10 คำถามยอดฮิตกับโรคโควิด-19
อย่างที่ทุกคนทราบกันนะครับว่าโรคโควิด-19 ที่เกิดจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 เป็นโรคอุบัติใหม่ จึงยังไม่มีข้อมูลหรืองานวิจัยออกมารองรับมากนัก ทำให้เกิดข้อสงสัยที่เกี่ยวกับเจ้าเชื้อไวรัสชนิดนี้มากมาย เพราะมีข่าวสารเผยแพร่ออกมาเต็มไปหมด จริงบ้าง มั่วบ้าง เป็นแค่ข่าวลือที่สร้างความตื่นตระหนกก็เยอะ ซึ่งก็อาจจะทำให้เกิดการรับรู้และเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปได้
ดังนั้น พี่หมอจึงรวบรวมทั้งคำถามที่มักจะถามกันเข้ามาบ่อยๆ และคำตอบจากคุณหมอที่เชื่อถือได้มาไว้ในกระทู้นี้ เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกคนสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องครับ
คำถามที่ 1 : เป็นไปได้หรือไม่ที่คนในวัยหนุ่มสาวและเป็นคนแข็งแรง เมื่อได้รับเชื้อจึงไม่แสดงอาการ จึงไม่ได้ไปตรวจ แต่ก็สามารถหายเองได้ เพราะดูแลตัวเองเป็นอย่างดี
เป็นไปได้ครับ ถ้าเชื้อที่ได้รับมามีปริมาณน้อย ยิ่งถ้าสุขภาพเราดีและระบบภูมิต้านทานยังทำงานได้ปกติ ร่างกายก็จะสามารถรักษาตัวเองได้ แต่สำหรับคนที่ไปในพื้นที่เสี่ยงมา แม้จะยังมีสุขภาพดีอยู่ ก็ควรแสดงรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการอยู่บ้านและสังเกตอาการตัวเองอย่างน้อย 14 วัน และถ้ามีอาการอย่างอื่นเพิ่มขึ้นมา เช่น มีไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ก็ควรรีบมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาเชื้อและรับการรักษาทันที
คำถามที่ 2 : ถ้าคนปรุงอาหารมีเชื้อไวรัส แต่ไม่รู้ตัว แล้วไอหรือจามลงไปในกระทะตอนที่ทำอาหาร ความร้อนจากการทำอาหารจะสามารถฆ่าเชื้อได้หรือไม่
ความร้อนในระดับที่ทำให้อาหารสุกสามารถทำให้เชื้อไวรัสตายได้ แต่สิ่งที่ต้องระวังมากกว่าก็คือเรื่องการกิน เราจึงควรใช้ช้อนของตัวเองในการกินอาหาร และกินเฉพาะอาหารที่ปรุงสุกเท่านั้น ที่สำคัญ ต้องหมั่นล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ ไม่ต่ำกว่าครั้งละ 20 วินาที ด้วยนะครับ เพราะเราใช้มือจับเกือบทุกอย่าง ดังนั้น มือจึงมีโอกาสที่จะสัมผัสกับเชื้อโรคมากที่สุด
คำถามที่ 3 : หน้ากากอนามัยที่ใช้ไปเเล้ว 2-3 วัน เมื่อนำไปตากแดดและวางไว้ในที่สะอาดๆ 9-10 วัน จะสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้หรือไม่ (อ้างอิงจากคำกล่าวที่ว่าเชื้อไวรัสสามารถมีชีวิตอยู่บนวัสดุหรือพื้นผิวอื่นๆได้ 9-10 วัน)
ถ้าเป็นหน้ากากอนามัยแบบผ้าก็สามารถนำมาซักแล้วใช้ซ้ำได้ครับ แต่ถ้าเป็นหน้ากากอนามัยแบบกระดาษ หน้ากากอนามัยแบบคาร์บอน รวมถึงหน้ากากอนามัยชนิด N95 ซึ่งออกแบบมาสำหรับใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ก็ควรจะเปลี่ยนใหม่ทุกวัน แต่ถ้าใช้แค่ช่วงเวลาสั้นๆ ก็อาจนำมาใส่ซ้ำได้ และอย่าลืมตรวจดูสภาพของหน้ากากก่อนว่าชำรุดหรือไม่ หรือมีการปนเปื้อนของน้ำลาย น้ำมูกและเสมหะมั้ย ถ้ามีก็ควรจะทิ้งไปดีกว่า เหมือนกับการที่เรานำเสื้อที่เปียกเหงื่อหรือเจอมลพิษมาตากแดดให้แห้ง ซึ่งเสื้อตัวนั้นก็อาจจะยังมีการสะสมของแบคทีเรียอยู่ ถ้าเราเอามาใส่ซ้ำก็อาจจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ ที่สำคัญ ยังไม่มีการวิจัยออกมายืนยันว่า การใช้หน้ากากซ้ำนั้นจะปลอดภัยและช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้ แม้จะผ่านการตากแดดมาแล้วก็ตาม
คำถามที่ 4 : โรคโควิด-19 มีผู้ติดเชื้อที่เป็นเด็กอายุ 0-12 ปี มากน้อยแค่ไหน (อ้างอิงจากข่าวดาราที่ลูกไม่ติดเชื้อ และข่าวเด็กนักเรียนที่อยู่แถวดอนเมืองแล้วปู่ย่าไปญี่ปุ่นมาก็ไม่ติดเชื้อเช่นกัน)
จริงๆ แล้วเด็กๆ มีโอกาสติดโรคโควิด-19 ได้เทียบเท่ากับผู้ใหญ่ แต่จากข่าวที่ไม่พบว่าเด็กติดเชื้อจากพ่อแม่หรือปู่ย่าก็อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น เด็กอาจจะได้รับเชื้อมาน้อย และเด็กก็ไม่ค่อยมีโอกาสได้ออกไปพบปะสังสรรค์นอกบ้านเหมือนผู้ใหญ่ ที่สำคัญ เด็กจะมีภาวะเเทรกซ้อนน้อยกว่ากลุ่มผู้สูงอายุ แต่ถ้าอายุน้อยกว่า 1 ปี แล้วเป็นโรคปอดเรื้อรังหรือปอดอักเสบอยู่แล้ว เมื่อได้รับเชื้อเข้าไปก็อาจจะมีอาการที่รุนแรงได้ ดังนั้น ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่จึงควรเพิ่มความระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ และควรให้เด็กๆ อยู่บ้านอย่างเดียวจะดีที่สุดนะครับ
คำถามที่ 5 : โรคโควิด-19 สามารถแพร่กระจายในสระว่ายน้ำที่มีคลอรีนได้หรือไม่
ถึงแม้ว่าคลอรีนในสระว่ายน้ำจะมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อไวรัสและทำให้ประสิทธิภาพในการแพร่เชื้อลดลง แต่ถ้าไปว่ายในสระเดียวกัน หรือไปอยู่ใกล้กับผู้ติดเชื้อในตอนที่ไอหรือจามก็มีโอกาสที่เราจะติดเชื้อได้ ดังนั้น ถ้าไม่จำเป็นก็ขอให้งดการทำกิจกรรมในที่สาธารณะไปก่อน เพราะไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมประเภทไหนก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ทั้งนั้นครับ
คำถามที่ 6 : ในช่วงที่มีการใช้หน้ากากอนามัยจำนวนมาก เราจะมีวิธีจัดการกับหน้ากากที่ใช้แล้วอย่างไร ต้องแยกทิ้งแบบไหน ถ้าทิ้งไว้ที่ถังขยะ คนเก็บขยะจะต้องทำอย่างไร
สำหรับคำแนะนำในการทิ้งและจัดการกับหน้ากากที่ใช้เเล้วมีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้นตอน คือ
1) ถอดหน้ากากอนามัยออกโดยการจับที่เชือกคล้องหู
2) จับที่ขอบแล้วพับครึ่ง ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยต้องให้ด้านที่สัมผัสหน้าอยู่ข้างใน
3) จับขอบแล้วพับครึ่งอีกหนึ่งครั้ง
4) พับครึ่งอีกหนึ่งครั้ง เพื่อให้เชือกทั้งสองฝั่งอยู่ข้างเดียวกัน
5) ใช้เชือกที่คล้องหูรัดหน้ากากให้มิดชิด
6) ใส่ถุงพลาสติกแบบใสแล้วมัดปากถุงให้แน่น แล้วจึงนำไปทิ้งในถังขยะที่มีฝาปิดอีกที โดยก่อนทิ้งให้เขียนหรือทำเครื่องหมายให้ชัดเจน คนเก็บขยะจะได้รู้ว่านี่คือขยะติดเชื้อ
7) ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังนำหน้ากากไปทิ้ง
คำถามที่ 7 : ทำไมคุณหมอและนักวิชาการหลายท่านจึงออกมาบอกว่า เมื่อโรคโควิด-19 เข้าสู่ปอดแล้ว ปอดจะเสียหายถาวร เพราะเท่าที่เคยรู้มาคือ ตับกับปอด เป็นอวัยวะที่เมื่อเสียหายแล้วจะสามารถฟื้นฟูตัวเองกลับมาได้ ยกตัวอย่างเช่นคนที่เคยเป็นวัณโรค ขณะที่เป็นก็จะถูกเชื้อกัดกินปอดอย่างหนักหน่วง แต่เมื่อรักษาหายแล้ว ปอดก็สามารถกลับมาสู่สภาพเดิมได้ เชื้อทั้งสองชนิดนี้แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคโควิด-19 ส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง มีแค่ 10% ที่อาจจะเกิดอาการรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ หรือเกิดภาวะที่เนื้อปอดถูกทำลาย และมีเพียง 2-3% เท่านั้นที่เสียชีวิต ซึ่งในกลุ่มที่มีอาการรุนแรงและพบว่ามีเชื้อลงไปที่ปอด ก็จะทำให้เกิดการทำลายเนื้อที่ปอดได้เหมือนกับเชื้ออื่นๆ ซึ่งเมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาจนอาการดีขึ้น เนื้อปอดก็จะสามารถฟื้นฟูกลับมาได้เหมือนเดิม การที่ปอดจะถูกทำลายมากหรือน้อยจึงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น จากตัวเชื้อโรคเอง การติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน และระบบภูมิคุ้มกันของตัวผู้ป่วยเอง ซึ่งถ้าปอดถูกทำลายน้อย เนื้อปอดส่วนใหญ่ที่เหลือก็จะสามารถทำงานได้ตามปกติ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่พบว่าปอดถูกทำลายมากจนไม่สามารถฟื้นตัวได้
คำถามที่ 8 : ระหว่างเดินทางโดยเครื่องบิน 1 ชั่วโมงกับโดยสารรถทัวร์ 8 ชั่วโมง แบบไหนมีความเสี่ยงที่จะติดโรค โควิด-19 มากกว่ากัน
การติดต่อของโรคโควิด-19 ภายในห้องโดยสารบนเครื่องบินจะมีความเสี่ยงค่อนข้างน้อย เพราะอากาศที่อยู่บนเครื่องบินจะมีการควบคุมอย่างระมัดระวัง ยิ่งเป็นเครื่องบินโดยสารในยุคปัจจุบันที่มีระบบตัวกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในโรงพยาบาล จึงสามารถดักจับได้ทั้งฝุ่นละออง แบคทีเรีย เชื้อราและเชื้อไวรัส แต่ทั้งนี้การแพร่เชื้อก็อาจเกิดขึ้นได้จากผู้โดยสารที่นั่งใกล้กับผู้ป่วยหรือได้รับสารคัดหลั่งจากการไอ จามหรือสัมผัส ส่วนในรถทัวร์ที่มีความแออัดและต้องใช้เวลาเดินทางมากกว่า ก็แน่นอนว่าย่อมมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้มากกว่า ดังนั้น ถ้าจำเป็นจะต้องเดินทางโดยรถสาธารณะก็ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาและพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสในจุดที่ไม่จำเป็นด้วยนะครับ
คำถามที่ 9 : ในช่วงที่โรคโควิด-19 ระบาดแบบนี้ ร้านอาหารตามสั่งยังปลอดภัยอยู่หรือไม่
วิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงเมื่อต้องซื้ออาหารจากที่ร้านมารับประทานก็คือ ให้เลือกเมนูอาหารที่ปรุงสุกโดยใช้ความร้อน 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป และก่อนรับประทานอาหารทุกครั้งก็ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นตั้งแต่ 70% ขึ้นไปหรือล้างด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาที แต่ถ้าเป็นไปได้ แนะนำให้ทำอาหารรับประทานเองที่บ้านจะปลอดภัยกว่าครับ
คำถามที่ 10 : กินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปวันละ 2 มื้อติดต่อกันมา 3 วันแล้ว อยากทราบว่าเราสามารถกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ติดต่อกันกี่วัน
ในช่วงนี้หลายๆ บ้านอาจตุนอาหารประเภทบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไว้ เพื่อให้กินได้หลายๆ วัน แต่รู้มั้ยครับว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ซอง มีโซเดียมประมาณ 50-70% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวันเลยทีเดียว ในขณะที่ปริมาณโซเดียมที่เราควรได้รับคือไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้น ถึงแม้จะยังไม่มีข้อห้ามในการกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แต่แนะนำว่าไม่ควรกินเกินวันละ 1 ซอง เพราะเราอาจจะยังได้รับโซเดียมจากอาหารชนิดอื่นๆ ด้วย ซึ่งถ้าร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไปก็อาจจะทำให้เราเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคไต และโรคหัวใจได้ด้วยนะครับ
ถ้าใครมีข้อสงสัยตรงไหนก็สอบถามเข้ามาได้นะครับ พี่หมอจะไปหาคำตอบมาให้ ซึ่งข้อแนะนำเหล่านี้ก็เป็นเพียงข้อแนะนำเบื้องต้นที่เป็นไปตามสถานการณ์ปัจจุบันเท่านั้น ถ้าในอนาคตมีงานวิจัยออกมารองรับมากขึ้น ข้อมูลหรือมาตรฐานต่างๆ ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งพี่หมอจะคอยมาอัพเดทข้อมูลให้เรื่อยๆ ครับ
ดูแลตัวเองและคนที่คุณรักด้วยการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติกันนะครับ ด้วยความปรารถนาดีจากพี่หมอ ❤
10 คำถามยอดฮิตกับโรคโควิด-19
อย่างที่ทุกคนทราบกันนะครับว่าโรคโควิด-19 ที่เกิดจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 เป็นโรคอุบัติใหม่ จึงยังไม่มีข้อมูลหรืองานวิจัยออกมารองรับมากนัก ทำให้เกิดข้อสงสัยที่เกี่ยวกับเจ้าเชื้อไวรัสชนิดนี้มากมาย เพราะมีข่าวสารเผยแพร่ออกมาเต็มไปหมด จริงบ้าง มั่วบ้าง เป็นแค่ข่าวลือที่สร้างความตื่นตระหนกก็เยอะ ซึ่งก็อาจจะทำให้เกิดการรับรู้และเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปได้
ดังนั้น พี่หมอจึงรวบรวมทั้งคำถามที่มักจะถามกันเข้ามาบ่อยๆ และคำตอบจากคุณหมอที่เชื่อถือได้มาไว้ในกระทู้นี้ เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกคนสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องครับ
คำถามที่ 1 : เป็นไปได้หรือไม่ที่คนในวัยหนุ่มสาวและเป็นคนแข็งแรง เมื่อได้รับเชื้อจึงไม่แสดงอาการ จึงไม่ได้ไปตรวจ แต่ก็สามารถหายเองได้ เพราะดูแลตัวเองเป็นอย่างดี
เป็นไปได้ครับ ถ้าเชื้อที่ได้รับมามีปริมาณน้อย ยิ่งถ้าสุขภาพเราดีและระบบภูมิต้านทานยังทำงานได้ปกติ ร่างกายก็จะสามารถรักษาตัวเองได้ แต่สำหรับคนที่ไปในพื้นที่เสี่ยงมา แม้จะยังมีสุขภาพดีอยู่ ก็ควรแสดงรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการอยู่บ้านและสังเกตอาการตัวเองอย่างน้อย 14 วัน และถ้ามีอาการอย่างอื่นเพิ่มขึ้นมา เช่น มีไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ก็ควรรีบมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาเชื้อและรับการรักษาทันที
คำถามที่ 2 : ถ้าคนปรุงอาหารมีเชื้อไวรัส แต่ไม่รู้ตัว แล้วไอหรือจามลงไปในกระทะตอนที่ทำอาหาร ความร้อนจากการทำอาหารจะสามารถฆ่าเชื้อได้หรือไม่
ความร้อนในระดับที่ทำให้อาหารสุกสามารถทำให้เชื้อไวรัสตายได้ แต่สิ่งที่ต้องระวังมากกว่าก็คือเรื่องการกิน เราจึงควรใช้ช้อนของตัวเองในการกินอาหาร และกินเฉพาะอาหารที่ปรุงสุกเท่านั้น ที่สำคัญ ต้องหมั่นล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ ไม่ต่ำกว่าครั้งละ 20 วินาที ด้วยนะครับ เพราะเราใช้มือจับเกือบทุกอย่าง ดังนั้น มือจึงมีโอกาสที่จะสัมผัสกับเชื้อโรคมากที่สุด
คำถามที่ 3 : หน้ากากอนามัยที่ใช้ไปเเล้ว 2-3 วัน เมื่อนำไปตากแดดและวางไว้ในที่สะอาดๆ 9-10 วัน จะสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้หรือไม่ (อ้างอิงจากคำกล่าวที่ว่าเชื้อไวรัสสามารถมีชีวิตอยู่บนวัสดุหรือพื้นผิวอื่นๆได้ 9-10 วัน)
ถ้าเป็นหน้ากากอนามัยแบบผ้าก็สามารถนำมาซักแล้วใช้ซ้ำได้ครับ แต่ถ้าเป็นหน้ากากอนามัยแบบกระดาษ หน้ากากอนามัยแบบคาร์บอน รวมถึงหน้ากากอนามัยชนิด N95 ซึ่งออกแบบมาสำหรับใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ก็ควรจะเปลี่ยนใหม่ทุกวัน แต่ถ้าใช้แค่ช่วงเวลาสั้นๆ ก็อาจนำมาใส่ซ้ำได้ และอย่าลืมตรวจดูสภาพของหน้ากากก่อนว่าชำรุดหรือไม่ หรือมีการปนเปื้อนของน้ำลาย น้ำมูกและเสมหะมั้ย ถ้ามีก็ควรจะทิ้งไปดีกว่า เหมือนกับการที่เรานำเสื้อที่เปียกเหงื่อหรือเจอมลพิษมาตากแดดให้แห้ง ซึ่งเสื้อตัวนั้นก็อาจจะยังมีการสะสมของแบคทีเรียอยู่ ถ้าเราเอามาใส่ซ้ำก็อาจจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ ที่สำคัญ ยังไม่มีการวิจัยออกมายืนยันว่า การใช้หน้ากากซ้ำนั้นจะปลอดภัยและช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้ แม้จะผ่านการตากแดดมาแล้วก็ตาม
คำถามที่ 4 : โรคโควิด-19 มีผู้ติดเชื้อที่เป็นเด็กอายุ 0-12 ปี มากน้อยแค่ไหน (อ้างอิงจากข่าวดาราที่ลูกไม่ติดเชื้อ และข่าวเด็กนักเรียนที่อยู่แถวดอนเมืองแล้วปู่ย่าไปญี่ปุ่นมาก็ไม่ติดเชื้อเช่นกัน)
จริงๆ แล้วเด็กๆ มีโอกาสติดโรคโควิด-19 ได้เทียบเท่ากับผู้ใหญ่ แต่จากข่าวที่ไม่พบว่าเด็กติดเชื้อจากพ่อแม่หรือปู่ย่าก็อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น เด็กอาจจะได้รับเชื้อมาน้อย และเด็กก็ไม่ค่อยมีโอกาสได้ออกไปพบปะสังสรรค์นอกบ้านเหมือนผู้ใหญ่ ที่สำคัญ เด็กจะมีภาวะเเทรกซ้อนน้อยกว่ากลุ่มผู้สูงอายุ แต่ถ้าอายุน้อยกว่า 1 ปี แล้วเป็นโรคปอดเรื้อรังหรือปอดอักเสบอยู่แล้ว เมื่อได้รับเชื้อเข้าไปก็อาจจะมีอาการที่รุนแรงได้ ดังนั้น ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่จึงควรเพิ่มความระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ และควรให้เด็กๆ อยู่บ้านอย่างเดียวจะดีที่สุดนะครับ
คำถามที่ 5 : โรคโควิด-19 สามารถแพร่กระจายในสระว่ายน้ำที่มีคลอรีนได้หรือไม่
ถึงแม้ว่าคลอรีนในสระว่ายน้ำจะมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อไวรัสและทำให้ประสิทธิภาพในการแพร่เชื้อลดลง แต่ถ้าไปว่ายในสระเดียวกัน หรือไปอยู่ใกล้กับผู้ติดเชื้อในตอนที่ไอหรือจามก็มีโอกาสที่เราจะติดเชื้อได้ ดังนั้น ถ้าไม่จำเป็นก็ขอให้งดการทำกิจกรรมในที่สาธารณะไปก่อน เพราะไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมประเภทไหนก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ทั้งนั้นครับ
คำถามที่ 6 : ในช่วงที่มีการใช้หน้ากากอนามัยจำนวนมาก เราจะมีวิธีจัดการกับหน้ากากที่ใช้แล้วอย่างไร ต้องแยกทิ้งแบบไหน ถ้าทิ้งไว้ที่ถังขยะ คนเก็บขยะจะต้องทำอย่างไร
สำหรับคำแนะนำในการทิ้งและจัดการกับหน้ากากที่ใช้เเล้วมีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้นตอน คือ
1) ถอดหน้ากากอนามัยออกโดยการจับที่เชือกคล้องหู
2) จับที่ขอบแล้วพับครึ่ง ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยต้องให้ด้านที่สัมผัสหน้าอยู่ข้างใน
3) จับขอบแล้วพับครึ่งอีกหนึ่งครั้ง
4) พับครึ่งอีกหนึ่งครั้ง เพื่อให้เชือกทั้งสองฝั่งอยู่ข้างเดียวกัน
5) ใช้เชือกที่คล้องหูรัดหน้ากากให้มิดชิด
6) ใส่ถุงพลาสติกแบบใสแล้วมัดปากถุงให้แน่น แล้วจึงนำไปทิ้งในถังขยะที่มีฝาปิดอีกที โดยก่อนทิ้งให้เขียนหรือทำเครื่องหมายให้ชัดเจน คนเก็บขยะจะได้รู้ว่านี่คือขยะติดเชื้อ
7) ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังนำหน้ากากไปทิ้ง
คำถามที่ 7 : ทำไมคุณหมอและนักวิชาการหลายท่านจึงออกมาบอกว่า เมื่อโรคโควิด-19 เข้าสู่ปอดแล้ว ปอดจะเสียหายถาวร เพราะเท่าที่เคยรู้มาคือ ตับกับปอด เป็นอวัยวะที่เมื่อเสียหายแล้วจะสามารถฟื้นฟูตัวเองกลับมาได้ ยกตัวอย่างเช่นคนที่เคยเป็นวัณโรค ขณะที่เป็นก็จะถูกเชื้อกัดกินปอดอย่างหนักหน่วง แต่เมื่อรักษาหายแล้ว ปอดก็สามารถกลับมาสู่สภาพเดิมได้ เชื้อทั้งสองชนิดนี้แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคโควิด-19 ส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง มีแค่ 10% ที่อาจจะเกิดอาการรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ หรือเกิดภาวะที่เนื้อปอดถูกทำลาย และมีเพียง 2-3% เท่านั้นที่เสียชีวิต ซึ่งในกลุ่มที่มีอาการรุนแรงและพบว่ามีเชื้อลงไปที่ปอด ก็จะทำให้เกิดการทำลายเนื้อที่ปอดได้เหมือนกับเชื้ออื่นๆ ซึ่งเมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาจนอาการดีขึ้น เนื้อปอดก็จะสามารถฟื้นฟูกลับมาได้เหมือนเดิม การที่ปอดจะถูกทำลายมากหรือน้อยจึงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น จากตัวเชื้อโรคเอง การติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน และระบบภูมิคุ้มกันของตัวผู้ป่วยเอง ซึ่งถ้าปอดถูกทำลายน้อย เนื้อปอดส่วนใหญ่ที่เหลือก็จะสามารถทำงานได้ตามปกติ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่พบว่าปอดถูกทำลายมากจนไม่สามารถฟื้นตัวได้
คำถามที่ 8 : ระหว่างเดินทางโดยเครื่องบิน 1 ชั่วโมงกับโดยสารรถทัวร์ 8 ชั่วโมง แบบไหนมีความเสี่ยงที่จะติดโรค โควิด-19 มากกว่ากัน
การติดต่อของโรคโควิด-19 ภายในห้องโดยสารบนเครื่องบินจะมีความเสี่ยงค่อนข้างน้อย เพราะอากาศที่อยู่บนเครื่องบินจะมีการควบคุมอย่างระมัดระวัง ยิ่งเป็นเครื่องบินโดยสารในยุคปัจจุบันที่มีระบบตัวกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในโรงพยาบาล จึงสามารถดักจับได้ทั้งฝุ่นละออง แบคทีเรีย เชื้อราและเชื้อไวรัส แต่ทั้งนี้การแพร่เชื้อก็อาจเกิดขึ้นได้จากผู้โดยสารที่นั่งใกล้กับผู้ป่วยหรือได้รับสารคัดหลั่งจากการไอ จามหรือสัมผัส ส่วนในรถทัวร์ที่มีความแออัดและต้องใช้เวลาเดินทางมากกว่า ก็แน่นอนว่าย่อมมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้มากกว่า ดังนั้น ถ้าจำเป็นจะต้องเดินทางโดยรถสาธารณะก็ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาและพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสในจุดที่ไม่จำเป็นด้วยนะครับ
คำถามที่ 9 : ในช่วงที่โรคโควิด-19 ระบาดแบบนี้ ร้านอาหารตามสั่งยังปลอดภัยอยู่หรือไม่
วิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงเมื่อต้องซื้ออาหารจากที่ร้านมารับประทานก็คือ ให้เลือกเมนูอาหารที่ปรุงสุกโดยใช้ความร้อน 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป และก่อนรับประทานอาหารทุกครั้งก็ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นตั้งแต่ 70% ขึ้นไปหรือล้างด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาที แต่ถ้าเป็นไปได้ แนะนำให้ทำอาหารรับประทานเองที่บ้านจะปลอดภัยกว่าครับ
คำถามที่ 10 : กินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปวันละ 2 มื้อติดต่อกันมา 3 วันแล้ว อยากทราบว่าเราสามารถกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ติดต่อกันกี่วัน
ในช่วงนี้หลายๆ บ้านอาจตุนอาหารประเภทบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไว้ เพื่อให้กินได้หลายๆ วัน แต่รู้มั้ยครับว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ซอง มีโซเดียมประมาณ 50-70% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวันเลยทีเดียว ในขณะที่ปริมาณโซเดียมที่เราควรได้รับคือไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้น ถึงแม้จะยังไม่มีข้อห้ามในการกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แต่แนะนำว่าไม่ควรกินเกินวันละ 1 ซอง เพราะเราอาจจะยังได้รับโซเดียมจากอาหารชนิดอื่นๆ ด้วย ซึ่งถ้าร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไปก็อาจจะทำให้เราเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคไต และโรคหัวใจได้ด้วยนะครับ
ถ้าใครมีข้อสงสัยตรงไหนก็สอบถามเข้ามาได้นะครับ พี่หมอจะไปหาคำตอบมาให้ ซึ่งข้อแนะนำเหล่านี้ก็เป็นเพียงข้อแนะนำเบื้องต้นที่เป็นไปตามสถานการณ์ปัจจุบันเท่านั้น ถ้าในอนาคตมีงานวิจัยออกมารองรับมากขึ้น ข้อมูลหรือมาตรฐานต่างๆ ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งพี่หมอจะคอยมาอัพเดทข้อมูลให้เรื่อยๆ ครับ
ดูแลตัวเองและคนที่คุณรักด้วยการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติกันนะครับ ด้วยความปรารถนาดีจากพี่หมอ ❤