
BEM บวกแรงเกือบ 9% ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นกว่า 500% เมื่อเทียบกับช่วง 5 วันทำการก่อนหน้า ทั้งที่นักวิเคราะห์ประเมินว่า ผลงานไตรมาส 1-2 น่าจะได้รับผลกระทบหนัก จากปริมาณผู้โยสารที่ลดลง หลังรัฐบาลประกาศ พรก.ฉุกเฉิน โดยคาดทั้งปีกำไรจะลดลง 40% จากปีก่อน แต่เปลี่ยนคำแนะนำเป็น “ซื้อ” เหตุราคาปัจจุบันมีอัพไซด์ให้ลุ้น และเชื่อว่า BEM จะเป็นธุรกิจที่ฟื้นตัวได้รวดเร็วหากโควิด–19 คลี่คลาย แถมมีสตอรี่ประกาศทีโออาร์สายสีส้มตะวันตกให้ลุ้นช่วงกลางปี
ราคาหุ้น บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM วานนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 9% มาปิดที่ 8.25 บาท ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่หนาแน่นผิดปกติ +529.39% เมื่อเทียบกับช่วง 5 วันทำการก่อนหน้า นี่แค่การรีบาวน์ทางเทคนิค การแรงเก็งกำไรตามภาวะตลาด หรือจริงๆ แล้ว BEM มีดีซ่อนอยู่ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโควิด -19 กันแน่
*** ปรับเวลาปิดให้บริการรถไฟฟ้า ผลกระทบไม่ต่างจากช่วงแรกที่ประกาศเคอร์ฟิว
บล.โนมูระ ระบุว่า การปรับลดเวลาให้บริการรถไฟฟ้า MRT แห่ง เป็นเวลา 21.30 น. ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 เป็นต้นไป หลังการประกาศเคอร์ฟิว ภายใต้สถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดหนักใน กทม. รวมถึงก่อนหน้านี้ กทม. ได้สั่งปิดห้างไปแล้ว ตั้งแต่ 22 มี.ค.-30 เม.ย. และรัฐบาลประกาศ พรก.ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 1) ปิดสถานที่เสี่ยงต่อโรค ตั้งแต่ 25 มี.ค. ซึ่งทำให้ปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวันลดลงจากปกติไปแล้วมากกว่า -60% ดังนั้น จึงคาดการปรับลดเวลาให้บริการครั้งนี้คงไม่ทำให้ปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT เฉลี่ยต่อวันต่างจากก่อนปรับมากนัก
*** เดือนมี.ค.ปริมาณผู้ใช้รถไฟฟ้าลดลง 15% คาดผลงานไตรมาส 2 ทรุดหนัก
ขณะที่ บล.ฟินันเซีย ไซรัส คาดการณฺว่า ปิดสถานที่สำคัญ รณรงค์ให้คนอยู่บ้าน หรือ work from home จะส่งผลให้ผู้ใช้ทางด่วนและรถไฟฟ้าเดือน มี.ค. จะลดลง 15%, และลดลง 25% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับและจะลดหนักในไตรมาส 2 ของปีนี้ แต่ถ้าโควิด-19 ยืดเยื้อ ผู้คน work from home ถึงไตรมาส 4/63 กำไรปีนี้อาจ -40% จากปีก่อน
เช่นเดียวกับ บล.เคจีไอ ที่คาดว่าปริมาณการจราจร และจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าจะลดลงอย่างหนักในไตรมาสที่ 2 นี้ เพราะหลายบริษัทได้ประกาศให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน หรือ หยุดงานโดยไม่ได้ค่าจ้าง หรือ ปลดพนักงานออก
โดย บล.โนมูระ คาดการณ์ว่า ปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวันในไตรมาส 2/63 - ไตรมาส 3/63 ลดลง 57% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 20% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
*** หั่นประมาณการกำไรปีนี้ร่วงเกือบ 40% จากปีก่อน
บล.เคจีไอ ระบุว่า ฝ่ายวิเคราะห์ได้ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิของ BEM ปี 2563 ลง 39.0% และปี 2564 ลง 24.4% เนื่องจาก 1) ปรับลดประมาณการรายได้จากธุรกิจทางด่วนปีนี้ลง 20.0% และปีหน้าลง 16.5% เพราะปริมาณการจราจรลดลงจากสถานการณ์ โควิด-19 และนโยบาย WFH 2) ปรับลดประมาณการรายได้จากธุรกิจระบบรางปี 2563 ลง 19.5% และปี 2564 ลง 13.2% เนื่องจากจำนวนผู้โดยสาร และค่าโดยสารเฉลี่ยลดลง 3) ปรับลดประมาณการรายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ปีนี้และปีหน้าลง 3.8% เนื่องจากมีการปรับลดค่าเช่าลง 50% (metro malls, จุดพักรถ) ในขณะที่รายได้ค่าโฆษณาก็ลดลงตามจำนวนผู้โดยสาร นอกจากนี้ ยังปรับเพิ่มสมมติฐาน SG&A/รายได้ปี 2563-2564 จาก 7.7% เป็น 10.6% จากการเปิดดำเนินการเชิงพาณชิย์ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย
นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ว่า สถานการณ์โควิด-19 จะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งถ้าหากสถานการณ์โรคระบาดสิ้นสุดลงภายในปี 2563 มาตรการปิดกรุงเทพก็จะถูกยกเลิก ทำให้ปริมาณการจราจร และจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าก็จะฟื้นตัวขึ้น
*** แม้ปีนี้ผลงานไม่ดี แต่นักวิเคราะห์เชียร์ซื้อ ด้วยเหตุผลที่น่าสนใจ
บล.เคจีไอ ระบุว่า ปรับเพิ่มคำแนะนำหุ้น BEM จากถือเป็นซื้อ โดยให้ราคาเป้าหมาย ปี 2563 ที่ 10.00 บาท เนื่องจาก 1) ราคาหุ้นมี upside น่าสนใจ และ 2) ยังมี upside เพิ่มอีกจากโครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีส้มตะวันตก (คาดว่าจะออก TOR ได้ในครึ่งแรกของปีนี้) นอกจากนี้ มองว่า BEM ยังมี upside ระยะยาวอีก 1.50 บาท/หุ้น จากสิทธิ์ในการต่อสัมปทานทางด่วน โดยเชื่อว่าราคาหุ้นที่ปรับลดลงมารอบนี้ได้สะท้อนถึงปัจจัยลบจากสถานการณ์โควิด-19 ไปเรียบร้อยแล้ว ในขณะที่ทั้งประมาณการกำไร และการประเมินมูลค่าหุ้นของฝ่ายวิเคราะห์ก็อนุรักษ์นิยมมากกว่า consensus อยู่แล้ว เพราะได้ประเมินผลกระทบด้านลบจากการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ของรถไฟฟ้าสาย MRT สายอื่น ๆ (ชมพูและเหลือง) ซึ่งจะมาลดทอนจำนวนผู้โดยสารของ sectors C และ C+ ไปบางส่วน
ขณะที่ บล.โนมูระ เองก็เชื่อว่าเมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติกำไรของ BEM จะฟื้นตัวอย่างรวดเร็วเนื่องจากเป็นธุรกิจบริการที่ประชาชนต้องใช้ในชีวิตประจำวัน แม้ฝ่ายวิเคราะห์จะปรับลดกำไรปีนี้ลง แต่ก็คาดว่า กำไรปีหน้ากำไรของ BEM จะฟื้นตัวก้าวกระโดด +108% จากปี 63 เป็น 6 พันลบ. จากสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติและได้ประโยชน์จากการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายอย่างเต็มที่ จึงปรับคำแนะนำเป็น ซื้อ (เดิม NEUTRAL)โดยมีราคาเป้าหมาย 9.10 บาท
หากประเมินสถานกาณณ์ตอนนี้ BEM คงไม่น่าสนใจแน่ เพราะผลกระทบจากสถานการณ์โควิด–19 นั้นมากมายเหลือเกิน แต่หากเราเชื่อว่า สถานการณ์นี้จะดีขึ้นตามลำดับในช่วงครึ่งปีหลัง และการก่อสร้างรถไฟฟ้าของภาครัฐจะดำเนินต่อไปได้ไม่สะดุด เราก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า BEM ก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย เพราะมีทั้งอัพไซด์ที่เหลือให้ได้ลุ้นเกือบ 20% แถมยังมีสตอรี่เรื่องทีโออาร์สายสีส้มตะวันตกรออยู่อีกด้วย
.
**อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่==>>
http://www.efinancethai.com/HotStocks/HotStockMain.aspx?release=y&id=cjJYWldJMGVoRDQ9
--------------------------
สำนักข่าว efinanceThai ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการลงทุนหุ้นได้ที่นี่
Website :
https://www.efinancethai.com
Facebook :
https://www.facebook.com/efinanceThaiTV/
Facebook :
https://www.facebook.com/efinanceThai/
lTwitter : @eFinanceThai
IG : @efinancethai_official
line : @efin
BEM อัพไซด์กว้าง...จนต้องมองข้ามกำไรที่ไม่ดีในปีนี้
BEM บวกแรงเกือบ 9% ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นกว่า 500% เมื่อเทียบกับช่วง 5 วันทำการก่อนหน้า ทั้งที่นักวิเคราะห์ประเมินว่า ผลงานไตรมาส 1-2 น่าจะได้รับผลกระทบหนัก จากปริมาณผู้โยสารที่ลดลง หลังรัฐบาลประกาศ พรก.ฉุกเฉิน โดยคาดทั้งปีกำไรจะลดลง 40% จากปีก่อน แต่เปลี่ยนคำแนะนำเป็น “ซื้อ” เหตุราคาปัจจุบันมีอัพไซด์ให้ลุ้น และเชื่อว่า BEM จะเป็นธุรกิจที่ฟื้นตัวได้รวดเร็วหากโควิด–19 คลี่คลาย แถมมีสตอรี่ประกาศทีโออาร์สายสีส้มตะวันตกให้ลุ้นช่วงกลางปี
ราคาหุ้น บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM วานนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 9% มาปิดที่ 8.25 บาท ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่หนาแน่นผิดปกติ +529.39% เมื่อเทียบกับช่วง 5 วันทำการก่อนหน้า นี่แค่การรีบาวน์ทางเทคนิค การแรงเก็งกำไรตามภาวะตลาด หรือจริงๆ แล้ว BEM มีดีซ่อนอยู่ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโควิด -19 กันแน่
*** ปรับเวลาปิดให้บริการรถไฟฟ้า ผลกระทบไม่ต่างจากช่วงแรกที่ประกาศเคอร์ฟิว
บล.โนมูระ ระบุว่า การปรับลดเวลาให้บริการรถไฟฟ้า MRT แห่ง เป็นเวลา 21.30 น. ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 เป็นต้นไป หลังการประกาศเคอร์ฟิว ภายใต้สถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดหนักใน กทม. รวมถึงก่อนหน้านี้ กทม. ได้สั่งปิดห้างไปแล้ว ตั้งแต่ 22 มี.ค.-30 เม.ย. และรัฐบาลประกาศ พรก.ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 1) ปิดสถานที่เสี่ยงต่อโรค ตั้งแต่ 25 มี.ค. ซึ่งทำให้ปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวันลดลงจากปกติไปแล้วมากกว่า -60% ดังนั้น จึงคาดการปรับลดเวลาให้บริการครั้งนี้คงไม่ทำให้ปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT เฉลี่ยต่อวันต่างจากก่อนปรับมากนัก
*** เดือนมี.ค.ปริมาณผู้ใช้รถไฟฟ้าลดลง 15% คาดผลงานไตรมาส 2 ทรุดหนัก
ขณะที่ บล.ฟินันเซีย ไซรัส คาดการณฺว่า ปิดสถานที่สำคัญ รณรงค์ให้คนอยู่บ้าน หรือ work from home จะส่งผลให้ผู้ใช้ทางด่วนและรถไฟฟ้าเดือน มี.ค. จะลดลง 15%, และลดลง 25% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับและจะลดหนักในไตรมาส 2 ของปีนี้ แต่ถ้าโควิด-19 ยืดเยื้อ ผู้คน work from home ถึงไตรมาส 4/63 กำไรปีนี้อาจ -40% จากปีก่อน
เช่นเดียวกับ บล.เคจีไอ ที่คาดว่าปริมาณการจราจร และจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าจะลดลงอย่างหนักในไตรมาสที่ 2 นี้ เพราะหลายบริษัทได้ประกาศให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน หรือ หยุดงานโดยไม่ได้ค่าจ้าง หรือ ปลดพนักงานออก
โดย บล.โนมูระ คาดการณ์ว่า ปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวันในไตรมาส 2/63 - ไตรมาส 3/63 ลดลง 57% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 20% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
*** หั่นประมาณการกำไรปีนี้ร่วงเกือบ 40% จากปีก่อน
บล.เคจีไอ ระบุว่า ฝ่ายวิเคราะห์ได้ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิของ BEM ปี 2563 ลง 39.0% และปี 2564 ลง 24.4% เนื่องจาก 1) ปรับลดประมาณการรายได้จากธุรกิจทางด่วนปีนี้ลง 20.0% และปีหน้าลง 16.5% เพราะปริมาณการจราจรลดลงจากสถานการณ์ โควิด-19 และนโยบาย WFH 2) ปรับลดประมาณการรายได้จากธุรกิจระบบรางปี 2563 ลง 19.5% และปี 2564 ลง 13.2% เนื่องจากจำนวนผู้โดยสาร และค่าโดยสารเฉลี่ยลดลง 3) ปรับลดประมาณการรายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ปีนี้และปีหน้าลง 3.8% เนื่องจากมีการปรับลดค่าเช่าลง 50% (metro malls, จุดพักรถ) ในขณะที่รายได้ค่าโฆษณาก็ลดลงตามจำนวนผู้โดยสาร นอกจากนี้ ยังปรับเพิ่มสมมติฐาน SG&A/รายได้ปี 2563-2564 จาก 7.7% เป็น 10.6% จากการเปิดดำเนินการเชิงพาณชิย์ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย
นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ว่า สถานการณ์โควิด-19 จะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งถ้าหากสถานการณ์โรคระบาดสิ้นสุดลงภายในปี 2563 มาตรการปิดกรุงเทพก็จะถูกยกเลิก ทำให้ปริมาณการจราจร และจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าก็จะฟื้นตัวขึ้น
*** แม้ปีนี้ผลงานไม่ดี แต่นักวิเคราะห์เชียร์ซื้อ ด้วยเหตุผลที่น่าสนใจ
บล.เคจีไอ ระบุว่า ปรับเพิ่มคำแนะนำหุ้น BEM จากถือเป็นซื้อ โดยให้ราคาเป้าหมาย ปี 2563 ที่ 10.00 บาท เนื่องจาก 1) ราคาหุ้นมี upside น่าสนใจ และ 2) ยังมี upside เพิ่มอีกจากโครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีส้มตะวันตก (คาดว่าจะออก TOR ได้ในครึ่งแรกของปีนี้) นอกจากนี้ มองว่า BEM ยังมี upside ระยะยาวอีก 1.50 บาท/หุ้น จากสิทธิ์ในการต่อสัมปทานทางด่วน โดยเชื่อว่าราคาหุ้นที่ปรับลดลงมารอบนี้ได้สะท้อนถึงปัจจัยลบจากสถานการณ์โควิด-19 ไปเรียบร้อยแล้ว ในขณะที่ทั้งประมาณการกำไร และการประเมินมูลค่าหุ้นของฝ่ายวิเคราะห์ก็อนุรักษ์นิยมมากกว่า consensus อยู่แล้ว เพราะได้ประเมินผลกระทบด้านลบจากการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ของรถไฟฟ้าสาย MRT สายอื่น ๆ (ชมพูและเหลือง) ซึ่งจะมาลดทอนจำนวนผู้โดยสารของ sectors C และ C+ ไปบางส่วน
ขณะที่ บล.โนมูระ เองก็เชื่อว่าเมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติกำไรของ BEM จะฟื้นตัวอย่างรวดเร็วเนื่องจากเป็นธุรกิจบริการที่ประชาชนต้องใช้ในชีวิตประจำวัน แม้ฝ่ายวิเคราะห์จะปรับลดกำไรปีนี้ลง แต่ก็คาดว่า กำไรปีหน้ากำไรของ BEM จะฟื้นตัวก้าวกระโดด +108% จากปี 63 เป็น 6 พันลบ. จากสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติและได้ประโยชน์จากการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายอย่างเต็มที่ จึงปรับคำแนะนำเป็น ซื้อ (เดิม NEUTRAL)โดยมีราคาเป้าหมาย 9.10 บาท
หากประเมินสถานกาณณ์ตอนนี้ BEM คงไม่น่าสนใจแน่ เพราะผลกระทบจากสถานการณ์โควิด–19 นั้นมากมายเหลือเกิน แต่หากเราเชื่อว่า สถานการณ์นี้จะดีขึ้นตามลำดับในช่วงครึ่งปีหลัง และการก่อสร้างรถไฟฟ้าของภาครัฐจะดำเนินต่อไปได้ไม่สะดุด เราก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า BEM ก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย เพราะมีทั้งอัพไซด์ที่เหลือให้ได้ลุ้นเกือบ 20% แถมยังมีสตอรี่เรื่องทีโออาร์สายสีส้มตะวันตกรออยู่อีกด้วย
.
**อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่==>> http://www.efinancethai.com/HotStocks/HotStockMain.aspx?release=y&id=cjJYWldJMGVoRDQ9
--------------------------
สำนักข่าว efinanceThai ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการลงทุนหุ้นได้ที่นี่
Website : https://www.efinancethai.com
Facebook : https://www.facebook.com/efinanceThaiTV/
Facebook : https://www.facebook.com/efinanceThai/
lTwitter : @eFinanceThai
IG : @efinancethai_official
line : @efin