ท้องฟ้า สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม 2561
ท้องฟ้าสัปดาห์นี้ คือ ตั้งแต่วันที่ 6 ถึง วันที่ 12 พฤษภาคม 2561
เริ่มจากวัตถุที่อยู่ใกล้ตัวมากที่สุดคือ ดวงจันทร์ ตามปฏิทินจันทรติ ช่วงนี้จะเป็นข้างแรม โดย วันที่ 7 พฤษภาคม 2561 ตรงกับ แรม 8 ค่ำเดือน 6 ซึ่งจะเห็นดวงจันทร์สว่างครึ่งดวงด้านตะวันออก เรียกว่าจันทร์กึ่งข้างแรม (Last Quarter Moon หรือ Third Quarter Moon) การสังเกตว่า วันใดเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรม ให้สังเกตที่ดวงจันทร์ ทำได้ 2 อย่าง คือ
1..สังเกตช่วงเวลาหัวค่ำเห็นดวงจันทร์อยู่ทางทิศใด ถ้าอยู่ตะวันตก นั่นคือ ข้างขึ้น และ ถ้าอยู่ตะวันออก นั่นคือ ข้างแรม
2..ด้านสว่างของดวงจันทร์อยู่ทางใด หากด้านสว่างของดวงจันทร์อยู่ทางทิศตะวันตก นั่นคือ ข้างขึ้น และหากด้านสว่างของดวงจันทร์อยู่ทางทิศตะวันออกนั้นคือ ข้างแรม
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ช่วงสัปดาห์นี้ ดาวพุธ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน จะอยู่ทางทิศตะวันออกขึ้นก่อนพระอาทิตย์ขึ้น อาจจะสังเกตเห็นได้ยากมาก ในส่วนของหัวค่ำ จะพบเห็นดาวสว่างเด่นอยู่ด้านตะวันตกก็ไม่ต้องแปลกใจ นั่นคือ ดาวศุกร์หรือคนไทยเรียกว่าดาวประจำเมือง ช่วงเวลาดึกหน่อยเมื่อสิ้นแสงอาทิตย์หันไปดูดาวทิศตะวันออกเฉียงใต้นิด ๆ กันบ้าง จะเริ่มเห็นดาวพฤหัส หลังจากเวลาผ่านไปสัก 2-3 ชั่วโมง ดาวเสาร์และดาวอังคาร ก็ขึ้นตามมาติด ๆ
สำหรับสัปดาห์นี้ ห้ามพลาด..ยกเว้นท้องฟ้าสภาพอากาศจะพลัดพรากคุณ ออกมาชมดาวพฤหัสจะอยู่ใกล้โลกมากที่สุดของปี ซึ่งตรงกับช่วงวันที่ 9 10 และ 11 ครับ ก็ลองออกมาสังเกตกัน อย่างที่บอกเมื่อสิ้นแสงอาทิตย์ลาลับขอบฟ้า...พี่ใหญ่จะออกมาให้เชยชม หากดูผ่านกล้องดูดาว จะได้เห็นดวงจันทร์กาลิเลียนและแถบเมฆบนดาวพฤหัสด้วย น่าตื่นเต้นทีเดียว
สำหรับกลุ่มดาวต่าง ๆ
ช่วงนี้ ตอนหัวค่ำ เงยหน้าทางทิศเหนือ จะเห็นกลุ่มดาวหมีใหญ่ ( Ursa Major) ลักษณะเป็นหมีตีลังกา และลากเส้นช่วงลำตัวหมีแล้วก้มลงมามอง ก็จะเจอกับดาวอีกหนึ่ง ซึ่งดาวดวงนี้ คือ ดาวเหนือ (Polaris) ครับ ดาวดวงนี้จะอยู่ในกลุ่มดาวหมีเล็ก ( Ursa Minor)
เมื่อเห็นดาวเหนือแล้ว ลองมองไปฝั่งทิศตะวันตกบ้าง สิ่งที่จะเห็นได้ชัดเจนนอกจากดาวศุกร์ มีดาวสามดวงเรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งเรียกว่า สามเหลี่ยมฤดูหนาว (Winter triangle) ประกอบด้วยดาวซิริอุส (Sirius) ของกลุ่มดาวหมาใหญ่ (Cranis major) ดาวโพรซิออน (Procyon) ของกลุ่มดาวหมาเล็ก (Cranis minor) และดาวเบเทลจุส (Betelgeuse) ของกลุ่มดาวนายพราน (Orion) สามเหลี่ยมฤดูหนาวนี้อยู่ด้านทิศตะวันตกหมายถึงฤดูหนาวได้สิ้นสุดลง
คราวนี้เงยหน้ามองขึ้นไปเหนือศีรษะบ้าง จะเห็นดาวดวงหนึ่งสะดุดตา และถ้ามองไปทางตะวันออกอีกหน่อยก็จะเห็นดาวอีก 2 ดาวเด่นเหมือนกัน เมื่อลากเส้นเชื่อมดาวทั้ง 3 นี้ ก็จะกลายเป็น สามเหลี่ยมฤดูใบไม้ผลิ (Spring triangle) ประกอบด้วย ดาวดวงแก้ว (Arcturus) ของกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ (Bootes) ดาวรวงข้าว (Spica) ของกลุ่มดาวหญิงสาว (Virgo) และดาวหัวใจสิงห์ (Regulus) ของกลุ่มดาวสิงห์ (Leo)
หากใครดูดาวจนดึก ประมาณเที่ยงคืนทางทิศตะวันออก จะเริ่มเห็น สามเหลี่ยมฤดูร้อน (Summer Triangle) ประกอบด้วยดาว 3 ดวงเช่นกัน ได้แก่ ดาวเดเนบ (Deneb) จากกลุ่มดาวหงส์ ( Cygnus) ดาวเวก้า (Vega) จากกลุ่มดาวพิณ (Lyra) และ ดาวอัลแทร์ (Altair) ในกลุ่มดาวนกอินทรี (Aquila)
สำหรับนักล่าช้างเผือก ช่วงนี้ช้างจะมาเกือบเที่ยงคืนและแสงดวงจันทร์รบกวนเป็นอย่างมาก จะต้องรอจนถึงช่วงปลายสัปดาห์ครับ หากสภาพอากาศเป็นใจ ก็ขอให้ล่าช้างเผือกกันให้สนุกนะครับ พร้อมกับดาวเสาร์และดาวอังคาร
ท้องฟ้า สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม 2561
ท้องฟ้าสัปดาห์นี้ คือ ตั้งแต่วันที่ 6 ถึง วันที่ 12 พฤษภาคม 2561
เริ่มจากวัตถุที่อยู่ใกล้ตัวมากที่สุดคือ ดวงจันทร์ ตามปฏิทินจันทรติ ช่วงนี้จะเป็นข้างแรม โดย วันที่ 7 พฤษภาคม 2561 ตรงกับ แรม 8 ค่ำเดือน 6 ซึ่งจะเห็นดวงจันทร์สว่างครึ่งดวงด้านตะวันออก เรียกว่าจันทร์กึ่งข้างแรม (Last Quarter Moon หรือ Third Quarter Moon) การสังเกตว่า วันใดเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรม ให้สังเกตที่ดวงจันทร์ ทำได้ 2 อย่าง คือ
1..สังเกตช่วงเวลาหัวค่ำเห็นดวงจันทร์อยู่ทางทิศใด ถ้าอยู่ตะวันตก นั่นคือ ข้างขึ้น และ ถ้าอยู่ตะวันออก นั่นคือ ข้างแรม
2..ด้านสว่างของดวงจันทร์อยู่ทางใด หากด้านสว่างของดวงจันทร์อยู่ทางทิศตะวันตก นั่นคือ ข้างขึ้น และหากด้านสว่างของดวงจันทร์อยู่ทางทิศตะวันออกนั้นคือ ข้างแรม
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ช่วงสัปดาห์นี้ ดาวพุธ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน จะอยู่ทางทิศตะวันออกขึ้นก่อนพระอาทิตย์ขึ้น อาจจะสังเกตเห็นได้ยากมาก ในส่วนของหัวค่ำ จะพบเห็นดาวสว่างเด่นอยู่ด้านตะวันตกก็ไม่ต้องแปลกใจ นั่นคือ ดาวศุกร์หรือคนไทยเรียกว่าดาวประจำเมือง ช่วงเวลาดึกหน่อยเมื่อสิ้นแสงอาทิตย์หันไปดูดาวทิศตะวันออกเฉียงใต้นิด ๆ กันบ้าง จะเริ่มเห็นดาวพฤหัส หลังจากเวลาผ่านไปสัก 2-3 ชั่วโมง ดาวเสาร์และดาวอังคาร ก็ขึ้นตามมาติด ๆ
สำหรับสัปดาห์นี้ ห้ามพลาด..ยกเว้นท้องฟ้าสภาพอากาศจะพลัดพรากคุณ ออกมาชมดาวพฤหัสจะอยู่ใกล้โลกมากที่สุดของปี ซึ่งตรงกับช่วงวันที่ 9 10 และ 11 ครับ ก็ลองออกมาสังเกตกัน อย่างที่บอกเมื่อสิ้นแสงอาทิตย์ลาลับขอบฟ้า...พี่ใหญ่จะออกมาให้เชยชม หากดูผ่านกล้องดูดาว จะได้เห็นดวงจันทร์กาลิเลียนและแถบเมฆบนดาวพฤหัสด้วย น่าตื่นเต้นทีเดียว
สำหรับกลุ่มดาวต่าง ๆ
ช่วงนี้ ตอนหัวค่ำ เงยหน้าทางทิศเหนือ จะเห็นกลุ่มดาวหมีใหญ่ ( Ursa Major) ลักษณะเป็นหมีตีลังกา และลากเส้นช่วงลำตัวหมีแล้วก้มลงมามอง ก็จะเจอกับดาวอีกหนึ่ง ซึ่งดาวดวงนี้ คือ ดาวเหนือ (Polaris) ครับ ดาวดวงนี้จะอยู่ในกลุ่มดาวหมีเล็ก ( Ursa Minor)
เมื่อเห็นดาวเหนือแล้ว ลองมองไปฝั่งทิศตะวันตกบ้าง สิ่งที่จะเห็นได้ชัดเจนนอกจากดาวศุกร์ มีดาวสามดวงเรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งเรียกว่า สามเหลี่ยมฤดูหนาว (Winter triangle) ประกอบด้วยดาวซิริอุส (Sirius) ของกลุ่มดาวหมาใหญ่ (Cranis major) ดาวโพรซิออน (Procyon) ของกลุ่มดาวหมาเล็ก (Cranis minor) และดาวเบเทลจุส (Betelgeuse) ของกลุ่มดาวนายพราน (Orion) สามเหลี่ยมฤดูหนาวนี้อยู่ด้านทิศตะวันตกหมายถึงฤดูหนาวได้สิ้นสุดลง
คราวนี้เงยหน้ามองขึ้นไปเหนือศีรษะบ้าง จะเห็นดาวดวงหนึ่งสะดุดตา และถ้ามองไปทางตะวันออกอีกหน่อยก็จะเห็นดาวอีก 2 ดาวเด่นเหมือนกัน เมื่อลากเส้นเชื่อมดาวทั้ง 3 นี้ ก็จะกลายเป็น สามเหลี่ยมฤดูใบไม้ผลิ (Spring triangle) ประกอบด้วย ดาวดวงแก้ว (Arcturus) ของกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ (Bootes) ดาวรวงข้าว (Spica) ของกลุ่มดาวหญิงสาว (Virgo) และดาวหัวใจสิงห์ (Regulus) ของกลุ่มดาวสิงห์ (Leo)
หากใครดูดาวจนดึก ประมาณเที่ยงคืนทางทิศตะวันออก จะเริ่มเห็น สามเหลี่ยมฤดูร้อน (Summer Triangle) ประกอบด้วยดาว 3 ดวงเช่นกัน ได้แก่ ดาวเดเนบ (Deneb) จากกลุ่มดาวหงส์ ( Cygnus) ดาวเวก้า (Vega) จากกลุ่มดาวพิณ (Lyra) และ ดาวอัลแทร์ (Altair) ในกลุ่มดาวนกอินทรี (Aquila)
สำหรับนักล่าช้างเผือก ช่วงนี้ช้างจะมาเกือบเที่ยงคืนและแสงดวงจันทร์รบกวนเป็นอย่างมาก จะต้องรอจนถึงช่วงปลายสัปดาห์ครับ หากสภาพอากาศเป็นใจ ก็ขอให้ล่าช้างเผือกกันให้สนุกนะครับ พร้อมกับดาวเสาร์และดาวอังคาร