คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 17
ยะไข่ ท่าเรือกำลังเป็นไปตามแผนแล้ว
ภายในพม่าเองที่วางแผนจะให้เป็นเรื่องอนาคต มีเส้นทาง logistics ไปตามแนวปิโตรเลียมที่ไปคุนหมิง ซึ่งจีนเอง ก็คิดเหมาเลย ว่านี่อาจจะรวมเข้าในแผน BRI (Belt & Road Initiative ที่ชื่อเดิม One Belt One Road) ที่จริงๆ ถนนและทางรถไฟ BRI ก็ไหลไปตามสถานการณ์ ไม่ได้ตายตัว และบางโครงการเหมารวมเอง เพราะทางการพม่าไม่ได้ให้ทำ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ก็กำลังขอเข้าไปแจมอยากทำด้วย
แต่สรุปว่ามี จีนลงมือ port แล้ว เหมือนชิมลางก่อน ตามคห. 4, 5, 8 เลย
แต่คือ ความสำคัญยังไม่มากมาย เพราะกิจกรรมการค้ายังไม่มากพอเหมือนไทยเรา ตอนนี้ อย่างน้อยใช้ประโยชน์เฉพาะเรื่องแค่ก๊าซ-ท่อน้ำมันก่อน กิจกรรมการค้าเล็กๆ น้อยๆ ที่เห็นในข่าว SEZ คือกำลังพยายามทำให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ
และต่อไปจะไปเชื่อมย่างกุ้ง ตามถนนกลางประเทศสายเดิม เป็นสายรถไฟเดิม เส้นทางสื่อสาร Optic Backbone ของประเทศเดิม เชื่อมเมืองหลวงเก่ามัณฑะเลย์ เมืองหลวงใหม่เนปิดอว์ด้วย
เมืองชายแดน Muse ที่เห็นในแผนที่ตรงชายแดนจีนนี่ แน่นยิ่งกว่าท่าขี้เหล็กที่ติดกับไทยอีก คนเชื้อสายผสม พม่า ไทยใหญ่ จีน ปนกันนัวไปหมด
เพราะติดกับเมือง Ruili ของจีน
จีนฝังตัวทำโครงการต่างๆ อยู่ในพม่าตั้งแต่ยุคยังไม่เลือกตั้ง คือตั้งแต่ช่วงราวปี 2000 กว่าๆ แล้ว อองซานซูจียังถูกกักตัวในบ้านเลย
เงิน soft loan ที่ว่าเคยได้จากไทยยุคแม้วนั่น แค่กระจึ๋งเดียว เทียบกับที่จีนให้
สมัยก่อนระบบมือถือ Huawei, ZTE, Shanghai Bell (+Alcatel) เลยได้ project เป็นปกติทุกเฟสจากกระทรวงสื่อสารพม่าที่ตอนนั้นผูกขาด ฝรั่งรายอื่นเข้าไป เด้งออกมาหมด
ที่พูดนี่ ผมเข้าไปมีทำโครงการบางอย่างช่วงนั้นด้วย
โครงการพวกปิโตรเลียม ที่ฝรั่งกับจีนกำลัง bid เริ่มแข่งกันตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว ช่วงนั้นทางการพม่า ก็ไม่ได้ให้จีนผูกขาดหมด มีแบ่งให้ฝรั่งแข่งด้วย
แต่ของช่วงนี้ ไม่ได้รับจ้างทำโครงการกับใครแล้ว เลยได้อ่านแต่ข่าว
ภายในพม่าเองที่วางแผนจะให้เป็นเรื่องอนาคต มีเส้นทาง logistics ไปตามแนวปิโตรเลียมที่ไปคุนหมิง ซึ่งจีนเอง ก็คิดเหมาเลย ว่านี่อาจจะรวมเข้าในแผน BRI (Belt & Road Initiative ที่ชื่อเดิม One Belt One Road) ที่จริงๆ ถนนและทางรถไฟ BRI ก็ไหลไปตามสถานการณ์ ไม่ได้ตายตัว และบางโครงการเหมารวมเอง เพราะทางการพม่าไม่ได้ให้ทำ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ก็กำลังขอเข้าไปแจมอยากทำด้วย
แต่สรุปว่ามี จีนลงมือ port แล้ว เหมือนชิมลางก่อน ตามคห. 4, 5, 8 เลย
แต่คือ ความสำคัญยังไม่มากมาย เพราะกิจกรรมการค้ายังไม่มากพอเหมือนไทยเรา ตอนนี้ อย่างน้อยใช้ประโยชน์เฉพาะเรื่องแค่ก๊าซ-ท่อน้ำมันก่อน กิจกรรมการค้าเล็กๆ น้อยๆ ที่เห็นในข่าว SEZ คือกำลังพยายามทำให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ
และต่อไปจะไปเชื่อมย่างกุ้ง ตามถนนกลางประเทศสายเดิม เป็นสายรถไฟเดิม เส้นทางสื่อสาร Optic Backbone ของประเทศเดิม เชื่อมเมืองหลวงเก่ามัณฑะเลย์ เมืองหลวงใหม่เนปิดอว์ด้วย
เมืองชายแดน Muse ที่เห็นในแผนที่ตรงชายแดนจีนนี่ แน่นยิ่งกว่าท่าขี้เหล็กที่ติดกับไทยอีก คนเชื้อสายผสม พม่า ไทยใหญ่ จีน ปนกันนัวไปหมด
เพราะติดกับเมือง Ruili ของจีน
จีนฝังตัวทำโครงการต่างๆ อยู่ในพม่าตั้งแต่ยุคยังไม่เลือกตั้ง คือตั้งแต่ช่วงราวปี 2000 กว่าๆ แล้ว อองซานซูจียังถูกกักตัวในบ้านเลย
เงิน soft loan ที่ว่าเคยได้จากไทยยุคแม้วนั่น แค่กระจึ๋งเดียว เทียบกับที่จีนให้
สมัยก่อนระบบมือถือ Huawei, ZTE, Shanghai Bell (+Alcatel) เลยได้ project เป็นปกติทุกเฟสจากกระทรวงสื่อสารพม่าที่ตอนนั้นผูกขาด ฝรั่งรายอื่นเข้าไป เด้งออกมาหมด
ที่พูดนี่ ผมเข้าไปมีทำโครงการบางอย่างช่วงนั้นด้วย
โครงการพวกปิโตรเลียม ที่ฝรั่งกับจีนกำลัง bid เริ่มแข่งกันตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว ช่วงนั้นทางการพม่า ก็ไม่ได้ให้จีนผูกขาดหมด มีแบ่งให้ฝรั่งแข่งด้วย
แต่ของช่วงนี้ ไม่ได้รับจ้างทำโครงการกับใครแล้ว เลยได้อ่านแต่ข่าว
แสดงความคิดเห็น
ทำไมจีน ไม่ไปลงทุนสร้างท่าเรือขนส่งสินค้าที่พม่า แต่กลับสนใจภาคตะวันออกของไทย?
การเดินทางจะสั้นลงมาก เพราะไม่ต้องอ้อมแหลมมลายู (สิงคโปร์)
อีกอย่าง จากเมืองทางใต้ของจีนมาอู่ตะเภา จำเป็นต้องสร้างทางรถไฟขนส่งผ่าน 2 ประเทศ (ลาวกับไทย) เพราะไทยไม่มีชายแดนติดกับจีนโดยตรง ซึ่งการเจรจาน่าจะยุ่งยากกว่าคุยกับพม่าคนเดียว