.
.
Life on Tristan da Cunha the World's
Most Remote Inhabited Island
.
.
.
กดดูแผนที่
.
.
Tristan da Cunha
คือ เกาะที่เกิดขึ้นจากภูเขาไฟ
อยู่กึ่งกลางของมหาสมุทรแอตแลนติก
ตั้งอยู่ห่างจากแผ่นดินที่ใกล้ที่สุดคือ
Saint Helena 1,500 ไมล์(2,430 กิโลเมตร)
South Africa 1,750 ไมล์(2,816 กิโลเมตร)
South America 2,088 ไมล์(3,360 กิโลเมตร)
เกาะแห่งนี้ต้องพึ่งพา
เกาะ
Saint Helena
ดินแดนโพ้นทะเลของอังกฤษ
British Overseas Territory
คติพจน์ของชาวเกาะ Tristan da Cunha คือ
Our faith is our strength
ศรัทธา คือ พลัง
เพลงชาติคือ
.
.
.
British God Save the Queen
.
.
เมืองหลวงชื่อ
Edinburgh of the Seven Seas
ที่มีชื่อยาวกว่าชื่อเมืองหลวง
Edinburgh ของสก็อตแลนด์
ในปี 2005
ไปรษณีย์อังกฤษ Royal Mail
ได้กำหนดให้รหัสไปรษณีย์ของ
Tristan da Cunha เป็น TDCU 1ZZ
ด้วยเหตุผล 2 ประการคือ
จดหมายมักจะสูญหาย
เพราะไม่มีรหัสไปรษณีย์
ชื่อเมืองหลวงคล้ายคลึงกับ
เมือง Edinburgh ของสก็อตแลนด์
.
.
.
The National Anthem - God Save the Queen
.
.
Edinburgh of the Seven Seas
คือ พื้นที่หลักในการตั้งถิ่นฐานของชาวเกาะ
ได้รับการยอมรับว่าคือ
ภูมิลำเนาที่ห่างไกลที่สุดในโลก
มีระยะทางมากกว่า 2,400 กิโลเมตร
เมื่อเปรียบเทียบกับ
การตั้งถิ่นฐานของคนบนเกาะ
เกาะที่ใกล้แผ่นดินมากที่สุด
คือ Saint Helena
เกาะแห่งนี้มีรูปร่างค่อนข้างกลม
มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 11 กิโลเมตร
และมีพื้นที่ทั้งหมดราว 98 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่ของเกาะส่วนใหญ่เป็นภูเขา
มีพื้นที่ราบเพียงแห่งเดียว
เป็นที่ตั้งถิ่นฐานและเมืองหลวง
ชื่อ Edinburgh of the Seven Seas
ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ
มีภูเขาไฟบนเกาะชื่อว่า
Queen Mary's Peak
ที่เคยปะทุในปี 1961
ทำให้ชาวเกาะเกือบทั้งหมด
ต้องละทิ้งถิ่นฐานแล้วย้ายไปอยู่
ที่สหราชอาณาจักร
อย่างไรก็ตาม ในปี 1963
ชาวเกาะส่วนหนึ่งก็กลับมา
และเริ่มตั้งถิ่นฐานใหม่อีกครั้ง
หุบเขาแคบ ๆ หรือ
gulches
แผ่ออกมาจากยอดเขา
ในฤดูหนาวจะปกคลุมไปด้วยหิมะ
ในช่วงฤดูฝน
หุบเขาที่สูงชันจะกลายเป็น
กระแสน้ำเชี่ยวกราก
ที่ชะล้างเศษหินเศษดิน
ลงมาจากยอดเขาไปยังพื้นดินด้านล่าง
ไปรวมกองไว้ที่ราบทางตะวันตกเฉียงเหนือ
กลายเป็นทุ่งหญ้าสีเขียว
ที่ชาวเกาะใช้ปลูกมันฝรั่ง
ภูมิอากาศ ทะเลกึ่งร้อน
อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปื 15.1°C (59°F)
สถานที่ห่างไกลของเกาะแห่งนี้
ทำให้การขนส่งสินค้าไปยัง
โลกภายนอกเป็นเรื่องยาก
มีเรือเดินทางไปกลับใช้เวลา 7 วัน
จาก Cape Town ประเทศ South Africa
และมีเรือประมงจากแอฟริกาใต้
เดินทางมาที่นี่เป็นประจำ
แต่เรือ
RMS Saint Helena
จะไปเยี่ยมเกาะปีละครั้ง
ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ระหว่าง Cape Town และ Saint Helena
.
.
ในปี 1506
หมู่เกาะเหล่านี้ถูกพบเห็นครั้งแรก
โดย
Tristão da Cunha
นักสำรวจชาวโปรตุเกส
แต่พื้นที่เข้าถึงและนำเรือเข้าจอด
บนฝั่งยากลำบากมาก
ดังนั้นจึงตั้งชื่อเกาะใหญ่แห่งนี้ว่า
Ilha de (เกาะของ) Tristão da Cunha
ซึ่งต่อมาอังกฤษได้เปลี่ยนชื่อเป็น
เกาะ Tristan da Cunha
Tristan da Cunha
คือ เกาะหลักที่มีชาวบ้านคนอาศัยอยู่
อีกสองเกาะที่เข้าถึงได้ยากมาก
คือ เกาะ Nightingale และเกาะ Gough
พื้นที่รวมราว 80 ตร.ไมล์ (207.2 ตร.กม.)
ในปี 1643 นานถึง 137 ปี
ที่เกาะ Tristan da Cunha
จึงจะมีคนเดินเหยียบย่ำบนเกาะ
การขึ้นฝั่งครั้งแรกนั้นเกิดขึ้น
โดยลูกเรือ Heemstede
ในปี 1767 อีก 124 ปีต่อมา
มีการสำรวจหมู่เกาะเหล่านี้เป็นครั้งแรก
โดยเรือรบฝรั่งเศส L'Heure du Berger
และรายงานการสำรวจภูมิประเทศ
ถูกตีพิมพ์ในปี 1781
ในปี 1811 อีก 44 ปีต่อมา
Jonathan Lambert
คือ ผู้ตั้งถิ่นฐานถาวรคนแรก
โดยแล่นเรือมาจาก Salem
รัฐ Massachusetts สหรัฐอเมริกา
แล้วประกาศว่า หมู่เกาะเหล่านี้
เป็นสมบัติส่วนตัวของตน
พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น
หมู่เกาะ
Refreshment
แต่น่าเสียดายที่เจ้าของเกาะแห่งนี้มีอายุสั้น
เพราะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางเรือ
ในปี 1812 หลังจากนั้นเพียง 1 ปี
หมู่เกาะแห่งนี้จึงกลับมาใช้ชื่อเดิม
ในปี 1816
เพราะหมู่เกาะที่ห่างไกลนี้
มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์
จึงถูกอังกฤษยึดเป็นของตนเอง
(ในยุคนั้น โปรตุเกสเริ่มเจริญลงตลอดแล้ว
หลังจากภัย
ซูนามิในปี 1755
ทำลายชาติพังทะลายครั้งใหญ่)
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
กองทัพเรืออังกฤษใช้เป็นฐานทัพลับ
ในการตรวจสภาพภูมิอากาศลับ
และสถานีวิทยุในอุโมงค์
เกาะแห่งนี้ไม่มีเงินตราสกุลของตนเอง
จึงต้องใช้เงินปอนด์ของอังกฤษเป็นสกุลเงิน
ในการชำระเงิน/แลกเปลี่ยนสินค้า
ของพลเมืองบนเกาะ
และมีการใช้เงินสกุล Saint Helenian
ใช้จ่ายกันภายในชุมชน
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เกาะแห่งนี้จึงมีหนังสือพิมพ์
The Tristan Times
และผู้ดูแลดินแดนแห่งนี้
โดยได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลอังกฤษ
.
.
ประชากรของเกาะนี้มีเพียง 246 คน
16 คนที่ไปพำนักอาศัยอยู่ต่างประเทศ
และอีก 23 คนที่พำนักบนเกาะแห่งนี้
เป็นคนงานต่างชาติกับครอบครัว
และนักท่องเที่ยวมาที่เกาะแห่งนี้
ดังนั้นมีประชากร 253 คน
ที่อยู่บนเกาะ Tristan da Cunha
จำนวนประชากรมีการเพิ่มลดในบางวัน
แต่ทั้งนี้
ไม่อนุญาต
ให้รายใหม่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบนเกาะนี้
ดังนั้น จำนวนประชากรบนเกาะ
จึงไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลงมากนัก
ตำแหน่งงานส่วนใหญ่
ประชากรบนเกาะทำกันเอง
มีการว่าจ้างคนภายนอกเกาะ
โดยมีสัญญาว่าจ้างไม่เกิน 2 ปี ได้แก่
แพทย์ ครูแนะแนว นักวิทยาศาสตร์
ผู้เชี่ยวชาญปศุสัตว์ สัตว์น้ำ การเกษตร
มีศาสนาคริสต์ ศาสนาเดียวบนเกาะแห่งนี้
แยกเป็นนิกาย
Anglicanism
กับ
Roman Catholicism
.
.
Tristan da Cunha
เป็นดินแดนโพ้นทะเลของอังกฤษ
หนึ่งในอาณานิคมในอดีตที่ยังหลงเหลืออยู่
โดยไม่ขอความเป็นอิสระ/เอกราชแต่อย่างใด
และต้องการอยู่กับสหราชอาณาจักรโดยเฉพาะ
ย้อนกลับไปใน 1816
เมื่อเกาะแห่งนี้ได้รับการดูแลโดยอังกฤษ
โดยผู้ว่าราชการการมณฑล
(แต่งตั้งและเป็นตัวแทนของ HM The Queen)
ทำหน้าที่รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศ ความมั่นคงภายใน
การป้องกันและการบริการสาธารณะ
ของเกาะ Tristan da Cunha
มีอาคาร 2 ชั้นเพียงแห่งเดียวบนเกาะ
ชั้นล่างให้บริการ Internet Cafe
บางครั้งเรียกว่า Whitehall
หรือ H'admin Building
มีที่ทำงานผู้บริหาร การคลัง สำนักงาน
และหอการค้า โดยการประชุมสภา
จะจัดขึ้นที่นี่ มีสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้ง 8 คน
และสมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้ง 3 คน
ผู้ว่าราชการรัฐ คือ ผู้ว่าการรัฐ St Helena
ใช้อำนาจบริหาร Tristan da Cunha
โดยแต่งตั้งผู้บริหาร เกาะ Tristan da Cunha
ซึ่งทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารของเกาะ
และบริหารงานตามคำแนะนำ
จากสมาชิกสภาของเกาะ
อัยการสูงสุด คือ อัยการของ St Helena
มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับเกาะ Tristan da Cunha
ที่มีกฎหมายของตนเอง
และนำกฎหมายของ St Helena
มาบังคับใช้ในบางกรณีที่มีปัญหา
แต่ตราบใดที่กฎหมายท้องถิ่น
เหมาะสมสำหรับสถานการณ์ในท้องถิ่น
และอาจจะมีการปรับเปลี่ยนได้
ตามสถานการณ์ท้องถิ่นเท่าที่จำเป็น
ก็จะไม่มีการพิจารณานำกฎหมาย
ของ St Helena มาบังคับใช้
มีเจ้าหน้าที่ตำรวจทำงานเต็มเวลา 1 นาย
และตำรวจพิเศษอีก 3 นาย
ในอดีตผู้บริหารบนเกาะ
ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษา
ต่อมาการพิจารณาคดีจะถูกโอนไปเป็น
หน้าที่ของบุคคลที่ไม่ใช่ฝ่ายบริหาร
หรือนิติกร/ฝ่ายกฎหมายของผู้บริหาร
หมายเหตุ
ระบบกฎหมายอังกฤษถือตามจารีตประเพณี
และอาศัยคำพิพากษาในอดีตที่ผ่านมา
มีการใช้กฎหมายตามลายลักษณ์อักษรน้อยมาก
ผู้พิพากษาอังกฤษมาจากการสรรหา/แต่งตั้ง
โดยคัดเลือกมาจากทนายความ/นักกฎหมาย
ที่มีชื่อเสียงดีและความประพฤติไม่ด่างพร้อย
และขอให้มาทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษา
การได้รับเลือกเป็นผู้พิพากษา
ถือว่าเป็นเกียรติสูงสุดของตนเอง/ครอบครัว
แต่รายได้ลดลงอย่างมากต่างกับอาชีพเดิม
บางคนก็ไม่เอาหรือบางคนทำแล้วก็ลาออก
ผู้พิพากษาอังกฤษจะทำหน้าที่จนกว่าจะตาย
/ขอเกษียณอายุเอง
ผู้พิพากษาอังกฤษไม่มีการเลือกตั้ง
แบบผู้พิพากษาตามรัฐของสหรัฐอเมริกา
ยกเว้นผู้พิพากษาศาลสูงสุด(ฎีกา) สหรัฐฯ
เสนอชื่อโดยประธานาธิบดี
และให้สมาชิกวุฒิสภารับรองจึงจะเป็นได้
ของไทย ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
เสนอชื่อโดยนายกรัฐมนตรี
และให้วุฒิสภารับรอง
.
ชาวเกาะ Tristan da Cunha เกาะที่อยู่ห่างไกลที่สุดในโลก
.
Life on Tristan da Cunha the World's
Most Remote Inhabited Island
.
.
.
กดดูแผนที่
.
Tristan da Cunha
คือ เกาะที่เกิดขึ้นจากภูเขาไฟ
อยู่กึ่งกลางของมหาสมุทรแอตแลนติก
ตั้งอยู่ห่างจากแผ่นดินที่ใกล้ที่สุดคือ
Saint Helena 1,500 ไมล์(2,430 กิโลเมตร)
South Africa 1,750 ไมล์(2,816 กิโลเมตร)
South America 2,088 ไมล์(3,360 กิโลเมตร)
เกาะแห่งนี้ต้องพึ่งพา
เกาะ Saint Helena
ดินแดนโพ้นทะเลของอังกฤษ
British Overseas Territory
คติพจน์ของชาวเกาะ Tristan da Cunha คือ
Our faith is our strength
ศรัทธา คือ พลัง
เพลงชาติคือ
.
.
British God Save the Queen
.
เมืองหลวงชื่อ
Edinburgh of the Seven Seas
ที่มีชื่อยาวกว่าชื่อเมืองหลวง
Edinburgh ของสก็อตแลนด์
ในปี 2005
ไปรษณีย์อังกฤษ Royal Mail
ได้กำหนดให้รหัสไปรษณีย์ของ
Tristan da Cunha เป็น TDCU 1ZZ
ด้วยเหตุผล 2 ประการคือ
จดหมายมักจะสูญหาย
เพราะไม่มีรหัสไปรษณีย์
ชื่อเมืองหลวงคล้ายคลึงกับ
เมือง Edinburgh ของสก็อตแลนด์
.
.
The National Anthem - God Save the Queen
.
Edinburgh of the Seven Seas
คือ พื้นที่หลักในการตั้งถิ่นฐานของชาวเกาะ
ได้รับการยอมรับว่าคือ
ภูมิลำเนาที่ห่างไกลที่สุดในโลก
มีระยะทางมากกว่า 2,400 กิโลเมตร
เมื่อเปรียบเทียบกับ
การตั้งถิ่นฐานของคนบนเกาะ
เกาะที่ใกล้แผ่นดินมากที่สุด
คือ Saint Helena
เกาะแห่งนี้มีรูปร่างค่อนข้างกลม
มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 11 กิโลเมตร
และมีพื้นที่ทั้งหมดราว 98 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่ของเกาะส่วนใหญ่เป็นภูเขา
มีพื้นที่ราบเพียงแห่งเดียว
เป็นที่ตั้งถิ่นฐานและเมืองหลวง
ชื่อ Edinburgh of the Seven Seas
ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ
มีภูเขาไฟบนเกาะชื่อว่า
Queen Mary's Peak
ที่เคยปะทุในปี 1961
ทำให้ชาวเกาะเกือบทั้งหมด
ต้องละทิ้งถิ่นฐานแล้วย้ายไปอยู่
ที่สหราชอาณาจักร
อย่างไรก็ตาม ในปี 1963
ชาวเกาะส่วนหนึ่งก็กลับมา
และเริ่มตั้งถิ่นฐานใหม่อีกครั้ง
หุบเขาแคบ ๆ หรือ gulches
แผ่ออกมาจากยอดเขา
ในฤดูหนาวจะปกคลุมไปด้วยหิมะ
ในช่วงฤดูฝน
หุบเขาที่สูงชันจะกลายเป็น
กระแสน้ำเชี่ยวกราก
ที่ชะล้างเศษหินเศษดิน
ลงมาจากยอดเขาไปยังพื้นดินด้านล่าง
ไปรวมกองไว้ที่ราบทางตะวันตกเฉียงเหนือ
กลายเป็นทุ่งหญ้าสีเขียว
ที่ชาวเกาะใช้ปลูกมันฝรั่ง
ภูมิอากาศ ทะเลกึ่งร้อน
อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปื 15.1°C (59°F)
สถานที่ห่างไกลของเกาะแห่งนี้
ทำให้การขนส่งสินค้าไปยัง
โลกภายนอกเป็นเรื่องยาก
มีเรือเดินทางไปกลับใช้เวลา 7 วัน
จาก Cape Town ประเทศ South Africa
และมีเรือประมงจากแอฟริกาใต้
เดินทางมาที่นี่เป็นประจำ
แต่เรือ RMS Saint Helena
จะไปเยี่ยมเกาะปีละครั้ง
ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ระหว่าง Cape Town และ Saint Helena
.
.
.
.
© https://bit.ly/3cmjVDf
.
.
.
Tristão da Cunha
.
ในปี 1506
หมู่เกาะเหล่านี้ถูกพบเห็นครั้งแรก
โดย Tristão da Cunha
นักสำรวจชาวโปรตุเกส
แต่พื้นที่เข้าถึงและนำเรือเข้าจอด
บนฝั่งยากลำบากมาก
ดังนั้นจึงตั้งชื่อเกาะใหญ่แห่งนี้ว่า
Ilha de (เกาะของ) Tristão da Cunha
ซึ่งต่อมาอังกฤษได้เปลี่ยนชื่อเป็น
เกาะ Tristan da Cunha
Tristan da Cunha
คือ เกาะหลักที่มีชาวบ้านคนอาศัยอยู่
อีกสองเกาะที่เข้าถึงได้ยากมาก
คือ เกาะ Nightingale และเกาะ Gough
พื้นที่รวมราว 80 ตร.ไมล์ (207.2 ตร.กม.)
ในปี 1643 นานถึง 137 ปี
ที่เกาะ Tristan da Cunha
จึงจะมีคนเดินเหยียบย่ำบนเกาะ
การขึ้นฝั่งครั้งแรกนั้นเกิดขึ้น
โดยลูกเรือ Heemstede
ในปี 1767 อีก 124 ปีต่อมา
มีการสำรวจหมู่เกาะเหล่านี้เป็นครั้งแรก
โดยเรือรบฝรั่งเศส L'Heure du Berger
และรายงานการสำรวจภูมิประเทศ
ถูกตีพิมพ์ในปี 1781
ในปี 1811 อีก 44 ปีต่อมา
Jonathan Lambert
คือ ผู้ตั้งถิ่นฐานถาวรคนแรก
โดยแล่นเรือมาจาก Salem
รัฐ Massachusetts สหรัฐอเมริกา
แล้วประกาศว่า หมู่เกาะเหล่านี้
เป็นสมบัติส่วนตัวของตน
พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น
หมู่เกาะ Refreshment
แต่น่าเสียดายที่เจ้าของเกาะแห่งนี้มีอายุสั้น
เพราะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางเรือ
ในปี 1812 หลังจากนั้นเพียง 1 ปี
หมู่เกาะแห่งนี้จึงกลับมาใช้ชื่อเดิม
ในปี 1816
เพราะหมู่เกาะที่ห่างไกลนี้
มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์
จึงถูกอังกฤษยึดเป็นของตนเอง
(ในยุคนั้น โปรตุเกสเริ่มเจริญลงตลอดแล้ว
หลังจากภัย ซูนามิในปี 1755
ทำลายชาติพังทะลายครั้งใหญ่)
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
กองทัพเรืออังกฤษใช้เป็นฐานทัพลับ
ในการตรวจสภาพภูมิอากาศลับ
และสถานีวิทยุในอุโมงค์
เกาะแห่งนี้ไม่มีเงินตราสกุลของตนเอง
จึงต้องใช้เงินปอนด์ของอังกฤษเป็นสกุลเงิน
ในการชำระเงิน/แลกเปลี่ยนสินค้า
ของพลเมืองบนเกาะ
และมีการใช้เงินสกุล Saint Helenian
ใช้จ่ายกันภายในชุมชน
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เกาะแห่งนี้จึงมีหนังสือพิมพ์
The Tristan Times
และผู้ดูแลดินแดนแห่งนี้
โดยได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลอังกฤษ
.
.
.
© https://bit.ly/3fAuWTt
.
.
.
© https://bit.ly/2WFafNK
.
.
.
ประชากรของเกาะนี้มีเพียง 246 คน
16 คนที่ไปพำนักอาศัยอยู่ต่างประเทศ
และอีก 23 คนที่พำนักบนเกาะแห่งนี้
เป็นคนงานต่างชาติกับครอบครัว
และนักท่องเที่ยวมาที่เกาะแห่งนี้
ดังนั้นมีประชากร 253 คน
ที่อยู่บนเกาะ Tristan da Cunha
จำนวนประชากรมีการเพิ่มลดในบางวัน
แต่ทั้งนี้ ไม่อนุญาต
ให้รายใหม่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบนเกาะนี้
ดังนั้น จำนวนประชากรบนเกาะ
จึงไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลงมากนัก
ตำแหน่งงานส่วนใหญ่
ประชากรบนเกาะทำกันเอง
มีการว่าจ้างคนภายนอกเกาะ
โดยมีสัญญาว่าจ้างไม่เกิน 2 ปี ได้แก่
แพทย์ ครูแนะแนว นักวิทยาศาสตร์
ผู้เชี่ยวชาญปศุสัตว์ สัตว์น้ำ การเกษตร
มีศาสนาคริสต์ ศาสนาเดียวบนเกาะแห่งนี้
แยกเป็นนิกาย Anglicanism
กับ Roman Catholicism
.
.
Tristan da Cunha
เป็นดินแดนโพ้นทะเลของอังกฤษ
หนึ่งในอาณานิคมในอดีตที่ยังหลงเหลืออยู่
โดยไม่ขอความเป็นอิสระ/เอกราชแต่อย่างใด
และต้องการอยู่กับสหราชอาณาจักรโดยเฉพาะ
ย้อนกลับไปใน 1816
เมื่อเกาะแห่งนี้ได้รับการดูแลโดยอังกฤษ
โดยผู้ว่าราชการการมณฑล
(แต่งตั้งและเป็นตัวแทนของ HM The Queen)
ทำหน้าที่รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศ ความมั่นคงภายใน
การป้องกันและการบริการสาธารณะ
ของเกาะ Tristan da Cunha
มีอาคาร 2 ชั้นเพียงแห่งเดียวบนเกาะ
ชั้นล่างให้บริการ Internet Cafe
บางครั้งเรียกว่า Whitehall
หรือ H'admin Building
มีที่ทำงานผู้บริหาร การคลัง สำนักงาน
และหอการค้า โดยการประชุมสภา
จะจัดขึ้นที่นี่ มีสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้ง 8 คน
และสมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้ง 3 คน
ผู้ว่าราชการรัฐ คือ ผู้ว่าการรัฐ St Helena
ใช้อำนาจบริหาร Tristan da Cunha
โดยแต่งตั้งผู้บริหาร เกาะ Tristan da Cunha
ซึ่งทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารของเกาะ
และบริหารงานตามคำแนะนำ
จากสมาชิกสภาของเกาะ
อัยการสูงสุด คือ อัยการของ St Helena
มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับเกาะ Tristan da Cunha
ที่มีกฎหมายของตนเอง
และนำกฎหมายของ St Helena
มาบังคับใช้ในบางกรณีที่มีปัญหา
แต่ตราบใดที่กฎหมายท้องถิ่น
เหมาะสมสำหรับสถานการณ์ในท้องถิ่น
และอาจจะมีการปรับเปลี่ยนได้
ตามสถานการณ์ท้องถิ่นเท่าที่จำเป็น
ก็จะไม่มีการพิจารณานำกฎหมาย
ของ St Helena มาบังคับใช้
มีเจ้าหน้าที่ตำรวจทำงานเต็มเวลา 1 นาย
และตำรวจพิเศษอีก 3 นาย
ในอดีตผู้บริหารบนเกาะ
ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษา
ต่อมาการพิจารณาคดีจะถูกโอนไปเป็น
หน้าที่ของบุคคลที่ไม่ใช่ฝ่ายบริหาร
หรือนิติกร/ฝ่ายกฎหมายของผู้บริหาร
หมายเหตุ
ระบบกฎหมายอังกฤษถือตามจารีตประเพณี
และอาศัยคำพิพากษาในอดีตที่ผ่านมา
มีการใช้กฎหมายตามลายลักษณ์อักษรน้อยมาก
ผู้พิพากษาอังกฤษมาจากการสรรหา/แต่งตั้ง
โดยคัดเลือกมาจากทนายความ/นักกฎหมาย
ที่มีชื่อเสียงดีและความประพฤติไม่ด่างพร้อย
และขอให้มาทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษา
การได้รับเลือกเป็นผู้พิพากษา
ถือว่าเป็นเกียรติสูงสุดของตนเอง/ครอบครัว
แต่รายได้ลดลงอย่างมากต่างกับอาชีพเดิม
บางคนก็ไม่เอาหรือบางคนทำแล้วก็ลาออก
ผู้พิพากษาอังกฤษจะทำหน้าที่จนกว่าจะตาย
/ขอเกษียณอายุเอง
ผู้พิพากษาอังกฤษไม่มีการเลือกตั้ง
แบบผู้พิพากษาตามรัฐของสหรัฐอเมริกา
ยกเว้นผู้พิพากษาศาลสูงสุด(ฎีกา) สหรัฐฯ
เสนอชื่อโดยประธานาธิบดี
และให้สมาชิกวุฒิสภารับรองจึงจะเป็นได้
ของไทย ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
เสนอชื่อโดยนายกรัฐมนตรี
และให้วุฒิสภารับรอง
.
.
.
.
.
.
.
Tristan da Cunha
เพลงชาติTristan da Cunha
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.