ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 แบบนี้ เหล่ามนุษย์เงินเดือน ฟรีแลนซ์ รวมถึงเจ้าของกิจการ ล้วนเผชิญกับช่วงเวลาที่รายได้ลดลงอย่างมาก ใครที่เคยได้ค่าคอมมินชั่นจากการขายตอนนี้คงแทบไม่เหลือแล้ว หรือใครที่มีเฉพาะเงินเดือนนายจ้างบางแห่งก็อาจขอให้หยุดงานหรือลดเงินเดือนลงจากปกติ
ถ้าใครเจอสถานการณ์แบบนี้ หากยังไม่มีภาระมากนักก็คงไม่ค่อยน่าห่วง แต่ถ้าใครมีหรือกำลังมีภาระโดยเฉพาะภาระหนี้บ้านก้อนโต ก็คงคิดหนักไม่น้อย ซึ่งจากที่ K-Expert ได้ลองไปอ่านกระทู้ Pantip หลายๆ กระทู้มา เห็นได้เลยว่าเพื่อนๆ สมาชิกหลายคนกำลังค้นหาคำตอบเพื่อกำลังตัดสินใจบางอย่างเกี่ยวกับสินเชื่อบ้านในช่วงนี้ ได้แก่
Q1 : เริ่มผ่อนบ้านไม่ไหว ทำอย่างไรดี
หลายๆ คนอาจกำลังเผชิญกับปัญหานี้อยู่ ซึ่งหลายๆ ธนาคารทั้งรัฐและเอกชนก็รู้ปัญหานี้ดี ธนาคารทั้งหลายจึงออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มากมาย เช่น การพักเงินต้นชำระเฉพาะดอกเบี้ย หรือการลดยอดผ่อนจากปกติลงครึ่งหนึ่ง ฯลฯ เช่น หากเคยกู้บ้าน 3 ล้านบาท หากปกติผ่อนประมาณเดือนละ 18,000 บาท การขอเข้ามาตรการนี้อาจช่วยให้เหลือผ่อนแค่เดือนละ 9,000 บาท ไปช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 12 เดือน แล้วจึงกลับมาผ่อนเท่ายอดเดิม ซึ่งมาตรการเหล่านี้ล้วนเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของลูกหนี้ลง เพื่อให้เหลือเงินไปใช้จ่ายในแต่ละเดือนมากขึ้นในช่วงที่รายได้ลดลง ซึ่งการเข้ามาตรการที่ว่า หลายธนาคารอาจกำหนดให้ต้องมีการแจ้งความประสงค์หรือลงทะเบียนผ่านช่องทางภายในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น โทรเข้า Call Center ภายในเดือน มิ.ย. 63 เป็นต้น หากใครกำลังมองหามาตรการเหล่านี้อยู่ลองดูข้อมูลมาตรการธนาคารต่างๆ ได้ที่ www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/COVID19/Pages/default.aspx
สิ่งหนึ่งที่หลายๆ คนกังวลเกี่ยวกับการขอเข้ามาตรการเพื่อลดภาระผ่อน คือ กังวลว่าจะเสียประวัติการผ่อนชำระ ส่งผลให้อนาคตอาจขอสินเชื่อธนาคารต่างๆ ได้ยากขึ้น ประเด็นนี้ขออ้างอิงข้อมูลจาก Website บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือที่รู้จักกันในชื่อ “เครดิตบูโร” ว่า คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต ได้มีข้อแนะนำธนาคารต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้โดยมีการผ่อนผันเงื่อนไขการชำระเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยในช่วงเวลาหนึ่งให้แก่ลูกหนี้ที่ไม่มีหนี้ค้างชำระ หรือมีหนี้ค้างชำระไม่เกิน 90 วัน ให้สามารถนำส่งข้อมูลสถานะบัญชีเป็น “ปกติ” (ที่มา www.ncb.co.th/ncb-article/มาตรการช่วยเหลือด้านสิ) ข้อมูลนี้น่าจะพอช่วยให้หลายๆ คนสบายใจขึ้นหากตัดสินใจขอเข้ามาตรการช่วยเหลือนี้
อย่างไรก็ตาม K-Expert แนะนำว่า มาตรการที่ว่าเหมาะกับคนที่รู้ตัวว่าผ่อนตามปกติไม่ไหว ต้องการทางเลือกเพื่อลดภาระเพื่อให้มีเงินเหลือไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้ ส่วนถ้าใครไม่ได้ประสบปัญหารายได้ลดและยังมีกำลังในการผ่อนหนี้ตามปกติอยู่ แนะนำว่าให้ผ่อนตามยอดปกติจะดีกว่า เพราะว่าการลดยอดผ่อนลงแม้ว่าจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายลง แต่ก็ต้องแลกกับการชำระหนี้ส่วนของเงินต้นลดลง ทำให้ดอกเบี้ยโดยรวมตลอดสัญญาสูงขึ้นและหมดหนี้ช้าลงด้วย
Q2 : สินเชื่อบ้านเพิ่งอนุมัติ จะไปต่อหรือถอนตัวดี
ก่อนหน้านี้หลายๆ คนอาจยื่นขอกู้บ้านไปและเพิ่งได้รับอนุมัติมา และอยู่ในช่วงการตรวจบ้านและนัดโอนที่สำนักงานที่ดิน ทำให้ต้องคิดหนักไม่น้อยว่าควรทิ้งเงินจองหลัก พัน-หมื่น ไปก่อน หรือจะยืนยันการกู้ครั้งนี้ต่อไปดี เพราะเดือนนี้ความมั่นคงในหน้าที่การงานและรายได้อาจไม่ได้สูงเท่าเดือนก่อนอักทั้งยังไม่รู้เลยว่ารายได้จะกลับมาเท่าเดิมเมื่อไร หรือต่อให้ปัจจุบันงานที่ทำหรือเงินเดือนที่ได้ยังไม่ได้รับผลกระทบ แต่ก็ไม่มีทางรู้ได้เลยว่านายจ้างจะประกาศให้หยุดงานหรือลดเงินเดือนเมื่อไร เพราะถ้าใครได้ดูข่าวไม่ว่าจะคนที่ทำงานในกิจการเล็กหรือกิจการใหญ่ก็ล้วนได้รับผลกระทบมาแล้วทั้งนั้น
ดังนั้นลำดับแรกเลย คือ ต้องเช็กความมั่นคงของงานทำก่อนว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร ปัจจุบันยังมีงานทำในปริมาณที่พอให้กิจการอยู่ได้ไหม ถ้าไม่ใช่...การยอมทิ้งเงินจองไปตั้งแต่ตอนนี้อาจไม่เจ็บตัวเท่าการฝืนเป็นหนี้ไปทั้งที่อนาคตการงานยังมีความไม่แน่นอนก็ได้
ลำดับที่สอง คือ การเช็กเงินสำรองในกระเป๋า เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าหากอนาคตผลกระทบจาก COVID ส่งผลมาถึงงานที่ทำอยู่ จะได้พอมีเงินไปผ่อนหนี้ได้บ้างไปช่วงเวลาหนึ่งจนกว่าสถานการณ์จะผ่านพ้นไป แล้วเงินสำรองแค่ไหนถึงจะพอล่ะ ถ้าเป็นสถานการณ์ปกติ K-Expert มักแนะนำว่าควรมีเงินสำรองไว้ให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงค่าผ่อนบ้านที่กำลังจะเกิดขึ้น ไปให้ได้สัก 6 เดือน แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน คงต้องคาดเดาเพิ่มด้วยว่าวิกฤติ COVID จะส่งผลต่อหน้าที่การงานกับเราไปอีกนานแค่ไหน ซึ่งหากสังเกตจากมาตราการช่วยเหลือของธนาคารต่างๆ แล้ว จะเห็นว่าหลายธนาคารมีการผ่อนผันลูกหนี้นาน 2 ปี ดังนั้นหากใครที่ยังมีเงินสำรองเป็นค่าใช้จ่ายและค่าผ่อนไม่ถึง 2 ปี ก็อยากให้ทบทวนการกู้บ้านครั้งนี้ให้ดีๆ หากยังไม่จำเป็นการชะลอการสร้างหนี้ออกไปก่อนอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
และถ้าคิดว่าต้องการสร้างหนี้ก้อนนี้จริงๆ ไม่ว่าจะมีเงินสำรองเพียงพอไปอีก 2 ปี หรือไม่ เช่น ถ้าเดิมต้องเช่าบ้าน/อพาร์ทเม้นท์อยู่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และค่าผ่อนที่ว่าก็สูงกว่าค่าเช่าเดิมไม่กี่บาท อย่างน้อยที่สุดก็ควรเช็กและคุมตนเองให้มีภาระผ่อนต่างๆ รวมกันมากที่สุดไม่เกิน 40%ของรายได้ เพื่อไม่ให้หนี้ก้อนนี้เป็นภาระมากเกินไป
Q3 : ดอกเบี้ยธนาคารแสนถูก บ้าน/คอนโด มีส่วนลดมากมาย ซื้อเลยดีไหม
คำถามแบบนี้อาจผุดขึ้นมาในหัวของบางคนที่อยากมีบ้าน/คอนโดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หรือคนที่เคยมีประสบการณ์ลงทุนอสังหาริมทรัพย์และมีสัญชาตญาณของการลงทุนอย่างเต็มเปี่ยม แต่อย่างที่เล่ามาใน “Q2” แล้วว่าการกู้บ้านในช่วงสถานการณ์ COVID แบบนี้ เป็นสิ่งที่ต้องคิดให้รอบคอบมากๆ หากไม่จำเป็นจริงๆ การชะลอออกไปเพื่อให้สถานการณ์ต่างๆ กลับมาจนมั่นใจว่าหน้าที่การงานยังมั่นคงเพียงพอที่จะผ่อนหนี้บ้านได้ตลอดสัญญา น่าจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและสบายใจมากกว่า
อีกสิ่งหนึ่งที่อยากบอกเพิ่มเติมคือ แม้ดอกเบี้ยธนาคารจะแสนถูก แต่ก็เป็นต้นทุนที่ผู้กู้ต้องจ่ายให้ธนาคารอยู่ดี ไม่ใช่ว่าได้บ้านมาฟรีๆ จึงต้องคิดให้ดีๆ ด้วยนะ สมมติว่า วงเงินกู้บ้าน 1 ล้านบาท ผ่อนประมาณเดือนละ 6,000 บาท หากได้รับอัตราดอกเบี้ยแสนต่ำที่ 3%ต่อปีแล้ว ในช่วง 1 ปีแรกต้องชำระในส่วนที่เป็นดอกเบี้ยรวมทั้งปีอยู่ที่ 29,417 บาท (จากยอดผ่อนรวมทั้งปี 72,000 บาท) และยิ่ง คอนโด/บ้าน ที่วงเงินกู้สูงกว่านี้ภาระดอกเบี้ยและเงินผ่อนก็สูงตามด้วย เช่น วงเงินกู้ 2 ล้านบาท จะผ่อนเดือนละ 12,000 บาท และดอกเบี้ยปีแรกสูงถึง 58,835 บาทเลย และอัตราดอกเบี้ยที่ว่าก็อาจจะสูงขึ้นหลังพ้น 2-3 ปีแรกไปแล้ว แถมภาระผ่อนต่อเดือนก็ยังเป็นสิ่งที่ผูกพันต้องจ่ายไปยาวถึง 20-30 ปีเลย ยังไงก็คิดให้รอบคอบ ปรึกษาครอบครัวหรือคู่ชีวิตที่บ้านกันด้วยนะ
สุดท้ายนี้ K-Expert ก็อยากฝากไว้สำหรับสมาชิก Pantip ทุกๆ คน สำหรับใครที่กำลังคิดจะกู้บ้านก็ขอให้คิกให้รอบคอบสำรวจเงินในกระเป๋าและงานที่ทำให้ดี ส่วนใครที่ผ่อนอยู่หากเริ่มรู้สึกตัวว่าไหวก็ควรรีบติดต่อธนาคารทันที เช่น ทาง Call Center เพราะทุกๆ ธนาคารพร้อมช่วยเหลือและหาทางออกร่วมกันกับลูกค้าทุกๆ คนอยู่แล้ว และ K-Expert ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนร่วมกันก้าวผ่านสถานการณ์นี้ไปด้วยกัน
เอายังไงดีกับหนี้บ้าน ในสถานการณ์ปัจจุบัน
ถ้าใครเจอสถานการณ์แบบนี้ หากยังไม่มีภาระมากนักก็คงไม่ค่อยน่าห่วง แต่ถ้าใครมีหรือกำลังมีภาระโดยเฉพาะภาระหนี้บ้านก้อนโต ก็คงคิดหนักไม่น้อย ซึ่งจากที่ K-Expert ได้ลองไปอ่านกระทู้ Pantip หลายๆ กระทู้มา เห็นได้เลยว่าเพื่อนๆ สมาชิกหลายคนกำลังค้นหาคำตอบเพื่อกำลังตัดสินใจบางอย่างเกี่ยวกับสินเชื่อบ้านในช่วงนี้ ได้แก่
Q1 : เริ่มผ่อนบ้านไม่ไหว ทำอย่างไรดี
หลายๆ คนอาจกำลังเผชิญกับปัญหานี้อยู่ ซึ่งหลายๆ ธนาคารทั้งรัฐและเอกชนก็รู้ปัญหานี้ดี ธนาคารทั้งหลายจึงออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มากมาย เช่น การพักเงินต้นชำระเฉพาะดอกเบี้ย หรือการลดยอดผ่อนจากปกติลงครึ่งหนึ่ง ฯลฯ เช่น หากเคยกู้บ้าน 3 ล้านบาท หากปกติผ่อนประมาณเดือนละ 18,000 บาท การขอเข้ามาตรการนี้อาจช่วยให้เหลือผ่อนแค่เดือนละ 9,000 บาท ไปช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 12 เดือน แล้วจึงกลับมาผ่อนเท่ายอดเดิม ซึ่งมาตรการเหล่านี้ล้วนเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของลูกหนี้ลง เพื่อให้เหลือเงินไปใช้จ่ายในแต่ละเดือนมากขึ้นในช่วงที่รายได้ลดลง ซึ่งการเข้ามาตรการที่ว่า หลายธนาคารอาจกำหนดให้ต้องมีการแจ้งความประสงค์หรือลงทะเบียนผ่านช่องทางภายในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น โทรเข้า Call Center ภายในเดือน มิ.ย. 63 เป็นต้น หากใครกำลังมองหามาตรการเหล่านี้อยู่ลองดูข้อมูลมาตรการธนาคารต่างๆ ได้ที่ www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/COVID19/Pages/default.aspx
สิ่งหนึ่งที่หลายๆ คนกังวลเกี่ยวกับการขอเข้ามาตรการเพื่อลดภาระผ่อน คือ กังวลว่าจะเสียประวัติการผ่อนชำระ ส่งผลให้อนาคตอาจขอสินเชื่อธนาคารต่างๆ ได้ยากขึ้น ประเด็นนี้ขออ้างอิงข้อมูลจาก Website บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือที่รู้จักกันในชื่อ “เครดิตบูโร” ว่า คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต ได้มีข้อแนะนำธนาคารต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้โดยมีการผ่อนผันเงื่อนไขการชำระเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยในช่วงเวลาหนึ่งให้แก่ลูกหนี้ที่ไม่มีหนี้ค้างชำระ หรือมีหนี้ค้างชำระไม่เกิน 90 วัน ให้สามารถนำส่งข้อมูลสถานะบัญชีเป็น “ปกติ” (ที่มา www.ncb.co.th/ncb-article/มาตรการช่วยเหลือด้านสิ) ข้อมูลนี้น่าจะพอช่วยให้หลายๆ คนสบายใจขึ้นหากตัดสินใจขอเข้ามาตรการช่วยเหลือนี้
อย่างไรก็ตาม K-Expert แนะนำว่า มาตรการที่ว่าเหมาะกับคนที่รู้ตัวว่าผ่อนตามปกติไม่ไหว ต้องการทางเลือกเพื่อลดภาระเพื่อให้มีเงินเหลือไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้ ส่วนถ้าใครไม่ได้ประสบปัญหารายได้ลดและยังมีกำลังในการผ่อนหนี้ตามปกติอยู่ แนะนำว่าให้ผ่อนตามยอดปกติจะดีกว่า เพราะว่าการลดยอดผ่อนลงแม้ว่าจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายลง แต่ก็ต้องแลกกับการชำระหนี้ส่วนของเงินต้นลดลง ทำให้ดอกเบี้ยโดยรวมตลอดสัญญาสูงขึ้นและหมดหนี้ช้าลงด้วย
Q2 : สินเชื่อบ้านเพิ่งอนุมัติ จะไปต่อหรือถอนตัวดี
ก่อนหน้านี้หลายๆ คนอาจยื่นขอกู้บ้านไปและเพิ่งได้รับอนุมัติมา และอยู่ในช่วงการตรวจบ้านและนัดโอนที่สำนักงานที่ดิน ทำให้ต้องคิดหนักไม่น้อยว่าควรทิ้งเงินจองหลัก พัน-หมื่น ไปก่อน หรือจะยืนยันการกู้ครั้งนี้ต่อไปดี เพราะเดือนนี้ความมั่นคงในหน้าที่การงานและรายได้อาจไม่ได้สูงเท่าเดือนก่อนอักทั้งยังไม่รู้เลยว่ารายได้จะกลับมาเท่าเดิมเมื่อไร หรือต่อให้ปัจจุบันงานที่ทำหรือเงินเดือนที่ได้ยังไม่ได้รับผลกระทบ แต่ก็ไม่มีทางรู้ได้เลยว่านายจ้างจะประกาศให้หยุดงานหรือลดเงินเดือนเมื่อไร เพราะถ้าใครได้ดูข่าวไม่ว่าจะคนที่ทำงานในกิจการเล็กหรือกิจการใหญ่ก็ล้วนได้รับผลกระทบมาแล้วทั้งนั้น
ดังนั้นลำดับแรกเลย คือ ต้องเช็กความมั่นคงของงานทำก่อนว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร ปัจจุบันยังมีงานทำในปริมาณที่พอให้กิจการอยู่ได้ไหม ถ้าไม่ใช่...การยอมทิ้งเงินจองไปตั้งแต่ตอนนี้อาจไม่เจ็บตัวเท่าการฝืนเป็นหนี้ไปทั้งที่อนาคตการงานยังมีความไม่แน่นอนก็ได้
ลำดับที่สอง คือ การเช็กเงินสำรองในกระเป๋า เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าหากอนาคตผลกระทบจาก COVID ส่งผลมาถึงงานที่ทำอยู่ จะได้พอมีเงินไปผ่อนหนี้ได้บ้างไปช่วงเวลาหนึ่งจนกว่าสถานการณ์จะผ่านพ้นไป แล้วเงินสำรองแค่ไหนถึงจะพอล่ะ ถ้าเป็นสถานการณ์ปกติ K-Expert มักแนะนำว่าควรมีเงินสำรองไว้ให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงค่าผ่อนบ้านที่กำลังจะเกิดขึ้น ไปให้ได้สัก 6 เดือน แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน คงต้องคาดเดาเพิ่มด้วยว่าวิกฤติ COVID จะส่งผลต่อหน้าที่การงานกับเราไปอีกนานแค่ไหน ซึ่งหากสังเกตจากมาตราการช่วยเหลือของธนาคารต่างๆ แล้ว จะเห็นว่าหลายธนาคารมีการผ่อนผันลูกหนี้นาน 2 ปี ดังนั้นหากใครที่ยังมีเงินสำรองเป็นค่าใช้จ่ายและค่าผ่อนไม่ถึง 2 ปี ก็อยากให้ทบทวนการกู้บ้านครั้งนี้ให้ดีๆ หากยังไม่จำเป็นการชะลอการสร้างหนี้ออกไปก่อนอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
และถ้าคิดว่าต้องการสร้างหนี้ก้อนนี้จริงๆ ไม่ว่าจะมีเงินสำรองเพียงพอไปอีก 2 ปี หรือไม่ เช่น ถ้าเดิมต้องเช่าบ้าน/อพาร์ทเม้นท์อยู่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และค่าผ่อนที่ว่าก็สูงกว่าค่าเช่าเดิมไม่กี่บาท อย่างน้อยที่สุดก็ควรเช็กและคุมตนเองให้มีภาระผ่อนต่างๆ รวมกันมากที่สุดไม่เกิน 40%ของรายได้ เพื่อไม่ให้หนี้ก้อนนี้เป็นภาระมากเกินไป
Q3 : ดอกเบี้ยธนาคารแสนถูก บ้าน/คอนโด มีส่วนลดมากมาย ซื้อเลยดีไหม
คำถามแบบนี้อาจผุดขึ้นมาในหัวของบางคนที่อยากมีบ้าน/คอนโดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หรือคนที่เคยมีประสบการณ์ลงทุนอสังหาริมทรัพย์และมีสัญชาตญาณของการลงทุนอย่างเต็มเปี่ยม แต่อย่างที่เล่ามาใน “Q2” แล้วว่าการกู้บ้านในช่วงสถานการณ์ COVID แบบนี้ เป็นสิ่งที่ต้องคิดให้รอบคอบมากๆ หากไม่จำเป็นจริงๆ การชะลอออกไปเพื่อให้สถานการณ์ต่างๆ กลับมาจนมั่นใจว่าหน้าที่การงานยังมั่นคงเพียงพอที่จะผ่อนหนี้บ้านได้ตลอดสัญญา น่าจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและสบายใจมากกว่า
อีกสิ่งหนึ่งที่อยากบอกเพิ่มเติมคือ แม้ดอกเบี้ยธนาคารจะแสนถูก แต่ก็เป็นต้นทุนที่ผู้กู้ต้องจ่ายให้ธนาคารอยู่ดี ไม่ใช่ว่าได้บ้านมาฟรีๆ จึงต้องคิดให้ดีๆ ด้วยนะ สมมติว่า วงเงินกู้บ้าน 1 ล้านบาท ผ่อนประมาณเดือนละ 6,000 บาท หากได้รับอัตราดอกเบี้ยแสนต่ำที่ 3%ต่อปีแล้ว ในช่วง 1 ปีแรกต้องชำระในส่วนที่เป็นดอกเบี้ยรวมทั้งปีอยู่ที่ 29,417 บาท (จากยอดผ่อนรวมทั้งปี 72,000 บาท) และยิ่ง คอนโด/บ้าน ที่วงเงินกู้สูงกว่านี้ภาระดอกเบี้ยและเงินผ่อนก็สูงตามด้วย เช่น วงเงินกู้ 2 ล้านบาท จะผ่อนเดือนละ 12,000 บาท และดอกเบี้ยปีแรกสูงถึง 58,835 บาทเลย และอัตราดอกเบี้ยที่ว่าก็อาจจะสูงขึ้นหลังพ้น 2-3 ปีแรกไปแล้ว แถมภาระผ่อนต่อเดือนก็ยังเป็นสิ่งที่ผูกพันต้องจ่ายไปยาวถึง 20-30 ปีเลย ยังไงก็คิดให้รอบคอบ ปรึกษาครอบครัวหรือคู่ชีวิตที่บ้านกันด้วยนะ
สุดท้ายนี้ K-Expert ก็อยากฝากไว้สำหรับสมาชิก Pantip ทุกๆ คน สำหรับใครที่กำลังคิดจะกู้บ้านก็ขอให้คิกให้รอบคอบสำรวจเงินในกระเป๋าและงานที่ทำให้ดี ส่วนใครที่ผ่อนอยู่หากเริ่มรู้สึกตัวว่าไหวก็ควรรีบติดต่อธนาคารทันที เช่น ทาง Call Center เพราะทุกๆ ธนาคารพร้อมช่วยเหลือและหาทางออกร่วมกันกับลูกค้าทุกๆ คนอยู่แล้ว และ K-Expert ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนร่วมกันก้าวผ่านสถานการณ์นี้ไปด้วยกัน