คุณรู้จักนักจิตวิทยา หรือนักจิตบำบัดหรือยัง?

จขกท. อยากมาแชร์เกี่ยวกับความเข้าใจ
"บทบาทของการเป็นนักจิตวิทยาหรือนักจิตบำบัด"

อาจจะมีหลายคนที่เคยได้ยินชื่อนี้เป็นครั้งแรก 
หรือบางคนอาจจะกำลังให้ความสนใจอยู่
จริงๆ หลายคนอาจจะเคยเรียนด้วยซ้ำ 

อย่างไรก็ตามอาจมีคนเข้าใจค่อนข้างมาก
ว่านักจิตวิทยาคือผู้ที่สามารถรักษา "คนบ้า" และสามารถ "สะกดจิต" ได้
จากประสบการณ์แล้ว เวลาที่คนส่วนมากเจอนักจิตวิทยาก็มักจะทำท่าตกใจ หรือ มักจะถามว่าตัวเองเป็นบ้าไหม อย่างขำๆ

การเป็น "นักจิตวิทยา" ไม่ใช่การรักษาแบบแพทย์ เราไม่ได้บอกได้ว่าตัวเองเป็น 'แพทย์'
 หากแต่เราทำงานร่วมกันกับ 'แพทย์' 
และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

หากถามว่าแล้วนักจิตวิทยาทำอะไรล่ะ?
นักจิตวิทยามีหลายบทบาท อาทิ อาจารย์, เป็นนักวิจัย, เป็นผู้บำบัด (อาการซึมเศร้า, ความเครียด ฯลฯ) ,นักวิชาการ ซึ่งค่อนข้างหลากหลาย เช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นๆ หากแต่การทำหน้าที่บำบัดหรือให้การปรึกษาของเรานั้นเป็นการพูดคุย หรือวิธีการอื่นๆ ตามหลักทฤษฎี หรือตามความเหมาะสมของผู้รับการบำบัด

พูดคุยแล้วช่วยจริงหรือ?
จะเห็นว่าในยุคช่วงสมัยก่อน คุณคงจะรู้จักฟรอยด์ หรือนักบำบัดหรือจิตแพทย์ท่านอื่นๆ ที่ใช้หลักในการพูดคุยรักษา ในช่วงแรกนั้น อาจจะไม่ได้เป็นที่ยอมรับนัก แต่ปัจจุบันมีการใช้การบำบัดรูปแบบนี้ค่อนข้างมาก แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีการบำบัดที่หลากหลายตามแบบฉบับของทฤษฎี หรือวิธีการรักษาของคนอื่นๆ

สรุป สิ่งที่ จขกท. ต้องการสื่อสารก็คือ
อย่ากลัวที่จะหาใครสักคนหนึ่งที่คุณสามารถพูดคุยด้วยได้ อย่ากลัวที่จะก้าวออกไปหาคนช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็น เพื่อน คนในครอบครัว แพทย์ นักจิตวิทยา อย่ากลัวที่จะปรึกษาพวกเขาเหล่านี้ เพราะคุณอาจต้องการใครสักคนจริงๆ ที่สามารถช่วยให้คุณหลุดจากหลุมความทรมานเหล่านั้นได้ และเราไม่รู้หรอกว่าพวกเขายินดีแค่ไหนที่จะช่วยคุณ.

"คุณไม่ได้อยากทำร้ายตัวเองหรอก แค่คุณอยากจะออกจากหลุมแห่งความทุกข์นี้เท่านั้นเอง..."
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่