รอยเท้าของมนุษย์ดึกดำบรรพ์

รอยเท้ามนุษย์อายุ 13,000 ปี



รายงานล่าสุดที่ถูกเผยแพร่ลงในวารสาร Plos One ประกาศการค้นพบรอยเท้ามนุษย์จำนวน 29 รอย บริเวณชายฝั่งของเกาะ Calvert ในรัฐบริติชโคลัมเบีย
จากบทสัมภาษณ์ที่ตีพิมพ์ลงใน New York Times นักโบราณคดีจากสถาบัน Hakai และมหาวิทยาลัยวิคตอเรียนาม Duncan McLaren เป็นผู้ค้นพบรอยเท้านี้เมื่อปี 2014 และระหว่างการสำรวจในปี 2015 และ 2016 จำนวนรอยเท้าก็เพิ่มมากขึ้น

ด้วยขนาดของรอยเท้าที่ต่างกัน ทีมนักวิจัยตั้งทฤษฎีขึ้นว่าเจ้าของรอยเท้าเหล่านี้น่าจะเป็นมนุษย์ผู้ใหญ่สองคนและเด็กอีกสองคน รอยเท้าดังกล่าวถูกฝังอยู่ในดินเหนียวที่ประกอบด้วยตะกอนมากมายเช่น ทราย และโคลน ธรรมชาติของสถานที่แห่งนี้รักษารอยเท้าโบราณเอาไว้

จากการตรวจสอบด้วยคาร์บอนกัมมันตรังสี นักวิทยาศาสตร์พบว่ารอยเท้าเหล่านี้มีอายุย้อนกลับไปได้ถึงเมื่อ 13,000 ปีก่อน  ทำให้รอยเท้าล่าสุดนี้ได้ชื่อว่าเป็นรอยเท้ามนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุด เท่าที่เคยถูกพบมาในทวีปอเมริกาเหนือ  การค้นพบรอยเท้าในแคนาดานี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ทำความเข้าใจถึงการอพยพของผู้คนสมัยก่อนมากยิ่งขึ้น
เรื่อง ซาร่าห์ กิบเบ็นส์
Cr.https://ngthai.com/history/9275/13000-year-old-human-footprints/

รอยเท้ามนุษย์อายุ 15,600 ปี


นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยออสทราลแห่งประเทศชิลี เผยว่า เมื่อปี พ.ศ.2553 มีนักศึกษาของมหาวิทยาลัยยูนิเวอซิดัด ออสตราล ออฟ ชิลี 
 ( Universidad Austral of Chile)ได้ค้นพบรอยเท้าบางอย่างในพื้นที่ทางภาคใต้ของประเทศชิลี   และถูกส่งต่อให้นักวิทยาศาสตร์นำไปวิเคราะห์เป็นเวลาหลายปี เพื่อแยกแยะความเป็นไปได้ของรอยเท้าพร้อมทั้งกำหนดอายุที่แน่ชัด เบื้องต้นนั้นคิดว่าอาจเป็นรอยเท้าของสัตว์บางชนิด

และผลวิจัยล่าสุดเผยแล้วว่า นี่คือรอยเท้า มนุษย์มีอายุ 15,600 ปี นอกจากจะเป็นรอยเท้าที่ถูกค้นพบครั้งแรกในภาคใต้ของชิลี ยังเชื่อว่าจะเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมาในทวีปอเมริกา   ที่สำคัญคือนี่จะเป็นหลักฐานแรกในการปรากฏตัวของมนุษย์บนทวีปอเมริกาที่น่าจะมีมานานกว่า 12,000 ปี และนักบรรพชีวินวิทยายังเผยว่าใกล้ๆรอยเท้ามนุษย์ดังกล่าวยังพบซากกระดูก ของสัตว์รวมถึงช้างโบราณอีกด้วย.

สำหรับการหาอายุของรอยเท้านั้น  มาริโอ ปิโน (Mario Pino) นักภูมิศาสตร์ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ประยุกต์ใช้เทคนิคหาอายุด้วยไอโซโทปคาร์บอนกับร่องรอยของพืชที่พบรอบๆ รอยเท้า และลักษณะรอยเท้านั้นเป็นของผู้ชายที่มีน้ำหนักประมาณ 70 กิโลกรัม และเป็นมนุษย์สปีชีส์ โฮมินิเปส โมเดอร์นัส (Hominipes Modernus) ซึ่งเป็นญาติของ โฮโมซาเปียนส์ (Homo Sapiens) หรือมนุษย์ในปัจจุบัน
Cr.ภาพ https://www.catdumb.com/oldest-footprint-of-americas-378/
Cr.https://www.thairath.co.th/news/foreign/1556311
Cr.https://mgronline.com/science/detail/9620000041730 /  โดย: ผู้จัดการออนไลน์

รอยเท้าของมนุษย์ดึกดำบรรพ์ 3.66 ล้านปีก่อน


ราว 40 ปีก่อน ได้มีการค้นพบรอยเท้ามนุษย์สปีซี่ส์ A. Afarensis ในแทนซาเนีย ซึ่งโด่งดังไปทั่วโลกโดยนักบรรพชีวินในตำนาน Mary Leakey  หลังจากนั้นก็ไม่พบอีกเลย จนมาปีนี้ นักมานุษยวิทยาชาวอิตาลี ได้ค้นพบโดยบังเอิญ จากงานก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ในแทนซาเนีย

หลังจากเอาหินชั้นบนออกแล้วก็ได้รอยเท้า ของ A. Afarensis ทั้งหมด 5 คน เดินเคียงกันยาวถึง 30 ม. จากการวิเคราะห์ขั้นต้นโดยโมเดลคอมพ์พบว่ามีตัวผู้ 1 ตัวเมีย 3 และเด็ก 1 โดยตัวผู้สูงถึง 165 ซม. ซึ่งสูงมากเมื่อเทียบกับ ลูซี่ โครงกระดูกอันโด่งดังสปีซี่ส์เดียวกันเมื่อ 3.2 ล้านปีก่อน ที่สูงแค่ 110ซม. ทั้งนี้การค้นพบรอยเท้ากลุ่มนี้ นักวิทย์คิดว่า ทฤษฎีที่ว่ามนุษย์สมัยนั้นตัวผู้มีเมียหลายคนจึงเป็นไปได้สูง

การรักษาของรอยเท้าพวกนี้สันนิษฐานได้ว่า  เมื่อขี้เถ้าภูเขาไฟตกทับถมและเปียกชื้นจากฝนในอดีต ถูก imprint โดยสิ่งมีชีวิต ก่อนที่จะถูกฝุ่น/ตะกอนทับถมต่อมา ตัวผู้ที่ว่านั้นตัวใหญ่จึงถูกเรียกชื่อเล่นว่า Chewie ตามตัวละครชิวแบคก้า ในหนังสตาร์วอรส์
โดย ดร. ไพลิล ฉัตรอนันทเวช
นักธรณีวิทยา/ธรณีฟิสิกส์ University of Arizona
อ้างอิง
https://www.theguardian.com/…/stepping-back-36m-years-footp…
Cr.https://www.facebook.com/tsunamithailandCaltech/posts/1316340328430187/

รอยเท้าเก่าแก่ 85,000 ปี


มีรายงานค้นพบรอยเท้าเก่าแก่ของมนุษย์ในภูมิภาคทางตะวันตกเฉียงเหนือของซาอุดิอาระเบีย ใกล้กับเมือง Tabuk รายงานจากการแถลงข่าวโดยกระทรวงวัฒนธรรมและข้อมูลพบว่ารอยเท้าที่เพิ่งถูกค้นพบนี้กระจัดกระจายไปตามทิศต่างๆ บนสถานที่ที่เชื่อกันว่าเคยเป็นทะเลสาบโบราณ

การค้นพบครั้งนี้ถูกประกาศโดยเจ้าชาย Sultan bin Salman ประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวและมรดกแห่งชาติซาอุดิอาระเบียในระหว่างการเยือนพิพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว
เจ้าชายระบุว่ากลุ่มรอยเท้าที่ค้นพบนี้มีอายุเก่าแก่ถึง 85,000 ปี การขุดค้นดำเนินงานโดย Huw Groucutt นักโบราณคดีที่กำลังทำงานในภูมิภาคดังกล่าว และขณะนี้กำลังวิเคราะห์รอยเท้าเพื่อเผยแพร่รายละเอียดของการค้นพบนี้

หากนักวิทยาศาสตร์มีการค้นพบรอยเท้าที่เก่าแก่มากกว่า 80,000 ปี มันจะเป็นเงื่อนงำสำคัญเพราะเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ฟอสซิลกระดูกนิ้วมนุษย์ถูกพบในทะเลสาบโบราณของซาอุดิอาระเบียที่มีชื่อเรียกว่า แหล่งโบราณคดี Al Wusta ซึ่งจากรายงานการค้นพบในครั้งนั้นระบุว่าฟอสซิลนิ้วดังกล่าวเป็นของมนุษย์ที่เคยมีชีวิตอยู่ในภูมิภาคนั้นเมื่อ 88,000 ปีก่อน ซึ่งในช่วงเวลานั้นทะเลสาบยังคงมีน้ำหล่อเลี้ยงสรรพชีวิตรอบๆ

นักโบราณคดีคาดหวังว่าซาอุดิอาระเบียจะเป็นแหล่งโบราณคดีแหล่งสำคัญในการศึกษาการอพยพของมนุษย์ ซึ่งขณะนี้ทางรัฐบาลเองอนุญาตให้เฉพาะนักวิทยาศาสตร์จากต่างชาติเท่านั้น ที่สามารถเดินทางเข้าไปสำรวจยังแหล่งโบราณคดีได้ 
เรื่อง ซาร่าห์ กิบเบ็นส์
Cr.https://ngthai.com/history/10643/footprints-show-human-migration/

รอยเท้ามนุษย์ยุคโบราณ ‘8แสนปี’


(ภาพ-Alfredo Coppa/Sapienza University Rome)
 
ทีมวิจัยทางด้านบรรพชีวินวิทยาจากพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเอริเทรีย นำโดย ศ.อัลเฟรโด คอปปา นักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยซาเปียนซา ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี ขุดค้นพบรอยเท้าของมนุษย์ยุคโบราณอายุเก่าแก่ราว 800,000 ปี ที่แหล่งขุดค้นอาลัด-อาโม ในทะเลทรายดานาคิล ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเอริเทรีย โดยเชื่อว่าเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบรอยเท้าของ “โฮโม อีเรคตัส” มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ถือเป็นบรรพบุรุษโดยตรงของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน

รอยเท้าจำนวน 12 รอยที่พบอยู่ในชั้นตะกอนทรายที่กลายเป็นหินนั้น คาดกันว่าเป็นไปได้ที่จะเป็นของคนจำนวนหนึ่งรูปร่างสูง ที่ทิ้งรอยเท้าเอาไว้ในพื้นที่ซึ่งเดิมน่าจะเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยทุ่งหญ้าและป่าละเมาะ ตรงจุดที่เป็นพื้นที่ขุดค้นขนาด 85 ตารางฟุตนั้น เชื่อว่าน่าจะเป็นส่วนของพื้นที่เป็นตะกอนที่เคยน้ำท่วมถึงเป็นครั้งคราว ทำให้รอยเท้าถูกประทับทิ้งไว้อย่างนั้น หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน

 ศ.คอปปากล่าวว่า รอยเท้าที่พบนั้นเป็นการเคลื่อนที่จากทางเหนือลงใต้ และอาจเป็นรอยเท้าของคนหลายคน ซึ่งอาจกำลังไล่ตามสัตว์กีบบางอย่างคล้ายกวางแอนติโลป ซึ่งปรากฏรอยเท้าของสัตว์กีบจำพวกกวางนี้อยู่ตามเส้นทางรอยเท้ามนุษย์ดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกัน
 
“โฮโม อีเรคตัส” เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน มีสมองขนาดใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อราว 1.8 ล้านปีก่อนที่จะสูญพันธุ์ไปในแอฟริกาเมื่อประมาณ 700,000-800,000 ปีก่อน ในขณะที่เชื่อกันว่าส่วนหนึ่งของโฮโม อีเรคตัส กระจายกันออกไปใช้ชีวิตอยู่ในแอฟริกาตะวันออก เรื่อยไปจนถึงตะวันออกกลางและเอเชีย ซึ่งอาจจะมีชีวิตรอดมาจนกระทั่งถึงราว 50,000 ปีที่แล้ว

ศ.คอปปาชี้ว่า การค้นพบรอยเท้าครั้งนี้ อาจช่วยให้ไขเงื่อนงำได้ว่า โฮโม อีเรคตัส วิวัฒนาการไปอย่างไรจนกระทั่งถึงเมื่อโฮโม ซาเปียน หรือสายพันธุ์มนุษย์ยุคใหม่เกิดขึ้นมาเมื่อราว 200,000 ปีก่อน  รอยเท้าของมนุษย์ดึกดำบรรพ์นั้นให้ข้อมูลได้หลากหลาย ตั้งแต่ขนาดและมวลของร่างกายเรื่อยไปจนถึงพฤติกรรมของแต่ละบุคคล เพียงแต่ร่องรอยทางประวัติศาสตร์เช่นนี้หาได้ยากมากเท่านั้นเอง  ที่ผ่านมาในแอฟริกามีการค้นพบรอยเท้าของมนุษย์ดึกดำบรรพ์ทำนองนี้เพียงแค่ 3 จุดเท่านั้น
Cr. https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_190190

รอยเท้ามนุษย์โบราณ


นักโบราณคดีอิตาเลียนรับรองว่า ฟอสซิลรอยเท้าที่เชิงภูเขาไฟร็อกคามอนฟิน่าซึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองเนเปิ้ล เป็นฟอสซิลรอยเท้าหนึ่งที่มีความเก่าแก่ที่สุดในโลก รอยเท้านี้อายุ 385,000-325,000 ปี  ชาวบ้านในแถบนั้นเรียกรอยเท้านี้ว่า "ทางปีศาจ" เพราะเห็นกันมาหลายร้อยปีแล้ว แต่ไม่ทราบว่ารอยเท้าที่ไม่เลือนหายไปนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และคิดว่าเป็นปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ   ซึ่งต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาจนได้ข้อสรุปว่า รอยเท้านี้เป็นรอยเท้ามนุษย์โบราณที่ลื่นขณะเหยียบอยู่บนพื้นดินนุ่มๆ 
นายเปาโล มีอัตโต นักวิชาการจากยูนิเวอร์ซิตี้ออฟปาดัว ให้ความรู้ว่า ฟอสซิลรอยเท้าเป็นของมนุษย์ที่มีความสูงประมาณ 150 เซนติเมตร เดินตัวตรงและใช้มือช่วยให้การเดินนั้นมั่นคง  ร่องรอยการเดินนี้ถูกบันทึกไว้บนตะกอนของการไหลของหินภูเขาไฟ(pyroclastic flow) บนไหล่ภูเขาดังกล่าวและถูกทับถมด้วยขี้เถ้าภูเขาไฟ นักวิจัยสามารถบอกถึงอายุได้จากการสังเกตชั้นของเถ้าภูเขาไฟนี้เอง

จากรอยเท้าชุดนี้เขาสามารถรู้ถึงขนาดร่างกายของมนุษย์โบราณนั้นได้จากการก้าวขา โดยมีรอยเท้า 3 ชุดด้วยกัน ชุดหนึ่งมี 27 รอยและเดินเป็นรูปตัว Z อีกสองชุดมี 19 และ 10 รอยทั้งสามชุดต่างมุ่งหน้าลงจากภูเขาไฟ จากขนาดรอยเท้าที่ยาวประมาณ 8 นิ้ว และกว้าง 4 นิ้วแต่ละก้าวห่างกันประมาณ 1.2 เมตรทำให้ประมาณได้ว่าเจ้าของรอยเท้าไม่น่าจะสูงเกิน 150 เซ็นติเมตร

มิเอตโต กล่าวว่ามนุษย์ดังกล่าวเป็นมนุษย์ที่เดิน 2 ขาแล้วแต่ว่าอยู่ก่อนสมัย homo sapien น่าจะเป็นช่วงปลายของ Homoerextus หรือ Homo Heidelbergensis เป็นไปได้ว่าเจ้าของรอยทั้งสามกำลังหนีลงจากภูเขาไฟที่กำลังระเบิด เนื่องจากนักวิจัยสังเกตแร่ zeolithic ซึ่งอยู่บนผิวรอยฝ่าเท้าและแร่พวกนี้จะมีอยู่ในลาวาและฝุ่นผงภูเขาไฟ ดังนั้นรอยเท้าถูกประทับในช่วงที่หิน ฝุ่นผง และตะกอนเหล่านี้ยังไม่จับตัวกัน นอกจากนั้นทิศทางการลงต่างก็หนีไปจากปากปล่องภูเขาไฟด้วย

การค้นพบรอยเท้ามนุษย์โบราณก่อนหน้านี้มักเจอในถ้ำเช่นที่ฝรั่งเศส แต่ในกรณีนี้เจอบนผิวโลกแต่ถูกเก็บรักษาไว้ใต้ชั้นตะกอนภูเขาไฟ ดังนั้นนักวิจัยเหล่านี้หวังว่าจะพบรอยเท้าหรือรอยอื่นๆที่ถูกเก็บรักษาไว้ใต้ชั้นตะกอนแบบนี้อีกในอนาคต งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร NATURE ซึ่งเป็นวารสารที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูง
Cr. www.google.com
Cr.https://www.clipmass.com/story/15732
Cr.http://www.ghosthuntingtheories.com/2017/03/unusual-footprints-found-around-world.html 

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่