หมอจุฬาฯ ยก 3 เหตุผล ต้องรีบปิดประเทศ ยา-หมอ-เตียงไม่พอ ชี้เหลือเวลาน้อยมาก!
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_3780181
วันที่ 19 มี.ค. ศ.นพ.
ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์แสดงความคิดเห็นให้ปิดประเทศเพื่อแก้ปัญหาโควิด-19 ระบาดความว่า
สาเหตุสำคัญที่ต้องปิดประเทศและต้องปิดบ้าน
1- ไม่มียา
ยาที่คิดว่าจะใช้ได้ มีการรายงานมาหลายคราว และล่าสุดในวารสารนิวอิงแลนด์ 18 มีนาคม ว่า ยา lopinavir/ritonavir ไม่ได้ผล มีแต่ยา chloroquine ที่รักษามาลาเรีย ที่เราพอหาได้ กับ favipiravir (ผลิตที่ญี่ปุ่นและจีน) ที่เรามีจำนวนจำกัดมากสำหรับคน 600 ถึง 700 คนเท่านั้น และภาวนาให้มีพอเป็นหมื่นๆคน (1คนใช้ 70 เม็ด)
2-ระบบสาธารณสุข กายภาพ อุปกรณ์ กำลังคน
เตียง แยกอาการหนัก ที่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตและก่อให้เกิดละอองที่จะให้เกิดการติดต่อทางการหายใจ ควรต้องเป็นห้องความดันลบจริงๆ ที่ทั้งประเทศ มี 100 กว่าห้อง (ใช่หรือไม่) และกระจัดกระจายอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ แห่งละไม่มาก ห้องที่ดัดแปลง รวมทั้งห้องแยกอื่นๆ รวมทั้งไอซียู มีพอจริงหรือไม่ รวมทั้งเครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์ช่วยชีวิต
นอกจากนี้ ห้องเหล่านี้ในโรงพยาบาลหลายแห่งใช้เครื่องปรับอากาศรวม ถ้ามีการใช้อุปกรณ์ ที่ก่อให้เกิดการติดต่อทางการหายใจจะสามารถแพร่กระจายไปกว้างขวาง บุคลากรมีหมอทั่วประเทศไม่ถึง 30,000 คนและเป็นหมอติดเชื้อ ทางปอด และภาวะวิกฤตมีอาจจะเป็นจำนวน 1,000 หรือน้อยกว่า
และถ้าเกิดเหตุวิกฤตเอาหมอทั่วไปที่ไม่ชำนาญในการดูคนไข้และการใส่ชุดปกป้องตัวเอง แทนที่จะช่วย กลับติดโรคและกลายเป็นภาระให้ต้องรักษาต่อ ทางพยาบาล นักวิทยาศาสตร์ เทคนิคการแพทย์จะยิ่งแล้วใหญ่ โดยที่ขณะนี้งานหนักมหาศาลอยู่แล้ว และคนไข้แออัด เต็มวอร์ด เต็มไอซียู และครองเตียง ครองเครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์ช่วยชีวิตไปหมดแล้ว
3- ถึงวันนี้เป็นวาระสุดท้ายที่ต้องก้าวนำเชื้อโรคไม่ใช่เกิดวิกฤติรุกล้ำเข้าไปในระบบสาธารณสุขมากกว่านี้ดังที่มีข้อจำกัดมาก ดังข้อ 1-2
ถ้ายังคงก้าวตามหลัง ดูตามตัวเลขผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต โดยไม่ได้ตระหนักว่าโรคนี้การติดต่อ จากบุคคลสู่บุคคลเป็นลูกโซ่ และยากที่จะจำกัดผู้ติดเชื้อและผู้ใกล้ชิด ที่แพร่เชื้อได้
ทั้งนี้เนื่องจากผู้ติดเชื้อที่เป็นหนุ่มสาวแข็งแรงไม่มีโรคประจำตัวจะเป็นคนแพร่เชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงสุดไม่ว่าในที่ทำงาน ในระหว่างการเดินทางด้วยรถสาธารณะ หลังเวลาทำงาน ไปแพร่ระหว่างกลุ่มคนอีกมากมาย และเมื่อเชื้อแพร่เข้าไปในกลุ่มคนเปราะบางสูงอายุและมีโรคประจำตัว
และเมื่อเชื้อเข้าไปในโรงพยาบาลจากญาติผู้ป่วยที่เข้าไปเยี่ยม โดยมีการติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรือน้อยมากจนตรวจจับไม่พบ เมื่อนั้นก็จะเป็นการแพร่อย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะใน รพ.ที่แออัด ตั้งแต่ที่จอดรถ หอ ผู้ป่วยนอกและแน่นอน แพร่ไปทุกพื้นที่ การปิดบ้าน ปิดเมืองเดี่ยว ยากที่จะทำให้ประเทศสะอาด เรียนจากประเทศจีน เรียนจากประเทศอื่นๆที่ไม่ยอมรับบทเรียนและวิธีแก้ไขจากประเทศจีน เราฟื้นความมั่นใจความเขื่อมั่นรวมทั้งเศรษฐกิจได้ถ้าเราทำจริง
เราเหลือเวลาน้อยมาก จากใจ หมอธีระวัฒน์
https://www.facebook.com/thiravat.h/posts/3266977440002454
เครือข่ายประชาชน ออกแถลงการณ์เรียกร้อง ปิดประเทศ ปิดเมือง ปิดบ้าน แก้โควิด
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_3780649
เครือข่ายประชาชน ออกแถลงการณ์เรียกร้อง ปิดประเทศ ปิดเมือง ปิดบ้าน แก้โควิด
ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ออกแถลงการณ์ เครือข่ายประชาชนเพื่อลดการระบาดของเชื้อ COVID-19 ให้รัฐประกาศสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 เป็นระยะที่ 3 พร้อมดำเนินการปิดประเทศ ปิดเมือง ปิดบ้าน และประกาศภาวะฉุกเฉิน เป็นเวลา 3 สัปดาห์
โดยระบุว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทยที่ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้ออย่างน้อย 212 คน เสียชีวิต 1 คน เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังโรค 7,546 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 18 มีนาคม 2563 เวลา 11.00 น.) โดยที่ปรากฎตามข้อเท็จจริงว่า พบการแพร่ระบาดไปทั่วทุกภูมิภาคของไทย ไม่จำกัดอยู่เพียงสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง มีผู้ป่วยติดเชื้อภายในประเทศที่ไม่สามารถระบุต้นตอของการติดเชื้อได้อย่างชัดเจน
รวมทั้งผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ไม่ได้มารักษาในทันทีตั้งแต่วันแรกที่มีอาการป่วย ทั้งยังไม่มีพฤติกรรมการป้องกันการแพร่เชื้อที่เหมาะสม และมาตรการของรัฐมีความล่าช้า ไม่ทันการณ์ อีกทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากรทางการแพทย์อาจไม่เพียงพอต่อการรับมือวิกฤตการณ์ครั้งนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีความเสี่ยงสูงมากกว่าบุคลากรทางการแพทย์ อาจติดเชื้อ COVID-19 ทั้งจากการตรวจผู้ป่วยโดยตรง หรือขั้นตอนการให้การรักษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เครื่องดูดเสมหะในผู้ป่วยหนักอาจแปลงสภาพการ ติดเชื้อจากสภาพเสมหะของเหลวกลายเป็นการติดเชื้อในละอองอากาศในโรงพยาบาลนั้น
เครือข่ายประชาชนเพื่อลดการระบาดของเชื้อ COVID-19 มีความกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง จึงขอเรียกร้องมาตรการปิดประเทศ ปิดเมือง ปิดบ้าน และประกาศภาวะฉุกเฉินระยะสั้น เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เพื่อหยุดการแพร่กระจายของโรค และทำให้บ้านเมืองกลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด รวมทั้งหยุดยั้งผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะทอดเวลาออกไปนานขึ้น หากไม่มีมาตรการที่เข้มข้น เพียงพอ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.
ประกาศรับรองให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 เข้าสู่ระยะที่ 3 เพื่อให้รัฐมีหน้าที่ในการป้องกัน ตรวจคัดกรอง กักบริเวณ และรักษาพยาบาล รวมถึงการจัดงบประมาณเพื่อชดเชยการหยุดงานหรือการปิดกิจการชั่วคราวเพื่อหยุดการแพร่กระจายโรค
2.
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมไม่ให้มีการรวมตัวกันของประชาชนเกินกว่า 5 คน เป็นเวลา 3 สัปดาห์
3.
ให้ดำเนินการสนับสนุนการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขและบุคลากรทางการแพทย์ทุกหน่วยงาน ทุกกรมกอง ให้พร้อมรองรับการดูแลการแพร่ระบาดในระยะที่ 3 ของเชื้อ COVID-19 อย่างเป็นรูปธรรม
4.
สิทธิในการป้องกันโรค การคัดกรอง การรักษาพยาบาลให้เป็นสิทธิของประชาชนที่เท่าเทียมกัน โดยหากเป็นกลุ่มเสี่ยงสามารถได้รับการคัดกรองฟรีทั้งของรัฐและเอกชน ส่วนการรักษาพยาบาลให้เป็นไปตามสิทธิของแต่ละคนที่รัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายโดยตรงให้สถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียน
5.
ให้กระทรวงพาณิชย์ประกาศมาตรการกำกับค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน โดยให้โรงพยาบาลเอกชนคิดค่ารักษาพยาบาลกรณี COVID-19 เท่ากับการรักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉินสีแดง อันหมายถึงค่ารักษาพยาบาลที่รัฐเป็นผู้กำหนดราคาให้โรงพยาบาลเอกชนเรียกเก็บ โดยรัฐสนับสนุนให้บุคลากรของภาคเอกชนได้สิทธิอื่น ๆ เท่าเทียมโรงพยาบาลของรัฐในการดูแลผู้ป่วย COVID-19
6. ลดการเคลื่อนที่ของประชาชนเพื่อระงับการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 เป็นเวลา 3 สัปดาห์ โดย
1) ห้ามการเดินทางเข้าและออกจากประเทศเป็นเวลา 3 สัปดาห์ เพื่อกันการแพร่ระบาดของโรค
2) สนับสนุนการประกาศของรัฐบาลที่ได้ปิดสถานศึกษา สถานบันเทิง โรงภาพยนตร์ สถานออกกำลังกาย รวมทั้งสถานบริการอื่นใดที่เป็นแหล่งชุมนุมของประชาชน ทั้งนี้ยกเว้น ร้านขายสินค้าอุปโภคบริโภค ร้านขายยา และบริการส่งของ หรืออาหารหรือสินค้าที่จำเป็น โดยมีมาตรฐานและควบคุมความสะอาดของสินค้าและผู้ส่งสินค้า ส่วนร้านอาหารต้องกำหนดมาตรการเพิ่มเติมให้เข้มงวดให้มีระยะห่างระหว่างบุคคลที่เข้ามาใช้บริการตามมาตรฐานเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
3) ขอให้ประกาศปิดส่วนราชการ ยกเว้นงานหรือบริการที่มีความจำเป็นสาธารณะและไม่สามารถทำจากที่บ้านได้ เช่น แพทย์/ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตำรวจ และพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณูปโภคต่าง ๆ และขอความร่วมมือสำนักงาน บริษัท ห้างร้าน ห้างสรรพสินค้า โรงงาน และผู้ผลิตต่าง ๆ ทั้งหมดหยุดกิจการเป็นการชั่วคราว โดยรัฐบาลจัดให้มีมาตรการทางการเงิน งบประมาณ เงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำ หรือการลดหย่อนภาษี เพื่อให้ความช่วยเหลือกับบริษัท และผู้ได้รับผลกระทบ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องไม่ลดการจ้างงาน พร้อมจัดสรรงบประมาณของรัฐใหม่ที่ไม่จำเป็น รวมทั้งงบประมาณที่เตรียมการเพื่อจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น มาสนับสนุน
4) ขอความร่วมมือประชาชนงดการเคลื่อนที่ โดยให้อยู่กับบ้านหรือทำงานที่บ้าน ยกเว้นเมื่อมีปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการดูแลรักษา หรือออกไปทำธุระที่เกี่ยวข้องกับความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ให้เดินทางน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น
7.
มาตรการของรัฐและการจัดสรรงบประมาณทั้งหมด ต้องดำเนินการให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะประชาชนที่มีรายได้ต่ำให้สามารถสำรองอาหารในระหว่างการประกาศนี้ รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรรมและโครงการที่เพิ่มการสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนทั้งในเขตเมืองและชนบท เช่น การปลูกผักในเมือง และการเกษตรแบบผสมผสาน เป็นต้น
8.
สำหรับประชาชนทั่วไป เมื่อกักตนอยู่ที่บ้าน เพื่อช่วยกันรับผิดชอบต่อตนเองและครอบครัว ในการฝ่าวิกฤติของชาติและของโลกร่วมกันครั้งนี้ หากมีผู้ป่วยเกิดขึ้นในบ้าน ขอให้กักบริเวณเป็นห้องต่างหากโดยเฉพาะ ถ้ายังไม่มีอาการรุนแรงใด ๆ เพื่อป้องกันการระบาดเพิ่มเติมสู่บุคคลอื่น เนื่องจากโรคนี้ไม่จำเป็นต้องไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทุกรายเสมอไป เพราะผู้ป่วยสามารถหายป่วยเองได้ ดังนั้นโรงพยาบาลควรให้บริการเฉพาะผู้ป่วยหนักเท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงการระบาดในโรงพยาบาล ส่งเสริมบทบาทของชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สนับสนุนครอบครัวใดที่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่กักตัวตนเอง โดยให้หน่วยงานและกลไกของรัฐที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน
9.
รัฐมีหน้าที่จัดสรรหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ และเวชภัณฑ์ที่จำเป็นให้เพียงพอสำหรับสถานพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทุกครัวเรือนตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องได้เคยแถลงให้คำมั่นต่อประชาชน
การจะหยุดโรคระบาดใหญ่ครั้งนี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจอย่างเป็นเอกภาพ พร้อมเพรียงของพี่น้องประชาชนด้วยมาตรการแรงในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น จึงจะสามารถหยุดโรคระบาดนี้ได้ เครือข่ายประชาชนเพื่อลดการระบาดของเชื้อ COVID-19 ขอให้กำลังใจและขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนในการสนับสนุนแนวทางดังกล่าว เพื่อเปลี่ยนสถานการณ์ที่เลวร้ายในขณะนี้ให้เข้าสู่สถานการณ์ปกติโดยเร็วที่สุด
JJNY : หมอจุฬาฯยก3เหตุผลรีบปิดประเทศ/เครือข่ายปชช.ร้องปิดประเทศ/OHCHR-กสม.ประณามเหตุระเบิด/สมชัยจี้กกต.แจ้งครม.ออกพรก.
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_3780181
สาเหตุสำคัญที่ต้องปิดประเทศและต้องปิดบ้าน
1- ไม่มียา
ยาที่คิดว่าจะใช้ได้ มีการรายงานมาหลายคราว และล่าสุดในวารสารนิวอิงแลนด์ 18 มีนาคม ว่า ยา lopinavir/ritonavir ไม่ได้ผล มีแต่ยา chloroquine ที่รักษามาลาเรีย ที่เราพอหาได้ กับ favipiravir (ผลิตที่ญี่ปุ่นและจีน) ที่เรามีจำนวนจำกัดมากสำหรับคน 600 ถึง 700 คนเท่านั้น และภาวนาให้มีพอเป็นหมื่นๆคน (1คนใช้ 70 เม็ด)
2-ระบบสาธารณสุข กายภาพ อุปกรณ์ กำลังคน
เตียง แยกอาการหนัก ที่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตและก่อให้เกิดละอองที่จะให้เกิดการติดต่อทางการหายใจ ควรต้องเป็นห้องความดันลบจริงๆ ที่ทั้งประเทศ มี 100 กว่าห้อง (ใช่หรือไม่) และกระจัดกระจายอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ แห่งละไม่มาก ห้องที่ดัดแปลง รวมทั้งห้องแยกอื่นๆ รวมทั้งไอซียู มีพอจริงหรือไม่ รวมทั้งเครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์ช่วยชีวิต
นอกจากนี้ ห้องเหล่านี้ในโรงพยาบาลหลายแห่งใช้เครื่องปรับอากาศรวม ถ้ามีการใช้อุปกรณ์ ที่ก่อให้เกิดการติดต่อทางการหายใจจะสามารถแพร่กระจายไปกว้างขวาง บุคลากรมีหมอทั่วประเทศไม่ถึง 30,000 คนและเป็นหมอติดเชื้อ ทางปอด และภาวะวิกฤตมีอาจจะเป็นจำนวน 1,000 หรือน้อยกว่า
และถ้าเกิดเหตุวิกฤตเอาหมอทั่วไปที่ไม่ชำนาญในการดูคนไข้และการใส่ชุดปกป้องตัวเอง แทนที่จะช่วย กลับติดโรคและกลายเป็นภาระให้ต้องรักษาต่อ ทางพยาบาล นักวิทยาศาสตร์ เทคนิคการแพทย์จะยิ่งแล้วใหญ่ โดยที่ขณะนี้งานหนักมหาศาลอยู่แล้ว และคนไข้แออัด เต็มวอร์ด เต็มไอซียู และครองเตียง ครองเครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์ช่วยชีวิตไปหมดแล้ว
3- ถึงวันนี้เป็นวาระสุดท้ายที่ต้องก้าวนำเชื้อโรคไม่ใช่เกิดวิกฤติรุกล้ำเข้าไปในระบบสาธารณสุขมากกว่านี้ดังที่มีข้อจำกัดมาก ดังข้อ 1-2
ถ้ายังคงก้าวตามหลัง ดูตามตัวเลขผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต โดยไม่ได้ตระหนักว่าโรคนี้การติดต่อ จากบุคคลสู่บุคคลเป็นลูกโซ่ และยากที่จะจำกัดผู้ติดเชื้อและผู้ใกล้ชิด ที่แพร่เชื้อได้
ทั้งนี้เนื่องจากผู้ติดเชื้อที่เป็นหนุ่มสาวแข็งแรงไม่มีโรคประจำตัวจะเป็นคนแพร่เชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงสุดไม่ว่าในที่ทำงาน ในระหว่างการเดินทางด้วยรถสาธารณะ หลังเวลาทำงาน ไปแพร่ระหว่างกลุ่มคนอีกมากมาย และเมื่อเชื้อแพร่เข้าไปในกลุ่มคนเปราะบางสูงอายุและมีโรคประจำตัว
และเมื่อเชื้อเข้าไปในโรงพยาบาลจากญาติผู้ป่วยที่เข้าไปเยี่ยม โดยมีการติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรือน้อยมากจนตรวจจับไม่พบ เมื่อนั้นก็จะเป็นการแพร่อย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะใน รพ.ที่แออัด ตั้งแต่ที่จอดรถ หอ ผู้ป่วยนอกและแน่นอน แพร่ไปทุกพื้นที่ การปิดบ้าน ปิดเมืองเดี่ยว ยากที่จะทำให้ประเทศสะอาด เรียนจากประเทศจีน เรียนจากประเทศอื่นๆที่ไม่ยอมรับบทเรียนและวิธีแก้ไขจากประเทศจีน เราฟื้นความมั่นใจความเขื่อมั่นรวมทั้งเศรษฐกิจได้ถ้าเราทำจริง
เราเหลือเวลาน้อยมาก จากใจ หมอธีระวัฒน์
https://www.facebook.com/thiravat.h/posts/3266977440002454
เครือข่ายประชาชน ออกแถลงการณ์เรียกร้อง ปิดประเทศ ปิดเมือง ปิดบ้าน แก้โควิด
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_3780649
โดยระบุว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทยที่ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้ออย่างน้อย 212 คน เสียชีวิต 1 คน เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังโรค 7,546 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 18 มีนาคม 2563 เวลา 11.00 น.) โดยที่ปรากฎตามข้อเท็จจริงว่า พบการแพร่ระบาดไปทั่วทุกภูมิภาคของไทย ไม่จำกัดอยู่เพียงสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง มีผู้ป่วยติดเชื้อภายในประเทศที่ไม่สามารถระบุต้นตอของการติดเชื้อได้อย่างชัดเจน
รวมทั้งผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ไม่ได้มารักษาในทันทีตั้งแต่วันแรกที่มีอาการป่วย ทั้งยังไม่มีพฤติกรรมการป้องกันการแพร่เชื้อที่เหมาะสม และมาตรการของรัฐมีความล่าช้า ไม่ทันการณ์ อีกทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากรทางการแพทย์อาจไม่เพียงพอต่อการรับมือวิกฤตการณ์ครั้งนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีความเสี่ยงสูงมากกว่าบุคลากรทางการแพทย์ อาจติดเชื้อ COVID-19 ทั้งจากการตรวจผู้ป่วยโดยตรง หรือขั้นตอนการให้การรักษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เครื่องดูดเสมหะในผู้ป่วยหนักอาจแปลงสภาพการ ติดเชื้อจากสภาพเสมหะของเหลวกลายเป็นการติดเชื้อในละอองอากาศในโรงพยาบาลนั้น
เครือข่ายประชาชนเพื่อลดการระบาดของเชื้อ COVID-19 มีความกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง จึงขอเรียกร้องมาตรการปิดประเทศ ปิดเมือง ปิดบ้าน และประกาศภาวะฉุกเฉินระยะสั้น เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เพื่อหยุดการแพร่กระจายของโรค และทำให้บ้านเมืองกลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด รวมทั้งหยุดยั้งผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะทอดเวลาออกไปนานขึ้น หากไม่มีมาตรการที่เข้มข้น เพียงพอ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ประกาศรับรองให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 เข้าสู่ระยะที่ 3 เพื่อให้รัฐมีหน้าที่ในการป้องกัน ตรวจคัดกรอง กักบริเวณ และรักษาพยาบาล รวมถึงการจัดงบประมาณเพื่อชดเชยการหยุดงานหรือการปิดกิจการชั่วคราวเพื่อหยุดการแพร่กระจายโรค
2. ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมไม่ให้มีการรวมตัวกันของประชาชนเกินกว่า 5 คน เป็นเวลา 3 สัปดาห์
3. ให้ดำเนินการสนับสนุนการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขและบุคลากรทางการแพทย์ทุกหน่วยงาน ทุกกรมกอง ให้พร้อมรองรับการดูแลการแพร่ระบาดในระยะที่ 3 ของเชื้อ COVID-19 อย่างเป็นรูปธรรม
4. สิทธิในการป้องกันโรค การคัดกรอง การรักษาพยาบาลให้เป็นสิทธิของประชาชนที่เท่าเทียมกัน โดยหากเป็นกลุ่มเสี่ยงสามารถได้รับการคัดกรองฟรีทั้งของรัฐและเอกชน ส่วนการรักษาพยาบาลให้เป็นไปตามสิทธิของแต่ละคนที่รัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายโดยตรงให้สถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียน
5. ให้กระทรวงพาณิชย์ประกาศมาตรการกำกับค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน โดยให้โรงพยาบาลเอกชนคิดค่ารักษาพยาบาลกรณี COVID-19 เท่ากับการรักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉินสีแดง อันหมายถึงค่ารักษาพยาบาลที่รัฐเป็นผู้กำหนดราคาให้โรงพยาบาลเอกชนเรียกเก็บ โดยรัฐสนับสนุนให้บุคลากรของภาคเอกชนได้สิทธิอื่น ๆ เท่าเทียมโรงพยาบาลของรัฐในการดูแลผู้ป่วย COVID-19
6. ลดการเคลื่อนที่ของประชาชนเพื่อระงับการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 เป็นเวลา 3 สัปดาห์ โดย
1) ห้ามการเดินทางเข้าและออกจากประเทศเป็นเวลา 3 สัปดาห์ เพื่อกันการแพร่ระบาดของโรค
2) สนับสนุนการประกาศของรัฐบาลที่ได้ปิดสถานศึกษา สถานบันเทิง โรงภาพยนตร์ สถานออกกำลังกาย รวมทั้งสถานบริการอื่นใดที่เป็นแหล่งชุมนุมของประชาชน ทั้งนี้ยกเว้น ร้านขายสินค้าอุปโภคบริโภค ร้านขายยา และบริการส่งของ หรืออาหารหรือสินค้าที่จำเป็น โดยมีมาตรฐานและควบคุมความสะอาดของสินค้าและผู้ส่งสินค้า ส่วนร้านอาหารต้องกำหนดมาตรการเพิ่มเติมให้เข้มงวดให้มีระยะห่างระหว่างบุคคลที่เข้ามาใช้บริการตามมาตรฐานเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
3) ขอให้ประกาศปิดส่วนราชการ ยกเว้นงานหรือบริการที่มีความจำเป็นสาธารณะและไม่สามารถทำจากที่บ้านได้ เช่น แพทย์/ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตำรวจ และพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณูปโภคต่าง ๆ และขอความร่วมมือสำนักงาน บริษัท ห้างร้าน ห้างสรรพสินค้า โรงงาน และผู้ผลิตต่าง ๆ ทั้งหมดหยุดกิจการเป็นการชั่วคราว โดยรัฐบาลจัดให้มีมาตรการทางการเงิน งบประมาณ เงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำ หรือการลดหย่อนภาษี เพื่อให้ความช่วยเหลือกับบริษัท และผู้ได้รับผลกระทบ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องไม่ลดการจ้างงาน พร้อมจัดสรรงบประมาณของรัฐใหม่ที่ไม่จำเป็น รวมทั้งงบประมาณที่เตรียมการเพื่อจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น มาสนับสนุน
4) ขอความร่วมมือประชาชนงดการเคลื่อนที่ โดยให้อยู่กับบ้านหรือทำงานที่บ้าน ยกเว้นเมื่อมีปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการดูแลรักษา หรือออกไปทำธุระที่เกี่ยวข้องกับความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ให้เดินทางน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น
7. มาตรการของรัฐและการจัดสรรงบประมาณทั้งหมด ต้องดำเนินการให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะประชาชนที่มีรายได้ต่ำให้สามารถสำรองอาหารในระหว่างการประกาศนี้ รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรรมและโครงการที่เพิ่มการสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนทั้งในเขตเมืองและชนบท เช่น การปลูกผักในเมือง และการเกษตรแบบผสมผสาน เป็นต้น
8. สำหรับประชาชนทั่วไป เมื่อกักตนอยู่ที่บ้าน เพื่อช่วยกันรับผิดชอบต่อตนเองและครอบครัว ในการฝ่าวิกฤติของชาติและของโลกร่วมกันครั้งนี้ หากมีผู้ป่วยเกิดขึ้นในบ้าน ขอให้กักบริเวณเป็นห้องต่างหากโดยเฉพาะ ถ้ายังไม่มีอาการรุนแรงใด ๆ เพื่อป้องกันการระบาดเพิ่มเติมสู่บุคคลอื่น เนื่องจากโรคนี้ไม่จำเป็นต้องไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทุกรายเสมอไป เพราะผู้ป่วยสามารถหายป่วยเองได้ ดังนั้นโรงพยาบาลควรให้บริการเฉพาะผู้ป่วยหนักเท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงการระบาดในโรงพยาบาล ส่งเสริมบทบาทของชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สนับสนุนครอบครัวใดที่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่กักตัวตนเอง โดยให้หน่วยงานและกลไกของรัฐที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน
9. รัฐมีหน้าที่จัดสรรหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ และเวชภัณฑ์ที่จำเป็นให้เพียงพอสำหรับสถานพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทุกครัวเรือนตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องได้เคยแถลงให้คำมั่นต่อประชาชน
การจะหยุดโรคระบาดใหญ่ครั้งนี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจอย่างเป็นเอกภาพ พร้อมเพรียงของพี่น้องประชาชนด้วยมาตรการแรงในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น จึงจะสามารถหยุดโรคระบาดนี้ได้ เครือข่ายประชาชนเพื่อลดการระบาดของเชื้อ COVID-19 ขอให้กำลังใจและขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนในการสนับสนุนแนวทางดังกล่าว เพื่อเปลี่ยนสถานการณ์ที่เลวร้ายในขณะนี้ให้เข้าสู่สถานการณ์ปกติโดยเร็วที่สุด