 100 กม./ชม. ซึ่งความเร็วระดับนี้ถือว่ายังสบายๆ และยังมีคันเร่งเหลือในมือให้เราสามารถกดเพิ่มความเร็วกันได้อีก...
ในช่วงนี้เรารู้สึกว่าเครื่องยนต์ยังคงทำงานได้อย่างราบลื่น ตอบสนองการทำงานต่อการบิดคันเร่งได้ทันใจ ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แม้แต่น้อย อีกทั้งรอบการทำงานของเครื่องยนต์ที่สูงกว่า 6,000 รอบ ส่งผลทำให้ระบบวาล์วแปรผัน VVA เปิดทำงานแล้วนั้น ทำให้การกดคันเร่งในจังหวะแซงหรือต้องการเพิ่มความเร็ว เครื่องยนต์ก็ปล่อยแรงม้าตอบสนองต่อจังหวะการบิดคันเร่งได้อย่างรวดเร็วทันใจ ทำให้เราพุ่งทะยานไปข้างหน้าแบบเร้าใจกันเลยทีเดียว
นอกจากเส้นทางที่เราเลือกใช้เดินทางจะมีช่วงทางตรงยาวๆ ให้แช่คันเร่งเพื่อเค้นสมรรถนะของเครื่องยนต์แบบต่อเนื่องแล้ว สภาพพื้นผิวถนนที่แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นถนนลาดยางอย่างดี แต่ก็มีบางช่วงที่เป็นเส้นทางลัดเลาะไปตามท้องทุ่งซึ่งพื้นถนนเป็นลักษณะคล้ายๆ พื้นลาดยางชำรุดที่มีทั้งขรุขระและหลุมบ่อเล็กๆ เป็นช่วงๆ เราจึงถือโอกาส “รูด” AEROX 155 ซะเลย เพื่อทดสอบช่วงล่างไปในตัว ซึ่งเส้นทางแบบนี้เราเจออยู่ประมาณ 10 กม. ต่อเนื่อง แต่โช้คอัพหน้า-หลังของสปอร์ตออโตเมติกรุ่นนี้กลับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะต้องทำงานอย่างหนักแบบต่อเนื่องในสภาพอากาศที่ร้อนระอุ ไม่มีอาการย้วยที่ยวบยาบเสียการทรงตัว ช่วงล่างสามารถซับแรงสั่นสะเทือนและยึดเกาะถนนได้อย่างมั่นคง และด้วยหน้ายางขนาดใหญ่ (ยางหน้า 110/80 ยางหลัง 140/70) ทำให้เรารู้สึกมั่นใจที่จะใช้ความเร็วได้ในสภาพเส้นทางแบบนี้
เราใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง ก็ถึงจุดหมาย “สามพันโบก” ในสภาพร่างกายที่ยังเต็มไปด้วยความสดชื่น ไม่มีอาการเมื่อยล้าจากการเดินทางไกลแบบต่อเนื่องมากับ AEROX 155 โดยเรายังสามารถที่จะลงไปชื่นชมกับความมหัศจรรย์แก่งหินที่น่าตื่นตาตื่นใจได้อีกด้วย ซึ่งแม้ในยามหน้าแล้งแก่งหินที่สามพันโบกแห่งนี้ก็เผยให้เห็นถึงอีกหนึ่งมุมมองของแม่น้ำโขงในยามเหือดแห้งเช่นนี้ เราเพลิดเพลินอยู่กับการถ่ายรูปคู่กับความมหัศรรย์แห่งนี้ พร้อมกับพา AEROX 155 ลุยไปบนพื้นลานหินและกรวดทรายอย่างสนุกสนานกันอยู่พักใหญ่ ก่อนที่จะกลับขึ้นไปทานอาหารกลางวันก่อนที่จะเดินทางกลับสู่ตัวเมืองอุบลฯ
สำหรับเส้นทางในช่วงขากลับนี้ เราเลือกเส้นทางสายหลักในการเดินทางสู่ตัวเมืองอุบลฯ ที่แม้จะมีระยะทางเพิ่มขึ้นจากขามาอีกเกือบๆ 50 กม. และในช่วงแรกๆ จะต้องเจอกับสภาพพื้นผิวถนนลาดยางที่เหมือนจะเสื่อมสภาพเป็นระยะทางราวๆ 30 กม. แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับเราและ AEROX 155 โดยก่อนที่จะยิงยาวเราเติมน้ำมันเต็มถังอีกครั้ง จากนั้นเราก็กดหมดปลอกมิดคันเร่งเพื่อเค้นสมรรถนะเครื่องยนต์กันแบบเต็มที่ท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุอุณหภูมิอยู่ที่ราวๆ 40 องศา ลากยาวๆ แบบต่อเนื่องกว่า 120 กม. ซึ่งเครื่องยนต์ก็ยังคงทำงานได้อย่างราบลื่นเป็นปกติ รอบเครื่องยนต์ไม่มีตก ยังคงระเบิดพลังออกมาให้เราพุ่งทะยานไปได้อย่างเร้าใจเช่นเดิม โดยท๊อปสปีดแบบนั่งขี่โดยไม่หมอบเราทำได้อยู่ที่แถวๆ 110 กม./ชม. แต่เมื่อหมอบสุดความเร็วจะค่อยๆ ไหลเพิ่มขึ้นและขึ้นมาแตะอยู่ที่ 120 กม./ชม. ได้ในที่สุด และก่อนที่จะถึงจุดหมายซักประมาณ 20 กม. เราเติมน้ำมันอีกหนึ่งครั้ง ก่อนนำรถทดสอบส่งคืนที่ร้านผู้จำหน่ายด้วยระยะทางรวมกว่า 250 กม.
โดยหลังจากจบทริปนี้แล้ว...ด้วยการเดินทางที่ถือว่าค่อนข้างโหดและหนักแบบต่อเนื่อง ทำให้เราได้เห็นว่าสมรรถนะเครื่องยนต์155 ซีซี. ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี Blue Core รวมถึงระบบช่วงล่าง และความสบายในการเดินทางไกลของสปอร์ตออโตเมติกรุ่นนี้ “สอบผ่าน” ได้อย่างสบายไร้ข้อกังขา...ต้องบอกว่า Yamaha AEROX 155 ถือเป็นรถจักรยานยนต์ที่สามารถตอบสนองการใช้งานของผู้ขับขี่ได้อย่าง “ครบเครื่อง” เลยทีเดียว!!!
SR - Sponsored Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ SR โดยที่เจ้าของกระทู้