มีสมาชิกท่านหนึ่ง ได้หลังไมค์ไปถามผมเกี่ยวกับการรักษาศีล 5 โดยถามว่า
"...ขอวิธีรักษาศีล 5 ในข้อ 1 กับ ข้อ 4 ให้เเข็งเเรงหน่อยได้ไหมครับ (ผมยังมีความพยาบาทมากเเละวาจาที่ยังไม่มั่นคงดี)..."
เนื่องจากปกติผมจะไม่ตอบใครหลังไมค์ เพราะอยากเขียนอะไรให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวมมากกว่า ผมเลยขออนุญาตนำมาตอบโดยตั้งเป็นกระทู้แทน โดยขอไม่เอ่ยนามผู้ถาม หรือผมจะทำให้ลิงค์ให้ผู้ถามมาอ่านแต่ไปตอบผมที่หลังไมค์หรือจะตอบที่นี่เลยก็ได้
สำหรับคำตอบของผม ผู้ที่จะรักษาศีล 5 ได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับมรรคข้อแรก นั่นคือ สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นที่ถูกต้อง
ยิ่งเราเป็นสัมมาทิฏฐิหรือมีความเห็นถูกต้องมากเท่าไหร่ การรักษาศีล 5 ก็จะทำได้ดีมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย
ผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว จะมีสัมมาทิฏฐิที่สมบูรณ์ การรักษาศีล 5 ก็สมบูรณ์ไปด้วย เราเรียกสัมมาทิฏฐิของพระอริยะว่า สัมมาทิฏฐิแบบโลกุตระ เกิดจากการ
เห็นความจริงแล้ว ไม่ใช่เป็นเพียงความเขื่อแบบพวกเราที่เป็นปุถุชน (สัมมาทิฏฐิของปุถุชน เรียกว่า สัมมาทิฏฐิแบบโลกียะ)
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิของปุถุชน จะเป็นความเข้าใจอริยสัจสี่ที่เป็นความรู้ (จากการอ่านและการฟัง) หรือ
ความเชื่ออยู่ เช่น เชื่อว่าอุปาทานขันธ์ทั้ง 5 เป็นทุกข์ เชื่อว่าต้นเหตุที่ทำให้เกิดอุปาทานคือตัณหา ฯลฯ เป็นต้น
แต่เมื่อบรรลุธรรมเป็นพระอริยะ ท่านจะ
เห็นความจริง เห็นความจริงของอุปาทานขันธ์ 5 ที่เกิดขึ้นจริงๆ เห็นว่าตัณหาเป็นต้นเหตุให้เกิดอุปาทานจริงๆ เป็นต้น
สัมมาทิฏฐิ (แบบโลกียะ) เกิดขึ้นได้ด้วยการฟังธรรมเท่านั้น ดังนั้น สำหรับคำแนะนำของผม คือต้องหมั่นฟังธรรมบ่อยๆ ฟังจนกระทั่งเกิดความเชื่อ ความศรัทธา เกิดหิริ โอตตัปปะ คือ ละอายและเกรงกลัวต่อบาปให้ได้
เมื่อเรามีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เราจะไม่ทำความชั่ว ไม่เบียดเบียนใคร ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
ผมจะขอพูดถึงมรรคข้ออื่นๆ ต่อไปเลย เพราะมีความเกี่ยวข้องกัน
เมื่อเราเป็นสัมมาทิฏฐิ สิ่งที่จะตามมาคือ สัมมาสังกัปปะ ความคิดชอบ (หรือความดำริชอบ) เป็นจุดที่เป็นปัญหาของสมาชิกผู้ถาม ที่ว่า "
ผมยังมีความพยาบาทมากเเละวาจาที่ยังไม่มั่นคงดี" ซึ่งผู้ที่เป็นสัมมาสังกัปปะ จะมีความไม่อาฆาต ไม่พยาบาท ไม่คิดเบียดเบียนใคร ฯลฯ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากสัมมาทิฏฐิ
ต่อจากสัมมาสังกัปปะ ก็คือสัมมาวาจา ก็คือจุดที่สมาชิกผู้ถามต้องการจะแก้ไข ที่ว่า "ผมยังมีความพยาบาทมาก
เเละวาจาที่ยังไม่มั่นคงดี"
ดังนั้น สังเกตว่า ทั้งสัมมาสังกัปปะ และสัมมาวาจา จะเกิดขึ้นได้ด้วยสัมมาทิฏฐิเพียงข้อเดียวเท่านั้น
ต่อจากสัมมาวาจา ก็คือสัมมากัมมันตะ ได้แก่ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ และ ไม่ประฤติผิดในกาม รวมกันแล้วก็คือศีล 5 นั่นเอง
ผมแนะนำคลิปด้านล่างนี้ อาจจะเรียกว่าเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของสัมมาทิฏฐิที่จำเป็นต้องรู้ เป็นเรื่องของกฏแห่งกรรม การเวียนว่ายตายเกิด เป็นต้น
สุดท้าย เมื่อเราเจริญมรรคข้อต้นๆ คือ 1-6 (ซึ่งผมเน้นย้ำว่า ข้อแรกคือสัมมาทิฏฐิสำคัญที่สุด) เราจะเข้าสู่การเจริญปัญญา คือมรรคข้อที่ 7 และ 8 ได้แก่สัมมาสติและสัมมาสมาธิ เป็นขึ้นที่สูงที่สุดเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นพระอริยะ แต่ต้องเริ่มต้นจาก 1-6 ก่อน
ซึ่งที่จริงแล้ว ความเข้าใจอริยสัจสี่ ซึ่งจะนำมาใช้ในการเจริญมรรค 2 ข้อสุดท้าย ก็เป็นส่วนหนึ่งของสัมมาทิฏฐิเช่นกัน เราควรจะศึกษาอริยสัจสี่ให้พอเข้าใจก่อนเจริญสัมมาสติและสัมมาสมาธิ (ไม่อย่างนั้นอาจจะปฏิบัติผิดแนวทาง หลงทางได้)
ตอบคำถามเพื่อนสมาชิกที่ถามว่า "ขอวิธีรักษาศีล 5 ในข้อ 1 กับ ข้อ 4 ให้เเข็งเเรงหน่อยได้ไหมครับ"
"...ขอวิธีรักษาศีล 5 ในข้อ 1 กับ ข้อ 4 ให้เเข็งเเรงหน่อยได้ไหมครับ (ผมยังมีความพยาบาทมากเเละวาจาที่ยังไม่มั่นคงดี)..."
เนื่องจากปกติผมจะไม่ตอบใครหลังไมค์ เพราะอยากเขียนอะไรให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวมมากกว่า ผมเลยขออนุญาตนำมาตอบโดยตั้งเป็นกระทู้แทน โดยขอไม่เอ่ยนามผู้ถาม หรือผมจะทำให้ลิงค์ให้ผู้ถามมาอ่านแต่ไปตอบผมที่หลังไมค์หรือจะตอบที่นี่เลยก็ได้
สำหรับคำตอบของผม ผู้ที่จะรักษาศีล 5 ได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับมรรคข้อแรก นั่นคือ สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นที่ถูกต้อง
ยิ่งเราเป็นสัมมาทิฏฐิหรือมีความเห็นถูกต้องมากเท่าไหร่ การรักษาศีล 5 ก็จะทำได้ดีมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย
ผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว จะมีสัมมาทิฏฐิที่สมบูรณ์ การรักษาศีล 5 ก็สมบูรณ์ไปด้วย เราเรียกสัมมาทิฏฐิของพระอริยะว่า สัมมาทิฏฐิแบบโลกุตระ เกิดจากการเห็นความจริงแล้ว ไม่ใช่เป็นเพียงความเขื่อแบบพวกเราที่เป็นปุถุชน (สัมมาทิฏฐิของปุถุชน เรียกว่า สัมมาทิฏฐิแบบโลกียะ)
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิของปุถุชน จะเป็นความเข้าใจอริยสัจสี่ที่เป็นความรู้ (จากการอ่านและการฟัง) หรือความเชื่ออยู่ เช่น เชื่อว่าอุปาทานขันธ์ทั้ง 5 เป็นทุกข์ เชื่อว่าต้นเหตุที่ทำให้เกิดอุปาทานคือตัณหา ฯลฯ เป็นต้น
แต่เมื่อบรรลุธรรมเป็นพระอริยะ ท่านจะเห็นความจริง เห็นความจริงของอุปาทานขันธ์ 5 ที่เกิดขึ้นจริงๆ เห็นว่าตัณหาเป็นต้นเหตุให้เกิดอุปาทานจริงๆ เป็นต้น
สัมมาทิฏฐิ (แบบโลกียะ) เกิดขึ้นได้ด้วยการฟังธรรมเท่านั้น ดังนั้น สำหรับคำแนะนำของผม คือต้องหมั่นฟังธรรมบ่อยๆ ฟังจนกระทั่งเกิดความเชื่อ ความศรัทธา เกิดหิริ โอตตัปปะ คือ ละอายและเกรงกลัวต่อบาปให้ได้
เมื่อเรามีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เราจะไม่ทำความชั่ว ไม่เบียดเบียนใคร ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
ผมจะขอพูดถึงมรรคข้ออื่นๆ ต่อไปเลย เพราะมีความเกี่ยวข้องกัน
เมื่อเราเป็นสัมมาทิฏฐิ สิ่งที่จะตามมาคือ สัมมาสังกัปปะ ความคิดชอบ (หรือความดำริชอบ) เป็นจุดที่เป็นปัญหาของสมาชิกผู้ถาม ที่ว่า "ผมยังมีความพยาบาทมากเเละวาจาที่ยังไม่มั่นคงดี" ซึ่งผู้ที่เป็นสัมมาสังกัปปะ จะมีความไม่อาฆาต ไม่พยาบาท ไม่คิดเบียดเบียนใคร ฯลฯ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากสัมมาทิฏฐิ
ต่อจากสัมมาสังกัปปะ ก็คือสัมมาวาจา ก็คือจุดที่สมาชิกผู้ถามต้องการจะแก้ไข ที่ว่า "ผมยังมีความพยาบาทมากเเละวาจาที่ยังไม่มั่นคงดี"
ดังนั้น สังเกตว่า ทั้งสัมมาสังกัปปะ และสัมมาวาจา จะเกิดขึ้นได้ด้วยสัมมาทิฏฐิเพียงข้อเดียวเท่านั้น
ต่อจากสัมมาวาจา ก็คือสัมมากัมมันตะ ได้แก่ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ และ ไม่ประฤติผิดในกาม รวมกันแล้วก็คือศีล 5 นั่นเอง
ผมแนะนำคลิปด้านล่างนี้ อาจจะเรียกว่าเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของสัมมาทิฏฐิที่จำเป็นต้องรู้ เป็นเรื่องของกฏแห่งกรรม การเวียนว่ายตายเกิด เป็นต้น
สุดท้าย เมื่อเราเจริญมรรคข้อต้นๆ คือ 1-6 (ซึ่งผมเน้นย้ำว่า ข้อแรกคือสัมมาทิฏฐิสำคัญที่สุด) เราจะเข้าสู่การเจริญปัญญา คือมรรคข้อที่ 7 และ 8 ได้แก่สัมมาสติและสัมมาสมาธิ เป็นขึ้นที่สูงที่สุดเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นพระอริยะ แต่ต้องเริ่มต้นจาก 1-6 ก่อน
ซึ่งที่จริงแล้ว ความเข้าใจอริยสัจสี่ ซึ่งจะนำมาใช้ในการเจริญมรรค 2 ข้อสุดท้าย ก็เป็นส่วนหนึ่งของสัมมาทิฏฐิเช่นกัน เราควรจะศึกษาอริยสัจสี่ให้พอเข้าใจก่อนเจริญสัมมาสติและสัมมาสมาธิ (ไม่อย่างนั้นอาจจะปฏิบัติผิดแนวทาง หลงทางได้)