MBA เป็นหลักสูตรที่ค่อนข้างเปิดกว้าง ไม่มีประสบการณ์ทำงาน ก็สมัครเรียนได้
แต่เป็นภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์ ค่าเรียนแพงขึ้น 4 เท่า
ถ้าเทียบกันคือ คนที่ควรเรียน คือ เจ้าของธุรกิจส่วนตัว ไม่ว่าจะธุรกิจอะไร ยังไงก็ต้องพึ่งพิงการตลาด
หรือ งานที่เกี่ยวกับงานขาย ก็จะได้ใช้ประโยชน์พอสมควร
ได้ฟื้นฟูความรู้สมัยดั้งเดิม ตอนเรียนก็ต้องใช้เวลาครับ กิจกรรมกลุ่มค่อนข้างเยอะมาก ไม่ธรรมดาเลย ไม่ใช่การเรียนตัวคนเดียว
ต้องมีสังคมด้วย ช่วยกันดัน ช่วยกันคิด ทำพรีเซนต์ขึ้นมา ส่วนตัวผมชอบพอสมควร
และที่สำคัญได้คอนเนคชั่นเพิ่ม จากเพื่อนๆ ในรุ่น ที่รู้จักกันตอนเป็นผู้ใหญ่แล้ว มีอะไรก็ช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้
หลักๆของหลายคนที่อยากเรีน MBA ที่จะต้องเจอได้แก่ วิชาที่เกี่ยวบริหาร
วิชาแรก Financial Accounting
การเรียน MBA ในวิชาบัญชี อาจารย์ไม่ได้สอนให้ทำdebit credit เพราะวันนึงที่เราคงต้องมีคนทำให้แล้ว แต่อาจารย์สอนบัญชีให้รู้และนำไปใช้เพื่อไม่ให้ใครมมาหลอกเรา อาจารย์จะยกเคสต่างๆมาให้ศึกษาและสอนว่า ถ้าเราทำแบบนี้ภาพที่ออกมาจะเป็นยังไง แต่ไม่ได้บอกว่าอะไรดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับว่าในตอนนั้นเราต้องที่จะเห็นภาพแบบไหนมากว่า
เรื่องที่อาจารย์เอามาสอนเพิ่มพวกสูตรทางการเงินต่างๆ ที่พวกนักการเงิน นักเล่นหุ้น ควรรู้ ตัวเลขที่คำนวณต่างๆก็ดึงมาจากการอ่านงบการเงินทั้งสิ้น เมื่อเรียนจนเข้าใจมันจริงๆ แค่เห็น Financial statement ขององค์กร ก็รู้ทันทีว่าองค์กรดีหรือไม่ดี มีจุดอ่อน จุดแข็งยังไง ทะลุปรุโปร่ง ที่สำคัญ คนที่คิดจะเล่นหุ้น วิชานี้ ต้องตั้งใจเรียนดีๆ
วิชาที่สองคือวิชา Organization Behavior
วิชานี้จะเรียนเกี่ยวกับจิตวิทยาและพฤติกรรมของคนในองค์กร เมื่อคนจำนวนมากมาอยู่ด้วยกัน พฤติกรรมกลุ่ม การตอบสนองต่อแรงจูงใจต่างๆ จะเกิดผลทั้งในแง่บวกและลบ เช่น การตำหนิลูกน้องเมื่อทำผิด หรือให้รางวัลเมื่อทำดี จะส่งผลอย่างไรกำลังใจของคนนั้น คนประสบการณ์น้อย ไม่เคยเจอปัญหา อาจจะนึกภาพไม่ออกว่าจะเอาทฤษฎีมาจับของจริงได้ยังไง เรียนไปก็งงไป แต่คนมีประสบการณ์ หรือเคยเป็นหัวหน้า จะนึกภาพออก เทียบกับสิ่งที่ตัวเองเจอมา หรือสิ่งที่ตัวเองเคยทำ สะกิดใจได้ทันทีว่าที่เราเคยทำมาถูกหรือผิด เพราะระหว่างเรียนอาจารย์จะโยนการบ้านเป็นเคสมาให้ทำ จากเมื่อก่อนที่ใช้เซ้นต์อย่างเดียวในการแก้ปัญหาเรื่ององค์กร ตอนนี้สามารถหยิบจับทฤษฏีต่างๆมาใช้ได้แล้ว
สิ่งสำคัญที่ได้จากวิชานี้คือ การเรียนรู้ปัญหาจากองค์กรอื่นที่เราไม่เคยรู้ ช่วยให้เข้าใจแรงผลักดันต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมในองค์การ ช่วยให้รู้จักนำทฤษฎีที่ได้ มาปรับใช้ในการบริหารพฤติกรรมในองค์กร ถ้าเกิดเคสต่างๆในองค์กรเราจะสามารถหยิบ เครื่องมือ แนวคิด ทฤษฎี มาวิเคราะห์ ปรับใช้ และอธิบายได้ว่าเกิดอะไรขึ้นแล้วต้องทำยังไง
วิชาที่สองคือวิชา Organization Management และ พวก Strategic ต่างๆ
2 วิชานี้ เรียนรู้ ความสำคัญของกลยุทธ์เพื่อนำแนวคิด ความรู้ และประสบการณ์ที่ได้เพื่อการวางกลยุทธ์ในธุรกิจนั้นๆ โดยวิเคราะห์จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และผลกระทบต่อธุรกิจ โดยเฉพาะสถานการณ์ สภาพแวดล้อม ความคิด พฤติกรรม จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค สภาพตลาด การแข่งขันและรวมถึงคู่แข่ง เพื่อให้นำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรที่ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย และผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่าย
เวลาเรียน อาจารย์ให้ Case ZARA IKEA แบรนด์ระดับโลกเข้ามาในคลาสให้วิเคราะห์
ระหว่างเรียน มีไปดูงานที่เครือสหพัฒน์ เชียงใหม่
หลังจากเรียน กันเหนื่อยๆก็จะต้องฉลองกันหน่อย
จุดสำคัญ คือ ช่วงที่ทำ IS อาจารย์ที่ปรึกษา มีความสำคัญมาก พยายามเกาะอาจารย์ไว้ อาจารย์ท่านอยากให้แก้อะไรก้แก้ตามนั้น ไม่ต้องอิดออด
รอตอนสอบ เดี๋ยวก้ได้แก้อีก
ขั้นตอนที่ล้าที่สุด น่าจะช่วงเก็บตัวอย่าง
คำแนะนำของผม ที่อยากจะบอกทุกคนก็คือ
การเลือกหัวข้อ ที่สามารถเก็บแบบสอบถามบนช่องทางออนไลน์ได้ จะทำให้จบได้เร็วขึ้นครับ
ปล.การสอบปากเปล่า ( proposal 3 บท) เป็นอะไรที่โหดมาก ต้องเตรียมตัวดีๆ
สุดท้ายการสอบจบ 5 บท
ผ่านแล้วหน้าตาจะเป็นแบบนี้
เล่มสอบ 5 บท
นำผลงานไปเสนอที่ประชุมวิชาการ
[CR] MBA XJ60 Kasetsart
แต่เป็นภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์ ค่าเรียนแพงขึ้น 4 เท่า
ถ้าเทียบกันคือ คนที่ควรเรียน คือ เจ้าของธุรกิจส่วนตัว ไม่ว่าจะธุรกิจอะไร ยังไงก็ต้องพึ่งพิงการตลาด
หรือ งานที่เกี่ยวกับงานขาย ก็จะได้ใช้ประโยชน์พอสมควร
ได้ฟื้นฟูความรู้สมัยดั้งเดิม ตอนเรียนก็ต้องใช้เวลาครับ กิจกรรมกลุ่มค่อนข้างเยอะมาก ไม่ธรรมดาเลย ไม่ใช่การเรียนตัวคนเดียว
ต้องมีสังคมด้วย ช่วยกันดัน ช่วยกันคิด ทำพรีเซนต์ขึ้นมา ส่วนตัวผมชอบพอสมควร
และที่สำคัญได้คอนเนคชั่นเพิ่ม จากเพื่อนๆ ในรุ่น ที่รู้จักกันตอนเป็นผู้ใหญ่แล้ว มีอะไรก็ช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้
หลักๆของหลายคนที่อยากเรีน MBA ที่จะต้องเจอได้แก่ วิชาที่เกี่ยวบริหาร
วิชาแรก Financial Accounting
การเรียน MBA ในวิชาบัญชี อาจารย์ไม่ได้สอนให้ทำdebit credit เพราะวันนึงที่เราคงต้องมีคนทำให้แล้ว แต่อาจารย์สอนบัญชีให้รู้และนำไปใช้เพื่อไม่ให้ใครมมาหลอกเรา อาจารย์จะยกเคสต่างๆมาให้ศึกษาและสอนว่า ถ้าเราทำแบบนี้ภาพที่ออกมาจะเป็นยังไง แต่ไม่ได้บอกว่าอะไรดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับว่าในตอนนั้นเราต้องที่จะเห็นภาพแบบไหนมากว่า
เรื่องที่อาจารย์เอามาสอนเพิ่มพวกสูตรทางการเงินต่างๆ ที่พวกนักการเงิน นักเล่นหุ้น ควรรู้ ตัวเลขที่คำนวณต่างๆก็ดึงมาจากการอ่านงบการเงินทั้งสิ้น เมื่อเรียนจนเข้าใจมันจริงๆ แค่เห็น Financial statement ขององค์กร ก็รู้ทันทีว่าองค์กรดีหรือไม่ดี มีจุดอ่อน จุดแข็งยังไง ทะลุปรุโปร่ง ที่สำคัญ คนที่คิดจะเล่นหุ้น วิชานี้ ต้องตั้งใจเรียนดีๆ
วิชาที่สองคือวิชา Organization Behavior
วิชานี้จะเรียนเกี่ยวกับจิตวิทยาและพฤติกรรมของคนในองค์กร เมื่อคนจำนวนมากมาอยู่ด้วยกัน พฤติกรรมกลุ่ม การตอบสนองต่อแรงจูงใจต่างๆ จะเกิดผลทั้งในแง่บวกและลบ เช่น การตำหนิลูกน้องเมื่อทำผิด หรือให้รางวัลเมื่อทำดี จะส่งผลอย่างไรกำลังใจของคนนั้น คนประสบการณ์น้อย ไม่เคยเจอปัญหา อาจจะนึกภาพไม่ออกว่าจะเอาทฤษฎีมาจับของจริงได้ยังไง เรียนไปก็งงไป แต่คนมีประสบการณ์ หรือเคยเป็นหัวหน้า จะนึกภาพออก เทียบกับสิ่งที่ตัวเองเจอมา หรือสิ่งที่ตัวเองเคยทำ สะกิดใจได้ทันทีว่าที่เราเคยทำมาถูกหรือผิด เพราะระหว่างเรียนอาจารย์จะโยนการบ้านเป็นเคสมาให้ทำ จากเมื่อก่อนที่ใช้เซ้นต์อย่างเดียวในการแก้ปัญหาเรื่ององค์กร ตอนนี้สามารถหยิบจับทฤษฏีต่างๆมาใช้ได้แล้ว
สิ่งสำคัญที่ได้จากวิชานี้คือ การเรียนรู้ปัญหาจากองค์กรอื่นที่เราไม่เคยรู้ ช่วยให้เข้าใจแรงผลักดันต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมในองค์การ ช่วยให้รู้จักนำทฤษฎีที่ได้ มาปรับใช้ในการบริหารพฤติกรรมในองค์กร ถ้าเกิดเคสต่างๆในองค์กรเราจะสามารถหยิบ เครื่องมือ แนวคิด ทฤษฎี มาวิเคราะห์ ปรับใช้ และอธิบายได้ว่าเกิดอะไรขึ้นแล้วต้องทำยังไง
วิชาที่สองคือวิชา Organization Management และ พวก Strategic ต่างๆ
2 วิชานี้ เรียนรู้ ความสำคัญของกลยุทธ์เพื่อนำแนวคิด ความรู้ และประสบการณ์ที่ได้เพื่อการวางกลยุทธ์ในธุรกิจนั้นๆ โดยวิเคราะห์จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และผลกระทบต่อธุรกิจ โดยเฉพาะสถานการณ์ สภาพแวดล้อม ความคิด พฤติกรรม จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค สภาพตลาด การแข่งขันและรวมถึงคู่แข่ง เพื่อให้นำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรที่ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย และผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่าย
เวลาเรียน อาจารย์ให้ Case ZARA IKEA แบรนด์ระดับโลกเข้ามาในคลาสให้วิเคราะห์
ระหว่างเรียน มีไปดูงานที่เครือสหพัฒน์ เชียงใหม่
หลังจากเรียน กันเหนื่อยๆก็จะต้องฉลองกันหน่อย
จุดสำคัญ คือ ช่วงที่ทำ IS อาจารย์ที่ปรึกษา มีความสำคัญมาก พยายามเกาะอาจารย์ไว้ อาจารย์ท่านอยากให้แก้อะไรก้แก้ตามนั้น ไม่ต้องอิดออด
รอตอนสอบ เดี๋ยวก้ได้แก้อีก
ขั้นตอนที่ล้าที่สุด น่าจะช่วงเก็บตัวอย่าง
คำแนะนำของผม ที่อยากจะบอกทุกคนก็คือ
การเลือกหัวข้อ ที่สามารถเก็บแบบสอบถามบนช่องทางออนไลน์ได้ จะทำให้จบได้เร็วขึ้นครับ
ปล.การสอบปากเปล่า ( proposal 3 บท) เป็นอะไรที่โหดมาก ต้องเตรียมตัวดีๆ
สุดท้ายการสอบจบ 5 บท
ผ่านแล้วหน้าตาจะเป็นแบบนี้
เล่มสอบ 5 บท
นำผลงานไปเสนอที่ประชุมวิชาการ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้