"...ทั้งๆที่ท่านเป็นนักวิจัยระดับศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์และดอกเตอร์ แต่เชื่อข้อมูลหน้าหนังสือพิมพ์..."
"...คณะของท่านเป็นนักวิชาการโดยอาชีพ และเป็นนักวิจัย แต่รวบรวมข้อมูลจากสื่อ โดยไม่ตรวจสอบเชิงลึก
มันจึงทำให้สังคมมองว่า ท่านกำลังใช้เสรีภาพทางวิชาการ เพื่อผลทางการเมืองมากกว่า แม้ท่านจะปฏิเสธก็ตาม..."
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
=== 'หมอวรงค์' เผยโฉม 7 นักวิชาการ ...รวบรวมข้อมูลจากสื่อ ทำวิจัย ...ฆ่าตัวตายเพราะโควิด 19 ===
30 เม.ย.63
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม สมาชิกพรรครวมพลังประชาชาติไทย(รปช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยมีเนื้อหาดังนี้...
ถึงคณะนักวิจัยทั้ง 7 ท่าน
ผมได้อ่านจดหมายชี้แจงของคณะนักวิจัยโครงการ"คนจนเมืองที่เปลี่ยนไปในสังคมเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง"
ซึ่งคำชี้แจงได้ย้ำให้เห็นภาพว่า เป็นการแถลงผลการรวบรวมข้อมูลจากสื่อ ว่าแรงจูงใจที่ฆ่าตัวตายนั้นสัมพันธ์กับ
ผลกระทบโควิด-19
ต้องขอบคุณคณะนักวิจัยทั้ง 7 ท่าน ที่ยอมรับแบบตรงไปตรงมาว่า รวบรวมข้อมูลจากสื่อ
ทั้งๆที่ท่านเป็นนักวิจัยระดับศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์และดอกเตอร์ แต่เชื่อข้อมูลหน้าหนังสือพิมพ์
ผมเคยมีประสบการณ์ที่อยากให้ คณะอาจารย์ได้เรียนรู้ ผมเคยรวบรวมข้อมูล ชาวนาฆ่าตัวตาย
จากโครงการรับจำนำข้าว สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยรวบรวมจากสื่อเช่นกันได้ 16 ราย
ก่อนที่ผมจะขึ้นเป็นพยานศาล ในคดีรับจำนำข้าว เพื่อความรัดกุม ทางทีมได้ตรวจสอบข้อมูลกับกรมสุขภาพจิต
ที่ส่งนักวิชาการลงไปเก็บรายละเอียด จากญาติและผู้ใกล้ชิด
ปรากฏว่าการฆ่าตัวตายที่สัมพันธ์กับ โครงการจำนำข้าวจริงๆ มี 9 ราย
เท่ากับว่า ความแม่นยำของสื่อนั้นประมาณ 56 เปอร์เซ็นต์
ในขณะที่ผมเป็นแค่นักการเมือง ไม่ใช่นักวิจัยหรืออาจารย์มหาวิทยาลัย ยังต้องตรวจสอบข้อมูลเชิงลึก
แต่คณะของท่านเป็นนักวิชาการโดยอาชีพ และเป็นนักวิจัย แต่รวบรวมข้อมูลจากสื่อ โดยไม่ตรวจสอบเชิงลึก
มันจึงทำให้สังคมมองว่า ท่านกำลังใช้เสรีภาพทางวิชาการ เพื่อผลทางการเมืองมากกว่า แม้ท่านจะปฏิเสธก็ตาม
ผมจึงอยากเรียกร้องไปยังกระทรวงอุดมศึกษา ให้ตรวจสอบความคุ้มค่าของการใช้จ่ายงบประมาณ
เพราะงบเหล่านี้ก็มาจากเงินภาษีของประชาชน
ที่สำคัญความเป็นนักวิชาการ ต้องมีมาตรฐาน คุณธรรมและจริยธรรม ในการสร้างนักศึกษาที่มีคุณภาพ
ออกมารับใช้สังคมด้วย
หมายเหตุ: มีหลายท่านอยากทราบรายชื่อคณะนักวิจัยทั้ง 7 ท่าน ผมจึงขออนุญาตนำมาลงให้ทราบครับ
1. ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. ผศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5. รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยทักษิณ
6. ผศ.ดร.ธนิต โตอดิเทพย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
7. ผศ.ดร.ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Cr. :
http://www.thaipost.net/main/detail/64673
●● ถ้านักวิจัยใช้เสรีภาพทางวิชาการ เพื่อผลทางการเมือง...สังคมยอมรับได้หรือ ? ●●
"...คณะของท่านเป็นนักวิชาการโดยอาชีพ และเป็นนักวิจัย แต่รวบรวมข้อมูลจากสื่อ โดยไม่ตรวจสอบเชิงลึก
มันจึงทำให้สังคมมองว่า ท่านกำลังใช้เสรีภาพทางวิชาการ เพื่อผลทางการเมืองมากกว่า แม้ท่านจะปฏิเสธก็ตาม..."
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
=== 'หมอวรงค์' เผยโฉม 7 นักวิชาการ ...รวบรวมข้อมูลจากสื่อ ทำวิจัย ...ฆ่าตัวตายเพราะโควิด 19 ===
30 เม.ย.63
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม สมาชิกพรรครวมพลังประชาชาติไทย(รปช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยมีเนื้อหาดังนี้...
ถึงคณะนักวิจัยทั้ง 7 ท่าน
ผมได้อ่านจดหมายชี้แจงของคณะนักวิจัยโครงการ"คนจนเมืองที่เปลี่ยนไปในสังคมเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง"
ซึ่งคำชี้แจงได้ย้ำให้เห็นภาพว่า เป็นการแถลงผลการรวบรวมข้อมูลจากสื่อ ว่าแรงจูงใจที่ฆ่าตัวตายนั้นสัมพันธ์กับ
ผลกระทบโควิด-19
ต้องขอบคุณคณะนักวิจัยทั้ง 7 ท่าน ที่ยอมรับแบบตรงไปตรงมาว่า รวบรวมข้อมูลจากสื่อ
ทั้งๆที่ท่านเป็นนักวิจัยระดับศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์และดอกเตอร์ แต่เชื่อข้อมูลหน้าหนังสือพิมพ์
ผมเคยมีประสบการณ์ที่อยากให้ คณะอาจารย์ได้เรียนรู้ ผมเคยรวบรวมข้อมูล ชาวนาฆ่าตัวตาย
จากโครงการรับจำนำข้าว สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยรวบรวมจากสื่อเช่นกันได้ 16 ราย
ก่อนที่ผมจะขึ้นเป็นพยานศาล ในคดีรับจำนำข้าว เพื่อความรัดกุม ทางทีมได้ตรวจสอบข้อมูลกับกรมสุขภาพจิต
ที่ส่งนักวิชาการลงไปเก็บรายละเอียด จากญาติและผู้ใกล้ชิด
ปรากฏว่าการฆ่าตัวตายที่สัมพันธ์กับ โครงการจำนำข้าวจริงๆ มี 9 ราย
เท่ากับว่า ความแม่นยำของสื่อนั้นประมาณ 56 เปอร์เซ็นต์
ในขณะที่ผมเป็นแค่นักการเมือง ไม่ใช่นักวิจัยหรืออาจารย์มหาวิทยาลัย ยังต้องตรวจสอบข้อมูลเชิงลึก
แต่คณะของท่านเป็นนักวิชาการโดยอาชีพ และเป็นนักวิจัย แต่รวบรวมข้อมูลจากสื่อ โดยไม่ตรวจสอบเชิงลึก
มันจึงทำให้สังคมมองว่า ท่านกำลังใช้เสรีภาพทางวิชาการ เพื่อผลทางการเมืองมากกว่า แม้ท่านจะปฏิเสธก็ตาม
ผมจึงอยากเรียกร้องไปยังกระทรวงอุดมศึกษา ให้ตรวจสอบความคุ้มค่าของการใช้จ่ายงบประมาณ
เพราะงบเหล่านี้ก็มาจากเงินภาษีของประชาชน
ที่สำคัญความเป็นนักวิชาการ ต้องมีมาตรฐาน คุณธรรมและจริยธรรม ในการสร้างนักศึกษาที่มีคุณภาพ
ออกมารับใช้สังคมด้วย
หมายเหตุ: มีหลายท่านอยากทราบรายชื่อคณะนักวิจัยทั้ง 7 ท่าน ผมจึงขออนุญาตนำมาลงให้ทราบครับ
1. ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. ผศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5. รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยทักษิณ
6. ผศ.ดร.ธนิต โตอดิเทพย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
7. ผศ.ดร.ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Cr. : http://www.thaipost.net/main/detail/64673