กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ Siam Bioscience คิดค้นน้ำยาตรวจcovid19 ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่านำเข้าถึง3 เท่า!!!

ก่อนอื่นน้ำยาที่กรมวิทย์ ร่วมมือกับสยามไซเอนซ์นี่ต่างกับชุดตรวจcovid19 แบบรวดเร็วของจุฬาฯนะคะ
ของจุฬาเป็นชุดตรวจที่ทราบผลแบบรวดเร็ว 15 นาทีรู้ผล ราคาถูก แต่เหมาะกับผู้ป่วยที่ได้รับเขื้อมาแล้วหลายวัน ผู้ที่เพิ่งได้รับเขื้ออาจเป็นลบปลอมก็ได้(อาจติด)
ส่วนชุดตรวจของกรมวิทย์ฯ เป็นชุดตรวจด้วยกระบวนการ pcr ตรวจสารพันธุกรรมของไวรัส สามารถตรวจได้ตั้งแต่ระยะแรกของโรค
ปัจจุบันนำเข้ามีราคาแพง 4,500-10,000 แต่ที่ผลิตโดยกรมวิทย์จะถูกกว่านำเข้า กล่าวคือตรวจโควิดด้วยราคาประมาณ 1,500 บาท
ซึ่งสามารถตรวจได้ตั้งแต่ระยะแรกของโรค รอผลนานหน่อย 4-5 ชม.+++

สามารถอ่านความแตกต่างการตรวจcovid19 ด้วยวิธีpcr และ rapid test ได้ในลิ้งค์ค่ะ 
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/873901

____________________________________________

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ

 
วันที่ 2 เมษายน 2563 ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) หรือ ศบค. รับมอบชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีการตรวจที่เป็นมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก จำนวน 20,000 ชุดแรก จากผู้แทนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และผู้แทนบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์
 
นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมศึกษาฯ ผนึก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสยามไบโอไซเอนซ์ ส่งมอบชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เป็นมาตรฐานองค์การอนามัยโลก 20,000 ชุดแรกแก่รัฐบาล นำไปแจกจ่ายให้ใช้ฟรีโรงพยาบาลทั่วประเทศและห้องปฎิบัติการที่มีเครื่องตรวจกว่า 100 แห่ง พร้อมเดินหน้าผลิต พร้อมทยอยส่งมอบทุกสัปดาห์ให้ครบ 100,000 ชุดภายใน เม.ย.นี้

จากนั้น ดร.สุวิทย์ ให้สัมภาษณ์ว่า อว.โดยมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ วิจัยและพัฒนาชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีการตรวจที่เป็นมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก สำหรับการหาเชื้อไวรัสนี้ในสภาวะการณ์ปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายจะผลิตให้ครบ 1 ล้านชุด ภายในระยะเวลา 6 เดือน เพื่อให้รัฐบาลนำไปแจกจ่ายให้ใช้ฟรีตามโรงพยาบาลและห้องปฏิบัติการที่มีเครื่องตรวจทั่วประเทศกว่า 100 แห่ง ล่าสุด สามารถผลิตและส่งมอบชุดตรวจฯ 20,000 ชุดแรกให้แก่รัฐบาล และจะทยอยส่งมอบทุกๆ สัปดาห์ จนครบ 100,000 ชุด ภายในเดือน เม.ย.นี้ พร้อมยังคงเดินหน้าผลิตอย่างต่อเนื่องจนครบตามเป้าหมายภายใน 6 เดือน

ดร.สุวิทย์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยยังสามารถตรวจผู้เข้าข่ายว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงได้น้อย ซึ่งมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ชุดตรวจและน้ำยาจากต่างประเทศมีภาวะขาดแคลน การพัฒนาชุดตรวจนี้ขึ้นมาก็เพื่อลดปัญหาการขาดแคลน เป็นการสร้างความมั่นคงด้านชุดตรวจของประเทศ อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าชุดตรวจที่นำเข้าจากต่างประเทศอย่างมาก ช่วยลดต้นทุนจากเดิมที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศมีราคา 4,500 – 10,000 บาท เป็นการสร้างความสามารถและความมั่นคงด้านสาธารณสุขของประเทศไทย ไม่ต้องพึ่งพาต่างประเทศ

ซึ่งชุดตรวจนี้ได้ผ่านการสอบเทียบกับตัวอย่างไวรัสมาตรฐาน และผลิตในสถานที่ผลิตเครื่องมือแพทย์ที่ได้มาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และมาตรฐานสากลโดยโครงการวิจัยพัฒนาและผลิตชุดตรวจได้รับงบประมาณจากหน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ภายใต้โครงการ BCG-Health ของ อว. เป็นจำนวนเงิน 65 ล้านบาท ร่วมกับเงินลงทุนจากบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ 65 ล้านบาท และในอนาคตยฃสามารถขยายการผลิตได้มากขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของการตรวจ RT-PCR ตามที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คาดว่าจะมีมากถึง 1 ล้านตัวอย่างต่อปี และจะขยายความร่วมมือกับเครือข่ายวิจัยทางการแพทย์อื่นๆ เพื่อพัฒนาให้การตรวจ RT-PCR สะดวกมากขึ้น

_____________________________________________

ต้นทุนน้ำยาก็ถูกลงแล้ว หวังว่ารัฐจะเลิกงกน้ำยาตรวจสักทีนะคะคราวนี้ พักหลังๆจะพบว่าผู้ป่วยโควิด19 ตายเพราะไม่ได้ตรวจเชื้อตั้งแต่เริ่มต้นเยอะมาก

อย่างน้อยผู้โดยสารขาเข้าประเทศทุกคนไม่ว่าชาติไหนควรได้ตรวจrapid test ก่อนเข้าประเทศทุกคน ไม่ว่าทางเครื่องบิน หรือคนไทย800 คนที่ตกค้างที่มาเลเซีย
หวังว่ารัฐจะจัดสรรให้พบผู้ป่วยได้ครอบคลุมมากขึ้นค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่