เรียนสอบถามผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับพิษงูอย่าง Hemotoxin, Cytotoxin, Myotoxin และ Neurotoxin

สวัสดีครับ พอดีผมกำลังค้นคว้าเล็กๆ เกี่ยวกับเรื่องพิษงู ซึ่งเท่าที่พบก็เจอพิษอยู่ 4 ประเภท ด้วยความสนใจ เลยลองพยายามหาบทความเกี่ยวกับพิษดังกล่าวอ่านเพิ่มเติมดู แต่ก็ยังมีข้อสงสัยอยู่ เลยอยากมาเรียนสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านนี้เพิ่มเติมเล็กน้อยน่ะครับ

โดยอย่างแรก ผมขอสรุปใจความที่ศึกษาให้ท่านทราบความรู้พื้นฐานของผมก่อนเพื่อเป็นแนวทางตอบคำถามนะครับ



(1)

พิษของงูเท่าที่พบมาในปัจจุบัน ส่วนใหญ่แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ Hemotoxin, Cytotoxin, Myotoxin และ Neurotoxin ซึ่งแต่ละประเภทจะส่งผลต่อร่างกายเหยื่อเมื่อรับเข้าสู่กระแสเลือด ในกรณีนี้แม้แต่งูผู้ให้กำเนิดพิษดังกล่าว หากได้รับพิษเข้ากระแสเลือดก็จะได้รับผลจากพิษดังกล่าวด้วย
          (1.1) Hemotoxin           เป็นพิษที่ส่งผลต่อ 'เลือด' โดยตรง          --> ส่งผลให้เลือดแข็งตัวเป็นลิ่มก้อน, อวัยวะภายในล้มเหลว
          (1.2) Cytotoxin             เป็นพิษที่ส่งผลต่อ 'เซลล์'                     --> ส่งผลให้เซลล์ตาย(?)
          (1.3) Myotoxin              เป็นพิษที่ส่งผลต่อ 'กล้ามเนื้อ'               --> ส่งผลให้เกิดภาวะ เนื้อเยื่อตาย
          (1.4) Neurotoxin           เป็นพิษที่ส่งผลต่อ 'ระบบประสาท'          --> ส่งผลให้ระบบประสาทสัมผัสล้มเหลว

พิษทั้ง 4 ประเภทจะส่งผลก็ต่อเมื่ออยู่ในกระแสเลือดเท่านั้น หากรับเข้าทางระบบย่อยอาหารหรือผิวหนังจะไม่ส่งผลกระทบอะไรต่อร่างกาย




จากกรณี (1) ข้างต้น ผมก็มีข้อสงสัยตามข้อสรุปข้างบน ดังนี้ครับ

1. งู(หรือสัตว์ประเภทอื่น) กัดเพื่อฝังเขี้ยวและฉีดพิษเข้าสู่ร่างกายเหยื่อ ในกรณีที่ว่า จะมีบริเวณไหนที่ร่างกายมนุษย์ถูกกัดแล้วพิษไม่สามารถเข้าสู่กระแสเลือดไหมครับ? อย่างตื้นไปโดนชั้นไขมันที่ดันขึ้นมาคั่นไว้แทน?

2. ถ้าเป็นกรณีรีดพิษงูใส่ภาชนะบรรจุ หรือกรณีพิษได้ถูกถ่ายออกมานอกร่างกาย เคมีของพิษจะเกิดการแตกตัวในภายหลังหรือไม่ครับ?

3. พิษทั้ง 4 ประเภทผมพอจะเข้าใจกลไกของ Hemotoxin เพราะมันส่งผลต่อระบบเลือดและอวัยวะภายใน แต่พิษประเภทอื่น อย่าง Myotoxin นี่ มันส่งผลต่อกล้ามเนื้อ งั้นแค่กัดฝังเขี้ยวลงบนผิวหนังก็น่าจะเพียงพอจะออกฤทธิ์แล้ว ไม่จำเป็นต้องเข้าสู่กระแสเลือดเสมอไป? แล้วกรณี Neorotoxin ที่ส่งผลต่อระบบประสาท ทำไมจากในกระแสเลือดมันไปเชื่อมกับระบบประสาทได้ครับ เป็นเพราะเคมีเฉพาะของพิษรึเปล่า?

4. เหยื่อของงูที่ถูกกัดและตายในเวลาต่อมา แต่ไม่ถูกงูกลืนเข้าไป (ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตามแต่) แล้วมาถูกสัตว์กินซากชนิดอื่นกินเข้าไป ในกรณีนี้พิษที่ตกค้างในตัวเหยื่อจะเข้าสู่ระบบย่อยอาหาร ทำให้ไม่มีพิษเข้าสู่กระแสเลือดและไม่ส่งผลใดๆ ต่อสัตว์กินซากเหล่านั้นใช่ไหมครับ? ตรงนี้ผมข้องใจเล็กน้อย ตรงที่ว่า ทียาเบื่อยังส่งผลต่อพวกหนู แมว หรือสุนัขเลย อย่างว่าแต่ยาเบื่อเลย พวกยาต่างๆ ขนาดกินเกินขนาดก็ส่งผลต่อร่างกายได้ ทำไมพิษที่ตกค้างในตัวเหยื่อพวกนั้นถึงไม่ส่งผลต่อสัตว์กินซากพวกนั้นครับ หรือเป็นเพราะ มันเป็นพิษที่มีเงื่อนไขออกฤทธิ์ต่างกัน?

5. ปริมาณของพิษทั้ง 4 ประเภทที่เข้าสู่กระแสเลือด จะส่งผลแตกต่างกันไหมครับ? อย่าง Hemotoxin ถ้ารับเข้าไปเล็กน้อย ร่างกายก็จะเสียหายน้อยกว่ารับเข้าไปในปริมาณที่มากกว่ารึเปล่า แล้วอย่างในกรณี Neurotoxin ที่เกี่ยวพันกับระบบประสาทที่มันเชื่อมต่อกันทั้งร่าง รับเข้าไปนิดเดียวก็ส่งผลไปทั้งร่างไม่แบ่งแยก?

6. ถ้าจัดลำดับความเลวร้ายและความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อร่างกายในหมู่พิษ 4 ประเภทนี้ ท่านจะจัดลำดับแบบไหนและเพราะอะไรครับ?  

7. งู(หรือสัตว์มีพิษร้ายแรง) ไม่ได้ถึงกับมีพิษใดพิษหนึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เพียงแต่พิษของงูแต่ละประเภทจะแสดงผลอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่า? กล่าวสรุปคือภายในตัวงูแต่ละชนิด อาจจะมีพิษอยู่มากกว่า 1 ประเภท?

8. ที่ว่ามีลำดับงูพิษร้ายแรงตามเว็บไซต์ต่างๆ เขามักจะใช้เกณฑ์แบบไหนอิงคำว่า 'พิษร้ายแรง' เหรอครับ อิงตามความร้ายแรงของพิษทั้ง 4 ประเภทที่ว่า ปริมาณพิษที่มี เคมีที่เป็นคุณสมบัติของพิษ หรือแบบไหนครับ? อย่างกรณี งูไทปันโพ้นทะเล 'Oxyuranus microlepidotus' เท่าที่ผมอ่านตามเว็บไซต์เพิ่มเติม สาเหตุที่เจ้าตัวอยู่ในอันดับต้นๆ เพราะพิษถูกวิวัฒนาการขึ้นมาเพื่อเป็นนักล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แค่กัดครั้งเดียวก็มีปริมาณพอจะฆ่ามนุษย์ตัวเต็มวัย 100 คนแล้ว... อันนี้พูดจากใจจริงในความคิดผม มันดูขี้โม้ยังไงไม่รู้ คือ... แค่กัดครั้งเดียวนะครับ? ครั้งเดียวหนึ่งจึ้กเหมือนเข็มฉีดยาแต่ก็พอจะฆ่าคนเป็นร้อย? บ้าแล้ว!  


ถ้าคำถามที่อ้างอิงจากความรู้พื้นฐานของผม คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ผมขอโทษไว้ล่วงหน้า ณ ตรงนี้เลยนะครับ

ขอบคุณมากครับผม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่