[ ** โปรดระวังสปอยล์เนื้อหาสำคัญในบทความชิ้นนี้ ]
ช่างเป็นหนังที่จัดวางทุกองค์ประกอบได้ฉลาดและลึกล้ำเหลือเกิน คือจะดูในแง่ความบันเทิงมันก็ช่างสนุกสนานตื่นเต้น ดูในแง่ความสัมพันธ์ของตัวละครก็เพลิดเพลินอิ่มเอม ดูในแง่สุนทรียะทางศิลปะก็ช่างรื่นรมย์งดงามลงตัว ดูในแง่วิเคราะห์สังคม/สิทธิสตรีก็น่าถกเถียง หรือจะดูให้ลึกไปถึงขั้นตีความสัญญะต่างๆ เราก็เชื่อว่ามันเต็มไปด้วยรายละเอียดที่พูดคุยได้หลายชั่วโมงไม่มีเหน็ดเหนื่อย
.
Marianne จิตรกรสาวถูกว่าเศรษฐินีรายหนึ่งจ้างมายังเกาะอันห่างไกล เพื่อรับหน้าที่วาดรูป Héloïse ลูกสาวผู้เพิ่งออกจากคอนแวนต์ของเธอ โดยรูปที่ว่านี้จะถูกส่งไปแทนการ “ดูตัว” แล้วหากตระกูลฝ่ายชายในเมืองมิลานพึงพอใจ Héloïse ก็จะได้ออกเรือนแต่งงานไป ทว่าปัญหาคือ Héloïse เคยออกฤทธิ์ออกเดชจนจิตรกรคนก่อนโบกมือลามาแล้ว ดังนั้น Marianne จึงถูกแนะนำว่าเป็น “เพื่อนเดินเล่น” ของ Héloïse แล้วเธอจะต้องแอบจดจำใบหน้าของอีกฝ่ายเพื่อแอบมาวาดในเวลาว่างให้ได้ แต่แล้วความสัมพันธ์ของสองสาวก็เริ่มถลำลึกมากขึ้นเรื่อยๆ ... เห็นไหมว่าแค่พล็อตเรื่องเท่านี้ก็สนุกมากแล้ว
.
ต้องชื่นชมเคมีของ 2 นักแสดง Noémie Merlant ในบท Marianne นั้นช่างเท่เหลือเกิน แล้ว Adèle Haenel ในบท Héloïse ก็มีแรงดึงดูดเกินต้านทาน ชอบรายละเอียดของการแสดงของทั้งคู่มาก การเม้มปากเล็กๆ แล้วไหนจะดวงตาแข็งกร้าวที่กลับอ่อนไหว ลังเล และอ่อนโยนนั่นอีก มันทำให้การถักทอความสัมพันธ์ของผู้หญิงสองคนนี้ช่างน่าเพลิดเพลิน ทั้งในช่วงแรกที่เต็มไปด้วยความเหินห่างเย็นชา การค่อยๆ ลดกำแพงลง สนใจใคร่รู้ การเล่นเกมเหย้าแหย่แย่งชิงอำนาจ อ่อนแอแพ้พ่ายต่อความรักความปรารถนา ดำดิ่งสู่ห้วงแห่งรัก และแตกสลายเมื่อต้องจากลา โอ้โห เราเชื่อหมดใจกับสิ่งที่ตัวละครรู้สึก เพราะนักแสดงสองคนนี้จริงๆ
.
ชอบช่วงเวลาที่ผู้หญิง 3 คน (รวมสาวน้อยคนรับใช้ด้วยอีกคน) ได้ครอบครองคฤหาสน์และสร้างครอบครัวเล็กๆ ด้วยกัน รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่พวกเธอถักทอสายใย ผ่านมื้ออาหาร การเล่นไพ่ และการผ่านช่วงเวลาอันยากลำบากของหญิงรับใช้นั้นก็ทำให้พวกเธอเชื่อมั่นในกันและกัน แล้วเราก็เกือบเชื่อไปแล้วว่า พวกเธอไม่จำเป็นต้องมีหรือต้องการผู้ชายคนใดเข้ามาในชีวิตอีก
.
แล้วการจากลาอันแสนเจ็บปวดนั่นล่ะ ตามประสาคนเจ้าน้ำตา เราท่วมท้นตั้งแต่ฉากที่ Marianne พร่ำขอโทษที่ชายหาด เมื่อรู้ว่าเวลาของพวกเธอนั้นกำลังจะหมดลงแล้ว ไปจนถึงฉากที่ Héloïse วิ่งตาม Marianne มาบอกให้เธอหันกลับมาจ้องมองฉัน! ตามตำนานเรื่องเล่าที่พวกเธอเคยตั้งคำถามสงสัยในชะตากรรม แล้วหลังจากนั้นเราก็พรั่งพรูไม่หยุด เมื่อได้เข้าใจว่า ทั้งคู่รู้สึกเช่นไร ทั้งภาพวาด Lady on Fire ของ Marianne ทั้งการนั่งฟังเพลงคลาสิกอันของ Héloïse แล้วเราล่ะ เคยได้สัมผัสห้วงแห่งรักอันหวานซึ้งในชีวิตนี้บ้างไหม
.
ป.ล. แอบคิดถึง “ร่างของปรารถนา” หนังสือของ อุทิศ เหมะมูล ที่เพิ่งอ่านจบไปไม่นานอยู่เหมือนกัน ในประเด็นสายตาของจิตกรที่มีต่อแบบวาด การจดจ้องโลมเลียเพื่อจดจำด้วยสายตาแล้วถ่ายทอดออกมาบนผ้าใบมันโรแมนติกมากๆ เลยนะ
อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่
เพจ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
[CR] [Review] Portrait of a Lady on Fire (2019)
[ ** โปรดระวังสปอยล์เนื้อหาสำคัญในบทความชิ้นนี้ ]
ช่างเป็นหนังที่จัดวางทุกองค์ประกอบได้ฉลาดและลึกล้ำเหลือเกิน คือจะดูในแง่ความบันเทิงมันก็ช่างสนุกสนานตื่นเต้น ดูในแง่ความสัมพันธ์ของตัวละครก็เพลิดเพลินอิ่มเอม ดูในแง่สุนทรียะทางศิลปะก็ช่างรื่นรมย์งดงามลงตัว ดูในแง่วิเคราะห์สังคม/สิทธิสตรีก็น่าถกเถียง หรือจะดูให้ลึกไปถึงขั้นตีความสัญญะต่างๆ เราก็เชื่อว่ามันเต็มไปด้วยรายละเอียดที่พูดคุยได้หลายชั่วโมงไม่มีเหน็ดเหนื่อย
.
Marianne จิตรกรสาวถูกว่าเศรษฐินีรายหนึ่งจ้างมายังเกาะอันห่างไกล เพื่อรับหน้าที่วาดรูป Héloïse ลูกสาวผู้เพิ่งออกจากคอนแวนต์ของเธอ โดยรูปที่ว่านี้จะถูกส่งไปแทนการ “ดูตัว” แล้วหากตระกูลฝ่ายชายในเมืองมิลานพึงพอใจ Héloïse ก็จะได้ออกเรือนแต่งงานไป ทว่าปัญหาคือ Héloïse เคยออกฤทธิ์ออกเดชจนจิตรกรคนก่อนโบกมือลามาแล้ว ดังนั้น Marianne จึงถูกแนะนำว่าเป็น “เพื่อนเดินเล่น” ของ Héloïse แล้วเธอจะต้องแอบจดจำใบหน้าของอีกฝ่ายเพื่อแอบมาวาดในเวลาว่างให้ได้ แต่แล้วความสัมพันธ์ของสองสาวก็เริ่มถลำลึกมากขึ้นเรื่อยๆ ... เห็นไหมว่าแค่พล็อตเรื่องเท่านี้ก็สนุกมากแล้ว
.
ต้องชื่นชมเคมีของ 2 นักแสดง Noémie Merlant ในบท Marianne นั้นช่างเท่เหลือเกิน แล้ว Adèle Haenel ในบท Héloïse ก็มีแรงดึงดูดเกินต้านทาน ชอบรายละเอียดของการแสดงของทั้งคู่มาก การเม้มปากเล็กๆ แล้วไหนจะดวงตาแข็งกร้าวที่กลับอ่อนไหว ลังเล และอ่อนโยนนั่นอีก มันทำให้การถักทอความสัมพันธ์ของผู้หญิงสองคนนี้ช่างน่าเพลิดเพลิน ทั้งในช่วงแรกที่เต็มไปด้วยความเหินห่างเย็นชา การค่อยๆ ลดกำแพงลง สนใจใคร่รู้ การเล่นเกมเหย้าแหย่แย่งชิงอำนาจ อ่อนแอแพ้พ่ายต่อความรักความปรารถนา ดำดิ่งสู่ห้วงแห่งรัก และแตกสลายเมื่อต้องจากลา โอ้โห เราเชื่อหมดใจกับสิ่งที่ตัวละครรู้สึก เพราะนักแสดงสองคนนี้จริงๆ
.
ชอบช่วงเวลาที่ผู้หญิง 3 คน (รวมสาวน้อยคนรับใช้ด้วยอีกคน) ได้ครอบครองคฤหาสน์และสร้างครอบครัวเล็กๆ ด้วยกัน รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่พวกเธอถักทอสายใย ผ่านมื้ออาหาร การเล่นไพ่ และการผ่านช่วงเวลาอันยากลำบากของหญิงรับใช้นั้นก็ทำให้พวกเธอเชื่อมั่นในกันและกัน แล้วเราก็เกือบเชื่อไปแล้วว่า พวกเธอไม่จำเป็นต้องมีหรือต้องการผู้ชายคนใดเข้ามาในชีวิตอีก
.
แล้วการจากลาอันแสนเจ็บปวดนั่นล่ะ ตามประสาคนเจ้าน้ำตา เราท่วมท้นตั้งแต่ฉากที่ Marianne พร่ำขอโทษที่ชายหาด เมื่อรู้ว่าเวลาของพวกเธอนั้นกำลังจะหมดลงแล้ว ไปจนถึงฉากที่ Héloïse วิ่งตาม Marianne มาบอกให้เธอหันกลับมาจ้องมองฉัน! ตามตำนานเรื่องเล่าที่พวกเธอเคยตั้งคำถามสงสัยในชะตากรรม แล้วหลังจากนั้นเราก็พรั่งพรูไม่หยุด เมื่อได้เข้าใจว่า ทั้งคู่รู้สึกเช่นไร ทั้งภาพวาด Lady on Fire ของ Marianne ทั้งการนั่งฟังเพลงคลาสิกอันของ Héloïse แล้วเราล่ะ เคยได้สัมผัสห้วงแห่งรักอันหวานซึ้งในชีวิตนี้บ้างไหม
.
ป.ล. แอบคิดถึง “ร่างของปรารถนา” หนังสือของ อุทิศ เหมะมูล ที่เพิ่งอ่านจบไปไม่นานอยู่เหมือนกัน ในประเด็นสายตาของจิตกรที่มีต่อแบบวาด การจดจ้องโลมเลียเพื่อจดจำด้วยสายตาแล้วถ่ายทอดออกมาบนผ้าใบมันโรแมนติกมากๆ เลยนะ
อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ เพจ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้