นั่งคิดเล่นๆ ว่า... เกาหลีใต้ เมื่อตอน SARS เขามีปัญหาเรื่อง ชุดความปลอดภัย และ เครื่องมือแพทย์ แต่คราวนี้ เกาหลีใต้กลับมีทุกอย่างพร้อมรับมือกับสถานการณ์ COVID-19 แล้ว ประเทศไทย ควรดำเนินการอย่างไรเพื่อเตรียมพร้อม...
ผมแค่ขอนำเสนอแแนวคิด...
1. ควรกำหนด งบประมาณให้กับสถานพยาบาล เพื่อจัดซื้อ "ชุดป้องกันการติดเชื้อ" ให้มีจำนวน 2 เท่าของ บุคลากรทั้งหมด และ เมื่อซื้อให้แล้ว ค่อยกำหนดเป็นกฎหมายข้อบังคับ ให้ โรงพยาบาลใหม่ จะต้องจัดเตรียม ชุดป้องกันการติดเชื้อ เก็บไว้ในโรงพยาบาล เป็นจำนวนอย่างน้อย 2 เท่าของ จำนวน บุคลากรทั้งหมด
การกำหนดเป็น 2 เท่า ของบุคลากรทั้งหมด เป็นเพียงจำนวนพื้นฐาน ถึงแม้นว่า ผู้ดำเนินการเกี่ยวกับโรคติดต่อ อาจจะไม่ใช่บุคลากรทั้งหมด แต่ ผู้เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อ ต้องเปลี่ยน ชุด ทุกครั้งก่อนทำงาน ซึ่งต้องมี ชุดเพื่อผลัดเปลี่ยน เมื่อมีการนำชุดไปทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ หากโรงพยาบาล สามารถสำรองชุดได้มากกว่านี้ ก็ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล ซึ่งโดยปกติ อย่างน้อยควรเป็น 3-4 เท่าของ ผู้เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อ
2. ภาครัฐ ควรสนับสนุน อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ให้สำรองไว้เพื่อสามารถใช้งานได้อย่างน้อย 2-3 เดือน เมื่อเริ่มมีการเกิดโรคระบาด กระทรวงสาธารณสุข ควรกำหนดระบบงานในการ สนับสนุนทั้งงบประมาณและอุปกรณ์ ให้มีการสำรอง ให้สามารถใช้งานได้ 6 เดือน และ ควรตราไว้เป็นข้อกำหนด การจัดตั้งโรงพยาบาล และ การบริหารจัดการสถานพยาบาล อย่างเป็นระบบ
อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ไม่ได้สำรองเก็บไว้ แต่ให้นำมาใช้กับ แผนก อายุรกรรม ทั้งแพทย์ และ พยาบาล โดยหากมีกฎระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อให้ใส่ เพื่อป้องกันโรคติดต่อ อุปกรณ์เหล่านี้ จะถูกใช้ไปเพื่อป้องกัน บุคลากรทางการแพทย์ ลดความเสี่ยง ให้มากที่สุด
3. ภาครัฐ ควรถอดบทเรียน จากเหตุการณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน โดยจัดทำเป็น แผนฉุกเฉิน (Contingency Plan) เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน และ การตั้งรับต่อสงครามที่ไม่เกี่ยวกับการทหาร ตั้งแต่ การข่าวสาร การควบคุมกำกับ การป้องกัน การบริหารทรัพยากร และ การขอใช้สถานที่ยามฉุกเฉิน ตราเป็นกฎหมายข้อบังคับ กำหนดงบประมาณที่จะสนับสนุน แผนฉุกเฉิน ที่มีมาตรการที่เข้มข้น
พบว่า เมื่อมีการขอร้องไปยังสถานที่ต่างๆ เกิดการขาดความรับผิดชอบต่อสังคม ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ เช่น สถานที่กักตัว ทำให้เกิดปัญหา เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ จึงได้แต่ขอความร่วมมือ และ ผลคือ ประชาชน ไม่ให้ความร่วมมือ ทั้งนี้ การต่อสู้กับโรคระบาด ควรมีสถานที่ที่เหมาะสม และ เป็นข้อบังคับ ในการใช้สถานที่ โดย ผู้ว่าราชการจังหวัด นั้นๆ มีอำนาจในการบังคับใช้ เป็นต้น
การให้อำนาจต่อ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ หัวหน้าคณะฯ ในการบังคับอุตสาหกรรม และ ธุรกิจ ให้ดำเนินการสนับสนุนในสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้ผลิต หรือ ให้การสนับสนุน หรือ ให้บริการ เพื่อร่วมกันแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น มีการกำหนดหลักการในการตอบแทนให้เป็นรูปธรรมและตรวจสอบได้
ต้องมีบทโหษอย่างหนัก ต่อการฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือ หาผลประโยชน์ มีคณะกรรมการที่ไม่ขึ้นกับหน่วยงานใด มาตรวจสอบ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ระบุกฎหมายย้อนหลัง เมื่อตรวจสอบพบว่า มีการทุจริต เกิดขึ้นในช่วงขณะฉุกเฉิน
อาจจะต้องทำการศึกษา จากแนวทางจากต่างประเทศ ด้วย
4. สนับสนุนการวิจัย ทั้งในเวลาปกติ และ เวลาฉุกเฉิน ให้เข้มข้นขึ้น โดย สนับสนุน ทั้ง เทคโนโลยี การอำนวยความสดวก สนับสนุนข้อมูลและการวิจัยต่างๆ ที่คนไทยได้วิจัยขึ้น ซึ่งต้องผ่านการวิเคราะห์ ทบทวนแนวทาง ทดลอง ทดสอบ จนมีความน่าเชื่อถือ ก่อนออกสู่สังคมโลก กระบวนการต่างๆควรเป็นระบบที่มีการสนับสนุนจากทุกฝ่าย เช่น - กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อย.) กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม เป็นต้น
5. การทำแผนฟื้นฟูประเทศหลังวิกฤติ อย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ ผมแค่คิดวิเคราะห์ จากสิ่งที่ผมรับรู้มา ซึ่งอาจจะมีข้อเสนอแนะที่ดี และ มากกว่าของผม จึงอยากให้ช่วยกันนำเสนอครับว่า ควรมีประเด็นใด ที่ภาครัฐ ควรให้ความสำคัญ หลังเหตุการณ์ไวรัส โคโลน่า แพร่ระบาดครั้งนี้...
คิดว่าน่าจะมีนโยบายของภาครัฐ อะไรบ้าง หลัง โควิด-19
ผมแค่ขอนำเสนอแแนวคิด...
1. ควรกำหนด งบประมาณให้กับสถานพยาบาล เพื่อจัดซื้อ "ชุดป้องกันการติดเชื้อ" ให้มีจำนวน 2 เท่าของ บุคลากรทั้งหมด และ เมื่อซื้อให้แล้ว ค่อยกำหนดเป็นกฎหมายข้อบังคับ ให้ โรงพยาบาลใหม่ จะต้องจัดเตรียม ชุดป้องกันการติดเชื้อ เก็บไว้ในโรงพยาบาล เป็นจำนวนอย่างน้อย 2 เท่าของ จำนวน บุคลากรทั้งหมด
การกำหนดเป็น 2 เท่า ของบุคลากรทั้งหมด เป็นเพียงจำนวนพื้นฐาน ถึงแม้นว่า ผู้ดำเนินการเกี่ยวกับโรคติดต่อ อาจจะไม่ใช่บุคลากรทั้งหมด แต่ ผู้เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อ ต้องเปลี่ยน ชุด ทุกครั้งก่อนทำงาน ซึ่งต้องมี ชุดเพื่อผลัดเปลี่ยน เมื่อมีการนำชุดไปทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ หากโรงพยาบาล สามารถสำรองชุดได้มากกว่านี้ ก็ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล ซึ่งโดยปกติ อย่างน้อยควรเป็น 3-4 เท่าของ ผู้เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อ
2. ภาครัฐ ควรสนับสนุน อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ให้สำรองไว้เพื่อสามารถใช้งานได้อย่างน้อย 2-3 เดือน เมื่อเริ่มมีการเกิดโรคระบาด กระทรวงสาธารณสุข ควรกำหนดระบบงานในการ สนับสนุนทั้งงบประมาณและอุปกรณ์ ให้มีการสำรอง ให้สามารถใช้งานได้ 6 เดือน และ ควรตราไว้เป็นข้อกำหนด การจัดตั้งโรงพยาบาล และ การบริหารจัดการสถานพยาบาล อย่างเป็นระบบ
อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ไม่ได้สำรองเก็บไว้ แต่ให้นำมาใช้กับ แผนก อายุรกรรม ทั้งแพทย์ และ พยาบาล โดยหากมีกฎระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อให้ใส่ เพื่อป้องกันโรคติดต่อ อุปกรณ์เหล่านี้ จะถูกใช้ไปเพื่อป้องกัน บุคลากรทางการแพทย์ ลดความเสี่ยง ให้มากที่สุด
3. ภาครัฐ ควรถอดบทเรียน จากเหตุการณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน โดยจัดทำเป็น แผนฉุกเฉิน (Contingency Plan) เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน และ การตั้งรับต่อสงครามที่ไม่เกี่ยวกับการทหาร ตั้งแต่ การข่าวสาร การควบคุมกำกับ การป้องกัน การบริหารทรัพยากร และ การขอใช้สถานที่ยามฉุกเฉิน ตราเป็นกฎหมายข้อบังคับ กำหนดงบประมาณที่จะสนับสนุน แผนฉุกเฉิน ที่มีมาตรการที่เข้มข้น
พบว่า เมื่อมีการขอร้องไปยังสถานที่ต่างๆ เกิดการขาดความรับผิดชอบต่อสังคม ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ เช่น สถานที่กักตัว ทำให้เกิดปัญหา เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ จึงได้แต่ขอความร่วมมือ และ ผลคือ ประชาชน ไม่ให้ความร่วมมือ ทั้งนี้ การต่อสู้กับโรคระบาด ควรมีสถานที่ที่เหมาะสม และ เป็นข้อบังคับ ในการใช้สถานที่ โดย ผู้ว่าราชการจังหวัด นั้นๆ มีอำนาจในการบังคับใช้ เป็นต้น
การให้อำนาจต่อ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ หัวหน้าคณะฯ ในการบังคับอุตสาหกรรม และ ธุรกิจ ให้ดำเนินการสนับสนุนในสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้ผลิต หรือ ให้การสนับสนุน หรือ ให้บริการ เพื่อร่วมกันแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น มีการกำหนดหลักการในการตอบแทนให้เป็นรูปธรรมและตรวจสอบได้
ต้องมีบทโหษอย่างหนัก ต่อการฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือ หาผลประโยชน์ มีคณะกรรมการที่ไม่ขึ้นกับหน่วยงานใด มาตรวจสอบ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ระบุกฎหมายย้อนหลัง เมื่อตรวจสอบพบว่า มีการทุจริต เกิดขึ้นในช่วงขณะฉุกเฉิน
อาจจะต้องทำการศึกษา จากแนวทางจากต่างประเทศ ด้วย
4. สนับสนุนการวิจัย ทั้งในเวลาปกติ และ เวลาฉุกเฉิน ให้เข้มข้นขึ้น โดย สนับสนุน ทั้ง เทคโนโลยี การอำนวยความสดวก สนับสนุนข้อมูลและการวิจัยต่างๆ ที่คนไทยได้วิจัยขึ้น ซึ่งต้องผ่านการวิเคราะห์ ทบทวนแนวทาง ทดลอง ทดสอบ จนมีความน่าเชื่อถือ ก่อนออกสู่สังคมโลก กระบวนการต่างๆควรเป็นระบบที่มีการสนับสนุนจากทุกฝ่าย เช่น - กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อย.) กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม เป็นต้น
5. การทำแผนฟื้นฟูประเทศหลังวิกฤติ อย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ ผมแค่คิดวิเคราะห์ จากสิ่งที่ผมรับรู้มา ซึ่งอาจจะมีข้อเสนอแนะที่ดี และ มากกว่าของผม จึงอยากให้ช่วยกันนำเสนอครับว่า ควรมีประเด็นใด ที่ภาครัฐ ควรให้ความสำคัญ หลังเหตุการณ์ไวรัส โคโลน่า แพร่ระบาดครั้งนี้...