ปฐมบทดาราศาสตร์ EP3: 🌞สุริยัน จันทรา🌙
เมื่อเรามองขึ้นไปบนท้องฟ้า เราสามารถมองเห็นอะไรได้บ้างด้วยตาเปล่า
☀️ดวงอาทิตย์ (Sun) วัตถุที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้า มนุษย์รู้จักดีซึ่งใช้เป็นวัตถุบอกเวลาในการดำรงชีวิต แทบทุกอารยธรรมมักจะแทนดวงอาทิตย์เป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่และมีพลังมหาศาล เช่น มหาเทพรา (Ra) แห่งอียิปต์, เทพอพอลโล ของชาวโรมัน ส่วนไทยคือ อาทิตย์ (อาทิตย์ เป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤตว่า อาทิตฺย (อ่านว่า อา-ทิด-ยะ) แปลตามศัพท์ว่า ลูก ๆ ของนางอทิติ. พระสุริยะ หรือ สุริยาทิตย์ เป็นบุตรหนึ่งในเจ็ดของนางอทิติ ที่ส่องแสงร้อนแรงที่สุด จึงได้ทำหน้าที่ส่องแสงในเวลากลางวัน, ราชบัณฑิต)
ดวงอาทิตย์ตกปลายยอดภูเขาทอง ภาพโดย พิภพ บุษราคัมวดี
🔭🔭กาลิเลโอเป็นคนแรกที่ใช้กล้องส่องทางไกลสังเกตดวงอาทิตย์แล้วเขาพบว่า ดวงอาทิตย์นั้นมีจุดดำๆ (Sun Spot) เหมือนกระอยู่บนผิวดวงอาทิตย์
🌤🌅ถ้าเราสังเกตตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในแต่ละวันเทียบกับดวงดาวอื่นๆ เราจะพบว่าดวงอาทิตย์ไม่ได้อยู่ที่เดิมคือเคลื่อนที่ไปตามตำแหน่งต่างๆ บนท้องฟ้า เราเรียกเส้นทางปรากฏนี้ว่า สุริยะวิถี (Ecliptic) นั่นคือดวงอาทิตย์ไม่ได้ขึ้นและตก ตรงกับทิศตะวันออกและตกพอดี โดยมากดวงอาทิตย์จะขึ้นและตกเบี่ยงออกไปไม่ทางเหนือก็ทางใต้ ในฤดูร้อนจะค่อนไปทางเหนือ หน้าหนาวจะค่อนไปทางใต้
ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ ขึ้น - ตก สาดแสงส่องตรง 15 ช่องประตู ณ ปราสาทพนมรุ้งที่ ต.ตาเป๊ก อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
ดวงอาทิตย์ขึ้น 2 – 3 เมษายน และ 9-10-11 กันยายน ส่วนดวงอาทิตย์ตก ประมาณวันที่ 5-6 มี.ค. และ 5-7 ตุลาคม ของทุกปี
ภาพ : siamrath
⭐️ดวงอาทิตย์เป็นเพียงดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในหลายล้านดวงที่เรามองเห็นบนท้องฟ้า เพียงแต่ว่าดวงอาทิตย์อยู่ใกล้โลกเรามากกว่าดาวฤกษ์ดวงอื่นๆ ทำให้ดวงอาทิตย์มีโชติมาตรถึง -26.7 [1]
🌕🌙ดวงจันทร์ (Moon) ดาวบริวารของโลก มนุษย์ได้จินตนาการพื้นผิวของดวงจันทร์เป็นรูปร่างต่างๆ เช่น กระต่าย คนแก่ตำข้าว คนแก่นั่งปั่นด้าย เป็นต้น ชาวโรมันแทนดวงจันทร์ด้วยเทพีไดอานา เทพีแห่งการล่าสัตว์ และความอุดมสมบูรณ์ คำว่า จันทร์ นั้นเป็นคำศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต (चंद्र อ่านว่า จัน-ดระ หรือคนไทยเราเรียกว่า จัน-ทระ) ซึ่งหมายถึงพระจันทร์ ในภาษาไทยเดิมมักเรียกว่า เดือน หรือ ดวงเดือน (ลาว: ເດືອນ เดือน, ไทใหญ่: เหลิน)
สำหรับในภาษาอังกฤษ ดวงจันทร์ ใช้คำว่า Moon (ภาษาอังกฤษใช้อักษรตัวใหญ่ขึ้นต้นคำ) เป็นคำนามมาจากคำว่า moone (ราวปี ค.ศ. 1380) ซึ่งมาจากคำ mone (ราวปี ค.ศ. 1135) ซึ่งมาจากภาษอังกฤษเก่าแก่ mōna (ราว 725 ปีก่อน ค.ศ.) และมีลักษณะคล้ายภาษาเจอร์แมนิก mǣnōn
Selene (Σελήνη เซเลเน่) เป็นชื่อเรียกเทพีแห่งดวงจันทร์ของชาวกรีก ซึ่งเป็นธิดาของ Titans Hyperion กับ Theia ส่วนชาวโรมัน เรียกเทพีแห่งดวงจันทร์ว่า Luna (ลูน่า) ซึ่งเป็นภาษาลาตินหมายถึง ดวงจันทร์ ปัจจุบันในภาษาอังกฤษคำคุณศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับดวงจันทร์ Moon จะใช้คำ lunar
จันทร์เพ็ญขึ้นเหนือ Parthenon ในกรุงเอเธน ประเทศกรีซ ภาพโดย Anthony Ayiomamitis
🌖🌗🌓🌔ปรากฏการณ์ที่โดดเด่นของดวงจันทร์คือ ข้างขึ้น – ข้างแรม (Moon Phase) เกิดจากตำแหน่งสัมพันธ์กันระหว่างดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และโลก เมื่อดวงจันทร์โคจรรอบโลก ตำแหน่งต่างๆ ที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ไปนั้น คนบนโลกจะเห็นดวงจันทร์มีบริเวณที่สว่างเปลี่ยนไป เริ่มจากมืดทั้งดวง เรียกว่าจันทร์ดับ New Moon แล้วค่อยสว่างเป็นเสี้ยวเล็กๆ จนกระทั่งเต็มดวง เรียกว่าจันทร์เพ็ญ Full Moon ใช้เวลาประมาณ 14 – 15 วัน และบริเวณสว่างค่อยๆ เล็กลงจนมืดสนิทอีกครั้ง ใช้เวลาประมาณ 29.5 วัน
🌃🎑ดวงจันทร์ถือว่าเป็นวัตถุสว่างอันดับสองบนท้องฟ้า (จันทร์เพ็ญมีโชติมาตรถึง -12.9) ทั้งยังมีขนาดปรากฏบนท้องใกล้เคียงกังดวงอาทิตย์ บางครั้งดวงจันทร์ก็เคลื่อนมาบังดวงอาทิตย์เรียกว่า "สุริยุปราคา" ตรงกันข้ามถ้าดวงจันทร์เคลื่อนมาอยู่ในเงาของโลกก็จะเรียกว่า "จันทรุปราคา"
🔭🔭กาลิเลโอก็ส่องดูดวงจันทร์แล้วบอกว่ามีหลุมบ่อ ภูเขา เต็มไปหมด
ภาพดวงจันทร์ยิ้ม
ดวงจันทร์เคียงดาวศุกร์ (บน) และดาวพฤหัสบดี (ขาว) เรียงกันคล้ายหน้าคนยิ้ม วันที่ 1 ธันวาคม 2551 จากเมือง Perth อยู่ทางตะวันตกของประเทศออสเตรเลีย ภาพโดย Roger Groom
🏜🏕ดวงจันทร์มีผลกับโลกของเราทั้งทางกายภาพและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลก ทำให้แกนหมุนของโลกส่าย ทำให้เกิดน้ำขึ้น-น้ำลง ทำให้กลางคืนบนโลกสว่าง ไม่มืดมากซึ่งเอื้อต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก ทั้งทำให้เกิดขนบธรรมเนียมเกี่ยวกับดวงจันทร์มากมาย
🚀🛸ปัจจุบันดวงจันทร์ยังคงเป็นวัตถุนอกโลกเพียงดวงเดียวที่มนุษย์เดินทางไปถึง
เพิ่มเติม
🌟[1] ความสว่าง (brightness) ดวงดาวบนท้องฟ้ามีความสว่างไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิ ขนาด และระยะทางของดาวที่อยู่ห่างจากโลก ในทางดาราศาสตร์สามารถบอกระดับความ
สว่างของดาวได้ด้วยค่าโชติมาตร (magnitude หรือ Appearance magnitude)
✨[2] ค่าโชติมาตร กำหนดโดยดาวที่มีค่าโชติมาตรต่างกัน 1 จะมีความสว่างต่างกันอยู่ 2.5 เท่า ค่าโชติมาตรเสมือนเป็นการจัดอันดับความความสว่างของดาวที่ปรากฏแก่เรา ดังนั้นดาวที่มีค่าโชติมาตรน้อยๆ แสดงว่ามีความสว่างมาก ดาวฤกษ์ที่สว่างปรากฏมากที่บนสุดบนท้องฟ้ายามค่ำคืนคือ ดาวซิริอุสมีค่าโชติมาตรถึง -1.47
💫ดาวที่ใช้อ้างอิงค่าโชติมาตรคือ ดาววีก้า (Vega) กำหนดโชติมาตรที่ 0.0 ดังนั้น ดาวที่มีโชติมาตรน้อยกว่าดาววีก้า (ค่าตัวเลขติดลบ) แสดงว่ามีความสว่างมากกว่าดาววีก้า แต่ถ้ามีโชติมาตรมากกว่าดาววีก้า (ค่าตัวเลขเป็นบวก) แสดงว่ามีความสว่างน้อยกว่าดาววีก้า
เรียบเรียง : ณรงค์ ภูทัดดวง
https://web.facebook.com/AstronomyByMoGolf
ปฐมบทดาราศาสตร์ EP1: โลกนวลนางกับทางช้างเผือก
https://ppantip.com/topic/39777099
ปฐมบทดาราศาสตร์ EP2: เอกภพ Universe
https://ppantip.com/topic/39780477
ปฐมบทดาราศาสตร์ EP3: 🌞สุริยัน จันทรา🌙
เมื่อเรามองขึ้นไปบนท้องฟ้า เราสามารถมองเห็นอะไรได้บ้างด้วยตาเปล่า
☀️ดวงอาทิตย์ (Sun) วัตถุที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้า มนุษย์รู้จักดีซึ่งใช้เป็นวัตถุบอกเวลาในการดำรงชีวิต แทบทุกอารยธรรมมักจะแทนดวงอาทิตย์เป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่และมีพลังมหาศาล เช่น มหาเทพรา (Ra) แห่งอียิปต์, เทพอพอลโล ของชาวโรมัน ส่วนไทยคือ อาทิตย์ (อาทิตย์ เป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤตว่า อาทิตฺย (อ่านว่า อา-ทิด-ยะ) แปลตามศัพท์ว่า ลูก ๆ ของนางอทิติ. พระสุริยะ หรือ สุริยาทิตย์ เป็นบุตรหนึ่งในเจ็ดของนางอทิติ ที่ส่องแสงร้อนแรงที่สุด จึงได้ทำหน้าที่ส่องแสงในเวลากลางวัน, ราชบัณฑิต)
ดวงอาทิตย์ตกปลายยอดภูเขาทอง ภาพโดย พิภพ บุษราคัมวดี
🔭🔭กาลิเลโอเป็นคนแรกที่ใช้กล้องส่องทางไกลสังเกตดวงอาทิตย์แล้วเขาพบว่า ดวงอาทิตย์นั้นมีจุดดำๆ (Sun Spot) เหมือนกระอยู่บนผิวดวงอาทิตย์
🌤🌅ถ้าเราสังเกตตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในแต่ละวันเทียบกับดวงดาวอื่นๆ เราจะพบว่าดวงอาทิตย์ไม่ได้อยู่ที่เดิมคือเคลื่อนที่ไปตามตำแหน่งต่างๆ บนท้องฟ้า เราเรียกเส้นทางปรากฏนี้ว่า สุริยะวิถี (Ecliptic) นั่นคือดวงอาทิตย์ไม่ได้ขึ้นและตก ตรงกับทิศตะวันออกและตกพอดี โดยมากดวงอาทิตย์จะขึ้นและตกเบี่ยงออกไปไม่ทางเหนือก็ทางใต้ ในฤดูร้อนจะค่อนไปทางเหนือ หน้าหนาวจะค่อนไปทางใต้
ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ ขึ้น - ตก สาดแสงส่องตรง 15 ช่องประตู ณ ปราสาทพนมรุ้งที่ ต.ตาเป๊ก อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
ดวงอาทิตย์ขึ้น 2 – 3 เมษายน และ 9-10-11 กันยายน ส่วนดวงอาทิตย์ตก ประมาณวันที่ 5-6 มี.ค. และ 5-7 ตุลาคม ของทุกปี
ภาพ : siamrath
⭐️ดวงอาทิตย์เป็นเพียงดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในหลายล้านดวงที่เรามองเห็นบนท้องฟ้า เพียงแต่ว่าดวงอาทิตย์อยู่ใกล้โลกเรามากกว่าดาวฤกษ์ดวงอื่นๆ ทำให้ดวงอาทิตย์มีโชติมาตรถึง -26.7 [1]
🌕🌙ดวงจันทร์ (Moon) ดาวบริวารของโลก มนุษย์ได้จินตนาการพื้นผิวของดวงจันทร์เป็นรูปร่างต่างๆ เช่น กระต่าย คนแก่ตำข้าว คนแก่นั่งปั่นด้าย เป็นต้น ชาวโรมันแทนดวงจันทร์ด้วยเทพีไดอานา เทพีแห่งการล่าสัตว์ และความอุดมสมบูรณ์ คำว่า จันทร์ นั้นเป็นคำศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต (चंद्र อ่านว่า จัน-ดระ หรือคนไทยเราเรียกว่า จัน-ทระ) ซึ่งหมายถึงพระจันทร์ ในภาษาไทยเดิมมักเรียกว่า เดือน หรือ ดวงเดือน (ลาว: ເດືອນ เดือน, ไทใหญ่: เหลิน)
สำหรับในภาษาอังกฤษ ดวงจันทร์ ใช้คำว่า Moon (ภาษาอังกฤษใช้อักษรตัวใหญ่ขึ้นต้นคำ) เป็นคำนามมาจากคำว่า moone (ราวปี ค.ศ. 1380) ซึ่งมาจากคำ mone (ราวปี ค.ศ. 1135) ซึ่งมาจากภาษอังกฤษเก่าแก่ mōna (ราว 725 ปีก่อน ค.ศ.) และมีลักษณะคล้ายภาษาเจอร์แมนิก mǣnōn
Selene (Σελήνη เซเลเน่) เป็นชื่อเรียกเทพีแห่งดวงจันทร์ของชาวกรีก ซึ่งเป็นธิดาของ Titans Hyperion กับ Theia ส่วนชาวโรมัน เรียกเทพีแห่งดวงจันทร์ว่า Luna (ลูน่า) ซึ่งเป็นภาษาลาตินหมายถึง ดวงจันทร์ ปัจจุบันในภาษาอังกฤษคำคุณศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับดวงจันทร์ Moon จะใช้คำ lunar
จันทร์เพ็ญขึ้นเหนือ Parthenon ในกรุงเอเธน ประเทศกรีซ ภาพโดย Anthony Ayiomamitis
🌖🌗🌓🌔ปรากฏการณ์ที่โดดเด่นของดวงจันทร์คือ ข้างขึ้น – ข้างแรม (Moon Phase) เกิดจากตำแหน่งสัมพันธ์กันระหว่างดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และโลก เมื่อดวงจันทร์โคจรรอบโลก ตำแหน่งต่างๆ ที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ไปนั้น คนบนโลกจะเห็นดวงจันทร์มีบริเวณที่สว่างเปลี่ยนไป เริ่มจากมืดทั้งดวง เรียกว่าจันทร์ดับ New Moon แล้วค่อยสว่างเป็นเสี้ยวเล็กๆ จนกระทั่งเต็มดวง เรียกว่าจันทร์เพ็ญ Full Moon ใช้เวลาประมาณ 14 – 15 วัน และบริเวณสว่างค่อยๆ เล็กลงจนมืดสนิทอีกครั้ง ใช้เวลาประมาณ 29.5 วัน
🌃🎑ดวงจันทร์ถือว่าเป็นวัตถุสว่างอันดับสองบนท้องฟ้า (จันทร์เพ็ญมีโชติมาตรถึง -12.9) ทั้งยังมีขนาดปรากฏบนท้องใกล้เคียงกังดวงอาทิตย์ บางครั้งดวงจันทร์ก็เคลื่อนมาบังดวงอาทิตย์เรียกว่า "สุริยุปราคา" ตรงกันข้ามถ้าดวงจันทร์เคลื่อนมาอยู่ในเงาของโลกก็จะเรียกว่า "จันทรุปราคา"
🔭🔭กาลิเลโอก็ส่องดูดวงจันทร์แล้วบอกว่ามีหลุมบ่อ ภูเขา เต็มไปหมด
ภาพดวงจันทร์ยิ้ม
ดวงจันทร์เคียงดาวศุกร์ (บน) และดาวพฤหัสบดี (ขาว) เรียงกันคล้ายหน้าคนยิ้ม วันที่ 1 ธันวาคม 2551 จากเมือง Perth อยู่ทางตะวันตกของประเทศออสเตรเลีย ภาพโดย Roger Groom
🏜🏕ดวงจันทร์มีผลกับโลกของเราทั้งทางกายภาพและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลก ทำให้แกนหมุนของโลกส่าย ทำให้เกิดน้ำขึ้น-น้ำลง ทำให้กลางคืนบนโลกสว่าง ไม่มืดมากซึ่งเอื้อต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก ทั้งทำให้เกิดขนบธรรมเนียมเกี่ยวกับดวงจันทร์มากมาย
🚀🛸ปัจจุบันดวงจันทร์ยังคงเป็นวัตถุนอกโลกเพียงดวงเดียวที่มนุษย์เดินทางไปถึง
เพิ่มเติม
🌟[1] ความสว่าง (brightness) ดวงดาวบนท้องฟ้ามีความสว่างไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิ ขนาด และระยะทางของดาวที่อยู่ห่างจากโลก ในทางดาราศาสตร์สามารถบอกระดับความ
สว่างของดาวได้ด้วยค่าโชติมาตร (magnitude หรือ Appearance magnitude)
✨[2] ค่าโชติมาตร กำหนดโดยดาวที่มีค่าโชติมาตรต่างกัน 1 จะมีความสว่างต่างกันอยู่ 2.5 เท่า ค่าโชติมาตรเสมือนเป็นการจัดอันดับความความสว่างของดาวที่ปรากฏแก่เรา ดังนั้นดาวที่มีค่าโชติมาตรน้อยๆ แสดงว่ามีความสว่างมาก ดาวฤกษ์ที่สว่างปรากฏมากที่บนสุดบนท้องฟ้ายามค่ำคืนคือ ดาวซิริอุสมีค่าโชติมาตรถึง -1.47
💫ดาวที่ใช้อ้างอิงค่าโชติมาตรคือ ดาววีก้า (Vega) กำหนดโชติมาตรที่ 0.0 ดังนั้น ดาวที่มีโชติมาตรน้อยกว่าดาววีก้า (ค่าตัวเลขติดลบ) แสดงว่ามีความสว่างมากกว่าดาววีก้า แต่ถ้ามีโชติมาตรมากกว่าดาววีก้า (ค่าตัวเลขเป็นบวก) แสดงว่ามีความสว่างน้อยกว่าดาววีก้า
เรียบเรียง : ณรงค์ ภูทัดดวง https://web.facebook.com/AstronomyByMoGolf
ปฐมบทดาราศาสตร์ EP1: โลกนวลนางกับทางช้างเผือก https://ppantip.com/topic/39777099
ปฐมบทดาราศาสตร์ EP2: เอกภพ Universe https://ppantip.com/topic/39780477