สิทธิด้านสาธารณสุขขั้นพื้นฐานที่ประชาชนชาวไทยทุกคนจะได้รับจากสวัสดิการแห่งรัฐอยู่แล้วคือสิทธิในการรักษาตัวเมื่อเจ็บป่วยในราคาที่จับต้องได้ หรือฟรีในกรณีการเจ็บป่วยทั่วไปคือสิทธิจากกองทุนสุขภาพทั้ง 3 คือกองทุนหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า (บัตรทอง), กองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ซึ่งผู้เจ็บป่วยสามารถขอเข้ารับการรักษาได้ในโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญาของแต่ละกองทุน
แต่ในนาทีวิกฤต ชีวิตแขวนบนเส้นด้าย การเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลคู่สัญญาอาจไม่ทันการณ์ และค่าใช้จ่ายในการรักษาจะสร้างภาระด้านการเงินให้แก่ผู้ป่วยและญาติมิตรได้ในภายหลัง
เพื่อแก้ปัญหานี้ รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเริ่มดำเนินการตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมี สิทธิทุกที่ (Universal Coverage for Emergency Patients; UCEP) ใน พ.ศ. 2560 เพื่อให้สถานพยาบาลดำเนินการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีอันตรายจนถึงแก่ชีวิต หรืออาจทำให้เกิดการพิการในภายหลังได้โดยเร่งด่วนตามหลักเกณฑ์ของศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนด
สำหรับรายละเอียดและขั้นตอนการใช้สิทธิ สามารถอ่านได้จากบทความ
ของ PMOC
https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/498230072491196
นอกจากนี้ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 หรือ โควิด-19 รัฐบาลมีการออก
มาตรการ UCEP Covid และ UCEP Plus เพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อจากโรคโควิด-19 ที่มีอาการวิกฤติได้อย่างทันท่วงที โดยไม่มีค่าใช้จ่ายอีกด้วย
อีกทั้ง เพื่อให้สิทธิการรักษาครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ลดค่าใช้จ่ายของพี่น้องประชาชนได้มากขึ้น รัฐบาลมีมติเพิ่มรายการและอัตราค่าใช้จ่ายยา เวชภัณฑ์ และค่าบริการอื่น ๆ อีก 1,649 รายการ
ตั้งแต่เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565 มีผู้ป่วยวิกฤติที่เข้ารับบริการผ่านสิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินนี้แล้ว 123,710 ครั้ง รวมเงินชดเชยที่รัฐบาลช่วยเหลือกว่า 33,552.7 ล้านบาท
สำหรับนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมี สิทธิทุกที่ (Universal Coverage for Emergency Patients; UCEP) นี้เป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ รัฐสวัสดิการ โดยรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อให้ประชาชนชาวไทยทุกคนได้มั่นใจว่าในนาทีวิกฤตของชีวิต ก็จะยังได้รับการบริการทางการแพทย์ได้อย่างทันท่วงที
#ลุงตู่ #ลุงตู่ตูน
https://www.facebook.com/superLungtoo/?locale=th_TH
นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมี สิทธิทุกที่ (Universal Coverage for Emergency Patients; UCEP)
แต่ในนาทีวิกฤต ชีวิตแขวนบนเส้นด้าย การเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลคู่สัญญาอาจไม่ทันการณ์ และค่าใช้จ่ายในการรักษาจะสร้างภาระด้านการเงินให้แก่ผู้ป่วยและญาติมิตรได้ในภายหลัง
เพื่อแก้ปัญหานี้ รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเริ่มดำเนินการตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมี สิทธิทุกที่ (Universal Coverage for Emergency Patients; UCEP) ใน พ.ศ. 2560 เพื่อให้สถานพยาบาลดำเนินการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีอันตรายจนถึงแก่ชีวิต หรืออาจทำให้เกิดการพิการในภายหลังได้โดยเร่งด่วนตามหลักเกณฑ์ของศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนด
สำหรับรายละเอียดและขั้นตอนการใช้สิทธิ สามารถอ่านได้จากบทความ
ของ PMOC https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/498230072491196
นอกจากนี้ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 หรือ โควิด-19 รัฐบาลมีการออก
มาตรการ UCEP Covid และ UCEP Plus เพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อจากโรคโควิด-19 ที่มีอาการวิกฤติได้อย่างทันท่วงที โดยไม่มีค่าใช้จ่ายอีกด้วย
อีกทั้ง เพื่อให้สิทธิการรักษาครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ลดค่าใช้จ่ายของพี่น้องประชาชนได้มากขึ้น รัฐบาลมีมติเพิ่มรายการและอัตราค่าใช้จ่ายยา เวชภัณฑ์ และค่าบริการอื่น ๆ อีก 1,649 รายการ
ตั้งแต่เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565 มีผู้ป่วยวิกฤติที่เข้ารับบริการผ่านสิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินนี้แล้ว 123,710 ครั้ง รวมเงินชดเชยที่รัฐบาลช่วยเหลือกว่า 33,552.7 ล้านบาท
สำหรับนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมี สิทธิทุกที่ (Universal Coverage for Emergency Patients; UCEP) นี้เป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ รัฐสวัสดิการ โดยรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อให้ประชาชนชาวไทยทุกคนได้มั่นใจว่าในนาทีวิกฤตของชีวิต ก็จะยังได้รับการบริการทางการแพทย์ได้อย่างทันท่วงที
#ลุงตู่ #ลุงตู่ตูน
https://www.facebook.com/superLungtoo/?locale=th_TH