By เหมียวศรัทธา - 5 May 2020
สร้างคลื่นเสียงจากภาพ “Galactic treasure chest”
( “Galactic treasure chest” )
ปี 2020 สำหรับองค์การนาซา และกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble ถือว่าเป็นปีที่มีความสำคัญ เพราะปีนี้เป็นปีที่ครบรอบการทำงาน 30 ปีของกล้องโทรทรรศน์อวกาศนี้ ดังนั้น เพื่อเป็นการฉลองการทำงานให้กลับกล้องตัวนี้ ล่าสุดทางนาซาก็ได้ออกมาทดลอง ทำการเปลี่ยนภาพถ่ายของกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวนี้ ให้เป็นคลื่นเสียงให้เหล่าผู้ที่สนใจได้ทดลองฟังกันดู
ซึ่งเหล่านักวิทยาศาสตร์ของ NASA ได้หาวิธีสร้างเสียงขึ้นจากอวกาศ โดยโครงการนี้ดำเนินมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2019 ด้วยนำภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลมาผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “Sonification”
ภาพที่ NASA ใช้ในการทดลองครั้งนี้ เป็นภาพที่นักวิทยาศาสตร์เรียกกันว่า หีบสมบัติกาแล็กซี (Galactic treasure chest) มาสร้างเป็นเส้นเสียงที่มีความถี่ต่างๆ กันแล้วแต่ลักษณะของแสงและรูปร่างของกาแล็กซีที่ปรากฏ เพราะภาพนี้มีกาแล็กซีจำนวนมากกระจัดกระจายอยู่ในภาพดังกล่าว โดยเสริมว่า ดาวที่อยู่ใกล้กับโลกของเราส่องประกายอยู่เบื้องหน้า ในขณะที่กลุ่มกาแล็กซีทั้งหลาย กระจุกอยู่ใจกลางของภาพอยู่รวมกันเพราะมีแรงโน้มถ่วงมหาศาล ซึ่งถ่ายไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.2018
ในกระบวนการสร้างเสียงจากภาพนั้น นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ตำแหน่งและธาตุที่แตกต่างกันของภาพจะให้เสียงที่แตกต่างกันออกไป โดยดวงดาวและกาแล็กซีที่มีขนาดเล็กจะให้เสียงที่ชัดเจนและเป็นโน้ตสั้นๆ ส่วนกาแล็กซีที่มีลักษณะเป็นวงเกลียวจะให้เสียงที่ซับซ้อนและเป็นโน้ตที่ยาวกว่า
เว็บไซต์ NASA ระบุว่า กลุ่มกาแล็กซีเป็นวัตถุที่น่าสนใจที่สุดในจักรวาล การศึกษากาแล็กซีเหล่านี้ คือการศึกษาการจัดระเบียบของสสารในระดับที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะจะช่วยให้มนุษย์เข้าใจถึงสิ่งต่างๆ ที่เรายังไม่รู้ อย่าง สสารมืด (Dark Matter) หรือพลังงานมืด (Dark Energy) เป็นต้น
“เมื่อเวลาผ่านไปเส้นความถี่จะขยับจากซ้ายไปขวา ในขณะที่ความถี่เปลี่ยนจากล่างขึ้นบนในระยะความถี่คลื่นตั้งแต่ 30-1,000 เฮิรตซ์ โดยวัตถุที่อยู่ด้านล่างของภาพจะสร้างโน้ตที่ต่ำกว่าในขณะที่วัตถุที่อยู่ใกล้ด้านบนจะสร้างโน้ตที่สูงกว่า” นาซาอธิบายในวิดีโอของพวกเขา
“ดาวและกาแล็กซีขนาดกะทัดรัดจะสร้างเสียงที่สั้นและชัดเจน ในขณะที่กาแล็กซีกังหันจะมีโน้ตที่ยาว และระดับเสียงที่เปลี่ยนไป”
แน่นอนว่าด้วยลักษณะของกระบวนการ Sonification เสียงที่ออกมานั้นโดยมากแล้วจะฟังดูแปลกๆ และชวนขนลุกอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม บางส่วนของภาพเองก็ยังคงนำมาซึ่งบทเพลงที่งดงามในความลึกลับเช่นกัน ตัวอย่างเช่นบริเวณตรงกลางของภาพ อันเป็นสถานที่ตั้งของ กระจุกกาแล็กซีชื่อ RXC J0142.9 + 4438 เป็นต้น
ที่มา sciencetimes, sciencealert, express, spacetelescope
อ้างอิงจาก
https://www.sciencealert.com/nasa-has-translated-a-hubble-p…
https://www.spacetelescope.org/images/potw1833a/
ภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble ในวันเกิดของตัวเอง
ย้อนกลับไปในช่วงเดือนเมษายน ค.ศ. 1990 ด้วยความร่วมมือกันขององค์การนาซาของสหรัฐอเมริกา และองค์การอวกาศยุโรป มนุษย์ได้ประสบความสำเร็จในการปล่อยกระสวยอวกาศที่บรรทุกกล้องโทรทรรศน์อวกาศ “Hubble” ขึ้นไปสู่วงโคจรของโลก
ตั้งแต่ในเวลานั้นตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ กล้องโทรทรรศน์อวกาศนี้ก็ได้เฝ้ามองออกไปยังอวกาศอันไกลโพ้นเสมอมา ซึ่งทำให้เมื่อเวลาผ่านไปกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble ก็มีข้อมูลการสำรวจอวกาศเก็บไว้ในทุกๆ วันของปี
ในโอกาสที่ปี ค.ศ. 2020 นี้เป็นปีที่ครบรอบ 30 ปีการทำงานของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble ทางองค์การนาซา จึงได้ฉลองช่วงเวลาอันแสนสำคัญนี้ ด้วยการออกเครื่องมือใหม่ที่จะทำให้คุณสามารถค้นหาดูได้ว่าในวันเกิดของคุณเอง กล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวนี้กำลังดูอะไรอยู่
เครื่องมือชิ้นนี้ มีชื่อเรียกว่า “What Did Hubble See on Your Birthday?” โดยจริงๆ แล้วเป็นเครื่องมือที่ถูกปล่อยออกมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ของปีนี้แล้ว
อย่างไรก็ตามด้วยความที่มีคนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก บวกกับปัญหาทางเทคนิคบางอย่าง ในช่วงก่อนระบบดังกล่าวจึงถูกปิดจากการใช้งานไปชั่วคราว และเพิ่งจะกลับมาให้งานได้อย่างเต็มที่อีกครั้งในช่วงเดือนเมษาที่ผ่านมาเท่านั้น
โดยสำหรับคนที่สนใจอยากทดลองใช้ระบบนี้ หาสิ่งที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble ในวันเกิดของตัวเองหรือวันอื่นๆ เพื่อนๆ ก็สามารถใช้งานเครื่องมือนี้ได้ด้วยขั้นตอนการใช้งานง่ายๆ
1. เข้าไปยังเว็บไซต์หลักของนาซาโดยกด ที่นี่ (
https://www.nasa.gov/content/goddard/what-did-hubble-see-on-your-birthday)
2. ใส่วันเกิดของตัวเองหรือวันอื่นๆ ที่ต้องการลงไป
3. ชมภาพความงามที่ออกมา
4. หากถูกใจภาพที่เห็น ทางนาซาก็เสนอให้คุณแชร์ภาพที่ออกมาให้เพื่อนๆเห็น
ที่มา nasa และ mashable
ครบรอบ 30 ปี กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลด้วยภาพถ่ายเนบิวลา NGC 2014 และ NGC 2020
"แนวปะการังแห่งห้วงจักรวาล" (Cosmic reef)
นาซาฉลองครบรอบ 30 ปี กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลด้วยภาพถ่ายเนบิวลา NGC 2014 และ NGC 2020 มีตำแหน่งอยู่ในบริเวณเมฆแมเจลแลนใหญ่ (Large Magellanic Cloud) ห่างจากกาแลคซีทางช้างเผือก (Milky Way) ที่ตั้งของระบบสุริยะดวงอาทิตย์และโลกประมาณ 163,000 ปีแสง ภาพนี้ได้รับฉายาว่าแนวปะการังอวกาศ (Cosmic Reef) เนื่องจากมีสีสันสวยงามและมีลักษณะคล้ายแนวปะการังในมหาสมุทร
เนบิวลา NGC 2014 มีลักษระเป็นกลุ่มก้อนใหญ่และสว่างกว่าทางขวามือของภาพภายในเนบิวลามีดาวฤกษ์ขนาดใหญ่จำนวนมากอาจมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของระบบสุริยะประมาณ 10-20 เท่า สีแดงส้มที่เด่นชัดอาจมาจากไนโตรเจนและไฮโดรเจน ส่วนเนบิวลา NGC 2020 มีขนาดเล็กกว่าประกอบด้วยแก๊สสีน้ำเงินจำนวนมากด้านทางมุมซ้ายของภาพ คาดว่าเกิดจากการระเบิดของดาวฤกษ์ขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ 200,000 เท่า
ที่มาของข้อมูล
Hubble Marks 30 Years in Space With Tapestry of Blazing Starbirth
เนบิวลาหัวม้าที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble ถ่ายไว้ในวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012
เนบิวลาหัวม้าถือเป็นหนึ่งในเนบิวลาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเนบิวลาหนึ่ง สำหรับภาพใบนี้ได้รับการบันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล และถูกปล่อยออกมาเนื่องในโอกาสพิเศษครบรอบ 23 ปี ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
เนบิวลาหัวม้าตั้งอยู่ในกลุ่มดาวนายพราน ถูกค้นพบครั้งแรกโดย Williamina Fleming นักดาราศาสตร์ชาวสกอตแลนด์ เมื่อปี 1888 เป็นเนบิวลาที่ห่างจากโลกออกไปราว 1500 ปีแสง (Cr.
https://it-it.facebook.com/myscitv/photos/)
เนบิวลากระดูกงู
ในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปีกล้องฮับเบิล นาซาร่วมกับ ESA และ สถาบันกล้องโทรทรรศน์อวกาศ เผยแพร่ภาพถ่ายส่วนหนึ่งของเนบิวลากระดูกงูเรือ ชื่อ "เทือกเขาพิศวง" จากกล้องถ่ายภาพสนามกว้าง 3 ซึ่งถ่ายไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 ในภาพ สีน้ำเงินคือออกซิเจน สีเขียวคือไฮโดรเจนกับไนโตรเจน และสีแดงคือซัลเฟอร์ Cr.
https://th.wikipedia.org/wiki/กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
NASA ฉลอง 30 ปี กล้องโทรทรรศน์อวกาศ “Hubble”
ซึ่งเหล่านักวิทยาศาสตร์ของ NASA ได้หาวิธีสร้างเสียงขึ้นจากอวกาศ โดยโครงการนี้ดำเนินมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2019 ด้วยนำภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลมาผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “Sonification”
ภาพที่ NASA ใช้ในการทดลองครั้งนี้ เป็นภาพที่นักวิทยาศาสตร์เรียกกันว่า หีบสมบัติกาแล็กซี (Galactic treasure chest) มาสร้างเป็นเส้นเสียงที่มีความถี่ต่างๆ กันแล้วแต่ลักษณะของแสงและรูปร่างของกาแล็กซีที่ปรากฏ เพราะภาพนี้มีกาแล็กซีจำนวนมากกระจัดกระจายอยู่ในภาพดังกล่าว โดยเสริมว่า ดาวที่อยู่ใกล้กับโลกของเราส่องประกายอยู่เบื้องหน้า ในขณะที่กลุ่มกาแล็กซีทั้งหลาย กระจุกอยู่ใจกลางของภาพอยู่รวมกันเพราะมีแรงโน้มถ่วงมหาศาล ซึ่งถ่ายไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.2018
ในกระบวนการสร้างเสียงจากภาพนั้น นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ตำแหน่งและธาตุที่แตกต่างกันของภาพจะให้เสียงที่แตกต่างกันออกไป โดยดวงดาวและกาแล็กซีที่มีขนาดเล็กจะให้เสียงที่ชัดเจนและเป็นโน้ตสั้นๆ ส่วนกาแล็กซีที่มีลักษณะเป็นวงเกลียวจะให้เสียงที่ซับซ้อนและเป็นโน้ตที่ยาวกว่า
เว็บไซต์ NASA ระบุว่า กลุ่มกาแล็กซีเป็นวัตถุที่น่าสนใจที่สุดในจักรวาล การศึกษากาแล็กซีเหล่านี้ คือการศึกษาการจัดระเบียบของสสารในระดับที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะจะช่วยให้มนุษย์เข้าใจถึงสิ่งต่างๆ ที่เรายังไม่รู้ อย่าง สสารมืด (Dark Matter) หรือพลังงานมืด (Dark Energy) เป็นต้น
“เมื่อเวลาผ่านไปเส้นความถี่จะขยับจากซ้ายไปขวา ในขณะที่ความถี่เปลี่ยนจากล่างขึ้นบนในระยะความถี่คลื่นตั้งแต่ 30-1,000 เฮิรตซ์ โดยวัตถุที่อยู่ด้านล่างของภาพจะสร้างโน้ตที่ต่ำกว่าในขณะที่วัตถุที่อยู่ใกล้ด้านบนจะสร้างโน้ตที่สูงกว่า” นาซาอธิบายในวิดีโอของพวกเขา
“ดาวและกาแล็กซีขนาดกะทัดรัดจะสร้างเสียงที่สั้นและชัดเจน ในขณะที่กาแล็กซีกังหันจะมีโน้ตที่ยาว และระดับเสียงที่เปลี่ยนไป”
อ้างอิงจาก
https://www.sciencealert.com/nasa-has-translated-a-hubble-p…
https://www.spacetelescope.org/images/potw1833a/
ตั้งแต่ในเวลานั้นตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ กล้องโทรทรรศน์อวกาศนี้ก็ได้เฝ้ามองออกไปยังอวกาศอันไกลโพ้นเสมอมา ซึ่งทำให้เมื่อเวลาผ่านไปกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble ก็มีข้อมูลการสำรวจอวกาศเก็บไว้ในทุกๆ วันของปี
ในโอกาสที่ปี ค.ศ. 2020 นี้เป็นปีที่ครบรอบ 30 ปีการทำงานของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble ทางองค์การนาซา จึงได้ฉลองช่วงเวลาอันแสนสำคัญนี้ ด้วยการออกเครื่องมือใหม่ที่จะทำให้คุณสามารถค้นหาดูได้ว่าในวันเกิดของคุณเอง กล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวนี้กำลังดูอะไรอยู่
เครื่องมือชิ้นนี้ มีชื่อเรียกว่า “What Did Hubble See on Your Birthday?” โดยจริงๆ แล้วเป็นเครื่องมือที่ถูกปล่อยออกมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ของปีนี้แล้ว
อย่างไรก็ตามด้วยความที่มีคนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก บวกกับปัญหาทางเทคนิคบางอย่าง ในช่วงก่อนระบบดังกล่าวจึงถูกปิดจากการใช้งานไปชั่วคราว และเพิ่งจะกลับมาให้งานได้อย่างเต็มที่อีกครั้งในช่วงเดือนเมษาที่ผ่านมาเท่านั้น
โดยสำหรับคนที่สนใจอยากทดลองใช้ระบบนี้ หาสิ่งที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble ในวันเกิดของตัวเองหรือวันอื่นๆ เพื่อนๆ ก็สามารถใช้งานเครื่องมือนี้ได้ด้วยขั้นตอนการใช้งานง่ายๆ
1. เข้าไปยังเว็บไซต์หลักของนาซาโดยกด ที่นี่ ( https://www.nasa.gov/content/goddard/what-did-hubble-see-on-your-birthday)
2. ใส่วันเกิดของตัวเองหรือวันอื่นๆ ที่ต้องการลงไป
3. ชมภาพความงามที่ออกมา
4. หากถูกใจภาพที่เห็น ทางนาซาก็เสนอให้คุณแชร์ภาพที่ออกมาให้เพื่อนๆเห็น
ที่มา nasa และ mashable
เนบิวลา NGC 2014 มีลักษระเป็นกลุ่มก้อนใหญ่และสว่างกว่าทางขวามือของภาพภายในเนบิวลามีดาวฤกษ์ขนาดใหญ่จำนวนมากอาจมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของระบบสุริยะประมาณ 10-20 เท่า สีแดงส้มที่เด่นชัดอาจมาจากไนโตรเจนและไฮโดรเจน ส่วนเนบิวลา NGC 2020 มีขนาดเล็กกว่าประกอบด้วยแก๊สสีน้ำเงินจำนวนมากด้านทางมุมซ้ายของภาพ คาดว่าเกิดจากการระเบิดของดาวฤกษ์ขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ 200,000 เท่า
ที่มาของข้อมูล
Hubble Marks 30 Years in Space With Tapestry of Blazing Starbirth
เนบิวลาหัวม้าตั้งอยู่ในกลุ่มดาวนายพราน ถูกค้นพบครั้งแรกโดย Williamina Fleming นักดาราศาสตร์ชาวสกอตแลนด์ เมื่อปี 1888 เป็นเนบิวลาที่ห่างจากโลกออกไปราว 1500 ปีแสง (Cr. https://it-it.facebook.com/myscitv/photos/)
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)