รีวิวหน้ากากผ้าต้านโควิดของรัฐบาลแจก 1 ชิ้นต่อบ้าน 1 หลัง
ส่วนตัวแล้วผมเห็นข้อมูลกำหนดสเป็กการผลิตของหน้ากากผ้าตัวนี้มากก่อนหน้าที่จะได้รับสินค้าที่บ้านตัวเอง ในพื้นที่ กทม. ซึ่งภาครัฐได้กำหนดว่าให้มีการแจกหน้ากากผ้าต้านโควิดตัวนี้ เอาไว้ที่ 1 ชิ้นต่อบ้านหนึ่งหลัง โดยการแจกนี้มีวัตถุประสงค์เข้าใจว่า เพื่อส่งเสริมการใช้หน้ากากผ้า และแจกจ่ายให้กับคนที่อาจจะจำเป็นต้องใช้ และ เป็นการกำหนดบอกกล่าวว่า ถ้าหากว่าอยากจะใส่หน้ากากอนามัย ให้เลือกเอาหน้ากากผ้ามาใส่แทนได้หากไม่ได้เข้าไปพื้นที่เสี่ยงมากนัก นอกจากนี้ เพื่อเป็นการบรรเทาอาการ ไม่มีหน้ากากอนามัยอีกทางหนึ่งด้วย เพราะ หน้ากากผ้าจะสามารถใช้ซ้ำได้เรื่อยๆโดยการซักด้วยเครื่องซักผ้าหรือซักมือได้ตามปกติ เหมือนกับการซักเสื้อผ้าอยู่แล้วเป็นปกติ
หน้ากากผ้าพวกนี้จะมีการกำหนสเป็กเอาไว้ล่วงหน้าแล้วว่ามันจะต้องผ่านอะไรบ้าง เช่น ความหนาของผ้า น้ำหนักต่อตารางเซนติเมตร หรือ แม้กระทั่งเรื่องของความสามารถในไหลผ่านได้ของอากาศ (เป็นอย่างต่ำเท่าไหร่ เพื่อให้คนสามารถหายใจผ่านหน้ากากผ้าพวกนี้ได้)
มีทาง THTI สถาบันสิ่งทอ เลือกที่จะเป็นคนสาธิตการทดสอบเหล่านั้น
แท้จริงแล้วสเป็กพวกนี้เป็นสเป็กพื้นฐานมากสำหรับผ้าเพื่อการจำหน่ายทั่วไป สำหรับการส่งออกนั้นจะมีความซับซ้อนกว่านี้มาก และ มันอาจจะไม่ได้จำเป็นสำหรับเรื่องของการเอาผ้ามาทำหน้ากากผ้าแบบนี้ก็ได้ ทำให้สเป็กผ้าพวกนี้ไม่ได้วุ่นวายอะไรมากนัก
ถ้าหากว่าคุณได้หน้ากากผ้าต้านโควิดมาแล้ว แนะนำให้คุณเอาไปซักก่อน เหมือนกับคำแนะนำที่อยู่ด้านหน้าของซอง เพราะ อยากจะบอกว่า “ผ้าที่ผ่านการทำงานอุตสาหกรรมมามันไม่ได้สะอาดสักเท่าไหร่” ใช่แล้ว มันไม่ได้รักษาความสะอาดอะไรเป็นพิเศษสำหรับการตัดเย็บและการจัดเก็บวางผ้าพวกนี้ มันถูกมองเหมือนกับการตัดเสื้อผ้าปกติทั่วไป เพราะ มันไม่ได้เป็น “หน้ากากอนามัย” ที่จะต้องสะอาดทันทีเมื่อผ่านออกมาจากซองเพื่อจะใช้งาน (แหง..อยู่แล้ว ไม่มีคนเอาหน้ากากอนามัยมาซักเพื่อจะใช้งานกันหรอก ทำให้ห้องผลิตพวกนี้หน้ากากอนามัย มันจะต้องสะอาดมากๆ)
ปัญหาของหน้ากากผ้าต้านโควิดแจกฟรีของโครงการนี้
อ้างอิง Youtube VDO :
ถ้าหากว่า คุณลองเทียบสเป็กหน้ากากผ้าแจกฟรีตัวนี้กับ หน้ากากผ้าของ GQ ก็ได้ มันจะมีความสามารถที่ไม่ได้มีการพูดถึงบนหน้ากากผ้าแจกฟรีของรัฐนี้ก็คือ ความสามารถในการสะท้อนน้ำ ! ใช่แล้ว ถ้าหากว่า คุณเอาหน้ากากผ้าธรรมดาใส่ที่หน้าของคุณ หรือ หน้ากากผ้าแจกฟรีตัวนี้ เอามาใส่ มันจะพบได้ว่า เมื่อมีคนไอจามต่อหน้า มันจะเกิดละอองฝอยกระจายฟุ้งอากาศ ทั้งเป็นแบบ airborne และ แบบ droplet ทั้งสองแบบนี้ หากคนที่ไวรัสติดตัวอยู่ หน้ากากผ้าต้านาโควิดของภาครัฐที่แจกฟรีได้มานั้นจะไม่ได้ต้านละอองน้ำ และ น้ำมูกฟุ้งเหล่านั้นเลย กลับทางกัน มันจะซึมน้ำมูกน้ำมันพวกนั้นเข้าไปที่หน้ากากผ้านั่นเอง แต่โชคยังดีหน่อยว่า หน้ากากผ้าที่รัฐออกแบบแจกมาให้นั้นเป็นหน้ากากผ้า 2 ชั้น โดยหากคิดว่าแต่ให้ด้านนอกนั้นมีอาการซึมซับสารคัดหลั่งของละอองอากาศติดไวรัสพวกนี้ มันก็จะซึมเข้าแค่ด้านนอกหน้าผ้าด้านนอกของหน้ากากผ้าสองชั้นที่ว่านี้ได้ แต่ก็มีความเสี่ยงมาก ที่น้ำหรือสารคัดหลั่งเหล่านั้นมันจะซึมเข้าไปที่ผ้าอีกชั้นหนึ่งด้านในได้เช่นเดียวกัน อย่าลืมว่า หน้ากากผ้าพวกนี้ได้รับการออกแบบและใช้วัตถุดิบที่ซึมน้ำได้อย่างฝ้ายมาเป็นองค์ประกอบหลักของผ้าผืนนี้ที่ใช้ทำหน้ากากผ้าในโครงการหน้ากากต้านโควิดนี้
จริงๆแล้ว สำหรับปัญหาเรื่องการซึมน้ำได้ของหน้ากากผ้านั้น ได้รับการแก้ปัญหาจากนักออกแบบสินค้าพวกแบรนด์ต่างๆมาก่อนหน้านี้อยู่แล้ว เช่น แบรนด์ของ GQ ก็เลือกที่จะใช้หน้ากากผ้าที่ด้านนอกมีสารสะท้อนน้ำเคลือบอาบผิวอยู่ ทำให้น้ำและละอองน้ำหรือน้ำมัน จะไม่สามารถซึม หรือไม่อยากจะซึมเข้าไปที่เนื้อผ้าด้านนอกของหน้ากากสักเท่าไหร่นัก หากคุณลองเอาน้ำมาหยดที่หน้ากากผ้า จะเห็นได้ว่า มันจะไม่ซึมน้ำเลยก็ว่าได้ ซึ่งสารพวกนี้ เป็นสารตระกูลเทฟล่อนและมีสเป็กที่ได้รับการออกแบบสำหรับสิ่งทออยู่แล้ว และ มีจำหน่ายในประเทศไทยเป็นปกติอยู่แล้ว เพียงแต่จะเลือกมาผลิตเคลือบผ้าหรือไม่ก็เท่านั้น เพราะมันมีต้นทุนเพิ่มประมาณหนึ่ง ส่วนตัวแล้วก็เข้าใจว่า มีการกำหนดราคาต่อหน่วยสำหรับการผลิตเอาไว้ก่อนหน้าแล้วว่าจะต้องไม่เกินกี่บาท และคนที่รับมาผลิตก็สามารถผลิตได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำๆนั้นๆได้อีกต่างหาก จากการผลิตที่มีจำนวนมาก หลักล้านชิ้น
ทางเลือกของเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ตอนนี้มีความพยายามทำออกมาก็เช่น ผ้าประเภทที่มีโครงสร้างระดับนาโนไฟเบอร์เข้ามาใช้งานเพื่อผลิตเป็นผ้า เนื่องจากผ้าประเภทนี้จะสามารถซักได้เป็นปกติเหมือนกับผ้าธรรมดาทั่วไป และ ยังสามารถป้องกันการซึมของน้ำได้อีกต่างหาก เพราะ ขนาดรูพรุนที่เล็ก และมันเล็กกว่าขนาดของเชื้อโรคจะทะลุได้ด้วยซ้ำ หรือทะลุได้ก็สัดส่วนน้อยลงไปมาก คิดเหมือนว่า มันเป็นผ้าที่กันน้ำก็แล้วกัน แต่ มันสามารถให้อากาศไหลผ่านเนื้อผ้ามันได้ด้วย ซึ่งเทคโนโลยีนี้ เริ่มได้รับความสนใจจากคนที่จะลงทุนเพื่อผลิต เพื่อใช้ทนแทน melt-blown filter ที่เอาไว้ทำหน้ากากอนามัยด้วยซ้ำ เพราะ ด้วย demand มันเยอะขึ้นมากทำให้ราคาใยฟิลเตอร์ประเภท melt-blown filter เริ่มแพงและ อาจจะแพงกว่าการใช้ผ้าใยระดับนาโนนี้อีกต่างหาก ! ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องดูว่าจะมีการเอามาใช้เพื่อทำหน้ากากผ้าได้มากหรือแพร่หลายกันแค่ไหน เพราะ ระยะยาวแล้วการมีขยะทางการแพทย์มากๆ มันเป็นผลร้ายต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่ดี ซึ่ง มันก็เริ่มจะออกอาการมาให้เราเห็นกันอีกแล้วซิ
สเปรย์พ่นหน้ากากผ้าเพื่อให้ผ้าสะท้อนน้ำ :: อีกแนวทางหนึ่งสำหรับคนที่คิดว่าอยากจะใช้หน้ากากผ้า
แนวทางนี้ก็เป็นทางเลือกของสังคมที่ดีประการหนึ่งด้วยเช่นเดียวกัน เพราะ ไม่มีการใช้ผ้าพิศดารอะไร ไม่มีการผลิตด้วยผ้าพิเศษอะไร ไม่มีการใช้ใยระดับนาโน แต่ทั้งหมดใช้กับผ้าธรรมดา แม้กระทั่ง หน้ากากผ้าต้านโควิดของรัฐบาลอันนี้ก็ตาม ก็สามารถใช้น้ำยาพ่นเพื่อให้ผ้าสะท้อนน้ำเอามาใช้ได้อยู่ดี มันก็เหมือนกับการแปลงหน้ากากผ้ารัฐบาลตามโครงการนี้ แปลงมันให้เป็นหน้ากากสะท้อนน้ำของ GQ ก็ได้ยังไงอย่างงั้นและ ทำได้เองที่บ้านอีกด้วย
ตัวอย่างของการผลิตหน้ากากผ้าสะท้อนน้ำของ ม.ธรรมศาสตร์.
ตัวอย่างของการผลิตหน้ากากผ้าสะท้อนน้ำของ แม่โจ้
สเปรย์ฉีดหน้ากากผ้า พวกนี้สามารถนำมาฉีดพ่นได้เองที่บ้านโดยฉีดเฉพาะด้านนอกของหน้ากากผ้าเท่านั้น ไม่แนะนำให้ฉีดด้านในแต่อย่างใด เพราะ มันจะผิดวัตถุประสงค์การใช้งานหน้ากากผ้า (เดี๋ยวอธิบายกันอีกทีว่าทำไมมันผิด) เมื่อเราฉีดสเปรย์พ่นหน้ากากผ้าพวกนี้ เอาไว้แล้ว เราก็เอาไปรีดผ้าด้วยความร้อนต่อไปเลย เพื่อให้เคมีพวกนี้ มันแปลสภาพให้จับตัวกันเป็นพันธะขนาดเล็กที่ด้านหน้าของเนื้อผ้า มันจะเป็นสารลดแรงตึงผิว ทำให้เมื่อน้ำและน้ำมันมาโดนกับด้านหน้าของหน้ากากผ้าที่ฉีดน้ำยาพ่นหน้ากากผ้าเอาไว้ก่อนแล้ว จะไม่สามารถซึมเข้าไปที่เนื้อผ้าได้เลย
ทั้งนี้ได้ทำการทดสอบใช้น้ำยาพวกนี้ทำตามเหมือนกับ Youtube ของพวกมหาลัยทำแบบเดียวกันก็ได้ผลลัพธ์แบบเดียวกันคือ ถ้าหากว่าเราหยดน้ำด้านนอกของหน้ากากผ้า มันก็จะไม่ซึมเข้าหน้ากากผ้า และ มีน้ำกลิ้งที่ผิวหน้าของหน้ากากผ้าเหมือนกับใบบอนอะไรแบบนั้นเลย
ตัวอย่างการทดสอบ
สเปรย์พ่นหน้ากากผ้า (ขวดละไม่กี่ร้อยเอง)
นี่เป็นวิธีการอัพเกรดหน้ากากผ้าต้านโควิดของภาครัฐที่ได้ฟรีมา เอามาฉีดน้ำยาพวกนี้ก็จะทำให้หน้ากากผ้าปกติกลายเป็นหน้ากากผ้าสะท้อนน้ำได้เหมือนกับหน้ากากผ้าระดับแพงๆได้เช่นเดียวกัน โดยต้นทุนจะต่ำกว่าเอามากๆ เพราะ น้ำยาพวกนี้สามารถฉีดเพิ่มได้เรื่อยๆด้วยตัวเองที่บ้าน ไม่ใช่หน้ากากผ้ากันน้ำไม่ได้แล้วก็ทิ้งไป มันเสียของเปล่าๆ
หน้ากากผ้าต้านโควิดที่รัฐแจกให้ที่บ้านของคุณ 1 ชิ้นต่อ 1 บ้านจะเอามาอัพเกรดให้มันใช้งานได้จริงจังได้ด้วยวิธีการนี้
ส่วนตัวแล้วผมเห็นข้อมูลกำหนดสเป็กการผลิตของหน้ากากผ้าตัวนี้มากก่อนหน้าที่จะได้รับสินค้าที่บ้านตัวเอง ในพื้นที่ กทม. ซึ่งภาครัฐได้กำหนดว่าให้มีการแจกหน้ากากผ้าต้านโควิดตัวนี้ เอาไว้ที่ 1 ชิ้นต่อบ้านหนึ่งหลัง โดยการแจกนี้มีวัตถุประสงค์เข้าใจว่า เพื่อส่งเสริมการใช้หน้ากากผ้า และแจกจ่ายให้กับคนที่อาจจะจำเป็นต้องใช้ และ เป็นการกำหนดบอกกล่าวว่า ถ้าหากว่าอยากจะใส่หน้ากากอนามัย ให้เลือกเอาหน้ากากผ้ามาใส่แทนได้หากไม่ได้เข้าไปพื้นที่เสี่ยงมากนัก นอกจากนี้ เพื่อเป็นการบรรเทาอาการ ไม่มีหน้ากากอนามัยอีกทางหนึ่งด้วย เพราะ หน้ากากผ้าจะสามารถใช้ซ้ำได้เรื่อยๆโดยการซักด้วยเครื่องซักผ้าหรือซักมือได้ตามปกติ เหมือนกับการซักเสื้อผ้าอยู่แล้วเป็นปกติ
หน้ากากผ้าพวกนี้จะมีการกำหนสเป็กเอาไว้ล่วงหน้าแล้วว่ามันจะต้องผ่านอะไรบ้าง เช่น ความหนาของผ้า น้ำหนักต่อตารางเซนติเมตร หรือ แม้กระทั่งเรื่องของความสามารถในไหลผ่านได้ของอากาศ (เป็นอย่างต่ำเท่าไหร่ เพื่อให้คนสามารถหายใจผ่านหน้ากากผ้าพวกนี้ได้)
มีทาง THTI สถาบันสิ่งทอ เลือกที่จะเป็นคนสาธิตการทดสอบเหล่านั้น
แท้จริงแล้วสเป็กพวกนี้เป็นสเป็กพื้นฐานมากสำหรับผ้าเพื่อการจำหน่ายทั่วไป สำหรับการส่งออกนั้นจะมีความซับซ้อนกว่านี้มาก และ มันอาจจะไม่ได้จำเป็นสำหรับเรื่องของการเอาผ้ามาทำหน้ากากผ้าแบบนี้ก็ได้ ทำให้สเป็กผ้าพวกนี้ไม่ได้วุ่นวายอะไรมากนัก
ถ้าหากว่าคุณได้หน้ากากผ้าต้านโควิดมาแล้ว แนะนำให้คุณเอาไปซักก่อน เหมือนกับคำแนะนำที่อยู่ด้านหน้าของซอง เพราะ อยากจะบอกว่า “ผ้าที่ผ่านการทำงานอุตสาหกรรมมามันไม่ได้สะอาดสักเท่าไหร่” ใช่แล้ว มันไม่ได้รักษาความสะอาดอะไรเป็นพิเศษสำหรับการตัดเย็บและการจัดเก็บวางผ้าพวกนี้ มันถูกมองเหมือนกับการตัดเสื้อผ้าปกติทั่วไป เพราะ มันไม่ได้เป็น “หน้ากากอนามัย” ที่จะต้องสะอาดทันทีเมื่อผ่านออกมาจากซองเพื่อจะใช้งาน (แหง..อยู่แล้ว ไม่มีคนเอาหน้ากากอนามัยมาซักเพื่อจะใช้งานกันหรอก ทำให้ห้องผลิตพวกนี้หน้ากากอนามัย มันจะต้องสะอาดมากๆ)
ปัญหาของหน้ากากผ้าต้านโควิดแจกฟรีของโครงการนี้
อ้างอิง Youtube VDO :
ถ้าหากว่า คุณลองเทียบสเป็กหน้ากากผ้าแจกฟรีตัวนี้กับ หน้ากากผ้าของ GQ ก็ได้ มันจะมีความสามารถที่ไม่ได้มีการพูดถึงบนหน้ากากผ้าแจกฟรีของรัฐนี้ก็คือ ความสามารถในการสะท้อนน้ำ ! ใช่แล้ว ถ้าหากว่า คุณเอาหน้ากากผ้าธรรมดาใส่ที่หน้าของคุณ หรือ หน้ากากผ้าแจกฟรีตัวนี้ เอามาใส่ มันจะพบได้ว่า เมื่อมีคนไอจามต่อหน้า มันจะเกิดละอองฝอยกระจายฟุ้งอากาศ ทั้งเป็นแบบ airborne และ แบบ droplet ทั้งสองแบบนี้ หากคนที่ไวรัสติดตัวอยู่ หน้ากากผ้าต้านาโควิดของภาครัฐที่แจกฟรีได้มานั้นจะไม่ได้ต้านละอองน้ำ และ น้ำมูกฟุ้งเหล่านั้นเลย กลับทางกัน มันจะซึมน้ำมูกน้ำมันพวกนั้นเข้าไปที่หน้ากากผ้านั่นเอง แต่โชคยังดีหน่อยว่า หน้ากากผ้าที่รัฐออกแบบแจกมาให้นั้นเป็นหน้ากากผ้า 2 ชั้น โดยหากคิดว่าแต่ให้ด้านนอกนั้นมีอาการซึมซับสารคัดหลั่งของละอองอากาศติดไวรัสพวกนี้ มันก็จะซึมเข้าแค่ด้านนอกหน้าผ้าด้านนอกของหน้ากากผ้าสองชั้นที่ว่านี้ได้ แต่ก็มีความเสี่ยงมาก ที่น้ำหรือสารคัดหลั่งเหล่านั้นมันจะซึมเข้าไปที่ผ้าอีกชั้นหนึ่งด้านในได้เช่นเดียวกัน อย่าลืมว่า หน้ากากผ้าพวกนี้ได้รับการออกแบบและใช้วัตถุดิบที่ซึมน้ำได้อย่างฝ้ายมาเป็นองค์ประกอบหลักของผ้าผืนนี้ที่ใช้ทำหน้ากากผ้าในโครงการหน้ากากต้านโควิดนี้
จริงๆแล้ว สำหรับปัญหาเรื่องการซึมน้ำได้ของหน้ากากผ้านั้น ได้รับการแก้ปัญหาจากนักออกแบบสินค้าพวกแบรนด์ต่างๆมาก่อนหน้านี้อยู่แล้ว เช่น แบรนด์ของ GQ ก็เลือกที่จะใช้หน้ากากผ้าที่ด้านนอกมีสารสะท้อนน้ำเคลือบอาบผิวอยู่ ทำให้น้ำและละอองน้ำหรือน้ำมัน จะไม่สามารถซึม หรือไม่อยากจะซึมเข้าไปที่เนื้อผ้าด้านนอกของหน้ากากสักเท่าไหร่นัก หากคุณลองเอาน้ำมาหยดที่หน้ากากผ้า จะเห็นได้ว่า มันจะไม่ซึมน้ำเลยก็ว่าได้ ซึ่งสารพวกนี้ เป็นสารตระกูลเทฟล่อนและมีสเป็กที่ได้รับการออกแบบสำหรับสิ่งทออยู่แล้ว และ มีจำหน่ายในประเทศไทยเป็นปกติอยู่แล้ว เพียงแต่จะเลือกมาผลิตเคลือบผ้าหรือไม่ก็เท่านั้น เพราะมันมีต้นทุนเพิ่มประมาณหนึ่ง ส่วนตัวแล้วก็เข้าใจว่า มีการกำหนดราคาต่อหน่วยสำหรับการผลิตเอาไว้ก่อนหน้าแล้วว่าจะต้องไม่เกินกี่บาท และคนที่รับมาผลิตก็สามารถผลิตได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำๆนั้นๆได้อีกต่างหาก จากการผลิตที่มีจำนวนมาก หลักล้านชิ้น
ทางเลือกของเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ตอนนี้มีความพยายามทำออกมาก็เช่น ผ้าประเภทที่มีโครงสร้างระดับนาโนไฟเบอร์เข้ามาใช้งานเพื่อผลิตเป็นผ้า เนื่องจากผ้าประเภทนี้จะสามารถซักได้เป็นปกติเหมือนกับผ้าธรรมดาทั่วไป และ ยังสามารถป้องกันการซึมของน้ำได้อีกต่างหาก เพราะ ขนาดรูพรุนที่เล็ก และมันเล็กกว่าขนาดของเชื้อโรคจะทะลุได้ด้วยซ้ำ หรือทะลุได้ก็สัดส่วนน้อยลงไปมาก คิดเหมือนว่า มันเป็นผ้าที่กันน้ำก็แล้วกัน แต่ มันสามารถให้อากาศไหลผ่านเนื้อผ้ามันได้ด้วย ซึ่งเทคโนโลยีนี้ เริ่มได้รับความสนใจจากคนที่จะลงทุนเพื่อผลิต เพื่อใช้ทนแทน melt-blown filter ที่เอาไว้ทำหน้ากากอนามัยด้วยซ้ำ เพราะ ด้วย demand มันเยอะขึ้นมากทำให้ราคาใยฟิลเตอร์ประเภท melt-blown filter เริ่มแพงและ อาจจะแพงกว่าการใช้ผ้าใยระดับนาโนนี้อีกต่างหาก ! ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องดูว่าจะมีการเอามาใช้เพื่อทำหน้ากากผ้าได้มากหรือแพร่หลายกันแค่ไหน เพราะ ระยะยาวแล้วการมีขยะทางการแพทย์มากๆ มันเป็นผลร้ายต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่ดี ซึ่ง มันก็เริ่มจะออกอาการมาให้เราเห็นกันอีกแล้วซิ
สเปรย์พ่นหน้ากากผ้าเพื่อให้ผ้าสะท้อนน้ำ :: อีกแนวทางหนึ่งสำหรับคนที่คิดว่าอยากจะใช้หน้ากากผ้า
แนวทางนี้ก็เป็นทางเลือกของสังคมที่ดีประการหนึ่งด้วยเช่นเดียวกัน เพราะ ไม่มีการใช้ผ้าพิศดารอะไร ไม่มีการผลิตด้วยผ้าพิเศษอะไร ไม่มีการใช้ใยระดับนาโน แต่ทั้งหมดใช้กับผ้าธรรมดา แม้กระทั่ง หน้ากากผ้าต้านโควิดของรัฐบาลอันนี้ก็ตาม ก็สามารถใช้น้ำยาพ่นเพื่อให้ผ้าสะท้อนน้ำเอามาใช้ได้อยู่ดี มันก็เหมือนกับการแปลงหน้ากากผ้ารัฐบาลตามโครงการนี้ แปลงมันให้เป็นหน้ากากสะท้อนน้ำของ GQ ก็ได้ยังไงอย่างงั้นและ ทำได้เองที่บ้านอีกด้วย
ตัวอย่างของการผลิตหน้ากากผ้าสะท้อนน้ำของ ม.ธรรมศาสตร์.
ตัวอย่างของการผลิตหน้ากากผ้าสะท้อนน้ำของ แม่โจ้
สเปรย์ฉีดหน้ากากผ้า พวกนี้สามารถนำมาฉีดพ่นได้เองที่บ้านโดยฉีดเฉพาะด้านนอกของหน้ากากผ้าเท่านั้น ไม่แนะนำให้ฉีดด้านในแต่อย่างใด เพราะ มันจะผิดวัตถุประสงค์การใช้งานหน้ากากผ้า (เดี๋ยวอธิบายกันอีกทีว่าทำไมมันผิด) เมื่อเราฉีดสเปรย์พ่นหน้ากากผ้าพวกนี้ เอาไว้แล้ว เราก็เอาไปรีดผ้าด้วยความร้อนต่อไปเลย เพื่อให้เคมีพวกนี้ มันแปลสภาพให้จับตัวกันเป็นพันธะขนาดเล็กที่ด้านหน้าของเนื้อผ้า มันจะเป็นสารลดแรงตึงผิว ทำให้เมื่อน้ำและน้ำมันมาโดนกับด้านหน้าของหน้ากากผ้าที่ฉีดน้ำยาพ่นหน้ากากผ้าเอาไว้ก่อนแล้ว จะไม่สามารถซึมเข้าไปที่เนื้อผ้าได้เลย
ทั้งนี้ได้ทำการทดสอบใช้น้ำยาพวกนี้ทำตามเหมือนกับ Youtube ของพวกมหาลัยทำแบบเดียวกันก็ได้ผลลัพธ์แบบเดียวกันคือ ถ้าหากว่าเราหยดน้ำด้านนอกของหน้ากากผ้า มันก็จะไม่ซึมเข้าหน้ากากผ้า และ มีน้ำกลิ้งที่ผิวหน้าของหน้ากากผ้าเหมือนกับใบบอนอะไรแบบนั้นเลย
ตัวอย่างการทดสอบสเปรย์พ่นหน้ากากผ้า (ขวดละไม่กี่ร้อยเอง)
นี่เป็นวิธีการอัพเกรดหน้ากากผ้าต้านโควิดของภาครัฐที่ได้ฟรีมา เอามาฉีดน้ำยาพวกนี้ก็จะทำให้หน้ากากผ้าปกติกลายเป็นหน้ากากผ้าสะท้อนน้ำได้เหมือนกับหน้ากากผ้าระดับแพงๆได้เช่นเดียวกัน โดยต้นทุนจะต่ำกว่าเอามากๆ เพราะ น้ำยาพวกนี้สามารถฉีดเพิ่มได้เรื่อยๆด้วยตัวเองที่บ้าน ไม่ใช่หน้ากากผ้ากันน้ำไม่ได้แล้วก็ทิ้งไป มันเสียของเปล่าๆ