บรรดาทางทั้งหลายทางมีองค์๘ประเสริฐ,บรรดาสัจจะทั้งหลายบท๔ประเสริฐ,บรรดาธรรม(ทุกสิ่งไม่เว้นอะไร)ทั้งหลายวิราคธรรมดีที่สุด.

"บรรดาทางทั้งหลาย    ทางมีองค์  ๘  ประเสริฐ,
      บรรดาสัจจะทั้งหลาย  บท  ๔ ประเสริฐ,  บรรดาธรรม
      ทั้งหลาย   วิราคะประเสริฐ,   บรรดาสัตว์ ๒ เท้า และ
      อรูปธรรมทั้งหลาย      พระตถาคตผู้มีจักษุประเสริฐ
------------------------------------------------------------------------วิราคธรรม คือ สภาพธรรมที่ปราศจาก ราคะ(โลภะ)  สำรอก คลายจากราคะ แต่ไม่ใช่
เพียงราคะเท่านั้น วิราคธรรมคือสภาพธรรมที่สำรอก ละ สละ คลาย ปราศจากกิเลสทั้ง
ปวง สภาพธรรมที่เป็นวิราคธรรมคือพระนิพพานนั่นเองครับ
   ธรรมทั้งหลาย แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง และ สภาพ
ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
   สภาพธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง คือ เพราะอาศัยสภาพธรรมต่างปรุงแต่งแล้วให้มี
การเกิดขึ้นและก็ต้องดับไป เช่น จิต เจตสิก รูป เป็นสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเกิด
ขึ้นและดับไป(สังขตธรรม)
    สภาพธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง คือ  สภาพธรรมที่ไม่อาศัยสภาพธรรมอื่นมาทำให้
เกิด มาทำให้มีขึ้น จึงไม่มีการเกิดขึ้นและการดับไปเลย นั่นคือ พระนิพพาน(วิราคธรรม)
เพราะฉะนั้นจากคำถามที่ว่า วิราคธรรมประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย  หรือ พระพุทธพจน์
ที่ว่าในบรรดาสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง หรือ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งก็ดี  พระนิพพาน(วิราคธรรม)
เป็นเลิศ ประเสริฐที่สุด คือในบรรดาสภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิก รูป พระนิพพาน พระ
นิพพาน ที่เป็นวิราคธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดครับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ -หน้าที่ 100
      บาทพระคาถาว่า  วิราโค  เสฏฺโ  ธมฺมาน  ความว่า  บรรดาธรรมทั้งปวง  วิราคะ 
กล่าวคือพระนิพพาน  ชื่อว่าประเสริฐ  เพราะพระพุทธพจน์ว่า   ภิกษุทั้งหลาย    ธรรม
ทั้งหลายที่ปัจจัยปรุงแต่งก็ดี  ที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งก็ดี  มีประมาณเพียงไร,   บรรดาธรรม
เหล่านั้นวิราคะเรากล่าวว่า เป็นยอด."

สิ่งที่เรียกว่า ธรรมะมีความหมายกว้าง, ธรรมะ คือทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ยกเว้นอะไร, เพราะธรรมะ แปลว่า "สิ่ง" ก็ได้; แต่ธรรมะที่เป็นหัวใจจริง ๆ ซึ่งเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ก็คือ จิตว่าง หรือความสะอาด สว่าง สงบ, มีพุทธพจน์ที่แสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้ากับพระธรรม เป็นสิ่งเดียวกัน; พระพุทธเจ้าที่เป็นองค์พระศาสดา ตรัสกับภิกษุรูปหนึ่งชื่อ วักกลิ, ซึ่งเป็นผู้ยึดติดอยู่กับพระพุทธเจ้าที่เป็นบุคคล.
      ภิกษุวักกลิที่เข้ามาบวช, ความประสงค์ก็เพื่อติดตามดูพระพุทธเจ้าที่เป็นพระวรกายภายนอกอย่างใกล้ชิด, แต่ไม่สนใจในการปฏิบัติเพื่อให้เห็นแจ้งพระพุทธเจ้าที่แท้จริง, พระองค์จึงตรัสว่า "อย่าเลยวักกลิ! ประโยชน์อะไรด้วยการเห็นกายเน่านี้; วักกลิ! ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา, ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม; เพราะว่า เมื่อเห็นธรรมอยู่ ก็คือ เห็นเรา, เมื่อเห็นเราอยู่ ก็คือ เห็นธรรม" (ขันธวารวัคค์, สังยุตตนิกาย; ๑๗, ๑๔๖, ๒๑๖).
      จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าที่แท้จริง ก็คือ จิตว่าง (สุญญตา) หรือความสะอาด สว่าง สงบ; ที่จริง คำว่า สะอาด สว่าง สงบ, เป็นลักษณะของจิตว่าง; จิตว่าง มีลักษณะสะอาดบริสุทธิ์ถึงที่สุด, จิตว่างมีลักษณะสว่างไสวไม่มืดมัวเพราะการปกคลุมของอวิชชา, จิตว่าง มีลักษณะสงบ อิสรภาพเสรีภาพ ไม่มีความคิดปรุงแต่งรบกวน.
      มีคำสอนท่านฮวงโปอยู่บทหนึ่งว่า "ตามที่จริงแล้ว ไม่มีสักอย่างเดียวที่มีอยู่จริง, การสลัดสิ่งทุก ๆ สิ่งออกไปเสีย นั่นแหละคือ ตัวธรรม; ผู้ซึ่งเข้าใจความจริงข้อนี้ นั่นแหละคือ พุทธะ; แต่การสลัดสิ่งที่เป็นมายาทุกสิ่งออกไปเสียนั้น, ต้องไม่เหลือธรรมะอะไร ๆ ไว้ให้ยึดถือกันอีกจริง ๆ"" จากข้อความดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า "ธรรมะแท้ ก็คือ จิตว่าง นั่นเอง. (๘ พ. ย.๖๑)!!!

นิพพานคือ วิราคธรรมภิกษุ ท. ! สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี มีประมาณเท่าใด, วิราคธรรม เรากล่าวว่า เป็นยอดของสังขตธรรม และอสังขตธรรมเหล่านั้นทั้งหมด. วิราคธรรมนั้นได้แก่ ธรรมอันเป็นที่สร่างแห่งความเมา, เป็นที่ขจัดความกระหาย, เป็นที่ถอนความอาลัย, เป็นที่ตัดวัฏฏะ (วน), เป็นที่สิ้นตัณหา, เป็นที่คลายความกำหนัด, เป็นที่ดับกิเลส, นี่แลคือ นิพพาน.
- อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๙๘/๒๗๐.

วิราคธรรม หมายถึง สภาพธรรมทั้งที่เป็นพระนิพพาน และ มรรคจิต ด้วยครับ แต่โดย
มาก มุ่งหมายถึง พระนิพพาน
   วิราคธรรม  คือ สภาพธรรมที่ปราศจาก ราคะ(โลภะ)  สำรอก คลายจากราคะ  แต่ไม่
ใช่เพียงราคะเท่านั้น วิราคธรรมคือสภาพธรรมที่สำรอก ละ สละ คลาย ปราศจากกิเลส
ทั้งปวง สภาพธรรมที่เป็นวิราคธรรมคือพระนิพพานนั่นเองครับ
   ธรรม ทั้งหลาย  แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ   คือ สภาพธรรม ที่มีปัจจัยปรุงแต่ง  และ 
สภาพธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
   สภาพธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง คือ เพราะอาศัยสภาพธรรมต่างๆ ปรุงแต่ง แล้วให้มี
การเกิดขึ้น และก็ต้องดับไป เช่น จิต เจตสิก รูป เป็นสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง เกิด
ขึ้นและดับไป(สังขตธรรม)
   สภาพธรรม ที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง คือ  สภาพธรรม ที่ไม่อาศัยสภาพธรรมอื่น มาทำให้
เกิด มาทำให้มีขึ้น จึงไม่มีการเกิดขึ้นและการดับไปเลย นั่นคือ พระนิพพาน(วิราคธรรม)
เพราะฉะนั้นจากคำถามที่ว่า วิราคธรรมประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย  หรือ พระพุทธพจน์
ที่ว่าในบรรดาสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง หรือ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งก็ดี  พระนิพพาน(วิราคธรรม)
เป็นเลิศ ประเสริฐที่สุด คือในบรรดาสภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิก รูป พระนิพพาน พระ
นิพพาน ที่เป็นวิราคธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดครับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ -หน้าที่ 100
      บาทพระคาถาว่า   วิราโค  เสฏฺโ  ธมฺมาน  ความว่า  บรรดาธรรมทั้งปวง  วิราคะ 
กล่าวคือ พระนิพพาน  ชื่อว่าประเสริฐ  เพราะพระพุทธพจน์ว่า   ภิกษุทั้งหลาย    ธรรม
ทั้งหลายที่ปัจจัยปรุงแต่งก็ดี  ที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งก็ดี  มีประมาณเพียงไร,   บรรดาธรรม
เหล่านั้นวิราคะเรากล่าวว่า เป็นยอด."
------------------------------------------------------------

         พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า ๗๐
   วิราคะ  คือ   ธรรมอันย่ำยีความเมา  กำจัดความกระหาย   ถอนเสียซึ่งอาลัย  เข้าไป
ตัดวัฏฏะ  เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด   เป็นที่ดับ(กิเลส)
********************************************
   วิราคะ อีกสักนิด เพื่อเป็นประโยชน์นะครับ  โดยทั่วไปแล้ว เมื่อพูดถึงคำว่าวิราคะ  ก็
คือ การปราศจากกิเลส สำรอกกิเลส ปราศจากราคะคือโลภะ ก็มุ่งหมายถึงพระนิพพาน
แต่บางนัย    วิราคะ หมายถึง ขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้น  เช่น โสดาปัตติมรรค  สกทาคามี
มรรค อนาคามีมรรคและอรหัตมรรค มรรคเป็นวิราคะ ในขณะนั้นเพราะสำรอก ละ คลาย
กิเลสประกาต่างๆ ในขณะที่เกิดขึ้น    เช่น เมื่อโสดาปัตติมรรคเกิดขณะนั้น  สำรอก ละ
คลายกิเลส ปราศจากกิเลส คือ สักกายทิฏฐิ คือ ความยึดถือ ความเห็นผิดว่า เป็นสัตว์
บุคคลตัวตน ซึ่งขณะมรรคจิตเกิดละคลายกิเลสคือความเห็นผิดในขณะนั้นนั่นเองครับ
ดังข้อความในพระไตรปิฎกที่แสดงว่า แม้ มรรคจิต เป็นวิราคธรรม ด้วยครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 551
      วิราคกถา
ว่าด้วยวิราคธรรม
[๕๘๘]  วิราคะเป็นมรรค  วิมุตติเป็นผล วิราคะเป็นมรรคอย่างไร ?
    ในขณะโสดาปัตติมรรค   สัมมาทิฏฐิ ด้วยอรรถว่า เห็น   ย่อมคลายจาก มิจฉาทิฏฐิ
จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น  จากขันธ์ และ จากสรรพนิมิตภายนอก  วิราคะ 
(มรรค)  มีวิราคะ  (นิพพาน)  เป็นอารมณ์  มีวิราคะเป็นโคจร    เข้ามาประชุมในวิราคะ   
ตั้งอยู่ในวิราคะ    ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ  วิราคะในคำว่า วิราโค  นี้มี ๒ คือ นิพพาน
เป็นวิราคะ ๑   ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฏฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิราคะ ๑  
เพราะฉะนั้น    มรรคจึงเป็นวิราคะ    องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ    ย่อมถึงความเป็น วิราคะ   
เพราะฉะนั้น  วิราคะ จึงเป็นมรรค  พระพุทธเจ้า   พระปัจเจกพุทธเจ้า   และพระสาวก  
ย่อมถึงนิพพาน    อันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้    เพราะฉะนั้น    อริยมรรคอันมี
องค์  ๘  นี้ เท่านั้น  จึงล้ำเลิศ  เป็นประธาน สูงสุด   และประเสริฐกว่ามรรคของสมณ
พราหมณ์ (ผู้ถือลัทธิอื่น) เป็นอันมาก   เพราะฉะนั้น   อัฏฐังคิกมรรค  จึงประเสริฐกว่า
มรรคทั้งหลาย.
    ----------------------------------------------------------    ดังนั้น  วิราคะ บางนัยหมายถึง มรรคจิตก็ได้ครับ  แต่โดยทั่วไปแล้ว วิราคะ ทีเป็น
วิราคธรรม มุ่งหมายถึงพระนิพพานครับ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
นิพพาน (บาลี: निब्बान nibbāna นิพฺพาน; สันสกฤต: निर्वाण nirvāṇa นิรฺวาณ) หมายถึง ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์[1] เป็นสภาพโลกุตระอันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในศาสนาพุทธ[2]
คำว่า นิพพาน เป็นคำที่ใช้กันในปรัชญาหลายระบบในอินเดีย โดยใช้ในความหมายของการหลุดพ้น แต่การอธิบายเกี่ยวกับสภาวะของนิพพานนั้นแตกต่างกันออกไป ในปรัชญาอุปนิษัทเชื่อว่านิพพานหรือโมกษะ คือการที่อาตมันย่อยหรือชีวาตมันเข้ารวมเป็นเอกภาพกับพรหมัน แต่ในพระพุทธศาสนาอธิบายว่า นิพพานคือการหลุดพ้นจากอวิชชา ตัณหา ซึ่งแสดงออกในรูปของโลภะ โทสะ และโมหะ มิได้หมายความว่าเป็นการหลุดพ้นของอัตตาหรือตัวตนในโลกนี้ ไปสู่สภาวะของนิพพานอย่างคำสอนอุปนิษัท แต่หมายถึงความดับสนิทแห่งความเร่าร้อนและเครื่องผูกพันร้อยรัดทั้งปวง ซึ่งเรียกว่าเป็นความทุกข์ พระพุทธศาสนาถ้าปราศจากนิพพานแล้วก็ไม่เกิดเป็นศาสนา เพราะในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อพระชนมายุได้ 35 พรรษา พระองค์ก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม โดยทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ญาณ 3 คือ ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้ ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยามสุดท้ายที่พระองค์ทรงบรรลุนี่แหละ คือนิพพาน ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับอาสวักขญาณ

ในศาสนาพุทธ พระอรหันต์ (พระ-อะ-ระ-หัน; บาลี: arahant; สันสกฤต: अर्हत् arhat) คือ พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด[1] สามารถละสังโยชน์ได้ครบ 10 ประการ
อริยบุคคล แปลว่า บุคคลผู้ประเสริฐ, ผู้ไกลจากข้าศึก, ผู้หักกำล้อสังสารวัฏได้แล้วแบ่งได้หลายประเภทคือแบ่งอย่างใหญ่ได้เป็น พระเสขะและพระอเสขะ แบ่งตามประเภทบุคคลมี 4 ประเภทคือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ และยังแบ่งย่อยเป็น 8 ประเภท จัดเป็น 4 คู่ได้อีก
กาลามสูตร (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตตสูตร[1]) คือ พระสูตรที่พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่[2]
มา อนุสฺสวเนน - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
มา ปรมฺปราย - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
มา อิติกิราย - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
มา ตกฺกเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ (การคิดเอาเอง)
มา นยเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน (คาดคะเน)
มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
มา ภพฺพรูปตา - อย่าปลงใจเชื่อมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
มา สมโณ โน ครูติ - อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา
เมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลหรือมีโทษเมื่อนั้นพึงละเสีย และเมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลหรือไม่มีโทษ เมื่อนั้นพึงถือปฏิบัติ

อกาลิโก 

อยากรู้ว่าเป็นจริงตามนี้ไหมคะ ขอบคุณ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่