ด้วยความผิดพลาดบางประการ จากซีซั่น 1 เรากระโดดข้ามมาดูซีซั่น 4 เลยซะงั้น (เดี๋ยวค่อยย้อนกลับไปดูซีซั่น 2 - 3 อีกที) แล้วก็เป็นไปตามสูตรของการดูรายการภาคต่อ เรารู้สึกว่ามันไม่ได้สนุกเท่าเดิม อาจเพราะเราไม่ตื่นเต้นกับคอนเซ็ปต์ของรายการ คาแร็คเตอร์ของ 5 กูรู หรือแพทเทิร์นที่คาดเดาได้อีกต่อไปแล้ว พร้อมๆ กับมีคำถามเกิดขึ้นในใจเกือบทุกตอนของซีซั่นนี้ว่า หลังจากแก๊ง 5 เกย์ The Fab Five กลับไปแล้ว แขกรับเชิญผู้มีปัญหาในการใช้ชีวิต ความสัมพันธ์ การทำงาน หรือปมลึกในใจ จะใช้ชีวิตต่อไป โดยไม่วนกลับไปเป็นคนเดิมได้จริงเหรอ?
.
Queer Eye เป็นรายการเรียลิตี้สไตล์เมคโอเวอร์ ที่มีทีม The Fab Five เป็นกูรูเกย์ผู้รอบรู้ในหลากหลายด้านมาคอยดูแลปรับเปลี่ยนปรุงโฉมให้แขกรับเชิญได้พัฒนาตัวเองขึ้นในหลายๆ ด้าน ซึ่ง 5 เกย์หนุ่มที่ว่าก็ได้แก่ Antoni ดูแลเรื่องอาหารการกิน, Tan ดูแลเรื่องแฟชั่นการแต่งตัว, Jonathan ดูแลเรื่องทรงผมและกรูมมิ่ง, Bobby ดูแลเรื่องดีไซน์การตกแต่งบ้าน และ Karamo ดูแลเรื่องการปรับวิธีคิด วิธีการใช้ชีวิต
.
ความน่าสนใจของซีซั่นที่ 4 นี้ก็คือ การได้เห็น The Fab Five สลับสับเปลี่ยนหน้าที่หรือแตะมือร่วมกันทำงานแปลงโฉมแก้ปมในใจให้กับแขกรับเชิญ ซึ่งเราชอบนะ ได้เห็นการทำงานเป็นทีม และการชี้ให้เห็นความจริงว่า ไม่มีใครจะรู้หรือเข้าใจปัญหาได้หมดทุกเรื่อง บางทีเราแค่ต้องเลือกรับฟังข้อแนะนำจากคนที่ผ่านประสบการณ์มาคล้ายๆ กับเรา มากกว่าจะเชื่อแค่ว่าเค้าเก่งเรื่องอะไร แล้วก็ชอบมาก ที่ The Fab Five ไม่ได้บีบบังคับให้แขกรับเชิญเชื่อหรือเปลี่ยนแปลงตัวเองไปสุดขั้ว มันเป็นแค่ทางเลือกหนึ่ง เป็นแค่กระจกอีกบานที่สะท้อนให้เห็น แล้วก็อยู่ที่ตัวคุณเองแล้วล่ะว่าจะรับฟังเสียงจากคนอื่นไหม
.
การเลือกแขกรับเชิญในซีซั่นนี้ที่โฟกัสไปที่คนที่ทำความดีเพื่อสังคม ช่วยเหลือคนอื่นๆ ในชุมชน หรือมีโครงการอะไรบางอย่างที่ต้องการความช่วยเหลือ มันก็ทำให้ Queer Eye มีบรรยากาศเหมือนรายการประเภท เพราะคุณเป็นคนดี คุณจึงได้รับรางวัล ซึ่งมันก็ดีแหละ เพียงแต่แขกรับเชิญหลายๆ คนไม่ได้ทำงานกับความรู้สึกของเรามากพอ แขกรับเชิญที่ทำให้เราน้ำตาไหลอาบได้ในซีซั่นนี้ก็มีแค่ Kathi ครูสมัยมัธยมของ Jonathan ผู้ทุ่มเทให้ลูกศิษย์และกิจกรรมเชียร์ของโรงเรียนจนไม่เคยมีเวลาให้ตัวเอง ชอบที่มันทำให้เห็นความเปราะบางของตัว Jonathan และประสบการณ์เลวร้ายในรั้วโรงเรียนที่ผ่านมาของเค้าด้วย และ Kenny คุณลุงใจดีผู้ไม่แต่งงานและอาศัยอยู่ในบ้านเก่าของพ่อแม่เพียงลำพัง ในความร่าเริงอารมณ์ดี มันมีความอ่อนแอซ่อนอยู่ และน้องหมานั่นอีกล่ะ น่ารักมาก!
.
ค้นพบอีกอย่างว่า เราไม่ได้ตื่นเต้นกับการเปลี่ยนโฉมของแขกรับเชิญ ผ่านฝีมือของ Tan และ Jonathan หรือการเปลี่ยนแปลงตกแต่งซ่อมบ้านของ Bobby แล้ว เพราะรู้สึกเหมือนมันเป็นการใช้เงินแก้ปัญหา และเป็นการช่วยโดยที่ตัวแขกรับเชิญแทบไม่ต้องพยายามอะไรเลย แต่เราจะตื่นเต้นกับช่วงเวลาของการปรับจูนความคิด แก้ปมในใจ หรือทะลายกำแพงของแขกรับเชิญแต่ละคนมากกว่า แล้วยิ่งถ้าช่วงเวลานั้นไม่ได้เป็นของ Karamo (ซึ่งในซีซั่นแรกเค้าจะครอบครองช่วงเวลานี้เป็นหลัก) เราจะยิ่งชอบมาก ชอบห้วงเวลาของการเปิดใจ ยอมเล่าความอ่อนแอ พ่ายแพ้ ปมฝังใจ และชอบมากกับวิธีที่ The Fab Five ส่งพลังบวกออกไป การจ้องตา รับฟัง ให้คำแนะนำ อะไรต่างๆ เหล่านี้ต่างหากที่เราอยากเก็บไปใช้กับตัวเอง
ชม Queer Eye: Season 4 ได้ทาง Netflix
อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่
เพจ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
[CR] [Review] Queer Eye: Season 4 (2019)
ด้วยความผิดพลาดบางประการ จากซีซั่น 1 เรากระโดดข้ามมาดูซีซั่น 4 เลยซะงั้น (เดี๋ยวค่อยย้อนกลับไปดูซีซั่น 2 - 3 อีกที) แล้วก็เป็นไปตามสูตรของการดูรายการภาคต่อ เรารู้สึกว่ามันไม่ได้สนุกเท่าเดิม อาจเพราะเราไม่ตื่นเต้นกับคอนเซ็ปต์ของรายการ คาแร็คเตอร์ของ 5 กูรู หรือแพทเทิร์นที่คาดเดาได้อีกต่อไปแล้ว พร้อมๆ กับมีคำถามเกิดขึ้นในใจเกือบทุกตอนของซีซั่นนี้ว่า หลังจากแก๊ง 5 เกย์ The Fab Five กลับไปแล้ว แขกรับเชิญผู้มีปัญหาในการใช้ชีวิต ความสัมพันธ์ การทำงาน หรือปมลึกในใจ จะใช้ชีวิตต่อไป โดยไม่วนกลับไปเป็นคนเดิมได้จริงเหรอ?
.
Queer Eye เป็นรายการเรียลิตี้สไตล์เมคโอเวอร์ ที่มีทีม The Fab Five เป็นกูรูเกย์ผู้รอบรู้ในหลากหลายด้านมาคอยดูแลปรับเปลี่ยนปรุงโฉมให้แขกรับเชิญได้พัฒนาตัวเองขึ้นในหลายๆ ด้าน ซึ่ง 5 เกย์หนุ่มที่ว่าก็ได้แก่ Antoni ดูแลเรื่องอาหารการกิน, Tan ดูแลเรื่องแฟชั่นการแต่งตัว, Jonathan ดูแลเรื่องทรงผมและกรูมมิ่ง, Bobby ดูแลเรื่องดีไซน์การตกแต่งบ้าน และ Karamo ดูแลเรื่องการปรับวิธีคิด วิธีการใช้ชีวิต
.
ความน่าสนใจของซีซั่นที่ 4 นี้ก็คือ การได้เห็น The Fab Five สลับสับเปลี่ยนหน้าที่หรือแตะมือร่วมกันทำงานแปลงโฉมแก้ปมในใจให้กับแขกรับเชิญ ซึ่งเราชอบนะ ได้เห็นการทำงานเป็นทีม และการชี้ให้เห็นความจริงว่า ไม่มีใครจะรู้หรือเข้าใจปัญหาได้หมดทุกเรื่อง บางทีเราแค่ต้องเลือกรับฟังข้อแนะนำจากคนที่ผ่านประสบการณ์มาคล้ายๆ กับเรา มากกว่าจะเชื่อแค่ว่าเค้าเก่งเรื่องอะไร แล้วก็ชอบมาก ที่ The Fab Five ไม่ได้บีบบังคับให้แขกรับเชิญเชื่อหรือเปลี่ยนแปลงตัวเองไปสุดขั้ว มันเป็นแค่ทางเลือกหนึ่ง เป็นแค่กระจกอีกบานที่สะท้อนให้เห็น แล้วก็อยู่ที่ตัวคุณเองแล้วล่ะว่าจะรับฟังเสียงจากคนอื่นไหม
.
การเลือกแขกรับเชิญในซีซั่นนี้ที่โฟกัสไปที่คนที่ทำความดีเพื่อสังคม ช่วยเหลือคนอื่นๆ ในชุมชน หรือมีโครงการอะไรบางอย่างที่ต้องการความช่วยเหลือ มันก็ทำให้ Queer Eye มีบรรยากาศเหมือนรายการประเภท เพราะคุณเป็นคนดี คุณจึงได้รับรางวัล ซึ่งมันก็ดีแหละ เพียงแต่แขกรับเชิญหลายๆ คนไม่ได้ทำงานกับความรู้สึกของเรามากพอ แขกรับเชิญที่ทำให้เราน้ำตาไหลอาบได้ในซีซั่นนี้ก็มีแค่ Kathi ครูสมัยมัธยมของ Jonathan ผู้ทุ่มเทให้ลูกศิษย์และกิจกรรมเชียร์ของโรงเรียนจนไม่เคยมีเวลาให้ตัวเอง ชอบที่มันทำให้เห็นความเปราะบางของตัว Jonathan และประสบการณ์เลวร้ายในรั้วโรงเรียนที่ผ่านมาของเค้าด้วย และ Kenny คุณลุงใจดีผู้ไม่แต่งงานและอาศัยอยู่ในบ้านเก่าของพ่อแม่เพียงลำพัง ในความร่าเริงอารมณ์ดี มันมีความอ่อนแอซ่อนอยู่ และน้องหมานั่นอีกล่ะ น่ารักมาก!
.
ค้นพบอีกอย่างว่า เราไม่ได้ตื่นเต้นกับการเปลี่ยนโฉมของแขกรับเชิญ ผ่านฝีมือของ Tan และ Jonathan หรือการเปลี่ยนแปลงตกแต่งซ่อมบ้านของ Bobby แล้ว เพราะรู้สึกเหมือนมันเป็นการใช้เงินแก้ปัญหา และเป็นการช่วยโดยที่ตัวแขกรับเชิญแทบไม่ต้องพยายามอะไรเลย แต่เราจะตื่นเต้นกับช่วงเวลาของการปรับจูนความคิด แก้ปมในใจ หรือทะลายกำแพงของแขกรับเชิญแต่ละคนมากกว่า แล้วยิ่งถ้าช่วงเวลานั้นไม่ได้เป็นของ Karamo (ซึ่งในซีซั่นแรกเค้าจะครอบครองช่วงเวลานี้เป็นหลัก) เราจะยิ่งชอบมาก ชอบห้วงเวลาของการเปิดใจ ยอมเล่าความอ่อนแอ พ่ายแพ้ ปมฝังใจ และชอบมากกับวิธีที่ The Fab Five ส่งพลังบวกออกไป การจ้องตา รับฟัง ให้คำแนะนำ อะไรต่างๆ เหล่านี้ต่างหากที่เราอยากเก็บไปใช้กับตัวเอง
ชม Queer Eye: Season 4 ได้ทาง Netflix
อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ เพจ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้