รวมคำถาม-คำตอบ ยอดฮิต ลงทะเบียนเราไม่ทิ้งกัน ไม่สำเร็จ ทำอย่างไรต่อ ?!?!

วันที่ 1 เม.ย.63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 
หลังรัฐบาลเปิดให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ "โควิด-19" 
ลงทะเบียนตามมาตรการเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน) ที่เว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com 
ตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันที่ 28 มีนาคม 2563 
ต่อมาพบว่ามีประชาชนยังคงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการลงทะเบียนหลายคำถาม 
เช่น ใส่ข้อมูลช่องทางการรับเงินผิด ข้อมูลเลขบัตรประชาชนไม่ถูกต้อง

ทั้งนี้ แฟนเพจ Krungthai Care ได้รวบรวมคำถาม-คำตอบ 
ยอดฮิตเกี่ยวกับมาตรการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท ดังนี้

1. ระบุหมายเลขบัญชีผิด จะแก้ไขอย่างไร?

คําตอบ กรณีผู้ลงทะเบียนได้รับสิทธิ์ จะมี SMS แจ้งผล การโอนเงินไม่สําเร็จ 
โดยผู้ลงทะเบียนสามารถดําเนินการผูกพร้อมเพย์บัตรประชาชนได้ เพื่อรอรับการโอนเงินในรอบถัดไป

2. ต้องการทราบว่าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วหรือไม่?

คําตอบ สามารถตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนมาตรการฯ ได้ดังนี้

- บนหน้าเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เมื่อลงทะเบียนสําเร็จ จะระบุข้อความ 2 รูปแบบ
กรณีระบุเบอร์โทรศัพท์มือถือ ขึ้นข้อความ "ระบบได้รับข้อมูลการลงทะเบียนของท่านเรียบร้อยแล้ว 
โปรดรอการแจ้งยืนยันผลการได้รับสิทธิ์ตามมาตรการฯ ทาง SMS และ E-mail ที่ลงทะเบียนไว้"

กรณีระบุเบอร์โทรศัพท์บ้าน ขึ้นข้อความ "ระบบได้รับข้อมูลการลงทะเบียนของท่านเรียบร้อยแล้ว 
โปรดรอการแจ้งยืนยันผลทางไปรษณีย์ หลังตรวจสอบข้อมูลเสร็จสิ้น"

- SMS / E-mail (หากระบุไว้เมื่อลงทะเบียน) ตอบกลับกรณีลงทะเบียนข้อมูลบัตรประชาชนไม่ถูกต้อง 
กรณีนี้สามารถลงทะเบียนใหม่ได้

- Call Center 0-2111-1144 (กรณีไม่ได้รับ E-mail สามารถตรวจสอบสถานะได้หลังจากลงทะเบียนอย่างน้อย 1 วัน)

3. กรณีเลือกรหัสไปรษณีย์แล้ว แต่ไม่มีตําบลให้เลือกทําอย่างไร?

คําตอบ สามารถลงทะเบียนใหม่ได้อีกครั้ง วันที่ 1 เม.ย. 63 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป

4. เป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 หรือ 40 สามารถลงทะเบียนได้ไหม?

คําตอบ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้

5. หากลงทะเบียนสําเร็จ แต่ทราบว่าบันทึกข้อมูลไม่ถูกต้อง 
จะขอแก้ไข หรือยกเลิก แล้วลงทะเบียนใหม่ได้หรือไม่?

คําตอบ ผู้ลงทะเบียนที่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ มีเฉพาะกรณีได้รับ SMS แจ้งผลการลงทะเบียนไม่สําเร็จเท่านั้น 
ซึ่งประชาชนสามารถกลับไปลงทะเบียนใหม่และระบุข้อมูลให้ถูกต้องได้ 
แต่หากข้อมูลการลงทะเบียนเรียบร้อยและเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคุณสมบัติแล้วจะไม่สามารถกลับไปแก้ไขข้อมูลได้ 
และไม่สามารถลงทะเบียนซ้ำได้

6. กรณีประกอบอาชีพ ขับรถสาธารณะ และมีใบขับขี่ประเภท 2 สามารถลงทะเบียนได้หรือไม่?

คําตอบ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ แต่การพิจารณาเป็นไปตามเงื่อนไขของมาตรการ

7. กรณีมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถลงทะเบียนได้หรือไม่?

คําตอบ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ แต่การพิจารณาเป็นไปตามเงื่อนไขของมาตรการฯ

8. กรณีได้รับ SMS แจ้งว่า "การลงทะเบียนไม่สําเร็จ เนื่องจากข้อมูลตามบัตรประชาชนไม่ถูกต้อง" ต้องทําอย่างไร?

คําตอบ สามารถลงทะเบียนใหม่ได้ โดยระบุข้อมูลใหม่ให้ถูกต้อง

9. สามารถใช้เบอร์โทรศัพท์มือถือของบุคคลอื่น มาลงทะเบียนได้หรือไม่?

คําตอบ สามารถใช้หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลใกล้ชิดมาลงทะเบียนได้ 
โดย 1 หมายเลขสามารถใช้ลงทะเบียนได้ 5 บุคคล

10. ในกรณีระบบคัดกรองและพิจารณาว่า ไม่ได้รับสิทธิ์ 
เนื่องจากคุณสมบัติไม่ตรง จะสามารถลงทะเบียนใหม่ได้หรือไม่?

คำตอบ ผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบสิทธิ์ทางเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com 
จะมีเหตุผลชี้แจงว่าไม่ผ่านคุณสมบัติเนื่องจากสาเหตุใด และผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์จะถูกตัดสิทธิ์ทันที 
และไม่สามารถลงทะเบียนใหม่ได้.

-ลงทะเบียนไปแล้ว เมื่อไหร่จะได้เงิน?

ทางกระทรวงการคลังยืนยันว่า ภายหลังจากที่การลงทะเบียนเสร็จสมบูรณ์แล้ว 
จะมีกระบวนการตรวจสอบ ว่าส่งข้อมูลถูกต้อง ให้รอการตรวจสอบข้อมูลและแจ้งผลกลับ
ไปเป็นข้อความผ่านหมายเลขโทรศัพท์ที่ได้ลงทะเบียนไว้ โดยไม่ต้องติดต่อกลับมายังหน่วยงานรัฐ 
โดยอาจจะใช้ระยะเวลานานกว่าเดิมจากที่ประเมินว่าจะใช้เวลาตรวจสอบอย่างเร็วที่สุด 7 วันทำการ

-ใครบ้างที่ไม่ผ่านเกณฑ์ลงทะเบียน?

กลุ่มที่จะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ เนื่องจากไม่ผ่านเกณฑ์ คือ
1.ผู้ได้รับผลกระทบจนทำให้ต้องทำงานที่บ้าน แต่เงินเดือนยังได้ครบ
2.กลุ่มที่ยังทำงาน แต่ยังได้รับเงินเดือนครบเหมือนเดิม
3.กลุ่มที่ตกงานมาเป็นปี หรือตกงานมานาน
4.กลุ่มที่ทำงานในร้านค้าที่ปิดมาก่อนในช่วงที่มีการระบาดของโควิด ก็จะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ
 
-ผู้ที่ลงทะเบียนจะโดนตรวจสอบภาษีหรือไม่?

กรมสรรพากร ยืนยันว่า ผู้ลงทะเบียนผ่าน www.เราไม่ทิ้งกัน.com เพื่อรับเงินตามมาตรการฯ 
ดังกล่าว จะไม่ถูกนำข้อมูลการลงทะเบียนมาใช้ในการตรวจสอบภาษี เนื่องจากกรมสรรพากรมีข้อมูลทั้งหมดอยู่แล้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่