🔮🔮🔮มาลาริน/มีทั้งเรื่องเศร้าและซึ้ง..เอาใจช่วยผู้ป่วยหนักโควิดใช้เครื่องช่วยหายใจ..“หมอ” ยกย่องสาวขับแท็กซีเป็นฮีโร่



เอาใจช่วย! เผยผู้ป่วยหนักโควิดทั่วประเทศมี 65 ราย ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
วันเสาร์ ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2563, 18.24 น.

กรมควบคุมโรค ยันผู้ป่วยหนักโควิดฯทั่วประเทศมีแค่ 69 ราย ชี้ไวรัสฯทำให้ศูนย์ควบคุมการหายใจที่ก้านสมองมีปัญหา แต่ไม่มีข้อมูลกระทบรับรู้กลิ่น-รส
 
11 เมษายน 2563 จากกรณีประเทศไทยถูกสงสัยแถลงข้อมูลเท็จจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 รายวันลดลง เพราะแพทย์ไทยรายหนึ่งโพสต์ว่า ไทยมีผู้ป่วยโควิด-19 อาการวิกฤตจำนวนมากนั้น
 
นายแพทย์อนุพงศ์ สุจริยากุล นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค ได้ชี้แจงว่า วันนี้ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 2,518 ราย  ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่ยังอยู่ในโรงพยาบาล 1,348 ราย โดยกลุ่มนี้ในส่วนของผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง จะจัดให้พักในระบบโรงพยาบาล รวมทั้งโรงแรมที่ทำเป็นโรงพยาบาลสนาม (hospitel)  และผู้ป่วยส่วนที่เหลือจำนวน 65 ราย เป็นผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนั้น แพทย์จัดให้รับการรักษาอยู่ในห้อง ICU หออภิบาลผู้ป่วยหนัก
 
ต่อข้อถามเหตุใดหญิงรายหนึ่งที่สามีติดเชื้อจากการไปทำงานร่วมกับอบจ. จึงไปตรวจหาเชื้อที่โรงพยาบาลรวม 3 ครั้ง ระยะเวลา 21 วันจึงพบเชื้อนั้น  นพ.อนุพงศ์ กล่าวว่า เป็นไปได้ว่าขณะที่ไปตรวจมีปริมาณเชื้อในร่างกายจำนวนน้อย รวมทั้งระดับภูมิคุ้มกันในร่างกายของบุคคลนั้น อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความผิดพลาดในการ เก็บ สารคัดหลั่งตรวจเชื้อไม่ดี แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ที่จะพิจารณาความเสี่ยงของคนไข้ ก็อาจจะให้ ต้องมีการเก็บเชื้อไปตรวจใหม่เป็นครั้งที่ 2 และ 3 ทั้งนี้ความรู้เกี่ยวกับไวรัส Corolla 2019 นี้ ทราบว่ามี ระยะฟักตัว 2 -14 วัน โดยมีค่าเฉลี่ยกลางอยู่ที่ 5.2 วัน แต่มีความเป็นไปได้น้อยที่ระยะตรวจพบเชื้อในวันที่ 15

สำหรับที่มีการระบุข้อมูลอาการของผู้ป่วยโรคโควิด พบว่าสูญเสียการได้กลิ่น รับรส บางรายมีผื่นคันนั้น นพ.อนุพงศ์ กล่าวว่า ขนาดนี้ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาทางวิชาการที่ยืนยันว่าเชื้อไวรัสตัวนี้ทำให้ศูนย์รับกลิ่นที่สมองมีปัญหา แต่ที่ได้รับรู้มาตอนนี้คือ ไวรัสตัวนี้ สามารถทำให้ศูนย์ควบคุมการหายใจที่ก้านสมองมีปัญหา
 
ต่อข้อถามเผยแพร่ข้อมูลทางโซเชียลว่า ผู้ที่ติดเชื้อขณะออกกำลังกายในสวนสาธารณะจะแพร่เชื้อไปไกลระยะ 20 เมตรนั้น  นพ.
อนุพงศ์ กล่าวว่า จากข้อมูลทางวิชาการที่ทราบมาผู้ที่มีเชื้อโรคอยู่ในตัวจะแพร่ไปยังคนอื่นผ่านละอองเสมหะที่ไอ จาม ซึ่งหากอยู่ในที่โล่งและอากาศถ่ายเทได้ดีจะแพร่เชื้อได้ในระยะไม่เกิน 6 ฟุตหรือ 2 เมตร แต่ไม่ทราบว่าถ้าอยู่ในจุดลมพัดแรงมากเชื้อจะแพร่ไปไกลมากยิ่งขึ้นได้หรือไม่

https://www.naewna.com/local/485809

สุดประทับใจ “หมอ” ยกย่องสาวขับแท็กซี่ผู้ป่วยโควิด-19 เป็น “ฮีโร่”



สุดประทับใจ “หมอ” ยกย่องสาวขับแท็กซี่ผู้ป่วยโควิด-19 เป็น “ฮีโร่”

วันเสาร์ ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2563, 19.03 น.

สุดประทับใจ “หมอ” ยกย่องสาวขับแท็กซี่ผู้ป่วยโควิด-19 เป็น “ฮีโร่”

นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัว “Opass Putcharoen” ยกย่องผู้ป่วยโควิด-19 เป็น “ฮีโร่” ของหมอ หลังนอนไอซียูเกือบ 3 สัปดาห์รักษาปอดอักเสบรุนแรง จนหายกลับบ้าน โดยครอบครัว “หัวใจสุดแข็งแกร่ง” มี 4 ชีวิต พ่อ แม่และลูก 2 คน แม้มีเงินติดตัวก้อนสุดท้าย 3,000 บาท แต่ก็ไม่ขอรับการช่วยเหลือจากสังคม บอกขอทำงานช่วยเหลือตัวเองไปก่อน จนบรรดาหมอประทับใจรวบรวมเงินและ “บังคับ” รับเงินเล็กๆน้อยๆเป็นค่าขนมลูกพร้อมนมกล่องก่อนออกจากโรงพยาบาล



โดยเฟสบุ๊ค “Opass Putcharoen” โพสต์ยกย่องว่า “คนไข้ใจแข็งแกร่ง”
“วันนี้ส่งคนไข้แท็กซี่ผู้หญิงป่วยเป็นโควิด (ติดจากสัมผัสนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ) ที่ใส่ท่อช่วยหายใจกลับบ้านไปเจอลูกๆแล้วครับ หลังจากที่นอนไอซียูเกือบสามสัปดาห์ เพราะปอดอักเสบรุนแรง จนระบบหายใจล้มเหลว
ตอนที่ถอดท่อช่วยหายใจ สิ่งที่เธอพูดประโยคแรกคือ ลูกสองคนติดหรือเปล่า โชคดีที่เราตามตรวจทั้งสามีและลูกไม่พบว่ามีเชื้อโควิดเลย

ขณะที่คนไข้นอนโรงพยาบาล เราก็ถามสามีคนไข้ว่ามีอะไรให้ช่วยมั้ย เพราะทราบว่ากำลังใช้เงินเก็บก้อนสุดท้ายสามพันบาท และมีคนแสดงเจตจำนงค์ช่วยเหลือเงินมาเป็นจำนวนมาก สามีคนไข้ตอบเราว่าขอทำงานเองไปก่อน เพราะเจ้านายเข้าใจยังให้ทำงานต่อ ถ้าไม่ไหวเดี๋ยวบอกหมอเอง
แต่ตอนคนไข้กลับบ้านคราวนี้เรา “บังคับ” ให้รับเงินเล็กๆน้อยๆกับนมกล่องที่หมอๆช่วยกันรวบรวมเป็นค่าขนมเด็กๆครับ

อีกสองอาทิตย์คนไข้จะกลับไปทำงานต่อ

บางที “ฮีโร่” ของเราก็คือคนไข้ของเราเอง”



https://www.naewna.com/local/485809

เอาใจช่วยทั้งคนที่ป่วยอยู่ และคนที่หายแล้วค่ะ

ชีวิตต้องสู้.....👍

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่