เซลล์พลานาเรีย
พลานาเรีย เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัม Platyhelminthes เป็นสัตว์กินเนื้อที่กินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กกว่าและซากสัตว์เป็นอาหาร อาศัยอยู่ตามก้นแม่น้ำหรือแหล่งน้ำต่างๆ มีระบบความคิดที่เกิดจากเซลล์ประสาทจำนวนมากมารวมกันเป็นปมประสาท ทำหน้าที่เหมือนสมอง ตั้งอยู่บริเวณส่วนหัวของร่างกาย มันไม่มีระบบการหายใจ เพราะมันแลกเปลี่ยนก๊าซและสารต่างๆ ผ่านการแพร่โดยตรง
ทั่วทั้งร่างกายของมันคือ เซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell) ซึ่งทำให้เซลล์ในร่างกายของมันแบ่งตัวได้ตลอดเวลา อายุขัยของมันอาจยาวนานได้ถึง 200 ปี และเมื่อทั้งร่างกายของมันคือเซลล์ต้นกำเนิด แม้ว่าจะถูกสับเป็นชิ้นๆ มันจึงสร้างร่างกายใหม่ขึ้นมาได้จากทุกชิ้นส่วน
มีการทดลองให้พลานาเรียกินตับไก่ผสมผงถ่าน และพบว่าผงถ่านนั้นถูกดูดซึมเข้าไปในอวัยวะทุกส่วนของพลานาเรีย หมายความว่าทุกอย่างที่มันกินจะถูกซึมซับไปทั่วร่าง
พลานาเรียคือหนอนตัวแบนที่มีความสามารถใกล้เคียงกับคำว่าอมตะมากที่สุด พวกมันสามารถงอกแขนขาของมันออกมาได้ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อตัด
พลานาเรียออกไปชิ้นส่วน ชิ้นส่วนเหล่านั้นจะเติบโตเป็นหนอนตัวใหม่ขึ้นมาโดยยังคงความทรงจำของตัวดั้งเดิมไว้ได้อีกด้วย
ที่มา
http://biology.ipst.ac.th/?p=967
Cr.
https://www.facebook.com/ThaiTerraFormarsByFlapper129/photos/ว่าด้วยเอวา-และอดอล์ฟ-02-พลานาเรียโพสนี้ว่าด้วยเรื่องของ-เอวา-ฟรอสต์-สาวน้อยอันด/911385598947669/
อวัยวะรับอนุภาคเคมีในอากาศ
ลิ้นสองแฉก (Forked tongue) เป็นลักษณะที่พบได้ทั่วไปในสัตว์ในอันดับ Squamata อันได้แก่งูและกิ้งก่า และอีกหลายสกุลที่ปรากฏลักษณะลิ้นสองแฉก เช่น Tupinambis (เตกู) และกิ้งก่าในสกุล Varanus (ตะกวด
โคโมโด)
สำหรับงูและกิ้งก่า ลิ้นทำหน้าที่ในการรับกลิ่น สำหรับสัตว์เลื้อยคลานที่กำลังมองหาเหยื่อเป็นๆหรือซากสัตว์นั้น สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งคือระบบรับกลิ่นที่มีประสิทธิภาพ กลิ่นนั้นเป็นอนุภาคเคมีที่ลอยอยู่ในอากาศ ในของเหลวเช่นน้ำ หรือแม้แต่ติดอยู่ตามพื้นผิวต่างๆ
งูและกิ้งก่าจะใช้ลิ้นที่มีปลายเป็นสองแฉกนี้ เก็บรวบรวมอนุภาคเคมีในอากาศ นั่นคือตอนที่เราเห็นมันแลบลิ้นแผล่บๆ จากนั้นงูจะดึงลิ้นกลับเข้าไปในปาก และส่งบริเวณปลายลิ้นทั้งสองไปสัมผัสกับอวัยวะหนึ่งบนเพดานปาก (ในงูพิษจะอยู่ติดกับต่อมพิษที่อยู่หลังเขี้ยว) อวัยวะนี้มีชื่อว่า “Jacobson’s Organ”
ซึ่งเป็นอวัยวะที่จะรับอนุภาคเคมีที่ลิ้นเก็บมาจากอากาศและส่งไปวิเคราะห์ยังสมอง จะบอกได้ว่ามีอาหารอยู่ในบริเวณนั้นหรือไม่ และยังบอกทิศทางได้ด้วยว่ามาจากฝั่งไหน เป็นผลมาจากลิ้นที่มีสองแฉกจะเก็บอนุภาคของกลิ่นมาไม่เท่ากัน อวัยวะนี้สามารถระบุได้ว่าต้นตอของกลิ่นมาจากทิศไหน และจะนำไปยังที่มาของกลิ่น
งูสามารถแลบลิ้นออกมาได้แม้ปากของมันจะปิดสนิท เนื่องจากบริเวณส่วนหน้าของปากมีช่องเปิดที่เรียกว่า “rostral groove” นั่นเป็นสาเหตุที่งูที่โดนเย็บปาก ยังสามารถแลบลิ้นอยู่ได้ นอกจากใช้ค้นหาอาหารแล้ว ลิ้นสองแฉกและอวัยวะบนเพดานปากยังช่วยให้งูหาคู่ผสมพันธุ์เจอด้วย
Cr. Herpetologyguy/Steemit, Naturalvisions
Cr.
https://www.facebook.com/DicitNatura/posts/733310080422991/
ผิวหนังพิษของกบ
กบลูกศรพิษจัดอยู่ใน Order : Anura คือสัตว์จำพวกกบ คางคกทั้งหมดใน Family : 1 Dendrobatidae 2 Epipedobates 3 Minyobates 4 Phillobates พวกนี้คือชื่อแฟมิลี่ของกบตระกูลลูกศรพิษโดยเฉพาะ
ที่ได้ชื่อว่า กบลูกศรพิษเพราะว่าชนเผ่าพื้นเมืองอินเดียนแดงที่อาศัยอยู่ในแถบนั้น ใช้พิษจากผิวหนังของพวกมันมาชุบปลายลูกดอกหรือธนูเพื่อที่อาวุธเหล่านั้นจะได้มีประสิทธิภาพยามที่ออกล่าสัตว์ พิษจากลูกดอกเพียงดอกเดียวก็สามารถสังหารสัตว์ที่แข็งแรง เช่นหมูป่าให้ล้มลงเสียชีวิตภายในเวลาแค่ชั่วอึดใจ
ในบรรดากบตระกูลลูกศรพิษกว่า 175 สปีชีส์นั้น มีเพียงแค่ 3 ชนิดเท่านั้นที่มีพิษร้ายกาจพอที่จะนำมาชุบลูกดอกเป็นอาวุธได้ จุดที่รวมพิษของกบลูกดอกพิษก็คือผิวหนังส่วนหลัง รวมถึงส่วนที่เป็นตุ่มที่รูปร่างคล้ายหูหลังดวงตา สัตว์ตัวอื่นๆที่ไม่รู้แค่ใช้ปลายลิ้นเลียพวกมันเข้าพิษกบก็สามารถทำอันตรายสัตว์เหล่านั้นถึงชีวิตได้อย่างง่ายดาย
กบลูกศรพิษมีวีธีการสร้างพิษที่ประหลาด จริงๆแล้วร่างกายของพวกมันปราศจากพิษ แต่พิษของพวกมันเกิดขึ้นจากการที่ระบบย่อยอาหารได้สกัดเอาโปรตีนที่เป็นพิษจากอาหารที่มันกินเช่นมด แมลง ปลวก หรือแม้กระทั่งพืชบางอย่างเข้าไปสู่ระบบทางเดินอาหารและแปรสภาพเป็นพิษอยู่ตามตุ่มผิวหนัง
กบลูกศรพิษสีทอง (Golden Poison Dart Frog) จัดเป็นชนิดที่มีพิษร้ายแรงที่สุด พิษทั้งหมดจากตัวของมันเพียงพอที่จะคร่าชีวิตมนุษย์ 8 ถึง 20 คน
Posted by OkZooZoo
Cr.
http://oknation.nationtv.tv/blog/zoozoo/2007/10/29/entry-1
ตาของดาวทะเลเปราะ
ปลาดาวเปราะ (Brittlestars หรือ Ophiocoma wendtii ) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดหนึ่งที่เป็นญาติกับดาวทะเลอื่นๆ
งานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2018 เปิดเผยว่า ปลาดาวเปราะนั้นเป็นสัตว์อีกหนึ่งชนิดที่สามารถมองเห็นสภาพแวดล้อมของมันได้ทั้งๆที่มันไม่มีดวงตา
ลำตัวของมันเป็นแผ่นกลม มีแขน 5 แขน เป็นสัตว์ที่มีระบบประสาทแบบวงแหวน(ไม่มีสมอง) อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง พวกมันสามารถตรวจจับแสงได้และมักจะหลบแสงอยู่ในความมืด
โครงร่างภายนอกของดาวเปราะนั้นปกคลุมด้วยโครงสร้างคริสตัลที่มีลักษณะคล้ายลูกปัดจำนวนมากบนพื้นผิว ซึ่งในตอนแรกนักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่า เพราะคริสตัลเหล่านี้ทำหน้าที่เหมือน"เลนส์"ดวงตาขนาดจิ๋วจำนวนมากทำให้พวกมันรับรู้สภาพโดยรอบตัวมันได้โดยการรวมแสงที่ส่องผ่านคริสตัลไปยังกลุ่มเส้นประสาทที่อยู่ภายใต้ผิวคริสตัลนี้ แต่เมื่อตรวจสอบอย่างละเอียดพบว่า คริสตัลเหล่านี้ไม่ได้มีผลต่อการมองเห็นแต่อย่างใด
ล่าสุด งานวิจัยโดยนักประสาทชีววิทยา Lauren Sumner-Rooney จากมหาวิทยาลัย Oxford ยืนยันว่าดาวเปราะนั้นตอบสนองต่อทิศทางของแสงจริง แต่เมื่อมองลงไปที่โครงสร้างร่างกายของดาวเปราะแล้ว กลับพบว่ากลุ่มเส้นประสาทนั้นวิ่งอยู่ระหว่างโครงสร้างคริสตัล ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้คริสตัลตามสมมติฐานแรก
นอกจากนี้ยังตรวจพบเซลส์จำนวนมากที่ประกอบไปด้วยโมเลกุลที่ไวต่อแสงปกคลุมทั่วแขนของปลาดาวเปราะ (แต่กลับไม่มีเซลส์ชนิดนี้อยู่ในส่วนประกอบของคริสตัล) และเพราะเซลส์ชนิดนี้อยู่ใกล้กับกลุ่มเส้นประสาท ทำให้ปลาดาวเปราะสามารถรับสัญญาณทิศทางแสงสู่ระบบประสาทของมันได้โดยตรง
รูปแบบการมองเห็นแบบไม่มีดวงตาอันน่าพิศวงนี้จึงถูกเรียกว่า Extraocular Photoreception ซึ่งยังมีสัตว์น้ำอื่นๆที่มีประสาทสัมผัสแบบนี้เช่น สัตว์ที่มีเปลือกแข็ง(Crustacean)ขนาดเล็กบางชนิด และเม่นทะเล
เรียบเรียงโดย ภาณี ภัททิยไพบูลย์
อ้างอิง
https://www.nature.com/articles/d41586-018-01065-7#ref-CR2
Cr.
https://th-th.facebook.com/ardwarong/posts/1584387398349099/ โดย อาจวรงค์ ป๋องแป๋ง จันทมาศ
เท้าของกิ้งก่าบาซิลิสก์
กิ้งก่าบาซิลลิสก์ (Basilisk) เรียกอีกชื่อว่า กิ้งก่าพระเยซู (Jesus lizard) แห่งอเมริกากลางและอเมริกาใต้ มีเกล็ดเขียว-ขาว-ดำ มีครีบบนหลังเหมือนปลา และสำหรับตัวผู้จะมีหงอนเพิ่มขึ้นมาด้วย กิ้งก่าชนิดนี้จะอาศัยอยู่ริมน้ำ และมันสามารถวิ่งบนผิวน้ำได้โดยไม่จม
ลูกกิ้งก่าที่ฟักออกจากไข่แล้วต้องเอาตัวรอดด้วยตัวเอง เนื่องจากพ่อ-แม่จะไม่ดูแล ดังนั้นการเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ออกจากไข่จึงช่วยให้สัตว์ชนิดนี้รวดพ้นจากนักล่าที่มีอยู่ชุกชุมในน้ำได้
ด้วยสายตาปกติ จะไม่เห็นว่ากิ้งก่าบาซิลลิสก์เคลื่อนที่ไปบนผิวน้ำด้วยท่าทางแบบใด กล้องที่ใช้กันทั่วไปก็ไม่สามารถบันทึกการเคลื่อนไหวที่มีความเร็ว 18 เมตรต่อวินาที หรือเกือบ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ แต่เมื่อวิเคราะห์ด้วยกล้องที่มีความเร็วชัตเตอร์เป็นพิเศษ จะเห็นภาพกิ้งก่าเคลื่อนที่บนผิวน้ำได้ถึง 5 ก้าว ในเวลา 0.25 วินาที หรือแค่กระพริบตาครั้งเดียว
ทั้งนี้จังหวะในการเปลี่ยนก้าวของกิ้งก่าบาซิลิสก์ใช้เวลาเพียงแค่ 0.052 วินาที ที่รวดเร็วนี้ อุ้งเท้าของเจ้าบาซิลิสก์จะฟองอากาศลงไปในน้ำด้วย จากการวิเคราะห์ภาพถ่ายสรุปได้ว่ามีพลังงาน 3 อย่างที่ช่วยพยุงตัวไม่ให้กิ้งก่าบาซิลลิสก์จมน้ำ คือ แรงบาซิลิสก์ ซึ่งเกิดจากเท้ากระทุ้งผิวน้ำทำให้เกิดแรงพยุงตัว แรงต้านทานและแรงลอยตัวจากอากาศที่ช่วยพยุงเจ้ากิ้งก่าไว้ไม่ให้จม โดยกิ้งก่าจะจุ่มเท้าอีกข้างก่อนที่แรงจะหมด
(อาศัยหลักการเดียวกันนี้ นักวิจัยสหรัฐฯคำนวณว่า ผู้ชายหนัก 80 กิโลกรัมจะวิ่งไปบนผิวน้ำได้ต้องวิ่งให้เร็ว 106 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
กิ้งก่าบาซิลิสก์ยังสามารถดำน้ำและซ่อนตัวในน้ำได้ระยะเวลาหนึ่งเพื่อหลบหลีกศัตรู จากความสามารถพิเศษอันนี้รวมกับลักษณะเด่นของร่างกาย ทำให้ได้ชื่อสามัญว่า “กิ้งก่าบาซิลิสก์” เหมือนกับ บาซิลิสก์ สัตว์ประหลาดคล้ายมังกรผสมไก่ตามเทพปกรณัมกรีก และ “กิ้งก่าพระเยซู” ที่เหมือนพระเยซูที่แสดงปาฏิหาริย์เดินบนผิวน้ำได้ตามพระคัมภีร์ไบเบิล
Cr.ภาพ
https://zoo-dom.com.ua/breed/379/66600953/66601064.htm
Cr.
https://mgronline.com/science/detail/9510000139728 / โดย: MGR Online
จะงอยปากของตุ๋นปากเป็ด
ตุ่นปากเป็ด (Platypus) เป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย มีชื่อเรียกมากมาย เช่น watermole, duckbill, duckmole, duck-billed platypus
และมีชื่อที่ชาวอะบอริจินตั้งให้ ได้แก่ mallangong, boondaburra และ tambreet ตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับโมโนทรีมาตา (Monotremata) เช่นเดียวกับอีคิดนา จึงออกลูกเป็นไข่เหมือนกัน มีทั้งขนาดใหญ่เเละขนาดเล็ก
ปากของตุ่นปากเป็ด มีรูปร่างคล้ายปากเป็ด ยืดหยุ่นคล้ายยาง ปากบนเป็นสีน้ำเงินเทา มีรูจมูกอยู่ถัดมาจากปลายปากบนเล็กน้อย การที่รูจมูกอยู่ตำแหน่งนี้ช่วยให้ตุ่นปากเป็ดหายใจได้ดีขณะลำตัวอยู่ใต้น้ำ ปากล่างมีขนาดเล็กกว่าปากบน ใต้ปากล่างเป็นสีชมพูอ่อน หรือเป็นจุดๆหลากสี ด้านหลังของปากส่วนที่ต่อกับหัวมีกะบังยกขึ้นเล็กน้อยเหนือหน้าผาก ไม่ทราบแน่ชัดว่ากะบังนี้มีประโยชน์อย่างใด
ปากของตุ่นปากเป็ด รับสัมผัสได้ดีเพราะมีเส้นประสาทอยู่จำนวนมาก ตุ่นปากเป็ดจึงใช้ปากในการนำทางและหาอาหารขณะอยู่ใต้น้ำ มันมีปุ่มรับประจุไฟฟ้าเรียงรายอยู่ทั่วจะงอยปาก ปุ่มเหล่านี้บางส่วนไวต่อการสัมผัส บางส่วนไวต่อประจุไฟฟ้าที่แผ่ออกมาขณะเหยื่อหดเกร็งกล้ามเนื้อ ตุ่นปากเป็ดไม่มีฟัน บดอาหารด้วยปุ่มหยาบๆที่อยู่บนลิ้นและเพดานปาก เรียกกันว่า เพดานบด
นักวิทยาศาสตร์ยังรู้น้อยมากว่าตุ่นปากเป็ดมีวิวัฒนาการมาอย่างไร แต่มีการพบฟอสซิลอายุนับ 60 ล้านปีที่มีลักษณะคล้ายตุ่นปากเป็ดมาก ต่างกันเพียงแค่สัตว์ในสมัยบรรพกาลตัวนั้นมีฟัน ส่วนตุ่นปากเป็ดไม่มี ฟอสซิลเหล่านี้ บางชิ้นพบในอเมริกาใต้และแอนตาร์กติกา นักวิทยาศาสตร์จึงสันนิษฐานว่าในยุคที่แผ่นดินยังเชื่อมต่อกันอยู่ สัตว์ในอันดับโมโนทรีมาตา (ตุ่นปากเป็ดและอีคิดนา) คงเคยอาศัยอยู่ในดินแดนแถบนั้นเช่นกัน
Cr.
http://drsuntzu.weebly.com/science/20
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
สัตว์โลกที่มีอวัยวะที่น่าทึ่ง
พลานาเรีย เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัม Platyhelminthes เป็นสัตว์กินเนื้อที่กินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กกว่าและซากสัตว์เป็นอาหาร อาศัยอยู่ตามก้นแม่น้ำหรือแหล่งน้ำต่างๆ มีระบบความคิดที่เกิดจากเซลล์ประสาทจำนวนมากมารวมกันเป็นปมประสาท ทำหน้าที่เหมือนสมอง ตั้งอยู่บริเวณส่วนหัวของร่างกาย มันไม่มีระบบการหายใจ เพราะมันแลกเปลี่ยนก๊าซและสารต่างๆ ผ่านการแพร่โดยตรง
ทั่วทั้งร่างกายของมันคือ เซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell) ซึ่งทำให้เซลล์ในร่างกายของมันแบ่งตัวได้ตลอดเวลา อายุขัยของมันอาจยาวนานได้ถึง 200 ปี และเมื่อทั้งร่างกายของมันคือเซลล์ต้นกำเนิด แม้ว่าจะถูกสับเป็นชิ้นๆ มันจึงสร้างร่างกายใหม่ขึ้นมาได้จากทุกชิ้นส่วน
มีการทดลองให้พลานาเรียกินตับไก่ผสมผงถ่าน และพบว่าผงถ่านนั้นถูกดูดซึมเข้าไปในอวัยวะทุกส่วนของพลานาเรีย หมายความว่าทุกอย่างที่มันกินจะถูกซึมซับไปทั่วร่าง
พลานาเรียคือหนอนตัวแบนที่มีความสามารถใกล้เคียงกับคำว่าอมตะมากที่สุด พวกมันสามารถงอกแขนขาของมันออกมาได้ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อตัด
พลานาเรียออกไปชิ้นส่วน ชิ้นส่วนเหล่านั้นจะเติบโตเป็นหนอนตัวใหม่ขึ้นมาโดยยังคงความทรงจำของตัวดั้งเดิมไว้ได้อีกด้วย
ที่มา http://biology.ipst.ac.th/?p=967
Cr.https://www.facebook.com/ThaiTerraFormarsByFlapper129/photos/ว่าด้วยเอวา-และอดอล์ฟ-02-พลานาเรียโพสนี้ว่าด้วยเรื่องของ-เอวา-ฟรอสต์-สาวน้อยอันด/911385598947669/
อวัยวะรับอนุภาคเคมีในอากาศ
ลิ้นสองแฉก (Forked tongue) เป็นลักษณะที่พบได้ทั่วไปในสัตว์ในอันดับ Squamata อันได้แก่งูและกิ้งก่า และอีกหลายสกุลที่ปรากฏลักษณะลิ้นสองแฉก เช่น Tupinambis (เตกู) และกิ้งก่าในสกุล Varanus (ตะกวด โคโมโด)
สำหรับงูและกิ้งก่า ลิ้นทำหน้าที่ในการรับกลิ่น สำหรับสัตว์เลื้อยคลานที่กำลังมองหาเหยื่อเป็นๆหรือซากสัตว์นั้น สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งคือระบบรับกลิ่นที่มีประสิทธิภาพ กลิ่นนั้นเป็นอนุภาคเคมีที่ลอยอยู่ในอากาศ ในของเหลวเช่นน้ำ หรือแม้แต่ติดอยู่ตามพื้นผิวต่างๆ
งูและกิ้งก่าจะใช้ลิ้นที่มีปลายเป็นสองแฉกนี้ เก็บรวบรวมอนุภาคเคมีในอากาศ นั่นคือตอนที่เราเห็นมันแลบลิ้นแผล่บๆ จากนั้นงูจะดึงลิ้นกลับเข้าไปในปาก และส่งบริเวณปลายลิ้นทั้งสองไปสัมผัสกับอวัยวะหนึ่งบนเพดานปาก (ในงูพิษจะอยู่ติดกับต่อมพิษที่อยู่หลังเขี้ยว) อวัยวะนี้มีชื่อว่า “Jacobson’s Organ”
ซึ่งเป็นอวัยวะที่จะรับอนุภาคเคมีที่ลิ้นเก็บมาจากอากาศและส่งไปวิเคราะห์ยังสมอง จะบอกได้ว่ามีอาหารอยู่ในบริเวณนั้นหรือไม่ และยังบอกทิศทางได้ด้วยว่ามาจากฝั่งไหน เป็นผลมาจากลิ้นที่มีสองแฉกจะเก็บอนุภาคของกลิ่นมาไม่เท่ากัน อวัยวะนี้สามารถระบุได้ว่าต้นตอของกลิ่นมาจากทิศไหน และจะนำไปยังที่มาของกลิ่น
งูสามารถแลบลิ้นออกมาได้แม้ปากของมันจะปิดสนิท เนื่องจากบริเวณส่วนหน้าของปากมีช่องเปิดที่เรียกว่า “rostral groove” นั่นเป็นสาเหตุที่งูที่โดนเย็บปาก ยังสามารถแลบลิ้นอยู่ได้ นอกจากใช้ค้นหาอาหารแล้ว ลิ้นสองแฉกและอวัยวะบนเพดานปากยังช่วยให้งูหาคู่ผสมพันธุ์เจอด้วย
Cr. Herpetologyguy/Steemit, Naturalvisions
Cr.https://www.facebook.com/DicitNatura/posts/733310080422991/
ผิวหนังพิษของกบ
กบลูกศรพิษจัดอยู่ใน Order : Anura คือสัตว์จำพวกกบ คางคกทั้งหมดใน Family : 1 Dendrobatidae 2 Epipedobates 3 Minyobates 4 Phillobates พวกนี้คือชื่อแฟมิลี่ของกบตระกูลลูกศรพิษโดยเฉพาะ
ที่ได้ชื่อว่า กบลูกศรพิษเพราะว่าชนเผ่าพื้นเมืองอินเดียนแดงที่อาศัยอยู่ในแถบนั้น ใช้พิษจากผิวหนังของพวกมันมาชุบปลายลูกดอกหรือธนูเพื่อที่อาวุธเหล่านั้นจะได้มีประสิทธิภาพยามที่ออกล่าสัตว์ พิษจากลูกดอกเพียงดอกเดียวก็สามารถสังหารสัตว์ที่แข็งแรง เช่นหมูป่าให้ล้มลงเสียชีวิตภายในเวลาแค่ชั่วอึดใจ
ในบรรดากบตระกูลลูกศรพิษกว่า 175 สปีชีส์นั้น มีเพียงแค่ 3 ชนิดเท่านั้นที่มีพิษร้ายกาจพอที่จะนำมาชุบลูกดอกเป็นอาวุธได้ จุดที่รวมพิษของกบลูกดอกพิษก็คือผิวหนังส่วนหลัง รวมถึงส่วนที่เป็นตุ่มที่รูปร่างคล้ายหูหลังดวงตา สัตว์ตัวอื่นๆที่ไม่รู้แค่ใช้ปลายลิ้นเลียพวกมันเข้าพิษกบก็สามารถทำอันตรายสัตว์เหล่านั้นถึงชีวิตได้อย่างง่ายดาย
กบลูกศรพิษมีวีธีการสร้างพิษที่ประหลาด จริงๆแล้วร่างกายของพวกมันปราศจากพิษ แต่พิษของพวกมันเกิดขึ้นจากการที่ระบบย่อยอาหารได้สกัดเอาโปรตีนที่เป็นพิษจากอาหารที่มันกินเช่นมด แมลง ปลวก หรือแม้กระทั่งพืชบางอย่างเข้าไปสู่ระบบทางเดินอาหารและแปรสภาพเป็นพิษอยู่ตามตุ่มผิวหนัง
กบลูกศรพิษสีทอง (Golden Poison Dart Frog) จัดเป็นชนิดที่มีพิษร้ายแรงที่สุด พิษทั้งหมดจากตัวของมันเพียงพอที่จะคร่าชีวิตมนุษย์ 8 ถึง 20 คน
Posted by OkZooZoo
Cr.http://oknation.nationtv.tv/blog/zoozoo/2007/10/29/entry-1
ตาของดาวทะเลเปราะ
ปลาดาวเปราะ (Brittlestars หรือ Ophiocoma wendtii ) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดหนึ่งที่เป็นญาติกับดาวทะเลอื่นๆ
งานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2018 เปิดเผยว่า ปลาดาวเปราะนั้นเป็นสัตว์อีกหนึ่งชนิดที่สามารถมองเห็นสภาพแวดล้อมของมันได้ทั้งๆที่มันไม่มีดวงตา
ลำตัวของมันเป็นแผ่นกลม มีแขน 5 แขน เป็นสัตว์ที่มีระบบประสาทแบบวงแหวน(ไม่มีสมอง) อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง พวกมันสามารถตรวจจับแสงได้และมักจะหลบแสงอยู่ในความมืด
โครงร่างภายนอกของดาวเปราะนั้นปกคลุมด้วยโครงสร้างคริสตัลที่มีลักษณะคล้ายลูกปัดจำนวนมากบนพื้นผิว ซึ่งในตอนแรกนักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่า เพราะคริสตัลเหล่านี้ทำหน้าที่เหมือน"เลนส์"ดวงตาขนาดจิ๋วจำนวนมากทำให้พวกมันรับรู้สภาพโดยรอบตัวมันได้โดยการรวมแสงที่ส่องผ่านคริสตัลไปยังกลุ่มเส้นประสาทที่อยู่ภายใต้ผิวคริสตัลนี้ แต่เมื่อตรวจสอบอย่างละเอียดพบว่า คริสตัลเหล่านี้ไม่ได้มีผลต่อการมองเห็นแต่อย่างใด
ล่าสุด งานวิจัยโดยนักประสาทชีววิทยา Lauren Sumner-Rooney จากมหาวิทยาลัย Oxford ยืนยันว่าดาวเปราะนั้นตอบสนองต่อทิศทางของแสงจริง แต่เมื่อมองลงไปที่โครงสร้างร่างกายของดาวเปราะแล้ว กลับพบว่ากลุ่มเส้นประสาทนั้นวิ่งอยู่ระหว่างโครงสร้างคริสตัล ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้คริสตัลตามสมมติฐานแรก
นอกจากนี้ยังตรวจพบเซลส์จำนวนมากที่ประกอบไปด้วยโมเลกุลที่ไวต่อแสงปกคลุมทั่วแขนของปลาดาวเปราะ (แต่กลับไม่มีเซลส์ชนิดนี้อยู่ในส่วนประกอบของคริสตัล) และเพราะเซลส์ชนิดนี้อยู่ใกล้กับกลุ่มเส้นประสาท ทำให้ปลาดาวเปราะสามารถรับสัญญาณทิศทางแสงสู่ระบบประสาทของมันได้โดยตรง
รูปแบบการมองเห็นแบบไม่มีดวงตาอันน่าพิศวงนี้จึงถูกเรียกว่า Extraocular Photoreception ซึ่งยังมีสัตว์น้ำอื่นๆที่มีประสาทสัมผัสแบบนี้เช่น สัตว์ที่มีเปลือกแข็ง(Crustacean)ขนาดเล็กบางชนิด และเม่นทะเล
เรียบเรียงโดย ภาณี ภัททิยไพบูลย์
อ้างอิง
https://www.nature.com/articles/d41586-018-01065-7#ref-CR2
Cr.https://th-th.facebook.com/ardwarong/posts/1584387398349099/ โดย อาจวรงค์ ป๋องแป๋ง จันทมาศ
เท้าของกิ้งก่าบาซิลิสก์
กิ้งก่าบาซิลลิสก์ (Basilisk) เรียกอีกชื่อว่า กิ้งก่าพระเยซู (Jesus lizard) แห่งอเมริกากลางและอเมริกาใต้ มีเกล็ดเขียว-ขาว-ดำ มีครีบบนหลังเหมือนปลา และสำหรับตัวผู้จะมีหงอนเพิ่มขึ้นมาด้วย กิ้งก่าชนิดนี้จะอาศัยอยู่ริมน้ำ และมันสามารถวิ่งบนผิวน้ำได้โดยไม่จม
ลูกกิ้งก่าที่ฟักออกจากไข่แล้วต้องเอาตัวรอดด้วยตัวเอง เนื่องจากพ่อ-แม่จะไม่ดูแล ดังนั้นการเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ออกจากไข่จึงช่วยให้สัตว์ชนิดนี้รวดพ้นจากนักล่าที่มีอยู่ชุกชุมในน้ำได้
ด้วยสายตาปกติ จะไม่เห็นว่ากิ้งก่าบาซิลลิสก์เคลื่อนที่ไปบนผิวน้ำด้วยท่าทางแบบใด กล้องที่ใช้กันทั่วไปก็ไม่สามารถบันทึกการเคลื่อนไหวที่มีความเร็ว 18 เมตรต่อวินาที หรือเกือบ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ แต่เมื่อวิเคราะห์ด้วยกล้องที่มีความเร็วชัตเตอร์เป็นพิเศษ จะเห็นภาพกิ้งก่าเคลื่อนที่บนผิวน้ำได้ถึง 5 ก้าว ในเวลา 0.25 วินาที หรือแค่กระพริบตาครั้งเดียว
ทั้งนี้จังหวะในการเปลี่ยนก้าวของกิ้งก่าบาซิลิสก์ใช้เวลาเพียงแค่ 0.052 วินาที ที่รวดเร็วนี้ อุ้งเท้าของเจ้าบาซิลิสก์จะฟองอากาศลงไปในน้ำด้วย จากการวิเคราะห์ภาพถ่ายสรุปได้ว่ามีพลังงาน 3 อย่างที่ช่วยพยุงตัวไม่ให้กิ้งก่าบาซิลลิสก์จมน้ำ คือ แรงบาซิลิสก์ ซึ่งเกิดจากเท้ากระทุ้งผิวน้ำทำให้เกิดแรงพยุงตัว แรงต้านทานและแรงลอยตัวจากอากาศที่ช่วยพยุงเจ้ากิ้งก่าไว้ไม่ให้จม โดยกิ้งก่าจะจุ่มเท้าอีกข้างก่อนที่แรงจะหมด
(อาศัยหลักการเดียวกันนี้ นักวิจัยสหรัฐฯคำนวณว่า ผู้ชายหนัก 80 กิโลกรัมจะวิ่งไปบนผิวน้ำได้ต้องวิ่งให้เร็ว 106 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
กิ้งก่าบาซิลิสก์ยังสามารถดำน้ำและซ่อนตัวในน้ำได้ระยะเวลาหนึ่งเพื่อหลบหลีกศัตรู จากความสามารถพิเศษอันนี้รวมกับลักษณะเด่นของร่างกาย ทำให้ได้ชื่อสามัญว่า “กิ้งก่าบาซิลิสก์” เหมือนกับ บาซิลิสก์ สัตว์ประหลาดคล้ายมังกรผสมไก่ตามเทพปกรณัมกรีก และ “กิ้งก่าพระเยซู” ที่เหมือนพระเยซูที่แสดงปาฏิหาริย์เดินบนผิวน้ำได้ตามพระคัมภีร์ไบเบิล
Cr.ภาพ https://zoo-dom.com.ua/breed/379/66600953/66601064.htm
Cr.https://mgronline.com/science/detail/9510000139728 / โดย: MGR Online
จะงอยปากของตุ๋นปากเป็ด
ตุ่นปากเป็ด (Platypus) เป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย มีชื่อเรียกมากมาย เช่น watermole, duckbill, duckmole, duck-billed platypus
และมีชื่อที่ชาวอะบอริจินตั้งให้ ได้แก่ mallangong, boondaburra และ tambreet ตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับโมโนทรีมาตา (Monotremata) เช่นเดียวกับอีคิดนา จึงออกลูกเป็นไข่เหมือนกัน มีทั้งขนาดใหญ่เเละขนาดเล็ก
ปากของตุ่นปากเป็ด มีรูปร่างคล้ายปากเป็ด ยืดหยุ่นคล้ายยาง ปากบนเป็นสีน้ำเงินเทา มีรูจมูกอยู่ถัดมาจากปลายปากบนเล็กน้อย การที่รูจมูกอยู่ตำแหน่งนี้ช่วยให้ตุ่นปากเป็ดหายใจได้ดีขณะลำตัวอยู่ใต้น้ำ ปากล่างมีขนาดเล็กกว่าปากบน ใต้ปากล่างเป็นสีชมพูอ่อน หรือเป็นจุดๆหลากสี ด้านหลังของปากส่วนที่ต่อกับหัวมีกะบังยกขึ้นเล็กน้อยเหนือหน้าผาก ไม่ทราบแน่ชัดว่ากะบังนี้มีประโยชน์อย่างใด
ปากของตุ่นปากเป็ด รับสัมผัสได้ดีเพราะมีเส้นประสาทอยู่จำนวนมาก ตุ่นปากเป็ดจึงใช้ปากในการนำทางและหาอาหารขณะอยู่ใต้น้ำ มันมีปุ่มรับประจุไฟฟ้าเรียงรายอยู่ทั่วจะงอยปาก ปุ่มเหล่านี้บางส่วนไวต่อการสัมผัส บางส่วนไวต่อประจุไฟฟ้าที่แผ่ออกมาขณะเหยื่อหดเกร็งกล้ามเนื้อ ตุ่นปากเป็ดไม่มีฟัน บดอาหารด้วยปุ่มหยาบๆที่อยู่บนลิ้นและเพดานปาก เรียกกันว่า เพดานบด
นักวิทยาศาสตร์ยังรู้น้อยมากว่าตุ่นปากเป็ดมีวิวัฒนาการมาอย่างไร แต่มีการพบฟอสซิลอายุนับ 60 ล้านปีที่มีลักษณะคล้ายตุ่นปากเป็ดมาก ต่างกันเพียงแค่สัตว์ในสมัยบรรพกาลตัวนั้นมีฟัน ส่วนตุ่นปากเป็ดไม่มี ฟอสซิลเหล่านี้ บางชิ้นพบในอเมริกาใต้และแอนตาร์กติกา นักวิทยาศาสตร์จึงสันนิษฐานว่าในยุคที่แผ่นดินยังเชื่อมต่อกันอยู่ สัตว์ในอันดับโมโนทรีมาตา (ตุ่นปากเป็ดและอีคิดนา) คงเคยอาศัยอยู่ในดินแดนแถบนั้นเช่นกัน
Cr.http://drsuntzu.weebly.com/science/20
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)