เรื่องนี้จริง ๆ ก็ สปอยมาตั้งแต่การเปิดตัวในเปิดวิกบิ๊ก 3 แล้ว
นักแสดง 4 คน 4 บทบาท ใน 3 ภพชาติ ที่เกี่ยวข้องกับ สร้าง สูญเสีย ทำลาย ปกป้อง
เพราะทุกคำเชื่อมไปที่ เล่ห์บรรพกาล ที่ต้องทำให้พวกเขาเป็นแบบนี้
ในนิยายที่ซับซ้อนถึง 3 เล่ม มากตัวละครและเหตุการณ์
แต่ความต้องการคือเล่า 3 ตัวละครหลัก คือ ตัวเอกชาย ตัวเอกหญิง และตัวร้าย (เพลิงฟ้า ปักบุญ และอดุล)
การเชือดเฉือนอารมณ์ของตัวเอกชายและตัวเอกหญิง ที่ถูกตัวร้ายเก็บเกี่ยวผลประโยชน์
เป็นอย่างนี้ทุกภพทุกชาติ ตัวเอกชายและตัวเอกหญิงที่โดดเด่นแต่เขาเป็นคู่แข่ง ไม่ใช่คู่รัก
เพราะตัวเอกชายมีตัวละครที่เขารัก ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทั้งหมดน้อยมาก
แต่น่าชื่นชมที่ทีมงานเลือกให้ตัวละครตัวนี้มีบทบาทและมีความสำคัญ
แต่ไม่กระทบเส้นเรื่องหลักเรืองนี้เลย คือ การเพิ่มบทบาทของตัวไหน ดวงแข และศศินา
คนเขียนบทออกแบบเรื่องโดยการวางเป็น 5 ส่วนตามที่เคยเขียนไปแล้ว
แล้วเพิ่มประเด็นการผนึกวิญญาณ 9 คน โดยแบ่งทีละ 3 คน เป็นการแบ่งเรื่องราวให้ชัดเจน
และสร้างสถานการณ์และแต่ละช่วงให้เข้มข้น ผ่านการดำเนินไปของเพลิงฟ้าและตัวไหน
นิยายวรรณวรรธน์ส่วนใหญ่บทบาทเด่นอยู่ที่พระเอก ตั้งแต่ เหม ขันทอง มหากะทิง เพลิงฟ้า หรือ จิตรเสน
คนรักของพระเอกมีบทบาทไม่มาก เรื่องนี้จึงปรับให้ตัวไหนเป็นคู่บทของเพลิงฟ้าตลอดเวลา
บทบาทที่เพิ่มขึ้น และยังสร้างเส้นเรื่องความรักได้บ้าง แม้มันไม่ตอบโจทย์ใครก็ตาม
มีทั้งอยากฟินมากกว่านี้ หรือมีทำไมทำลายบรรยากาศของเรื่อง แต่บทมันก็ควรเป็นแบบนี้
ตัวละครที่คนดูแล้วไม่รำคาญ จึงมีความฉลาดที่คอยช่วยพระเอก เป็นคู่หู และไม่ขัดขวางและคอยสนับสนุนเพลิงฟ้าตลอด
และเป็นการเชื่อมโยงถึงตัวละครดวงแขที่สนับสนุนขุนอุทัยโยทิน หรือศศินาที่ยอมรับการตัดสินใจของราวิ
และทั้ง 3 ตัวละครนี้มีบทบาทสำคัญในแต่ละภพ และมีการแสดงที่น่าจดจำในแต่ละภพด้วย
ในแง่งานกำกับ แม้เนื้อเรื่องมากมายหลายแบบ แต่ความสามารถของผู้กำกับ
ที่เคยทำงานแบบนี้มาตั้งแต่รากบุญ จนมากำกับแนวละครต่าง ๆ ทั้งนางทาสที่ย้อนยุคหรือละครปัจจุบัน
และมีความเข้าใจในนิยายของวรรณวรรธน์มาแล้วจากหนึ่งด้าวฟ้าเดียว
สามารถทำให้เรื่องราวมันเป็นแบบไหน มีกลวิธีนำเสนอที่ฉลาดและสร้างสรรค์คือ เปิดแต่ยังซ่อน
คนดูจะไม่งงและยังสนใจที่จะตามหาต่อไป และใช้งานภาพและ CGI มาขยายงานแสดงได้ดี
ไม่ใช่งานภาพมาเป็นจุดเด่นบทบังงานแสดง แบบที่เคยเห็นมาในละครแนวนี้
เรื่องนี้มีเส้นบาง ๆ ในการนำเสนอ ถ้ามากหรือน้อยไปมันจะไม่ได้อะไรเลย
บทเรียนกับละครแบบนี้มีหลายเรื่องที่สารส่งไปไม่ถึงคนดู เพราะมัววุ่นวายกับเรื่องอื่นมากไป
โครงเรื่องไม่ได้ส่งเสริมพระนางมาตั้งแต่ต้น ด้วยบทโทรทัศน์สร้างพื้นที่ให้พระนางมีบทบาทร่วมกัน
ผู้ผลิตยังมีเมตตาและทดแทนด้วยความฉลาดของตัวละครให้คนดูไม่มีปัญหากับพระนาง
แม้ผลตอบรับที่ออกมาอาจเป็นละครที่ไม่สามารถตอบโจทย์ในวงกว้าง
แต่คนที่ได้ดูน่าจะอิ่มใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในละครเรื่องนี้ และไม่ได้เป็นแบบที่ใครคิดว่า
ทำละครเรื่องนี้เพื่อเพิ่มหรือลดบทบาทของใคร และสนุกไม่น้อยกว่าเรื่องที่แล้วของผู้ผลิต
จนมีกำแพงกับนักแสดงที่เล่นเรื่องนี้ด้วย
เป็นผลงานที่ทำเพื่อครบรอบ 25 ปีของบริษัท เป็นเรื่องที่สุดจริง ๆ
สามารถทำให้เป็นละครสืบสวนที่เชื่อมโยงความรักมั่นคงอยู่เหนือกาลเวลาอันงดงาม
ปล. แม้เรื่องนี้ถ่ายทอดออกมาไร้ที่ติ แต่ยังไม่สามารถลดอคติของ จขกท. ที่มีต่อผู้ผลิตได้
ด้วยเคยวิจารณ์ทัศนคติของผู้ผลิตในละครหลายเรื่อง และยังไม่สามารถทำใจชื่นชมได้
เพราะคำชมจากเรื่องนี้จะมีอีกมากมาย อาจจะทำให้ผู้ผลิตพาตัวเองไปติดหล่มอีกก็ได้
เล่ห์บรรพกาล ความ ใน ใจ กับละครเรื่องนี้
นักแสดง 4 คน 4 บทบาท ใน 3 ภพชาติ ที่เกี่ยวข้องกับ สร้าง สูญเสีย ทำลาย ปกป้อง
เพราะทุกคำเชื่อมไปที่ เล่ห์บรรพกาล ที่ต้องทำให้พวกเขาเป็นแบบนี้
ในนิยายที่ซับซ้อนถึง 3 เล่ม มากตัวละครและเหตุการณ์
แต่ความต้องการคือเล่า 3 ตัวละครหลัก คือ ตัวเอกชาย ตัวเอกหญิง และตัวร้าย (เพลิงฟ้า ปักบุญ และอดุล)
การเชือดเฉือนอารมณ์ของตัวเอกชายและตัวเอกหญิง ที่ถูกตัวร้ายเก็บเกี่ยวผลประโยชน์
เป็นอย่างนี้ทุกภพทุกชาติ ตัวเอกชายและตัวเอกหญิงที่โดดเด่นแต่เขาเป็นคู่แข่ง ไม่ใช่คู่รัก
เพราะตัวเอกชายมีตัวละครที่เขารัก ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทั้งหมดน้อยมาก
แต่น่าชื่นชมที่ทีมงานเลือกให้ตัวละครตัวนี้มีบทบาทและมีความสำคัญ
แต่ไม่กระทบเส้นเรื่องหลักเรืองนี้เลย คือ การเพิ่มบทบาทของตัวไหน ดวงแข และศศินา
คนเขียนบทออกแบบเรื่องโดยการวางเป็น 5 ส่วนตามที่เคยเขียนไปแล้ว
แล้วเพิ่มประเด็นการผนึกวิญญาณ 9 คน โดยแบ่งทีละ 3 คน เป็นการแบ่งเรื่องราวให้ชัดเจน
และสร้างสถานการณ์และแต่ละช่วงให้เข้มข้น ผ่านการดำเนินไปของเพลิงฟ้าและตัวไหน
นิยายวรรณวรรธน์ส่วนใหญ่บทบาทเด่นอยู่ที่พระเอก ตั้งแต่ เหม ขันทอง มหากะทิง เพลิงฟ้า หรือ จิตรเสน
คนรักของพระเอกมีบทบาทไม่มาก เรื่องนี้จึงปรับให้ตัวไหนเป็นคู่บทของเพลิงฟ้าตลอดเวลา
บทบาทที่เพิ่มขึ้น และยังสร้างเส้นเรื่องความรักได้บ้าง แม้มันไม่ตอบโจทย์ใครก็ตาม
มีทั้งอยากฟินมากกว่านี้ หรือมีทำไมทำลายบรรยากาศของเรื่อง แต่บทมันก็ควรเป็นแบบนี้
ตัวละครที่คนดูแล้วไม่รำคาญ จึงมีความฉลาดที่คอยช่วยพระเอก เป็นคู่หู และไม่ขัดขวางและคอยสนับสนุนเพลิงฟ้าตลอด
และเป็นการเชื่อมโยงถึงตัวละครดวงแขที่สนับสนุนขุนอุทัยโยทิน หรือศศินาที่ยอมรับการตัดสินใจของราวิ
และทั้ง 3 ตัวละครนี้มีบทบาทสำคัญในแต่ละภพ และมีการแสดงที่น่าจดจำในแต่ละภพด้วย
ในแง่งานกำกับ แม้เนื้อเรื่องมากมายหลายแบบ แต่ความสามารถของผู้กำกับ
ที่เคยทำงานแบบนี้มาตั้งแต่รากบุญ จนมากำกับแนวละครต่าง ๆ ทั้งนางทาสที่ย้อนยุคหรือละครปัจจุบัน
และมีความเข้าใจในนิยายของวรรณวรรธน์มาแล้วจากหนึ่งด้าวฟ้าเดียว
สามารถทำให้เรื่องราวมันเป็นแบบไหน มีกลวิธีนำเสนอที่ฉลาดและสร้างสรรค์คือ เปิดแต่ยังซ่อน
คนดูจะไม่งงและยังสนใจที่จะตามหาต่อไป และใช้งานภาพและ CGI มาขยายงานแสดงได้ดี
ไม่ใช่งานภาพมาเป็นจุดเด่นบทบังงานแสดง แบบที่เคยเห็นมาในละครแนวนี้
เรื่องนี้มีเส้นบาง ๆ ในการนำเสนอ ถ้ามากหรือน้อยไปมันจะไม่ได้อะไรเลย
บทเรียนกับละครแบบนี้มีหลายเรื่องที่สารส่งไปไม่ถึงคนดู เพราะมัววุ่นวายกับเรื่องอื่นมากไป
โครงเรื่องไม่ได้ส่งเสริมพระนางมาตั้งแต่ต้น ด้วยบทโทรทัศน์สร้างพื้นที่ให้พระนางมีบทบาทร่วมกัน
ผู้ผลิตยังมีเมตตาและทดแทนด้วยความฉลาดของตัวละครให้คนดูไม่มีปัญหากับพระนาง
แม้ผลตอบรับที่ออกมาอาจเป็นละครที่ไม่สามารถตอบโจทย์ในวงกว้าง
แต่คนที่ได้ดูน่าจะอิ่มใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในละครเรื่องนี้ และไม่ได้เป็นแบบที่ใครคิดว่า
ทำละครเรื่องนี้เพื่อเพิ่มหรือลดบทบาทของใคร และสนุกไม่น้อยกว่าเรื่องที่แล้วของผู้ผลิต
จนมีกำแพงกับนักแสดงที่เล่นเรื่องนี้ด้วย
เป็นผลงานที่ทำเพื่อครบรอบ 25 ปีของบริษัท เป็นเรื่องที่สุดจริง ๆ
สามารถทำให้เป็นละครสืบสวนที่เชื่อมโยงความรักมั่นคงอยู่เหนือกาลเวลาอันงดงาม
ปล. แม้เรื่องนี้ถ่ายทอดออกมาไร้ที่ติ แต่ยังไม่สามารถลดอคติของ จขกท. ที่มีต่อผู้ผลิตได้
ด้วยเคยวิจารณ์ทัศนคติของผู้ผลิตในละครหลายเรื่อง และยังไม่สามารถทำใจชื่นชมได้
เพราะคำชมจากเรื่องนี้จะมีอีกมากมาย อาจจะทำให้ผู้ผลิตพาตัวเองไปติดหล่มอีกก็ได้