....... ผลทดลองชี้ ‘เรมเดซิเวียร์’ ยาความหวังรักษาโควิด ล้มเหลวช่วยผู้ป่วยหนัก .....

ข้อมูลการทดลองที่หลุดออกมาชี้ว่า ยาเรมเดซิเวียร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในยาความหวังรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ไม่สามารถรักษาผู้ติดเชื้อที่มีอาการหนักได้

สำนักข่าว รอยเตอร์ส รายงานว่า ยา ‘เรมเดซิเวียร์’ (remdesivir) ของบริษัท ‘กีเลียด ไซแอนเซส’ (Gilead Sciences) ซึ่งเป็นหนึ่งในยาที่เชื่อว่าสามารถรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ ประสบความล้มเหลวในการทดลองใช้กับผู้ป่วยในประเทศจีน แต่ผู้ผลิตโต้แย้งว่า ผลการทดลองดังกล่าวยังไม่ใช่ข้อสรุป เนื่องจากการทดลองถูกยกเลิกก่อนกำหนด


ผลทดลองชี้ ‘เรมเดซิเวียร์’ ยาความหวังรักษาโควิด ล้มเหลวช่วยผู้ป่วยหนัก

ข่าวต่างประเทศ

ไทยรัฐออนไลน์24 เม.ย. 2563 07:07 น.

SHARE



ข้อมูลการทดลองที่หลุดออกมาชี้ว่า ยาเรมเดซิเวียร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในยาความหวังรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ไม่สามารถรักษาผู้ติดเชื้อที่มีอาการหนักได้

สำนักข่าว รอยเตอร์ส รายงานว่า ยา ‘เรมเดซิเวียร์’ (remdesivir) ของบริษัท ‘กีเลียด ไซแอนเซส’ (Gilead Sciences) ซึ่งเป็นหนึ่งในยาที่เชื่อว่าสามารถรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ ประสบความล้มเหลวในการทดลองใช้กับผู้ป่วยในประเทศจีน แต่ผู้ผลิตโต้แย้งว่า ผลการทดลองดังกล่าวยังไม่ใช่ข้อสรุป เนื่องจากการทดลองถูกยกเลิกก่อนกำหนด

รวบหนุ่มวัย 18 ใช้เฟซบุ๊กลวงเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ข่มขืนที่รีสอร์ต

ชมรมคู่สมรสศาลยุติธรรม ร่วมจัดซื้อเวชภัณฑ์ มอบรพ.บำราศนราดูร สู้โควิด

ศาลแพ่งมีนบุรี นำร่อง ศาลดิจิทัล ไต่สวนคดีออนไลน์ สะดวก-ไม่ต้องเสี่ยงโควิด

หุ้นของบริษัท กีเลียด ลดลง 4.3% หลังจากข้อมูลการทดลองยาตัวนี้ถูกองค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งสำนักข่าว ไฟแนนเชียล ไทม์ส รายงานเป็นเจ้าแรก เพียงไม่กี่วันหลังจากมีรายงานอีกฉบับระบุว่า ผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด-19 บางรายในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ชิคาโก เมดิซีน ที่ได้รับยา เรมเดซิเวียร์ หายจากอาการไข้และการทางเดินหายใจ

การทดสอบยา เรมเดซิเวียร์ ได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาอย่างเป็นทางการ หรือวัคซีนสำหรับป้องกันไวรัสโควิด-19 แต่การทดสอบในจีน ซึ่งเป็นการให้ยาทางหลอดเลือดดำ ไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยหลายรายมีอาการดีขึ้น หรือ ลดจำนวนไวรัสในกระแสเลือดของพวกเขาได้ อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของการทดลองยังไม่มี และชี้ให้เห็นข้อจำกัดต่างๆ ในการตีความข้อมูลที่ยังไม่ผ่านการทบทวนโดยสมบูรณ์

ขณะที่โพสต์ขององค์การอนามัยโลก ที่เว็บไซต์ข่าว STAT ถ่ายรูปเก็บไว้ได้ก่อนจะโดนลบไป ระบุว่า การทดลองกับคนไข้ 237 ราย มี 158 รายที่ได้รับยา เรมเดซิเวียร์ ส่วนที่เหลือ 79 รายได้รับยาหลอก พบว่าอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ได้รับยา เรมเดซิเวีย์ อยู่ที่ 13.9% ใกล้เคียงกับกลุ่มผู้ป่วยควบคุม ที่มีอัตรา 12.8%

กีเลียด ระบุในแถลงการณ์ว่า ข้อมูลที่หลุดออกมารวมไปถึงคุณลักษณะที่ไม่เหมาะสมของการทดลอง ซึ่งถูกยกเลิกไปก่อนกำหนดเพราะมีผู้เข้าร่วมการทดลองน้อย และเป็นผลให้ ไม่สามารถมีข้อสรุปที่มีความสำคัญในเชิงสถิติได้ “การศึกษานี้ไม่มีข้อสรุปแน่ชัด แม้ว่าทิศทางของข้อมูลชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของเรมเดซิเวียร์ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาในช่วงเริ่มต้นของการติดเชื้อ” กีเลียด ระบุโดยไม่มีข้อมูลสนับสนุนคำกล่าวอ้างของพวกเขา

ในขณะเดียวกัน มีหมอหลายคนเชื่อว่า ยาต้านไวรัสอย่าง เรมเดซิเวียร์ น่าจะมีประสิทธิภาพที่สุดเมื่อใช้กับผู้ป่วยโดยเร็วที่สุดหลังจากติดโรค เนื่องจากมันถูกออกแบบมาเพื่อยับยั้งไม่ให้ไวรัสลอกเลียนตัวเองขึ้นมาในกระแสเลือดของผู้ป่วย “คุณสามารถดับกองไฟได้ แต่เมื่อกลายเป็นไฟป่า มันก็ยากที่จะควบคุม” ดร.เควิน กริมส์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านโรคติดต่อของโรงพยาบาล ‘ฮูสตัน เมโธดิสต์’ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการทดลองยาเรมเดซิเวียร์กล่าว


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1829019

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่