หนังสือทางพระพุทธศาสนาที่แต่งกันทั่วไปจํานวนมาก ที่ไม่ได้แสดงหลักฐานที่มา บางครั้งก็ทําให้ผู้อ่านสับสน หรือถึงกับเข้าใจผิด จับเอาเรื่องในคัมภีร์รุ่นหลัง หรือมติของพระอรรถกถาจารย์ เป็นต้น ว่าเป็นคําสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า บางที แม้แต่ผู้แต่งหนังสือเหล่านั้นเอง ก็สับสนหรือเข้าใจผิดอยู่ก่อนแล้ว จึงเป็นข้อพึงระมัดระวังในเรื่องความสับสนเกี่ยวกับหลักฐานที่มานี้
มีตัวอย่างที่น่าสนใจ เช่น บางท่านผู้ศึกษาพระอภิธรรม เข้าใจว่า หลักปฏิจจสมุปบาท หรือปัจจยาการ เป็นเรื่องของกระบวนธรรมช่วงยาวคร่อมชีวิตสามชาติ และวางใจว่าความหมายเช่นนี้เป็นไปตามหลักอภิธรรม แต่ความจริง กลับเป็นไปในทางตรงข้ามว่า ปฏิจจสมุปบาทแบบอภิธรรมแท้ๆ (หมายถึงพระอภิธรรมปิฎก) เป็นเรื่องของความเป็นไป ในขณะจิตเดียวเท่านั้น ส่วนที่จะตีความให้เป็นช่วงยาวคร่อมสามชาติได้นั้น ทําได้ด้วยอาศัยปฏิจจสมุปบาทแนวพระสูตรต่างหาก
ที่กล่าวกันว่า คําอธิบายคร่อมสามชาติเป็นหลักอภิธรรมนั้น ความจริง เป็นคัมภีร์อภิธรรมชั้นอรรถกถาและฎีกา ซึ่งอธิบายตามแนวการจําแนกความแบบพระสูตร (สุตตันตภาชนีย์) ที่ได้ยกมาแสดงในอภิธรรมปิฎกนั้นด้วย (เรื่องนี้ได้ชี้แจงไว้แล้วในบทที่ ๔)
-จาก หน้า 1146 -
หนังสือพุทธธรรม ฉบับปรับขยาย
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต)
หนังสือทางพระพุทธศาสนาที่แต่งกันทั่วไปจํานวนมาก ที่ไม่ได้แสดงหลักฐานที่มา
มีตัวอย่างที่น่าสนใจ เช่น บางท่านผู้ศึกษาพระอภิธรรม เข้าใจว่า หลักปฏิจจสมุปบาท หรือปัจจยาการ เป็นเรื่องของกระบวนธรรมช่วงยาวคร่อมชีวิตสามชาติ และวางใจว่าความหมายเช่นนี้เป็นไปตามหลักอภิธรรม แต่ความจริง กลับเป็นไปในทางตรงข้ามว่า ปฏิจจสมุปบาทแบบอภิธรรมแท้ๆ (หมายถึงพระอภิธรรมปิฎก) เป็นเรื่องของความเป็นไป ในขณะจิตเดียวเท่านั้น ส่วนที่จะตีความให้เป็นช่วงยาวคร่อมสามชาติได้นั้น ทําได้ด้วยอาศัยปฏิจจสมุปบาทแนวพระสูตรต่างหาก
ที่กล่าวกันว่า คําอธิบายคร่อมสามชาติเป็นหลักอภิธรรมนั้น ความจริง เป็นคัมภีร์อภิธรรมชั้นอรรถกถาและฎีกา ซึ่งอธิบายตามแนวการจําแนกความแบบพระสูตร (สุตตันตภาชนีย์) ที่ได้ยกมาแสดงในอภิธรรมปิฎกนั้นด้วย (เรื่องนี้ได้ชี้แจงไว้แล้วในบทที่ ๔)
-จาก หน้า 1146 -
หนังสือพุทธธรรม ฉบับปรับขยาย
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต)